8089404

แนะนำการสอบงานปปส.

หมวดหมู่สินค้า: 88 กรมบังคับคดี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 110 ผู้ชม

แนะนำการสอบงานปปส.
แนะนำการสอบงานปปส. หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบงานปปส. หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุงานปปส. , ข้อสอบงานปปส. , งานราชการงานปปส.


บทบาทหน้าที่ของงานปปส.






สำนักงาน ป.ป.ส. 

 
ประวัติย่อ การจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส.
เหตุผลและความเป็นมาของการจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส.
การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายสำคัญของหลายรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2501 รัฐบาลขณะนั้นได้ประกาศให้ยกเลิกการเสพฝิ่น แต่ปัญหายาเสพติดก็มิได้หมดไป กลับปรากฏว่ามียาเสพติดชนิดใหม่ ที่รุนแรงกว่าฝิ่น คือเฮโรอีนระบาดอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ (ก.ป.ส.) ขึ้นในปี 2504 ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและประสานงาน เพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน
 
 การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2519 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 และมาตรา 11 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า"สำนักงาน ป.ป.ส." มีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการและปฏิบัติงาน ธุรการอื่น ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แบ่งส่วนราชการ ณ ขณะนั้นเป็น 7 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองนโยบายและวางแผน กองการต่างประเทศ กองสารนิเทศ กองสืบสวนสอบสวนและปราบปราม กองนิติการและพิสูจน์หลักฐาน กองประสานงานและตรวจสอบ
  การเริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ 2520 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รับงบประมาณ ในปี 2520 จำนวน 8,173,124 บาท และได้รับอนุมัติอัตรากำลังจาก ก.พ.รวมทั้งสิ้น 334 อัตรา เมื่อปี 2519 สำนักงานฯใช้ตึก บัญชาการและตึกไทยคู่ฟ้า(บางส่วน)ในทำเนียบรัฐบาลเป็นที่ทำงานอยู่ประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นได้ใช้ศาลาสันติธรรมจนถึงตุลาคม 2527
เมื่อปี 2528 ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน ป.ป.ส. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลตำรวจตรีเภา สารสิน (ยศขณะนั้น)เลขาธิการ ป.ป.ส. ได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะจัดสร้างอาคารสำนักงานฯขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการถาวร จนกระทั่งรัฐบาลซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นความจำเป็น จึงได้อนุมัติให้จัดสร้างอาคาร 6 ชั้น ในที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ติดกับซอยบุญชูศรี ถนนดินแดง มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา จึงเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงาน ป.ป.ส. จนถึงปัจจุบันนี้
 
การบริหารงาน สำนักงาน ป.ป.ส.
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 และนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งนายประมุข สวัสดิมงคล เป็นเลขาธิการ ป.ป.ส.คนแรก








วิสัยทัศน์ของสำนักงาน ป.ป.ส.
"เป็นองค์กรนำในการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศและอาเซียนเพื่อสังคมไทยปลอดภัยจากยาเสพติด"
"To be a leading agency in developing and driving forward the drug control strategies of Thailand and ASEAN in order to make Thai society safe from drugs"
 
พันธกิจของสำนักงาน ป.ป.ส.
สำนักงาน ป.ป.ส. มีพันธกิจดังนี้
(1) กำหนดและปรับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
(2) บริหารจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างบูรณาการ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด
(3) อำนวยการให้มีการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(4) ติดตามประเมินผล ตรวจสอบและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด
 
เหตุผลและความเป็นมาของการจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส.
(1) เป็นหน่วยประสานนโยบายและแผน
(2) เป็นหน่วยประสานการปฏิบัติงาน
(3) เป็นหน่วยสนับสนุนข้อมูล ข่าวสาร และวิชาการ
(4) เป็นหน่วยปฏิบัติสำหรับงานด้านประชาสัมพันธ์ต่อต้านยาเสพติด งานบริหารโครงการที่มีลักษณะเป็น Pilot Project และงานตามภารกิจที่กฎหมายระบุให้สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
(5) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
(6) เป็นหน่วยงานพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศและภูมิภาค
(7) เป็นหน่วยงานในการควบคุม ตรวจสอบและกำกับ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(8) เป็นหน่วยงานกลางในการประสาน กำกับ ดูแล และให้ความเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะด้านงบประมาณป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศ








นโยบายแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบัน บังคับใช้ในปี ๒๕๖๔
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร พ.ศ. ๒๕๖๔
แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒
แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒
แผนประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐
แผนปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่องค์กรคุณธรรม
 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 
มาตรา ๑๓
(๑) กำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน มาตรการ และกลไกในการสกัดกั้น ป้องกันและปราบปราม บำบัดรักษา และแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ครบวงจร เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
(๒) กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการประสานความร่วมมือกับประเทศต่างๆ หรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการลักลอบผลิตและค้ายาเสพติด รวมทั้งประสานงานการข่าวเพื่อสกัดกั้นและปราบปรามจับกุมขบวนการและเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ
(๓) ควบคุม เร่งรัด และประสานงาน เพื่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน ปราบปราม การฟ้องคดี และการบังคับโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(๔) กำหนดสถานะของพื้นที่หรือกลุ่มพื้นที่ในแต่ละปี หรือพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และกำหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พร้อมกับกำหนดให้มีกลไก โครงสร้าง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมกับสถานะของปัญหา และให้ส่วนราชการให้การสนับสนุนตามที่ร้องขอ
(๕) วางโครงการและดำเนินการ ตลอดจนสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
(๖) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรืองาน แผนงาน หรือโครงการของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(๗) ประสานงานและกำกับเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(๘) พิจารณาอนุมัติหรือมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการและกำหนดให้สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว
(๑๐) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้ความดีความชอบหรือโยกย้ายหรือลงโทษทางวินัยต่อข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตลอดจนขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเร่งรัดการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
(๑๑) พิจารณาและดำเนินการจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งกำกับและติดตามการใช้งบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๑๒) สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา ๑๔ 
เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงาน มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)  เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามีบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้  ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลับหนีไปหรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๒) ค้นบุคคล หรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๓) จับกุมบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๔) ยึดอายัดยาเสพติดที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
(๕) ค้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๖) สอบสวนผู้ต้องหาในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (๒๒)
(๗) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใดๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือ             ประกอบการพิจารณา
การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น รายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป และบันทึกเหตุอันควรสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือสถานที่ค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก เจ้าพนักงานผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป หรือราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการทหารตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป
เจ้าพนักงานตำแหน่งใดหรือระดับใดจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกำหนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายนั้น (๒๓)
เจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเอกสารมอบหมายนั้นต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
ในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ให้เลขาธิการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยให้รายงานข้อเท็จจริง ปัญหาอุปสรรค 
ปริมาณการปฏิบัติงานและผลสำเร็จของการปฏิบัติงานโดยละละเอียด เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอรายงานดังกล่าวพร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา











มาตรา ๑๔ ทวิ ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรซึ่งได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติด ในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะ ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
มาตรา ๑๔ ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๔ ทวิ ถ้าเจ้าพนักงานได้ขอให้บุคคลใดช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ ให้บุคคลนั้นมีอำนาจช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานได้
 
มาตรา ๑๔ จัตวา ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ 
หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงานซึ่งได้รับอนุมัติ
จากเลขาธิการเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงาน ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล หรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
                  (๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
(๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อเจ้าพนักงานได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการให้อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ
บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเท่านั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการกำหนด
 
ติดต่อสำนักงาน
เลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 
โทรศัพท์ 02-247-0901-19 โทรสาร 02-245-9350




ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com