8024250

แนะนำการสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 108 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ
แนะนำการสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานสถิติแห่งชาติ , ข้อสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ , งานราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ


บทบาทหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ





สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 
ประวัติสำนักงานสถิติแห่งชาติ
      ราชการสถิติของประเทศไทย ได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๘ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้ง "กรมสถิติพยากรณ์" ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๕๗ โดยมีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี ทำหน้าที่รวบรวมหัวข้อทะเบียน และรายงานของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ภาวการณ์ล่วงหน้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้น กรมสถิติพยากรณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และสังกัดอีกหลายครั้ง แต่การปฏิบัติราชการสถิติก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมิได้หยุดยั้ง เรื่องราวต่างๆ ได้ถูกลำดับตามช่วงเวลาและขั้นตอนที่สำคัญๆ ซึ่งควรแก่การจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ของหน่วยงานดังนี้คือ
เดือนกันยายน ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ เห็นสมควรขยายขอบเขตหน้าที่ การปฏิบัติงาน ของกรมสถิติพยากรณ์ไปทางด้านพาณิชย์ด้วย จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" แต่ยังคงสังกัดอยู่ใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยมีการขยายงานเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติสาขาต่างๆ และได้จัดพิมพ์หนังสือสถิติรายงาน ประจำปี พ.ศ. ๒๔๕๙ (Statistical Yearbook) ออกเผยแพร่ เป็นเล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
เดือนสิงหาคม ๒๔๖๓ ได้มีการยกฐานะ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็น "กระทรวงพาณิชย์" งานสถิติที่สังกัดอยู่ในกระทรวงนี้มีฐานะเป็นกรม และมีชื่อว่า "กรมสถิติ พยากรณ์สาธารณะ" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๔ ได้โอนกรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ มาสังกัดกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชาวต่างประเทศเป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และพิมพ์รายงานประจำปีออกเผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ ได้เดินทางกลับไป หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงเข้ารับหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแทน และเมื่อทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกรม ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๗๖ ได้มีการโอน กรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ ไปสังกัดอยู่กับกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ และลดฐานะเป็น "กองสถิติพยากรณ์" โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองประมวลสถิติพยากรณ์" เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๘ จากนั้น ได้ย้ายมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองเช่นเดิม โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง สำหรับการให้บริการข้อมูลสถิติ






    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการสถิติ ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติการสถิติพยากรณ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ในการบริหารราชการสถิติของประเทศ และหน้าที่ของประชาชน ที่พึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดกรมการสนเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๖ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ กลับมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม ในระยะนี้มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลสถิติเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีความต้องการใช้สถิติใหม่ๆด้วย จึงมีการพิจารณาปรับปรุงจัดวางมาตรฐานในการบริหารงานสถิติ รวมทั้งมีการบัญญัติศัพท์สถิติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เพื่อให้ส่วนราชการที่มีงานสถิติใช้ร่วมกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ มีการโอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งในขณะนั้นเป็นทบวงการเมืองอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรม กองประมวลสถิติพยากรณ์ภายใต้สังกัดใหม่ ได้ขยายงาน และ ได้จัดทำงานสถิติที่สำคัญร่วมกับกระทรวงเกษตราธิการ คือ จัดทำสำมะโนเกษตรทั่วราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓
    "สำนักงานสถิติกลาง (Central Statistical Office)" ขึ้นใน สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๙๓ โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติกลางคนแรก ในช่วงนี้ได้พัฒนาและขยายงานสถิติออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิมและได้นำเครื่องจักรกล มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลสถิติ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลงานสำมะโนเกษตร หลังจากนั้นมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ ๒๔๙๕" ซึ่งทำให้สำนักงานสถิติกลาง มีอำนาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านการบริหารกิจการสถิติของรัฐ การส่งเสริม และประสานงานสถิติ การทำสำมะโน สำรวจ การศึกษาอบรมวิชาสถิติ ตลอดจนการวิจัยในด้านวิชาการสถิติ
 สำนักงานสถิติกลาง ได้แยกส่วนราชการออกจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และได้ยกฐานะเป็น "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" มีฐานะเป็นกรม สังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ซึ่งถือว่าเป็นวันก่อตั้งสำนักงาน โดยมีนายบัณฑิต กันตะบุตร เป็นเลขาธิการสถิติแห่งชาติคนแรก ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๐ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๖ และเป็นหน่วยราชการแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประมวลผลงานสำมะโนและสำรวจ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖ นอกจากนี้มีการขยายงานสถิติไปยังส่วนภูมิภาค โดยได้จัดตั้งสำนักงานสถิติจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ แต่ยังเป็นราชการบริหารส่วนกลาง
     





สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการพัฒนางานสถิติมาตามลำดับ โดยดำเนินงานโครงการสถิติที่สำคัญๆ หลายโครงการ และมีบทบาทในการประสานงานสถิติของรัฐ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การจัดทำผังรวมงานสถิติของประเทศ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๘ ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘" แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยปรับปรุงในบางมาตรา และกำหนดอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานสถิติของประเทศให้สมบูรณ์มากขึ้น
      ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น ๙ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๑ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕ 
      ต่อมาในปี ๒๕๓๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๖
จากการปฏิรูประบบราชการ ในปี ๒๕๔๕ ตาม พรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีผลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเข้ามาอยู่ในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ สำนัก ๑ ศูนย์ ๓ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐ ก. ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕
    ในปี ๒๕๕๐ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.๒๕๕๐” แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.๒๕๐๘ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๔ ตอนที่ ๕๓ ก. ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หลังมีความชัดเจนในการดำเนินการในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐ ตลอดจนมีความคล่องตัวในการผลิตสถิติให้ทันสถานการณ์เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ตามพรบ.สถิติ พ.ศ.๒๕๕๐ ไม่กำหนดให้มีคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ ทำให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่มีสถานะเป็นหน่วยงานเลขานุการ ของคณะกรรมการสถิติแห่งชาติต่อไป ดังนั้น ชื่อตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยงาน จึงได้เปลี่ยนจากเดิม “เลขาธิการสถิติแห่งชาติ” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ” โดยมีสถานะและระดับตำแหน่งเท่าเดิม
          











จากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑๔ ก. ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็นราชการบริหารส่วนกลางมี ๖ สำนัก ๒ ศูนย์ ส่วนสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
 
วิสัยทัศน์ :
    “เป็นองค์กรหลักของชาติในการบริหารจัดการระบบสถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ”
 
 พันธกิจ :
      1. จัดทำสำมะโน สำรวจด้วยตัวอย่าง หรืออำนวยการ เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจคม สิ่งแวดล้อมของ ประเทศ
2. บริการข้อมูลสถิติและสารสนเทศ และให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับองค์ความรู้วิชาการด้านสถิติแก่ผู้ใช้บริการทุก ภาคส่วน
      3. พัฒนางานสถิติและสารสนเทศให้เป็นระบบ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
      4. บูรณาการ เชื่อมโยงสถิติ และข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
      5. พัฒนาบุคลากรทางด้านสถิติของประเทศให้มีความเป็นมืออาชีพ
      6. สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ในการให้ความร่วมมือ และเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูล







 
ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ : 
 
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากระบวนการผลิตและการบริการด้านสถิติให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทุกภาคส่วน   
เป้าประสงค์ที่1 มีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีการให้บริการที่ หลากหลายเข้าถึงง่าย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนสถิติและข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นของประเทศให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
เป้าประสงค์ที่2 ประเทศมีสถิติและข้อมูลที่สำคัญ จำเป็น มีคุณภาพ สามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ยุทธศาสตร์ที่3 พัฒนาบุคลากรทางด้านสถิติของประเทศให้มีความเป็นมืออาชีพ
เป้าประสงค์ที่3 บุคลากรด้านสถิติของประเทศมีความเป็นมืออาชีพ
 
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน และส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์  
เป้าประสงค์ที่ 4 ประชาชนตระหนักรู้ มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของข้อมูลสถิติ ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลสถิติ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทุกภาคส่วนมีการนำข้อมูลสถิติและ สารสนเทศไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ 
     
 วัฒนธรรมองค์กร  : ยึดหลักวิชา พร้อมหาสิ่งใหม่ ใส่ใจลูกค้า ศรัทธาองค์กร เอื้ออาทรต่อกัน รักมั่น สสช.
 
