8029389

แนะนำการสอบกรมการจัดหางาน

หมวดหมู่สินค้า: 42 สำนักงานศาลยุติธรรม

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 192 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมการจัดหางาน
แนะนำการสอบกรมการจัดหางาน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมการจัดหางาน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมการจัดหางาน , ข้อสอบกรมการจัดหางาน , งานราชการกรมการจัดหางาน


บทบาทหน้าที่ของกรมการจัดหางาน











กรมการจัดหางาน
 
ประวัติความเป็นมา
กรมการจัดหางานจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2536 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจกรรมบางส่วนของกระทรวงมหาดไทยไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ.2536 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กรกฎาคม 2536 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2536
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ โดยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ในส่วนของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้แยกการบริหารงานด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมออกจากกัน จัดตั้งเป็นกระทรวงแรงงานและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงประทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 กันนยายน 2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545
 
ความเป็นมาของการก่อตั้ง หน่วยงานด้านแรงงาน
พ.ศ.2475 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ.2475 ขึ้นบังคับใช้ เนื่องในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีคนว่างงานมาก โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะตั้งสำนักงานเพื่อจัดหางานให้แก่ประชาชน และสามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในปีเดียวกันรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติสำนักงานท้องถิ่นขึ้น โดยกำหนดให้มีการจัดจั้งสำนักหางานกลางขึ้นในจังหวัดพระนครและธนบุรี เพื่อทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ
พ.ศ.2476 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกจัดหางานในกองทะเบียน กรมปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินการ จัดหางานของเอกชนและสำนักจัดหางานกลาง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับกระทรวง เศรษฐการ กองสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์ เนื่องจากเห็นว่างานจัดหางานเป็นงานที่มีความใกล้ชิดกับเศรษฐกิจมากกว่ากิจการทะเบียน
พ.ศ.2477 ยกฐานะแผนกจัดหางานขึ้นเป็นกองกรรมกร สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ
พ.ศ.2481 กองกรรมกรถูกยุบเป็นแผนกกรรมกร สังกัดกองสถิติพยากรณ์ กรมการพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เนื่องจากปัญหาการว่างงาน
พ.ศ.2484 แผนกกรรมกรย้ายไปสังกัด กองอาชีพสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2490 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของงานด้านกรรมกร จึงได้ยกฐานะเป็นกองกรรมกร สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็นกองแรงงาน
พ.ศ.2505 กองแรงงานได้รับการยกฐานะเป็นส่วนแรงงานเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ.2508 ยกฐานะเป็นกรมแรงงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2508
พ.ศ.2533 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2533 ให้จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม ขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคมและงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ไปเป็นของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 ให้ยุบกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหาร บางส่วนของทรัพย์สิน หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณ ของกรมแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองการจัดหางาน กองงานคนต่างด้าว สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ และสำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ไปเป็นของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย โดยพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2535
พ.ศ.2536 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2536 ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกอบด้วยส่วนราชการ คือ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการจัดหางาน กรมประชาสงเคราะห์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทยไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ.2536 ให้โอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของกองการจัดหางาน กองงานคนต่างด้าว สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ และสำนักงานพัฒนาแรงงานจังหวัด(ปัจจุบันคือสำนักงานจัดหางานจังหวัด) ซึ่งเป็นส่วนราชการอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536











พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ได้มีการจัดกลุ่มภารกิจใหม่ตามการปฏิรูประบบราชการในส่วนของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยได้แยกการบริหารงานด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมออกจากกัน จัดตั้งเป็นกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วยสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545
 
วิสัยทัศน์
“กำลังแรงงานมีงานทำถ้วนหน้า ทุกช่วงวัย ภายในปี 2565”
 
พันธกิจ
1 ส่งเสริมการมีงานทำ โดยให้บริการจัดหางาน แนะแนวอาชีพคุ้มครองคนหางาน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้
2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตามภารกิจของกรมการจัดหางาน
3 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
4 ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการบริหารตลาดแรงงานสู่ความสมดุล
5 บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว












ค่านิยม
STRONG
S = Sevice Mind : มีจิตบริการ มุ่งเน้นให้บริการประชาชนทุกช่วงวัยที่มารับบริการ
T = Team Work : การทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร
R = Response : ตอบสนองต่อทุกภารกิจที่ได้รับอย่างรวดเร็วฉับไว
O = Owner : มีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร และภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
N = Network : สานสร้างเครือข่ายเพื่อการบูรณาการทั้งภายในและภายนอกองค์กร
G = Goal : เพื่อเป้าหมายคือประชาชน
 
โครงสร้างหน่วยงาน
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดหางาน ได้แบ่งส่วนราชการของกรมการจัดหางานเป็นราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังนี้
 
: กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559
ราชการบริหารส่วนกลาง
1 สำนักงานเลขานุการกรม
2 กองนิติการ
3 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
4 กองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน
5 กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน
6 กองส่งเสริมการมีงานทำ
7 สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
8 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
9 กองบริหารทรัพยากรบุคคล
10 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
11 กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน
12 สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5
 
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
-สำนักงานจัดหางานจังหวัด
 
หน่วยงานภายในที่กรมจัดตั้งขึ้นกองภายใน
1 สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 6-10
 
หน่วยงานซึ่งขึ้นตรงต่ออธิบดี
1 กลุ่มตรวจสอบภายใน
2 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
 
อำนาจหน้าที่
กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำ คุ้มครองคนหางาน ศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงานเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำ เพื่อให้ประชากรมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และความถนัด ไม่ถูกหลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานกฎหมายว่าด้วย การทำงานของคนต่างด้าวและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2 วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มความต้องการแรงงานและเป็นศูนย์ทะเบียนข้อมูลแรงงาน
3 พัฒนาระบบ รูปแบบ มาตราการ และวิธีการด้านการจัดหางานจัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง รวมทั้งกำหนดมาตราฐานอาชีพและอุตสาหกรรม
4 ให้คำปรึกษา ส่งเสริม และให้บริการแนะแนวอาชีพ ทดสอบความถนัดให้แก่ประชาชน
5 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
ข้อมูลผู้บริหารหน่วยงาน
ไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดี 
สมชาย มรกตศรีวรรณ รองอธิบดี
อรเทพ อินทรสกุล รองอธิบดี
นันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ รองอธิบดี
 
ข้อมูลติดต่อ
กรมการจัดหางาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
สอบถามข้อมูล: pr@doe.go.th
ศูนย์มิตรไมตรี: 1694 หรือ สายด่วน: 1506 กด 2
 FAX 02 248 6834
 pr@doe.go.th





ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com