9366358

แนะนำการสอบกรมการศาสนา

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 156 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมการศาสนา
แนะนำการสอบกรมการศาสนา หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมการศาสนา หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมการศาสนา , ข้อสอบกรมการศาสนา , งานราชการกรมการศาสนา


บทบาทหน้าที่ของกรมการศาสนา




กรมการศาสนา
 
ประวัติกรมการศาสนา
 
พ.ศ. 2432การตั้งกรมธรรมการ
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมหลายกรมที่เกี่ยวกับงานการพระศาสนาและงานการจัดการศึกษามาอยู่กรมเดียวกันให้เรียกชื่อว่า กรมธรรมการ
 
พ.ศ. 2435 ารตั้งกระทรวงธรรมการ
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435
 
พ.ศ. 2462 ราชการของกระทรวงธรรมการ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า "ราชการของกระทรวงธรรมการและกรมศึกษาธิการนั้นต่างชนิดกันทีเดียว ยากที่จะเจ้ากระทรวงผู้สามารถบัญชาการได้ดีทั้ง 2 กรม คงได้ทางหนึ่งเสียทางหนึ่ง" มีพระบรมราชประสงค์จะให้ราชการเป็นไปสะดวก ทั้งจะให้สมแก่ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกโดยตรง จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ย้ายกรมธรรมการมารวมอยู่ในพระราชสำนักตามประเพณีเดิม ส่วนกระทรวงธรรมการให้เรียก กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่จัดการศึกษา
 
พ.ศ. 2469 กระทรวงธรรมการ
ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรจะแยกจากวัด" และได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็น กระทรวงธรรมการ โดยได้งานด้านพระศาสนามาไว้ในกระทรวงธรรมการ
 
พ.ศ. 2484 เปลี่ยนชื่อกรมธรรมการเป็นกรมศาสนา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2484 มีผลให้เปลี่ยนชื่อ กระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อกรมธรรมการเป็นกรมศาสนา





พ.ศ. 2495 กรมศาสนาได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการ
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2495 จัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้กรมศาสนาโอนสังกัดไปกระทรวงวัฒนธรรม กรมศาสนาได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2495 อยู่ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม 6 ปี 5 เดือน ก็ได้โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม ทั้งนี้เป็นผลจากประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2501 ยุบเลิกกระทรวงวัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ลงเป็นกอง ๆ หนึ่ง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 
พ.ศ. 2415 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดในกรมการศาสนา
ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ให้โอนกองวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดในกรมการศาสนา
 
พ.ศ. 2522 โอนกองวัฒนธรรมจากกรมการศาสนา จัดตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2522 และได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2522 มีผลให้โอนกองวัฒนธรรมจากกรมการศาสนา จัดตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
 
พ.ศ. 2545 จัดตั้งขึ้นเป็นสำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติมีฐานะเทียบเท่ากับกรม
มีการปฏิรูประบบราชการ กรมการศาสนาได้แยกออกจากกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และอีกส่วนหนึ่ง จัดตั้งขึ้นเป็นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีฐานะเทียบเท่ากับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี







ตรากรม
ระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2484 นั้น กรมการศาสนายังมีชื่อว่ากรมธรรมการ มีหน้าที่จัดเก็บเกี่ยวกับเรื่องศาสนา จนถึงพ.ศ.2484 กรมธรรมการจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมการศาสนา ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484
 
ตราอธิบดีกรมการศาสนา
ตราสำหรับตำแหน่งอธิบดีกรมการศาสนา เป็นตราประจำชาดรูปกลม ศูนย์กลางกว้าง 6 เซนติเมตร ลายกลางเป็นรูปเสมา มีอักษรตัว ที่เรียกกันว่าเธาะ ขัดสมาธิตั้งอยู่บนบัลลังก์สิงห์ภายในกนกเปลวมีอักษรที่ขอบเบื้องล่างว่า "อธิบดีกรมการศาสนา" ตรานี้ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2484
 
ตราของกรมการศาสนา
ตราของกรมการศาสนาดูเป็นแบบโบราณ คือมีตัวเธาะ อยู่กลางใบเสมา ตัวเธาะนี้นิยมใช้ในทางเลขยันต์ ถือกันว่าขลังดี โบราณาจารย์หมายเอารูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิ ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ จนสำเร็จพระอนุตรสัมโพธิญาณ แต่บางท่านก็ว่า หมายถึงธรรม ตามเครื่องรางของขลังต่างนิยมใช้ตัวเธาะขัดสมาธินี้มาก ฉะนั้นการที่นำมาบรรจุไว้ในตรากรมจึงดูขลังดี ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ออกแบบ
 
