9375397

แนะนำการสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 140 ผู้ชม

แนะนำการสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
แนะนำการสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี , ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี , งานราชการเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี


บทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี





 
 
ความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานหรือปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่ยากพอสมควร ภายใต้การกำ กับตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควร หรือมีความรับผิดชอบไม่สูงนักเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ตรวจสอบหลักฐาน และใบสำ คัญการเบิกจ่ายเงิน จัดทำ บัญชีทั่วไปของราชการ เช่น ทำ บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท เป็นต้น ช่วยพิจารณาตั้งงบประมาณหมวดที่ไม่มีปัญหา เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าล่วงเวลา ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ เป็นต้น ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตรวจทางการตั้งฎีกาเบิกจ่าย ทำ หนังสือโต้ตอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ จัดสรรเงิน
งบประมาณ รายจ่ายตามยอดที่ได้รับอนุมัติแล้ว ตรวจสอบงบเดือน ทำ รายงานการเงิน ให้คำ ปรึกษาแนะนำ ในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ติดต่อประสานงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
 
ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล









ขั้นตอนการทำงาน
1. ด้านการเบิก-จ่ายเงิน
(1.1) รับเรื่องขอเบิก-จ่ายเงินจากงานพัสดุ เช่น การเบิกจ่ายค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าใช้สอย เป็นต้น
(1.2) เมื่อรับเอกสารการขอเบิกจ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีดำเนินการตรวจสอบเอกสารการเบิก-จ่าย ว่าเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เช่น ตรวจสอบลายเซ็นต์คณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง ตรวจรับพัสดุว่าถูกต้องหรือไม่ ผู้รับจ้างเซ็นต์ครบหรือไม่ เป็นต้น
(1.3) เมื่อดำเนินการตามข้อ 1.2 แล้วเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตรวจสอบยอดเงินงบประมาณรายจ่ายว่ามีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ เมื่อมีเพียงพอก็ดำเนินการจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
(1.4) เมื่อดำเนินการตามข้อ 1.3 แล้ว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีลงรับฎีกาเบิกจ่ายเงินในทะเบียนคุมฎีการการเบิก-จ่ายเงิน ขององค์การบริหารส่วนตำบล แล้วเสนอหัวหน้าส่วนการคลังเพื่อดำเนินการตรวจสอบว่าเบิก-จ่ายถูกต้องหรือไม่ แล้วเสนอผู้บริหาร
(1.5) เมื่อผู้บริหารอนุมัติ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีดำเนินการเขียนเช็คเพื่อนำจ่ายให้ผู้รับจ้างต่อไป
(1.6) เมื่อดำเนินการจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีก็จะบันทึกรายการเกี่ยวกับรายจ่ายในแต่ละวันลงใน สมุดเงินสดจ่ายพร้อมลงรายการจ่ายเงินใน ทะเบียนคุมเงินงบประมาณรายจ่าย โดยในการบันทึกทั้งสองรายการจะแยกงบประมาณออกตามหมวดการใช้จ่ายเงินเช่น หมวดเงินเดือน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ฯลฯ
2. ด้านการรับเงิน
(2.1) เมื่อมีการรับเงิน เช่น มีประชาชน ห้างร้าน บริษัท เข้ามาดำเนินการชำระค่าบริการต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ค่าเช่าของ ค่าขายแบบแปลน ค่ารับสมัครพนักงานจ้าง เป็นต้น เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อหรือ เจ้าหน้าที่การเงินฯ จะตรวจเช็คเงินรายได้จากอินเตอร์เน็ตทุกวันว่ารัฐบาลได้โอนเงินจัดสรรมาให้หรือยังพร้อมกับตรวจเช็คกับธนาคารว่ามีการโอนเงินรายได้หรือยัง เมื่อมีการโอนแล้วก็ดำเนินการนำฝากเข้าบัญชีองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป
(2.2) เมื่อมีการรับเงินตามข้อ 2.1 แล้วเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีจะดำเนินการจัดทำใบนำส่งเงินเพื่อสรุปรายงานการรับเงินในแต่ละวันว่ามีการรับเงินตามหมวดรายได้หมวดใดเช่น หมวดภาษีอากร อากรฆ่าสัตว์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีสุรา ค่าขายแบบแปลน เป็นต้นพร้อมนำส่งธนาคารทุกวัน ปิดใบเสร็จรับเงินทุกวันแล้วรายงานให้หัวหน้าส่วนการคลัง
(2.3) เมื่อดำเนินการตามข้อ 2.2 แล้ว เจ้าหน้าที่การเงินฯ จะจัดทำ รายงานเงินคงเหลือประจำวัน บันทึกรายการรับเงินใน สมุดเงินสดรับ และ ทะเบียนคุมเงินรายได้ ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยผ่านรายการทุกวันเมื่อมีการรับเงินแล้วเสนอให้หัวหน้าส่วนการคลังตรวจสอบและรายงานให้ผู้บริหารทราบ
 
เมื่อดำเนินการเบิก-จ่าย และการรับเงินแล้วเสร็จ ภายในสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่การเงินฯจะดำเนินการสรุปผลการเบิก-จ่าย และการรับเงิน ของเดือนนั้น แล้วจัดทำงบรายงานการรับ-จ่ายเงิน, งบทดลอง, กระดาษทำการกระทบยอด ,งบกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วรายงานให้หัวหน้าส่วนการคลังตรวจสอบและรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไปหรือที่เรียกว่า "งบเดือน"


ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com