8028788

แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

หมวดหมู่สินค้า: 32 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 145 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย , ข้อสอบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย , งานราชการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย


ประวัติความเป็นมาและอำนาจหน้าที่
 
1.ประวัติความเป็นมา
1.1 เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2506 คณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่าอุปสรรคของอุตสาหกรรมน้ำตาลซึ่งเป็นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้นคือการปลูกอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายยังมิได้เป็นตามหลักวิชาการโดยสมบูรณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่สามารถที่จะส่งน้ำตาลที่เหลือจากการบริโภคภายในประเทศไปจำหน่ายต่างประเทศตามราคาตลาดโลกได้ เมื่อได้พิจารณาถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายที่จะพึงมีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตแล้ว จึงได้เสนอหลักการแก้ไขปัญหาน้ำตาลระยะยาวต่อคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2508 มีมติเห็นขอบด้วยจึงได้ตราพระราชบัญญัติอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 ขึ้นเพี่อยกเลิกพระราชบัญญัติอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย พ.ศ. 2504 เสียตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2508 เป็นต้นไป แล้วมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำตาลทรายในระยะยาวข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทรายขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2509 ให้มีหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมกิจการไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายในทางวิชากร และให้โอนบรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่วิชาการและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของ “สำนักงานกองทุนสงเคราะห์อุตสาหกรรมน้ำตาลทราย” มาบรรจุเพื่อปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
1.2 โดยที่ฐานะของ “ศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทราย” ซึ่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นแต่เพียง “โครงการศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทราย” ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินงานในด้านส่งเสริมกิจการไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลในทางวิชาการได้สัมฤทธิ์ตามนโยบาย รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2511 ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทรายให้เป็นหลักฐานยิ่งขึ้น โดยการจัดตั้งเป็น “สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย” ขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมกิจการไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายทางงวิชาการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และปฏิบัติงานธุรการอื่นกับโดยกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ลุกจ้างและงบประมาณในโครงการศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทรายที่ตั้งไว้ในงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มาเป็นของ “สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย” แต่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายในขณะนั้นไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการตาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ต่อมาจึงได้รับการปรับปรุงให้เป็นส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่ากองอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง 



 


2. ฐานะของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายและฐานะของเจ้าหน้าที่
การจัดตั้งสำนักงานอ้อยและน้ำตาลมรายขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินกิจการต่าง ๆ ในทางวิชาการตามนัยกฎหมาย สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายได้รับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ลูกจ้างชั่วคราว และเงินงบประมาณโครงการศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทรายจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 มิได้ระบุชัดเจนว่าให้สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายมีฐานะเป็นส่วนราชการ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้นำเรื่องเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการให้สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี และขอให้ยกฐานะลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งรับโอนมาจากศูนย์ส่งเสริมน้ำตาลทรายเป็นลูกจ้างประจำ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันนี้ 2 กันยายน 2512 ลงมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นส่วนราชการ กับให้ยกฐานะลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นลูกจ้างประจำด้วย สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังจึงได้ร่วมกันพิจารณาฐานะลูกจ้างชั่วคราวเป็นตำแหน่งลูกจ้างประจำตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2512 เป็นต้นมาในการยกฐานะลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายในครั้งนี้ สำนักงบประมาณของกระทรวงการคลังได้พิจารณาแยกประเภทตำแหน่งลูกจ้างประจำของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายออกเป็น 2 ประเภท คือ
2. ลูกจ้างประจำที่มีลักษณะงานเป็นข้าราชการ เช่น ตำแหน่งนักวิชาการต่าง ๆ ที่มีคุณวุฒิซึ่งต่อไปเมื่อสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นส่วนราชการอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติปรับปรับกระทรวงทบวงกรมและตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมและตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการแล้ว ตำแหน่งต่าง ๆ ของลูกจ้างประจำตามลักษณะงานนี้ก็จะได้พิจารณาขอปรับฐานะเป็นข้าราชการพลเรือนกับส่วนราชการอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่รอการปรับปรุงเป็นส่วนราชการที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่นี้จึงต้องเป็นลูกจ้างประจำไปก่อน ดังนั้น สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง และสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้ร่วมกันพิจารณากำหนดตำแหน่ง อัตราจ้าง เงื่อนไขการจ้าง การบรรจุ ตลอดจนวิธีการเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และตามระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของข้าราชการทุกประการ  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการพิจารณาเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงฐานะลูกจ้างประจำประเภทนี้เข้าสู่ระบบราชการต่อไปในอนาคต



