9484437

แนะนำการสอบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช

หมวดหมู่สินค้า: 46 กรมป่าไม้

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 158 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช
แนะนำการสอบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช , ข้อสอบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช , งานราชการกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช


บทบาทหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าพันธุ์พืช





ประวัติความเป็นมา

เดิมงานด้านป่าไม้ทั้งหมด อันได้แก่  งานปลูกบำรุงป่า  งานวนวัฒนวิจัย  งานอุทยานแห่งชาติ  งานทางด้านสัตว์ป่า  งานต้นน้ำ  และงานด้านป้องกันปราบปรามและไฟป่า เป็นต้น  ล้วนอยู่กับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เดิมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ทั้งสิ้น  แต่เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๕  วุฒิสถาได้มีมติด้วยคะแนน ๑๒๗ ต่อ ๒๓  ให้แยกงานที่เกี่ยวกับป่าเศรษฐกิจและงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครองป่าไม้ออกจากกัน  โดยให้งานทางด้านป่าเศรษฐกิจอยู่กับกรมป่าไม้  ส่วนงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครอง  ให้ไปตั้งเป็นกรมขึ้นมาใหม่ และให้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่
      ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีมติเห็นชอบตามผลการประชุมของวุฒิสภาดังกล่าว  ซึ่งจะต่างไปจากมติเดิมของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณา ในวาระที่ ๓ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕  ซึ่งความเห็นดังกล่าวแต่เดิมเหล่านี้ไม่มีการแยกกรมป่าไม้เป็น ๒ กรม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก. ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕  ให้จัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น  ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  จึงถือได้ว่าเป็นอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คนแรก  และได้ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕  จึงได้มีการแต่งตั้ง นายสมชัย เพียรสถาพร  ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ
      กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ดำเนินกิจภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น  เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ  สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน  ดังวิสัยทัศน์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ว่า "ผืนป่าหลากหลาย สัตว์ป่ามากมาย ป่าไม้ยั่งยืน" และในปัจจุบันอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คือ นายธัญญา เนติธรรมกุล











วิสัยทัศน์/พันธกิจ
 
วิสัยทัศน์
  " เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ไดเร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี ๒๕๖๙ "
 
พันธกิจ
  1 อนุรักษ์ คุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
2 วิจัย พัฒนาและให้บริการด้านวิชาการ
3 บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสม
4 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากมรัพยากรธรรมชาติ อย่างสมดุลและยั่งยืน
 
บทบาท ภารกิจ และอำนาจหน้าที่
 
บทบาท ภารกิจ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกัน พื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร นันทนาการ และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน
 
 หน้าที่ตามกฎหมาย  ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2547 ได้แก่
1) อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้มีสมดุลตามธรรมชาติ และให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนที่เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
2) ฟื้นฟู แก้ไข ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้
3) ควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการบุกรุก การทำลายป่า และการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4) ศึกษา วิจัย และพัฒนาวิธีการอนุรักษ์ การบริหารจัดการ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และความ  หลากหลายทางชีวภาพ
5) กำหนดมาตรการและมาตรฐานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ บริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า  
6) บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านป่าไม้
7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
พื้นที่อนุรักษ์ หมายถึง พื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ได้ประกาศในพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมาย และระเบียบของทางราชการ
 
ค่านิยมขององค์การคือ “ PROTECT ” หมายถึง “คุ้มครองรักษา ”
P = Participation หมายถึง ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
R = Relevance หมายถึง งานตรงภารกิจ
O = Outcome หมายถึง มุ่งเน้นผลลัพธ์จากการดําเนินงานเป็นหลัก
T = Team หมายถึง ทํางานเป็นทีม
E = Efficiency หมายถึง ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
C = Conservation หมายถึง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงความอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
T = Technology หมายถึง นําวิทยาการมาใช้ในการปฏิบัติงาน











วัฒนธรรมองค์การ
มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จและทำงานเป็นทีม
 
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. ด้านการป้องกันการบุกรุก ทำลายทรัพยาการป่าไม้ อย่างบูรณาการ ระงับ ยับยั้งการบุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ การครอบครองพื้นที่ป่าโดยผิดกฎหมาย การทวงคืนพื้นที่ป่าให้กลับมาเป็นพื้นที่ของรัฐ และเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อความอุดมสมบูณ์ตามธรรมชาติ
2. ด้านอนุรักษ์และฟื้นฟู พื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มีสภาพป่าสมบูรณ์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงรักษาระบบนิเวศป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพทางธรรมชาติ โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริใช้ศาสตร์การฟื้นฟูตามหลักธรรมชาติฟื้นธรรมชาติ และการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟู ด้วยกระบวนการทางวนวัฒนวิธีที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ และการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและราษฎรในพื้นที่สูงในการมีส่วนร่วมในการดูแลระบบนิเวศ โดยฐานชุมชนสร้างความตระหนักต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
3. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ การเฝ้าระวังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อลดภัยคุกคามต่อระบบนิเวศป่าไม้และสัตว์ป่า การวางระบบ กลไก กระบวนการ วิธีปฏิบัติในการลดภัยคุกคาม และการเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษาระบบนิเวศป่าและพื้นที่อนุรักษ์ทุกประเภท รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และระบบนิเวศโดยรวม รวมถึงต้องใช้มาตรการทางสังคมและกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการวางแผนการปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ โดยผสมผสานมาตรการทางเศรษกิจ สังคม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีกฎกติกาที่เห็นพ้องร่วมกัน
4. ด้านการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในการให้บริการด้านนิเวศอย่างสมดุล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่มีศักยภาพในการให้บริการ ด้านนิเวศ ทั้งในเชิงป่าไม้ สัตว์ป่า คุณค่าความงามทางทัศนียภาพพื้นที่ธรรมชาติที่โดดเด่น โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของแหล่งธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก รูปแบบการใช้ประโยชน์ การจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การให้บริการที่มีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับและประทับใจ รวมทั้งระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าใช้บริการ และยังรวมถึงการจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) สำหรับการวางแผนพัฒนาพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่สงวนทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง
5. ด้านการศึกษา วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการ เทคนิควิธี รูปแบบ การบริหาร จัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้งานวิจัย พัฒนาและต่อยอดสู่การเป็นนวัตกรรม ที่สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มีความสมดุล เพื่อการบริการของระบบนิเวศที่ยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรและระบบนิเวศ และรวมถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารระบบจัดการภาครัฐ วางระบบ รากฐาน การดำเนินงานของกลไก เครื่องมือ กระบวนการ และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่มุ่งประสิทธิผลสอดคล้อง กับแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคมและประชาชน ตลอดจนลดการทุจริต และการสร้างธรรมาภิบาลการบริหารงานภาครัฐ ทั้งภาวะการนำองค์กร กระบวนการทำงาน สมรรถนะบุคลากร การจัดการความรู้ การสร้างเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหาร ที่มุ่งผลลัพธ์การทำงาน รวมทั้งการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม










ผู้บริหารระดับสูง
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดี
นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดี
นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดี
 
ติดต่อ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์  0 - 2561 - 0777 , 0 - 2579 - 6666
โทรสาร  0 - 2579 - 9707
 webmaster@dnp.mail.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com