แนวข้อสอบ ระบบการสื่อสารข้อมูล
จงกากบาท (X) เลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
- Data Communications หมายถึงข้อใด
- การขนส่งข้อมูล
- การสื่อสารข้อมูล
- การแปลงข้อมูล
- ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข. การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
- “เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการรับส่งข้อมูล” คือข้อใด
- Noise
- Voice
- Sink
- ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก. Noise
สัญญาณรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมุติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาดตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสารในทางปฏิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (Filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทางเพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
- ปัจจัยใดที่ทำให้สัญญาณไมโครเวฟมีสัญญาณอ่อนลงหรือหักเห
- ในที่มีอากาศร้อนจัด
- ในเขตชุมชนที่มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น
- ในสถานที่ที่มีพายุหรือฝน
- ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.
ตอบ ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.
เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลงหรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล
- ข่ายการสื่อสารข้อมูลเป็นการรับส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางใด
- คลื่นไฟฟ้า
- แสง
- น้ำ
- ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข.
ตอบ ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข.
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communications Network)
- ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานของข่ายการสื่อสารข้อมูล
- Transmisstion Channel
- Translate Channel
- Receiving Unit
- Sending Unit
ตอบ ข. Translate Channel
องค์ประกอบการพื้นฐานของข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communications Network)
- หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
- หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
- ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
- การสื่อสารข้อมูล (Data Transmission) มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
- 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารแบบอนุกรม และการสื่อสารแบบขนาน
- 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารแบบไปกลับ และการสื่อสารแบบแจ้งรับ
- 3 รูปแบบ คือ การสื่อสารแบบอนุกรม การสื่อสารแบบขนาน และการสื่อสารแบบทางเดียว
- 3 รูปแบบ คือ การสื่อสารแบบไปกลับ การสื่อสารแบบทางเดียว และการสื่อสารแบบขนาน
ตอบ ก. 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารแบบอนุกรม และการสื่อสารแบบขนาน
วิธีการสื่อสารข้อมูล (Data Transmisstion)
ลักษณะของการสื่อสารข้อมูลมี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Data Transmission) และการสื่อสารแบบขนาน (Parallel Data Transmission)
- สถานีไมโครเวฟลอยฟ้า เป็นคำเปรียบเสมือนจากข้อใด
- ดาวเทียม
- พระอาทิตย์
- จานดาวเทียม
- ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก. ดาวเทียม
การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission)
ดาวเทียม คือ สถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาข้อมูลรับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลก ซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนพื้นโลก
- เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณ จึงจะเป็นจะต้องมีสิ่งใดต่อไปนี้
- Amplifier
- Repeater
- Echo
- Coaxial
ตอบ ก. Amplifier
สายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี “เครื่องขยาย (Amplifier)” สัญญาณสำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแลลอนาล็อกในระยะทางไกลๆ หรือทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี “เครื่องทบทวน (Repeater)” สัญญาณทุกๆ ระยะ 2-3 กม. เพราะว่าแต่ละคู่ของสายเกลียวคู่จะแทนการทำงาน 1 ช่องทาง และสามารถมีแบนด์วิดท์ได้กว้างถึง 250 กิโลเฮิรตซ์
- การส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลของสายเกลียวคู่จำเป็นต้องมีสัญญาณในข้อใด
- Amplifier
- Repeater
- Echo
- Coaxial
ตอบ ข. Repeater
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
- โฟโต้ไดโอด (Photo Diode) มีหน้าที่ใด
- ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม
- ทำหน้าที่รับรหัสที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนรหัสให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม
- ทำหน้าที่รับคลื่นเสียงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนคลื่นเสียงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม
- ทำหน้าที่รับคลื่นไมโครเวฟที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนคลื่นไมโครเวฟให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม
ตอบ ก. ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม
โฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ
ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว
*** แนวข้อสอบมีทั้งหมด 2 แบบ ***
- แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท ( ได้รับเนื้อหา หลังโอน 1-3 ชั่วโมง )
- แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท (ได้รับ 1-2 วันทำการ) ( ส่งฟรี J&T )
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
ถาม – ตอบ ระบบโทรคมนาคม และการสื่อสาร
*****************************
- โทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบ ดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งหมด
- ระบบโทรคมนาคม( Telecommunications Systems) คืออะไร
ตอบ ระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้
- โครงสร้างของระบบโทรคมนาคมประกอบไปด้วยส่วนใดบ้าง
ตอบ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน
- 2.เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
- 3.อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter)ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
- 4.ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel)หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
- 5.ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
- จงอธิบายหน้าที่ของระบบโทรคมนาคม
ตอบ ระบบโทรคมนาคม ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน
- หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คืออะไร
ตอบ คือ การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น Internet Protocal ; TCP/IP , IP Address
- การสื่อสารข้อมูล หมายถึงอะไร
ตอบ การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
- การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
- 2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
- 3. โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
- 4. ซอฟต์แวร์ (Software) การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ
- 5. ข่าวสาร (Message) เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
- 6. ตัวกลาง (Medium)เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
- การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
- การส่งสัญญาณข้อมูล แบ่งออกกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ 3 แบบ ได้แก่
- การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)
การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์
- การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)
การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น
- การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)
การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน
- การส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ 2 แบบ ได้แก่
- 1. การส่งสัญญาณแบบอนาลอก (Analog Transmission)
การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป
- การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Transmission)
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์ (Repeater)