8029189

แนะนำการสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI.

หมวดหมู่สินค้า: 88 กรมบังคับคดี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 198 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI.
แนะนำการสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI. หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI. หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI. , ข้อสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI. , งานราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI.


บทบาทหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษDSI.




กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI

 
ประวัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ
สืบเนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรง เป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครืองข่ายองค์กร โยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นโดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION” มีชื่อย่อว่า “DSI” ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ พัฒนารูป แบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด
 
หน่วยงานในสังกัด
-สำนักงานเลขานุการกรม
-กองกฎหมาย
-กองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ
-กองคดีการค้ามนุษย์
-กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน
-กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
-กองคดีความมั่นคง
-กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค
-กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา
-กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
-กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ
-กองคดีภาษีอากร
-กองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
-กองนโยบายและยุทธศาสตร์
-กองบริหารคดีพิเศษ
-กองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
-กองปฏิบัติการพิเศษ
-กองพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ
 




วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
 
วิสัยทัศน์ (Vision)
           “เป็นองค์การหลักในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมพิเศษตามมาตรฐานสากล” โดยกำหนดความหมายของวิสัยทัศน์ ดังนี้
-การบังคับใช้กฎหมาย หมายถึง การใช้อำนาจการสืบสวนสอบสวนตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
-อาชญากรรมพิเศษ หมายถึง อาชญากรรมซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากอาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยมีความละเอียดและซับซ้อน ยุ่งยาก และร้ายแรง อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) องค์กรอาชญากรรม (Organization Crime) อาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Crime)
-มาตรฐานสากล หมายถึง หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดหลักนิติธรรมขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations Rule of Law Indicators) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, หลักความเที่ยงตรง เป็นกลาง ความรับผิดชอบและความโปร่งใส, หลักการคุ้มครองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด และหลักศักยภาพ โดยมีการประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) จำนวน 7 ตัว ได้แก่
             1) การบรรลุเป้าหมายและผลผลิต
             2) ความเชื่อมั่นจากสังคม
             3) การทำงานที่ยึดถือเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน
             4) ความโปร่งใส
             5) ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
             6) ความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล
             7) ประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว อยู่บนหลักพื้นฐานของมาตรา 29 (ว่าด้วยการรับโทษทางอาญา)และมาตรา 68 (ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
 พันธกิจ (Mission)
  ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน สอบสวนและดำเนินคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเป็นธรรม
 
 เป้าหมายหลัก (Goals)
  1. เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของสังคมในการป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ
     ตัวชี้วัด : ร้อยละความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
    2. ปกป้อง รักษา เรียกคืนทรัพย์สิน และผลประโยชน์ให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
             ตัวชี้วัด : มูลค่าทรัพย์สิน/ผลประโยชน์ที่สามารถปกป้อง เรียกคืนให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
    3. สาธารณชนรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมคดีพิเศษ
             ตัวชี้วัด : ร้อยละของการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
 






 ค่านิยมร่วม (Core Value)
 “เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซื่อสัตย์” (DSI) :
-เกียรติศักดิ์ (Dignity) หมายถึง มีความภาคภูมิใจ มีศักดิ์ศรี  มีศรัทธาต่อองค์กร ดำรงตนอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี เหมาะสมสถานะ มีวินัยในตนเองมีความรักสามัคคีต่อองค์การและเพื่อนร่วมงาน
-เชี่ยวชาญ (Specialty) หมายถึง มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญอันเกิดจาก การสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานจนเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
-ซื่อสัตย์ (Integrity) หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อตนเองและ ผู้อื่นการยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานยึดมั่น และปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
    1. พัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล (Standard System)  
    2. พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพ (Smart Agent)
    3. สร้างเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย (Super Technology)
    4. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน (Strong Collaboration)        
    5. การบริหารจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล (Sustainable Administration)
 
ภารกิจและหน้าที่
 
ภารกิจ
  เกี่ยวกับการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยใช้วิธีการพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
 












อำนาจหน้าที่
  (1) รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกําหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
(3) ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
(4) จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
(5) ดําเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
ผู้บริหาร
พ.ต.ท. กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ต.ท. สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดี
พ.ต.ท. ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดี
พ.ต.ท. สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองอธิบดี
พ.ต.อ. อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์ รองอธิบดี
 
ติดต่อหน่วยงาน
128 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2831-9888 โทรสาร 0-2975-9888 E-mail dsi@dsi.go.th




ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com