อำนาจหน้าที่
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมและให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ทำนุบำรุง ส่งเสริมเพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
(2) เสริมสร้างศีลธรรม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
(3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์ รวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
(4) ส่งเสริม ดูแล รักษาและทำนุบำรุงศาสนสถาน และศาสนวัตถุ
(5) ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ที่ทางราชการรับรอง และสนับสนุนการดำเนินการขององค์การศาสนา
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
1. ส่งเสริมศาสนศึกษา เพื่อเผยแพร่ศาสนธรรมและสืบทอดศาสนทายาท รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็น สงบสุข และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้านจิตใจมากกว่าวัตถุ
2. สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม ร่วมประกอบพิธีกรรมกับสมาชิกในครอบครัวมีศาสนาเป็นหลักในการดำรงชีวิต
3. เอื้อให้ศาสนิกชนต่างศาสนาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อความสมานฉันท์และเพื่อสันติธรรมในสังคม






คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ หอประชุมใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 
การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
รัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริมให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี รวมทั้งการทํานุบํารุงศาสนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมไทย และการยอมรับ ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ดังนี้
1. ส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ โดยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญา ภาษาไทย และภาษาถิ่นที่มีอัตลักษณ์และความหลากหลายผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เพื่อกระตุ้นกระแสนิยมวัฒนธรรมไทย พัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม
2. ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม กตัญญู ความซื่อสัตย์ การมีวินัย เคารพกฎหมาย มีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมทําประโยชน์ให้ประเทศ และเป็นพลเมืองที่ดี โดยส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชนเป็นฐานในการบ่มเพาะ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดําเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ให้สื่อมีบทบาทกระตุ้นและสร้างความตระหนักในค่านิยมที่ดี รวมถึงผลิตสื่อที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ และเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
3.ทํานุบํารุงศาสนาให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน และให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงแก่นแท้คําสอนของพระพุทธเจ้าและสามารถนํามาปฏิบัติในชีวิตประจําวันได้
4. สร้างความรู้ ความเข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ของประเทศเพื่อนบ้าน ยอมรับและเคารพในประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย ในลักษณะพหุสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศควบคู่กับการส่งเสริม สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
 
อำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมและให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริม พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ทำนุบำรุง ส่งเสริมเพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
2. เสริมสร้างศีลธรรม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
3. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์ รวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. ส่งเสริม ดูแล รักษาและทำนุบำรุงศาสนสถาน และศาสนวัตถุ
5. ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง และสนับสนุนการดำเนินการขององค์การศาสนา
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย











วิสัยทัศน์
"สนองงานพระราชพิธี พระราชกุศล และธำรงรักษางานศาสนพิธี อุปถัมภ์คุ้มครองศาสนา นำคุณธรรมจริยธรรมสู่สังคมไทย"
ยุทธศาสตร์
1. ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรัก หวงแหนและเทิดทูนสถาบันหลักของประเทศ
2. สนองงานด้านศาสนพิธีในงานพระราชพิธี พระราชกุศล และรัฐพิธี
3. ส่งเสริม ปลูกฝังให้ประชาชนนำหลักธรรมทางศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
4. สืบสาน รักษา สืบทอดงานศาสนพิธี และวัฒนธรรมประเพณี
5. อุปถัมภ์และส่งเสริมกิจการด้านศาสนาเพื่อสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม
6. พัฒนากลไกและยกระดับการบริหารจัดการงานด้านศาสนา
 
ทำเนียบผู้บริหารกรมศาสนา
นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา
นายสำรวย นักการเรียน รองอธิบดีกรมการศาสนา
นายวิเชียร อนันตศิริรัตน์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมป์
นางสาวฐิติมา สุภภัค ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
นางสุรีย์ เกาศล เลขานุการกรมการศาสนา
 
ติดต่อเรา
กรมการศาสนา เลขที่ 10 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฎ์ ชั้น 2 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
Tel. 02-209-3699
Fax 02-202-9622
Email dra@dra.mail.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com