9440041

แนะนำการสอบสำนักงานศาลปกครอง

หมวดหมู่สินค้า: 88 กรมบังคับคดี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 159 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานศาลปกครอง
แนะนำการสอบสำนักงานศาลปกครอง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานศาลปกครอง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานศาลปกครอง , ข้อสอบสำนักงานศาลปกครอง , งานราชการสำนักงานศาลปกครอง


บทบาทหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง





สำนักงานศาลปกครอง
 
ประวัติความเป็นมา
การจัดตั้งองค์กรตามกฎหมาย ที่เรียกว่า Council of State ในประเทศไทย
ศาลปกครองเป็นองค์กรที่มีความเป็นมายาวนานและมีความสำคัญต่อการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ โดยทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครองระหว่างราษฎรกับรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเทศในแถบภาคพื้นยุโรปที่ถือว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดรูปแบบของการพิจารณาคดีปกครองด้วยระบบศาล
 
          องค์กรสำคัญที่ถือเป็นรากฐานในการพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบของศาลปกครอง นั่นก็คือ เคาน์ซิลออฟสเตด Council of State หรือสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินที่มีกำเนิดมาจากประเทศในกลุ่มภาคพื้นยุโรป ที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย Civil law เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอิตาลี โดยหลักสภาดังกล่าวจะมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญสองประการ คือ เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจจะเป็นพระมหากษัตริย์ จักรพรรดิ หรือคณะรัฐมนตรีก็ได้ แล้วแต่ระบบการเมืองและการปกครองของประเทศดังกล่าว และอีกประการหนึ่งคือมีหน้าที่ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับรัฐ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ Council of State มีวิวัฒนาการมาจาก “สภาที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์” (curia regis หรือ Conseil du roi) ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในศตวรรษที่ 13 ทำหน้าที่เสนอความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งในการเสนอความเห็นในบรรดาข้อพิพาทถวายพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าสภาแห่งรัฐของพระมหากษัตริย์มีอำนาจทั้งการบริหารราชการแผ่นดินและอำนาจทางการตุลาการ แต่การใช้อำนาจทางตุลาการของสภาแห่งรัฐของพระมหากษัตริย์นั้นจะทำหน้าที่เพียงการร่างคำวินิจฉัยถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงวินิจฉัย










          ต่อมา สถาบันที่ปรึกษาแห่งรัฐของพระมหากษัตริย์ ได้ถูกยกเลิกไปโดยการปฏิวัติ ในปี 1789 โดย นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) ได้กระทำการยึดอำนาจและรัฐประหาร และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1799 ได้จัดตั้งสถาบันขึ้นอีกครั้งหนึ่งในชื่อของ The Council of State วางรากฐานในปี 1799 กล่าวได้ว่าสถาบันดังกล่าวนี้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการปกครอง ร่างกฎหมายและทำหน้าที่ด้านการพิจารณาคดี (judicial role) ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างดียิ่งในทุกวันนี้...(อ่านเพิ่มเติมในเอกสารประกอบ)
 
ตราสัญลักษณ์
  ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครองได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระคทาจอมทัพ" ซึ่งเป็นพระคทาประจำพระองค์ ไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของ "ตราสัญลักษณ์ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชให้สถิตสถาพรตลอดไป โดยประกอบเป็นแกนกลางดุลพาหประดิษฐานบนพานมีช่อชัยพฤกษ์อยู่ด้านล่าง ภายในขอบวงรี ซึ่งมีความหมายของตราสัญลักษณ์ ดังนี้
วงรี วงรีมาจากวงกลมที่รีเป็นรูปไข่ หมายถึง วงกลมซึ่งมีการเคลื่อนไหวหมุนไปตลอดเวลา เป็นการพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่งมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
            ดุลพาห ดุลหรือตาชั่ง เป็นเครื่องหมายวัดหาความเสมอกัน หมายถึง การสมดุล เสมอภาคมีความเป็นธรรมและไม่เอนเอียงแก่ฝ่ายใด ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเที่ยงตรง
            พระคทาจอมทัพ เป็นพระคทาประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นเครื่องหมายแสดงว่าศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครองจัดตั้งขึ้นสำเร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเพื่อให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ กับทั้งเป็นมิ่งขวัญเครื่องเตือนใจให้ตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครองปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเจตนารมณ์ในการจัดตั้งศาลปกครอง
            พาน ใช้สำหรับอัญเชิญสิ่งสำคัญ ซึ่งได้แก่ การอัญเชิญพระคทาจอมทัพซึ่งเป็นพระคทาประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
          ช่อชัยพฤกษ์ เป็นช่อใบไม้ใช้สวมหัวเมื่อมีชัยชนะ หมายถึง ความมีชัยชนะในการคิดและการดำเนินการแห่งสรรพกิจทั้งปวงของศาลปกครอง และสำนักงานศาลปกครอง
 