ผู้บริหาร
นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางอรวรรณ สุทธางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางสาวกฤษณา จิรวัฒน์สถิตย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นายพินิจ กัลยาณมณีกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางอำไพ จิตรแจ่มใส ผู้ตรวจราชการกรม
นายจำลอง เก่งตรง ผู้ตรวจราชการกรม
นายธารธรรม อุประวงศา ผู้ตรวจราชการกรม
นางสาวศิริญาพร รุ่งสุข เลขานุการกรม
นางสาวบงกช วิบูลย์ธนานันต์ ผอ.กองนโยบายและวิชาการสถิติ
นายธนู สุวรรณโน ผอ. กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ
นางหทัยชนก ชินอุปราวัฒน์ ผอ. กองสถิติพยากรณ์
นางสาว นงลักษณ์ โงวิวัฒน์ชัย ผอ.กองสถิติสังคม
างสาวสุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ ผอ.กองสถิติเศรษฐกิจ
นางสาวสุวรรณี วังกานต์ ผอ. กองสถิติสาธารณมติ
นายมานะชัย บุญเอก ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายทรงพล ใหม่สาลี ผอ.ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ
 
โครงสร้างสำนักงานสถิติแห่งชาติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 36 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานภายใน หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 ดังนี้
 
ราชการบริหารส่วนกลาง
 
สำนักงานเลขานุการกรม
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 ดำเนินการ พัฒนา และจัดทำเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ และงานเลขานุการของสำนักงาน
2 ดำเนินการวางแผนกำลังคน จัดระบบงานบริหารงานบุคคล และการเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม
3 พัฒนาบุคลากรและบริหารองค์ความรู้ของสำนักงานให้แก่ข้าราชการของสำนักงานและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
4 ดำเนินการพัฒนาและจัดระบบงานการเงิน การบัญชี การบริหาร การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
5 ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา การดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และคดีปกครอง
6 จัดทำแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของสำนักงาน
7 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติราชการ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของงาน
8 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย







กองนโยบายและวิชาการสถิติ
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ
2 ประสานงาน และหารือร่วมในการจัดทำสถิติของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ และให้สอดคล้องกับแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (๑)
3 จัดทำแผนสถิติ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของสำนักงาน
4 จัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถิติ สำหรับการจัดทำสถิติของประเทศ รวมทั้งประเมินและพัฒนาคุณภาพสถิติทางการ
5 จัดทำ ประสานการจัดทำ และพัฒนามาตรฐานสถิติของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
6 ศึกษา พัฒนา และส่งเสริมวิชาการสถิติ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำสถิติ
7 บริหารจัดการระบบฐานข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจของสำนักงาน
8 กำหนดกระบวนการสุ่มตัวอย่างและวิธีประมาณค่าสถิติที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินระดับความคลาดเคลื่อนของสถิติ
9 กำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนที่สถิติสำหรับการจัดเก็บข้อมูล
10 ประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในงานเกี่ยวกับสถิติ
11 เผยแพร่ เสริมสร้างความเข้าใจ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสถิติ
12 ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 วางแผนและเตรียมงานเพื่อการจัดเก็บข้อมูล
2 ปรับปรุงและพัฒนาแผนที่สถิติด้วยระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในโครงการสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง
3 บริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายหรือโครงการภาครัฐ
4 ประสานเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการดำเนินงานสถิติ
5 ควบคุมคุณภาพข้อมูลโครงการสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง
6 ให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดเก็บข้อมูลโครงการสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่าง แก่หน่วยสถิติอื่นๆ
7 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กองสถิติพยากรณ์
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำสถิติเพื่อสนับสนุน ติดตาม และประเมินผลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
2 จัดทำดัชนี เครื่องชี้วัด ข้อมูลแนวโน้ม และคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคม
3 วิเคราะห์ พัฒนา ส่งเสริมการใช้ข้อมูลและสถิติแนวโน้ม การคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์
4 รวบรวมและบูรณาการข้อมูลและสถิติด้านเศรษฐกิจและสังคมจากหน่วยงานต่าง ๆ
5 จัดทำการนำเสนอข้อมูลและสถิติ   ในรูปแบบต่าง ๆ
6 เผยแพร่และให้บริการข้อมูลและสถิติแก่ผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งงานห้องสมุด
7 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ ได้รับมอบหมาย
กองสถิติเศรษฐกิจ
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐานด้านเศรษฐกิจในระดับมหภาคและระดับย่อย ด้วยวิธีสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างเพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังทางด้านเศรษฐกิจ
2 พัฒนาการจัดทำสถิติ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
3 ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำสถิติด้านเศรษฐกิจ
4 ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านเศรษฐกิจ
5 ประสานและให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านเศรษฐกิจ
6 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองสถิติสาธารณมติ
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ต่างๆ ด้วยวิธีการสำรวจตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และตัดสินใจ
2 จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชนตามความต้องการของหน่วยงานด้วยวิธีการสำรวจตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและการบริหารงาน
3 ส่งเสริมวิธีการจัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ
4 จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
5 พัฒนา ส่งเสริมและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับการจัดทำการสำรวจตัวอย่างการประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูล
6 ประสานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำการสำรวจตัวอย่างด้านความคิดเห็นของประชาชน
7 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย







