8090189

แนะนำการสอบการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

หมวดหมู่สินค้า: 88 กรมบังคับคดี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 118 ผู้ชม

แนะนำการสอบการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนะนำการสอบการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , ข้อสอบการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , งานราชการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

บทบาทหน้าที่ของการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ





ความเป็นมา
  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "สภาพัฒน์" หรือ "สภาพัฒนาฯ" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2493 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อว่า "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" มีหน้าที่เสนอความเห็น ให้คำแนะนำ และข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ
ต่อมา ปี 2502 ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” และได้จัดทำ "แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ฉบับแรกขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2504 และใน พ.ศ. 2515 ได้นำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง จึงเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น "สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” (สศช.)
ครั้นใน ปี 2560 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการ จึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ขึ้น (ปรับใหม่) เพื่อเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดบทบาทภารกิจของ สศช. อีกหลายด้านที่สำคัญและมีผลกระทบต่อความจำเป็นในการปรับโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของ สศช. อย่างมาก คือ การให้ สศช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรการ ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ความเห็น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
    สศช. จึงเร่งปฏิรูปองค์กรเพื่อรองรับบทบาทใหม่ โดยมุ่งปรับกลไกบริหารงานของหน่วยงานให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว ปรับตัวได้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะเป็นเชิงกลยุทธ์มากขึ้น โดยได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติสภาพัฒน์ฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2521 ที่เรียกว่า "พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521” เปลี่ยนมาเป็น "พระราชบัญญัติ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561” ซึ่งภายใต้ พ.ร.บ. ใหม่นี้ มีการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจาก "คณะกรรมการ” เป็น "สภา” โดย "สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ได้เพิ่มจำนวนองค์ประกอบของกรรมการให้มากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาที่มีความเชื่อมโยงและซับซ้อนกันมากขึ้น นอกจากนี้ สภาพัฒน์ยังสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยปฏิบัติงานได้อีกหลายคณะ ได้แก่
 
-คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง เพื่อสนับสนุนงานของสภาฯ ในการพิจารณาประเด็นการพัฒนาที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
-คณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่สภาฯ มอบหมาย
-คณะกรรมการประสานการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน
-คณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาฯ ในแต่ละด้าน เพื่อทำหน้าที่ยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้านต่าง ๆ ตามกรอบที่สภาฯ กำหนด
          จากการปรับรูปแบบการบริหารดังกล่าว ทำให้สภาพัฒน์มีรูปแบบคณะกรรมการที่หลากหลายมากขึ้น ประธานสภาพัฒน์สามารถเลือกใช้รูปแบบและกลไกการทำงานที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนงานตามภารกิจของสภาพัฒน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพิจารณาเรื่องที่ต้องการความเร่งด่วนหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะ ก็สามารถใช้กลไกคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ที่มีองค์ประกอบกรรมการจำนวนไม่มาก มีความคล่องตัวในการทำงานได้
 


 


เลขาธิการจากอดีตถึงปัจจุบัน  
ลำดับที่ 17 นายดนุชา พิชยนันท์ 2563-ปัจจุบัน
ลำดับที่ 16 นายทศพร ศิริสัมพันธ์ 2561-2563
ลำดับที่ 15 นายปรเมธี วิมลศิริ 2558-2561
ลำดับที่ 14 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ 2553-2558
ลำดับที่ 13 นายอำพน กิตติอำพน 2547-2553
ลำดับที่ 12 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช 2545-2547
ลำดับที่ 11 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 2542-2545
ลำดับที่ 10 นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม 2539-2542
ลำดับที่ 9 นายสุเมธ ตันติเวชกุล 2537-2539
ลำดับที่ 8 นายพิสิฏฐ ภัคเกษม 2532-2537
ลำดับที่ 7 นายเสนาะ อูนากูล 2523-2532
ลำดับที่ 6 นายกฤช สมบัติสิริ 2518-2523
ลำดับที่ 5 นายเสนาะ อูนากูล 2516-2518
ลำดับที่ 4 นายเรณู สุวรรณสิทธิ์ 2513-2516
ลำดับที่ 3 นายประหยัด บูรณศิริ 2506-2513
ลำดับที่ 2 นายฉลอง ปึงตระกูล 2499-2506
ลำดับที่ 1 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ 2493-2499
 
วิสัยทัศน์
"เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง "
 
วัฒนธรรมองค์กร
"เป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะและสังคม มีระบบ ธรรมาภิบาล บุคลากรของสำนักงานฯ เป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุดขององค์กร"
 
ค่านิยม สศช.
"มุ่งมั่น ทุ่มเท พัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม ด้วยคุณธรรม ตามหลักวิชาการอย่างมืออาชีพ"
 
