8030400

แนะนำการสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

หมวดหมู่สินค้า: 32 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 131 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
แนะนำการสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม , ข้อสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม , งานราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

บทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม



ประวัติกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ในอดีตกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ภายใต้กองอุตสาหกรรม สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 
ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกรมอุตสาหกรรม จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีบทบาทสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ
แม้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2485 แต่บทบาทด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สงครามมหาเอเชียบูรพากำลังเริ่มต้นขึ้น 
ผลกระทบจากสงครามในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะขาดแคลนสินค้า เพื่อบรรเทาวิกฤตดังกล่าว รัฐบาลจึงเข้ามาส่งเสริมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตขึ้นจวบจนถึงปัจจุบัน
  ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำหน้าที่เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) และวิสาหกิจชุมชน (Micro Enterprises) ให้มีความเข้มแข็ง ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ มาตรการทางการค้า 
ข้อกฎหมายใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในความภูมิใจสูงสุดของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมคือ การเคียงข้าง พัฒนา และช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเป็นพลังอันแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกล สามารถแข่งขันและยืนหยัดบนเวทีระดับ
ภูมิภาค และระดับโลกต่อไป
  ความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในวันนี้ เป็นผลจากภารกิจ “ริเริ่ม - ส่งเสริม - วิจัยและพัฒนา” ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องและก่อเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยงานสำคัญหลาย ๆ 
งานที่ริเริ่ม ส่งเสริม และพัฒนาการผลิตมากมาย ยังคงเป็นรากฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงงานด้านวิจัยพัฒนาที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ค้นคว้า ทดลอง เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ
  เมื่อโลกในปัจจุบันหมุนไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญจากอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนโดยแรงงาน 
ไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และปรับจุดยืนครั้งใหญ่



 


  เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้อย่างเข้มแข็ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับโครงสร้างภายในองค์กรให้ทันสมัย 
โดยพัฒนาระบบงานด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทำหน้าที่ “พี่เลี้ยง” (Mentor) ของผู้ประกอบการได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ SMEs
  กว่า 7 ทศวรรษที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยืนหยัดเคียงข้างผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมาทุกยุคทุกสมัย ก็ด้วยความมุ่งหวังที่จะนำพาอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่าง 
“มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
 
ตราสัญลักษณ์
ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ พระนารายณ์ ฟันเฟือง และลูกศรสีธงชาติ ความหมายโดยรวมของสัญลักษณ์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายถึง การบริการ การสนับสนุน การส่งเสริม และการให้ความช่วยเหลือของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่คนไทยเพื่อให้อุตสาหกรรมของชาติก้าวทะยานสู่ความสำเร็จ
 
พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ
พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ (อังกฤษ: Vishnu) เป็นสัญลักษณ์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความเคารพนับถือเพราะเป็นองค์เทพที่ช่วยเหลือมนุษย์เมือถึงคราวยุคเข็ญ พระนารายณ์ประทับอยู่ที่จุดศูนย์กลางของสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายว่าพระนารายณ์ คือจุดกำเนิดของการก่อตั้งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ฟันเฟือง
ฟันเฟืองหรือเฟืองจักรอุตสาหกรรมแทนความหมายเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ลูกศรสีธงชาติ
พุ่งจากจุดกำเนิดแล้วกระจายออก แทนความหมายว่าการให้บริการและความช่วยเหลือต่างๆของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่ประชาชนในชาติ ส่วนหัวลูกศร ชี้ขึ้นแทนความหมายว่าความช่วยเหลือต่างๆ ขององค์กร มีเป้าหมายทะยานพุ่งขึ้นสู่ความสำเร็จของคนในชาติโดยส่วนรวม



 


หน่วยงานภายใน
-กลุ่มตรวจสอบภายใน
-สำนักงานเลขานุการกรม
-กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
-กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม
-กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
-กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน
-กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
-ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11
 
ผู้บริหารหลัก
ณัฐพล รังสิตพล อธิบดี 
ภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดี
เจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดี
 
ที่ทำการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com