 


          ต่อมา เมื่อเดือนสิงหาคม 2515 คณะกรรมการที่ปรึกษาระเบียบบริหารของหัวหน้าคณะปฏิวัติฐานะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาระเบียบบริหารฯ ได้มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกับสำนักงาน ก.พ. ต่อไป เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 276 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2515 ให้แบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี    สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นส่วนราชการมีฐานะเท่ากับกองตามที่กล่าวมาแล้ว ได้มีการปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับสำนักงาน ก.พ. ในระดับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องที่จะปรับฐานะลูกจ้างประจำของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นข้าราชการ แต่ยังไม่เป็นที่ตกลงในหลักการ จนกระทั่งตั้งแต่ปีงบประมาณ 2521 เป็นต้นมา สำนักงาน ก.พ. จึงได้อนุมัติอัตราข้าราชการให้แก่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย รวมจำนวน 91 อัตรา ซึ่งกำหนดให้เป็นตำแหน่งทดแทนลูกจ้างประจำ 87 อัตรา ส่วนเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายปัจจุบันจำนวน 183 อัตรา ก็ยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำทั้งสิ้น
 
วิสัยทัศน์
ผลักดันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายด้วยนวัตกรรมสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงภายในปี 2564
 
ค่านิยม
เป็นธรรม โปร่งใส ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี
 
พันธกิจ
สอน. เป็นหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งมีพันธกิจดังนี้
1. การปรับปรุงพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งกฎหมายและระเบียบต่าง
ๆที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมและเอื้อต่อการเพิ่มมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรม รวมทั้งสอดคล้องกับพันธกรณีข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
2. การเพิ่มผลิตภาพอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
3. กำหนดมาตรฐานการผลิตน้ำตาลทรายและต้นทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อสร้างเสถียรภาพและความเป็นธรรมให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
4. การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอ้อย น้ำตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมั่งคั่งให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
5. พัฒนาระบบบริหารและศักยภาพบุคลากรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่สู่องค์กรสทรรถนะสูง และเป็นองค์กรแห่งความสุข
ด้วยพันธกิจดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแล เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายด้วยนวัตกรรมสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ขององค์กร โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ หน่วยงาน สถาบัน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
          1. สถาบันชาวไร่อ้อยสังกดชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 16 สถาบัน
          2. สถาบันชาวไร่อ้อยสังกัดสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 8 สถาบัน
        3. สถาบันชาวไร่อ้อยสังกัดสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 9 แห่ง
          4. สถาบันชาวไร่อ้อยสังกัดสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 5 แห่ง
          5. สถาบันชาวไร่อ้อยสังกัดชุมนุมสหกรณ์การเกษตร 1 แห่ง
          6. บริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลทราย 7 แห่ง
          7. บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
          8. โรงงานน้ำตาลทราย จำนวน 57 แห่ง



 


คณะผู้บริหาร ของ สอน.
นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการ
นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ
นายกิติกร สุขสม รองเลขาธิการ
นายศิวะ โพธิตาปนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
นายประสิทธิ์ วงษาเทียม ผู้อำนวยการกองอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
นายสามารถ น้อยวัน ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
นางสุภาณี สุริยจันทราทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการกรม
นายจิรวัฒน์ เทอดพิทักษ์พงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1
นายสุนัย พิริยสกุลพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2
นางสาวศยารัตน์ คงธนโชติเดชา  ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 3
นายสมหวัง ก้อนกงไกว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 4
นายสมนึก มั่นในบุญธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย
นางกรรณิกา หาญเวช หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน
นางสาววีราภรณ์ แซ่ลิ้ม หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
 
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรงเทพฯ 10400 โทร 0 2430 681

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com