บทบาท/อำนาจหน้าที่
 กลไกการทำงาน ของ สศช.
พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้แบ่งกลไกการดำเนินงานของ สศช. ออกเป็น 2 ระดับ คือ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
องค์ประกอบ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานสภา 1 คน และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 15 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในทางเศรษฐกิจและสังคมตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ จำนวน 7 คน และกรรมการสภาโดยตำแหน่ง 7 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ ประธานสภา หรือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระดำรงตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี ซึ่งหลังจากพ้นตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ ไม่ได้
อำนาจหน้าที่
· กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งของประเทศและของโลก รวมทั้งจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
· เสนอแนะ ให้คำปรึกษา และให้ความเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่าง ๆ ต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
· เสนอแนะ ให้คำปรึกษา และให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการพัฒนาเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
· พิจารณาข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด สำหรับสินทรัพย์ถาวรที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งจำนวนเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการนี้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
· แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย
· เชิญบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย ความเห็น หรือคำแนะนำได้เมื่อเห็นสมควร



 


2. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงสร้าง
สศช. มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้บริหารสูงสุด มีผู้บริหารระดับรองลงมา ได้แก่ รองเลขาธิการฯ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ผู้อำนวยการสำนัก/กอง มีบุคลากรรวมประมาณ 600 คน แบ่งส่วนราชการ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 เป็น 5 สำนักงาน 14 กอง และ 1 ศูนย์
อำนาจหน้าที่
· ดำเนินงานในฐานะเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
· ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และติดตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก รวมทั้งปัญหาและโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งในบริบทประเทศและโลก เพื่อจัดทำข้อเสนอในเชิงนโยบาย และมาตรการการพัฒนาประเทศหรือรองรับผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา
· ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
· ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
· จัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม บัญชีประชาชาติของประเทศตามระบบสากล เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายการพัฒนาประเทศ และรายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
· จัดทำกรอบการลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม
· จัดทำข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด สำหรับสินทรัพย์ถาวรที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งจำนวนเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการนี้ และเสนอสภาเพื่อพิจารณา
 
พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกเชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม และของรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด รวมทั้งประสานแผนงานและโครงการพัฒนาดังกล่าว เพื่อวางแผนส่วนรวมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สนับสนุนและประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผน แผนงาน และโครงการพัฒนา และการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานตามแผน
ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย แผน แผนงาน และโครงการพัฒนาที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเร่งรัด ปรับปรุง หรือเลิกล้มโครงการพัฒนาอันหนึ่งอันใดเมื่อเห็นสมควร
ขอให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนงานและโครงการพัฒนา ข้อเท็จจริง ตลอดจนรายละเอียดที่จำเป็นแก่การศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหรือการพิจารณาผลงานของโครงการพัฒนาที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือเชิญบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย ความเห็น หรือคำแนะนำได้เมื่อเห็นสมควร
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรี หรือสภามอบหมาย รวมทั้งออกระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความจาเป็น
3. สถาบันสถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา



 


นอกจากต้องมีบทบาทในการติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศในระดับยุทธศาสตร์ ระดับนโยบาย ระดับโครงการขนาดใหญ่ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาอย่างแท้จริงแล้ว สศช. ถูกคาดหวังจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งจากรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ให้ต้องมีบทบาทเด่นชัดในการทำหน้าที่ชี้นำทิศทางการพัฒนาของประเทศในอนาคต ในลักษณะที่เป็นเสมือนคลังสมองของประเทศ (Think Tank) โดยต้องมีศักยภาพสูงในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศทั้งในระยะยาว ระยะปานกลาง และระยะสั้น ได้อย่างชัดเจน มีความสอดคล้อง และบูรณาการกันในทุกระดับ รวมทั้งต้องมีการประสานการขับเคลื่อนการพัฒนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
ดังนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สภาพัฒน์สามารถเป็น Think Tank ของประเทศ สศช. ยังได้ปรับกระบวนการทำงานและระบบการบริหารงานองค์การ เพื่อยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานฯ ให้เอื้อต่อการทำงานในบทบาทและภารกิจใหม่ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้นด้วย โดยได้จัดรูปแบบการทำงานให้เจ้าหน้าที่ สศช. ทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์วิจัยประเด็นการพัฒนาที่ซับซ้อนเชื่อมโยงหลากหลายมิติ ที่ต้องรวมความรู้จากหลากหลายสาขา รวมทั้งพัฒนากลไกการทำงานรูปแบบใหม่ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยนโยบายสาธารณะของ สศช. โดยจัดตั้ง "สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา (Institute of Public Policy and Development)” ในรูปแบบสถาบันภายใต้มูลนิธิพระยาสุริยานุวัตร
 
ภารกิจของสถาบันฯ จะช่วยสนับสนุนการทำงานของสภาพัฒน์ ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศในระยะยาว ที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และการวิเคราะห์วิจัยเชิงลึก มีการออกแบบนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม และสามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม (รายละเอียดสถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา สืบค้นได้จาก www.ippd.or.th)
 
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 (40 คู่สาย) แฟกซ์ : 0-2281-3938 E-mail : pr@nesdc.go.th , webmaster@nesdc.go.th
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com