8027458

แนะนำการสอบสำนักงานการศึกษาเอกชน

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 142 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานการศึกษาเอกชน
แนะนำการสอบสำนักงานการศึกษาเอกชน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานการศึกษาเอกชน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานการศึกษาเอกชน , ข้อสอบสำนักงานการศึกษาเอกชน , งานราชการสำนักงานการศึกษาเอกชน


บทบาทหน้าที่ของสำนักงานการศึกษาเอกชน




สำนักงานการศึกษาเอกชน

 
ประวัติความเป็นมา
 
ข้อมูลทั่วไป
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชนในประเทศไทย เชื่อว่าการศึกษาประเภทนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231) จดหมายเหตุของมองสิเออสานิเยร์ กล่าวว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ทรงสร้างโรงเรียนราษฎร์ ไว้หลายโรงเรียนและจากจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอซัวลี ซึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้กล่าวถึงโรงเรียนราษฎร์ 3 โรง คือ โรงเรียนศรีอยุธยา โรงเรียนนมัสแพรนด์ และโรงเรียนสามเณร
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ที่บุกเบิกการต่อตั้งโรงเรียนราษฎร์ไม่ใช่คนไทย แต่เป็นมิชชั่นนารีซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทย โรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้รับการจัดตั้งและสนับสนุนโดยมิชชั่นนารี ได้แก่ โรงเรียนของนามัททูน (Mrs. Mattoon) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน จึงเปิดสอนในปี พ.ศ. 2395 ซึ่งถือเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในสมัยนั้น โรงเรียนคริสเตียนไฮสกูล (The Christian High School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2431 เปิดสอนเฉพาะเด็กผู้ชาย สำหรับโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (Kunsatree Wang Lang School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เปิดสอนเฉพาะเด็กผู้หญิง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2417 และโรงเรียนไทย – ฝรั่ง (Thai Farang School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption School) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2420
โรงเรียนราษฎร์ทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ในระยะเริ่มแรกดำเนินงานเป็นเอกเทศ มิได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2448 กระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) จึงเข้ามามีบทบาทในการดูแลโรงเรียนราษฎร์ทั้ง 3 แห่ง และในช่วงระยะเวลานี้เองโรงเรียนราษฎร์ซึ่งมีคนไทยเป็นเจ้าของ ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นชื่อโรงเรียนบำรุงวิทยา (BamrungWittaya School) และลงทะเบียนขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกัน





การศึกษาเอกชนของประเทศขยายตัวมากขึ้นในปี พ.ศ. 2461 รัฐบาลจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะตรวจนิเทศโรงเรียนเอกชนทั่วราชอาณาจักร และเพื่อปรับปรุงแก้ไข กฎ และระเบียบโรงเรียนเอกชน ในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยจัดตั้งกองโรงเรียนราษฎร์ สังกัดกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อควบคุมดูแลโรงเรียนราษฎร์ทั้งหมด  
 
ตราเครื่องหมายทางราชการ
ตราเครื่องหมายทางราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นรูปวงกลม 2 ชั้น วงกลมชั้นนอกเป็นเส้นทึบภายในวงกลมชั้นในเป็นรูปเสมาธรรมจักร ซึ่งหมายถึงการศึกษา ล้อมรอบด้วยดอกบัว ซึ่งหมายถึงประชาชน ดวงตรานี้มีความหมายว่า “ประชาชนส่งเสริมสนับสนุนและเทิดทูนการศึกษา”
 