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
          “อำนวยความยุติธรรมทางปกครองด้วยความเป็นธรรม รวดเร็ว ทันสมัยเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม และเป็นศาลแห่งความเป็นเลิศ” หรือเป็นคติพจน์ว่า “เป็นธรรม รวดเร็ว ทันสมัย”
เป็นธรรม  หมายถึง ศาลปกครองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับประโยชน์สาธารณะ อำนวยความยุติธรรมทางปกครองตามหลักนิติธรรม ภายใต้หลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ (Independence of the Judiciary) ประชาชนผู้มีอรรถคดีได้รับความเป็นธรรมและเสมอภาค มีมาตรการบังคับคดีปกครองให้เกิดผลทางกฎหมายโดยเร็ว และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง
รวดเร็ว หมายถึง มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ประชาชน/คู่กรณีสามารถตรวจสอบเรื่องที่ใช้บริการหรือเกี่ยวข้องว่าดำเนินงานไปถึงขั้นตอนใด คดีค้างการพิจารณาเกินกรอบเวลามาตรฐานลดลงอย่างต่อเนื่องจนหมดไป คดีแล้วเสร็จมากกว่าคดีรับเข้า มีการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองมาใช้ กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาพิพากษาคดีและการให้บริการประชาชน
ทันสมัย หมายถึง การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บริการประชาชนให้สามารถเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ทันสมัยเป็นศาลปกครองอัจฉริยะ (Smart Admincourt) อย่างเต็มรูปแบบ บุคลากรของศาลปกครอง เป็น Smart Person “คนดี คนเก่ง มีความสุขในการทำงาน มุ่งอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยสะดวก และรวดเร็ว” ยกระดับการดำเนินงานของศาลปกครองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคมโลก มีมาตรฐานระดับสากลและมีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรชั้นนำด้านการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองในภูมิภาคเอเชียและในระดับสากล พัฒนาหลักกฎหมายปกครองเพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมในประเทศและเป็นพื้นฐานสำหรับนานาชาติทั่วโลก












เสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม หมายถึง ศาลปกครองแสดงบทบาทที่สำคัญในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยความรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ แนวคำวินิจฉัยมีความชัดเจน มีมาตรฐาน เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อช่วยเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นรูปธรรม พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง หลักกฎหมายปกครองและแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองไปเผยแพร่อย่างเป็นระบบและทั่วถึง ผ่านรูปแบบ วิธีการและช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กร/หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศาลแห่งความเป็นเลิศ หมายถึง การนำกรอบสากลเพื่อความเป็นเลิศของศาลมาปรับใช้ในศาลปกครอง และ/หรือกรอบการประเมินตัวชี้วัด/ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรศาลในระดับสากล เพื่อยกระดับการบริหารจัดการคดีและการบริหารจัดการองค์กรของศาลปกครองไปสู่ระดับมาตรฐานสากลและทำให้ศาลปกครองได้รับความเชื่อมั่นจากสาธารณชน เป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากลและเป็นศาลแห่งความเป็นเลิศ
 
พันธกิจ
พันธกิจที่ 1 พิพากษาคดีและบังคับคดีปกครองด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม รวดเร็วและเกิดสัมฤทธิผลทุกภาคส่วนในสังคมเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยง่าย และทั่วถึง 
พันธกิจที่ 2 วางหลักปฏิบัติราชการทางปกครองที่เป็นบรรทัดฐานในการใช้อำนาจทางปกครองที่เป็นธรรมเพื่อป้องกันและลดการเกิดข้อพิพาททางปกครอง
พันธกิจที่ 3 ยกระดับการดำเนินงานของศาลปกครองให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และมีธรรมาภิบาลเพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายปกครองและหลักปฏิบัติราชการที่ดีจากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม
พันธกิจที่ 5 เสริมสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือทางการศาล ทางวิชาการ และอื่นๆ ที่จำเป็นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
เขตอำนาจศาลปกครอง
ศาลปกครองมีเขตอำนาจ (เขตพื้นที่ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรืออำนาจของศาลปกครอง (อำนาจของศาลปก
 
ผู้บริหารศาลปกครอง
นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด
นายชาญชัย แสวงศักดิ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
นายวิษณุ วรัญญู รองประธานศาลปกครองสูงสุด
นายสุเมธ รอยกุลเจริญ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
 
ติดต่อหน่วยงานศาลปกครอง
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ 0 2141 1111 อีเมล saraban@admincourt.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com