กองสถิติสังคม
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐานด้านประชากรและสังคม ด้วยวิธีสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังทางสังคม
2 พัฒนาวิธีการจัดทำสถิติ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลด้านประชากรและสังคม
3 ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำสถิติด้านประชากรและสังคม
4 ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป   ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านประชากรและสังคม
5 ประสานและให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านประชากรและสังคม
6 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 เสนอแนะนโยบาย วางแผน กำกับ ดูแล ติดตามการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระบบสารสนเทศสถิติ
2 พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลและเผยแพร่ระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบคลังข้อมูลและสถิติและบริหารจัดการฐานข้อมูลสำนักงาน
3 บริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
4 จัดเตรียมข้อมูลจากสำมะโนและสำรวจตัวอย่าง บรรณาธิกรลงรหัส บันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูล
5 ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
6 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 จัดทำแผนโครงข่ายสารสนเทศของประเทศ เพื่อกำหนดขอบเขตการบูรณาการข้อมูลและการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
2 บูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนทั้งระดับภารกิจและระดับพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญในฐานข้อมูลกลางของประเทศสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน
3 พัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
4 บริหารจัดการและพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสถิติของประเทศ ระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติ และระบบนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์
5 วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
6 ส่งเสริมและสนับสนุนการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติที่สำคัญของประเทศตามมาตรฐานสากลแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
7 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มตรวจสอบภายใน
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
2 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1 เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
2 ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้สำนักงาน
3 ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในสำนักงาน
4 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานสถิติจังหวัด 76 จังหวัด
มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
 
1 บริหารจัดการข้อมูลสถิติและสารสนเทศสถิติที่สำคัญและจำเป็น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในระดับพื้นที่
2 ส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่
3 บริหารการจัดทำสำมะโน การสำรวจด้วยตัวอย่าง และอำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ในระดับพื้นที่
4 ส่งเสริมวิชาการสถิติ ให้คำปรึกษาแนะนำ การประยุกต์ใช้ในการจัดทำสถิติในระดับพื้นที่
5 ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยข้อมูลสถิติระดับพื้นที่
6 ให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดหา เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลและสถิติในระดับพื้นที่
7 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ติดต่อ สสช.
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้นสอง ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. 10210 
โทรศัพท์ 0 2142 1234 โทรสาร 0 2143 8109 บริการข้อมูลโทร 0 214-17500-03 
อีเมล์ : services@nso.go.th




ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com