อำนาจหน้าที่
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้
1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษาเอกชนต่อคณะกรรมการ
2. ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา
3. รับผิดชอบการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุน
4. ดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนตามมาตรการที่คณะกรรมการกำหนดมาตรา 13(4)
5. เป็นศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูล และทะเบียนกลางทางการศึกษาเอกชน ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการ จัดการศึกษาเอกชน
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
โครงสร้างการบริหารองค์กร (ORGANIZATION CHART) และโครงสร้างการบริหารงาน (ADMINISTRATION CHART) การแบ่งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ
พรบ.โรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 8 กำหนดให้มี กช. ประกอบด้วย
1. กรรมการโดยตำแหน่ง 9 คน ประกอบด้วย
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน
– ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
– เลขาธิการ กพฐ. กรรมการ
– เลขาธิการ สอศ. กรรมการ
– เลขาธิการ สกศ. กรรมการ
– ผอ.สำนักงบประมาณ กรรมการ
– อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ
– อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรรมการ
– เลขาธิการ กช. กรรมการและเลขานุการ
2. กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง 11 คน คัดเลือกจาก
– ผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชน 2 คน
– ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน 1 คน
– ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน 1 คน
– ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 1 คน
– ครูเอกชน 1 คน
– บุคลากรทางการศึกษา 1 คน
– ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน
– ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษสำหรับคนพิการ 1 คน
อำนาจหน้าที่ของ กช.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้
1. เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน
2. กำกับดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
3. กำหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน
4. กำหนดมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา
5. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ กช. มอบหมาย





คณะอนุกรรมการบริหารกองทุน
1. มาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ
2. มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้กู้ยืมเงินแก่โรงเรียนในระบบ
3. คณะอนุกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย ปลัด ศธ.เป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ มีอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 5 คน
4. คณะอนุกรรมการฯ มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของกองทุนฯ แผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และประมาณการรายรับ – รายจ่าย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกู้ยืม/ ยืมเงินของกองทุน ฯลฯ
เครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชน
1. คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนในระดับจังหวัด (ปสกช.) 71 จังหวัด
2. คณะกรรมการเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร
3. ประเภทสามัญศึกษา 25 กลุ่ม
4. ประเภทนอกระบบ 12 กลุ่ม
5. สมาคมทางการศึกษาเอกชน (สมาคมหลักในส่วนกลาง) 16 สมาคม
ประเภทของโรงเรียนเอกชน
1. โรงเรียนในระบบ มี 2 ประเภท ได้แก่
– ประเภทสามัญศึกษาศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร
– ประเภทนานาชาติ
2. โรงเรียนนอกระบบ มี 7 ประเภท ได้แก่
– ประเภทสอนศาสนา
– ประเภทศิลปะและกีฬา
– ประเภทวิชาชีพ
– ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต
– ประเภทกวดวิชา
– สถาบันศึกษาปอเนาะ
-ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)






วิสัยทัศน์
“ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี มีความรู้และทักษะที่จำเป็น เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ด้วยระบบการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน”
 
พันธกิจ
1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพตามเป้าหมายการพัฒนาคนของประเทศด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าถึงโอกาสในการศึกษาอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ด้วยระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาที่สะท้อนคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาและความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน
3. พัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเอกชนให้ได้มาตรฐานและมีศักยภาพในการแข่งขัน
4. พัฒนาการบริหารราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงในการทำหน้าที่กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกาาเอกชนให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
 
เป้าหมาย
1. ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความรักในสถาบันหลักของชาติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และคุณภาพชีวิต
2. ด้านโอกาสของผู้เรียน ผู้เรียนได้รับโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาภายใต้ระบบการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรมและเหมาะสมสำหรับการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพมาตรฐาน สะท้อนตามความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันของผู้เรียนและโรงเรียน รวมทั้งได้รับการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. ด้านประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนเอกชนมีการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ อยู่บนหลักความรับผิดชอบ สามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันได้จัดการศึกษาที่แตกต่างเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและการพัฒนาประเทศ
4. ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดและสนับสนุนการศึกษาเอกชน การศึกษาเอกชนมีบทบาทเพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการให้บริการด้านการศึกษาในระดับนานาชาติ และมีเครือข่ายความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเอกชน
5. ด้านระบบการบริหารจัดการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีการบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และอำนวยความสะดวก มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนได้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560 – 2564
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปฏิรูประบบทรัพยากรเพื่อการศึกษาเอกชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดและสนับสนุนการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการศึกษาเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการส่งเสริมการศึกษา










ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
Optimism มีทัศนคติที่ดี
Potential ทำงานมีศักยภาพ
Excellence มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
Clear ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส
Willful มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ
 
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ 
319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก 
แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. 10300 
ทร. 02 282 1000 
E-mail : admin@opec.go.th สายด่วน สช. 1693



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com