9366098

แนะนำการสอบกรมทรัพยากรธรณี

หมวดหมู่สินค้า: 31 กรมทรัพยากรธรณี

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 138 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมทรัพยากรธรณี
แนะนำการสอบกรมทรัพยากรธรณี หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมทรัพยากรธรณี หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมทรัพยากรธรณี , ข้อสอบกรมทรัพยากรธรณี , งานราชการกรมทรัพยากรธรณี


บทบาทหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี










กรมทรัพยากรธรณี
 
ประวัติความเป็นมาของกรมทรัพยากรธรณี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง " กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น " กรมทรัพยากรธรณี " เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
ก่อนการปฏิรูประบบราชการ
กรมทรัพยากรธรณี ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีภารกิจหลัก 4 ด้าน
-สำรวจข้อมูลธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี
-ขุดเจาะน้ำบาดาล อนุญาต และกำกับดูแลกิจการน้ำบาดาล ตาม พ.ร.บ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง
-อนุญาตอาชาญาบัตรสำรวจแร่ ประทานบัตรทำเหมืองแร่ และกำกับดูแลด้านกิจการเหมืองแร่ ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข รวมถึง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง
-ให้สัมปทาน และกำกับดูแลด้านกิจการปิโตรเลียม ตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง
 
หลังการปฏิรูประบบราชการ
กรมทรัพยากรธรณี ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มภารกิจตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545 เป็น 4 กรม คือ
-กรมทรัพยากรธรณี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
-กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน
 









วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจและค่านิยมหลักขององค์กร
 
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่ประชาชนไทยและรัฐบาล เชื่อมั่นในองค์ความรู้ทางธรณีวิทยาและการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีอย่างมีส่วนร่วม ในการนําพาประเทศไปสู่ความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรณีที่มีการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
 
พันธกิจ
1 เสนอความเห็นเพื่อการกําหนดพื้นที่และการจัดทํานโยบาย แผน มาตรการ ในการบริหาร จัดการทรัพยากรแร่ ซากดึกดําบรรพ์ มรดกธรณี อุทยานธรณี ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและ ธรณีพิบัติภัย ตลอดจนพัฒนากลไกการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม
2 เสริมสร้างความร่วมมือและบูรณาการการทํางานกับภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
3 เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ พัฒนาระบบงานวิจัยที่ ตอบสนองต่อการพัฒนา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ
4 เสนอให้มี ปรับปรุง หรือแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมาย ระเบียบและมาตรการ ในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ภารกิจ
สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดําบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย
 
ค่านิยมหลักขององค์กร 
          1. ความรู้คู่คุณธรรม (Moral Principle) 
        2. เชี่ยวชาญในหน้าที่ (Specialist) 
          3. รับผัดชอบต่อสังคม (Social responsibility) 
          4. เอกภาพและบูรณาการแห่งองค์กร (Unity Spiritual)
ส่วนราชการภายในกรมทรัพยากรธรณี
ที่ ส่วนราชการ หน้าที่
1 สำนักงานเลขานุการกรม งานสารบรรณ, งานช่วยอำนวยการ, งานเลขานุการ, ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลนโยบายและผลงานของกรม, จัดระบบงาน, บริหารงานบุคคล, การเงิน/การบัญชี/งบประมาณ/พัสดุ และปฏิบัติงานอื่น ๆ
2 กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ บริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ เสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแหล่งและซากดึกดำบรรพ์ กำหนดมาตรฐานและรวบรวมหลักฐานอ้างอิงซากดึกดำบรรพ์
3 กองทรัพยากรแร่ สำรวจ เก็บข้อมูล ประเมินศักยภาพการพัฒนาแหล่งแร่ ศึกษาวิจัยและทำแผนที่ทรัพยากรแร่ จัดเก็บตัวอย่างแร่เพื่อการอ้างอิงและศึกษา ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ "คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ" และคณะกรรมการอื่น
4 กองเทคโนโลยีธรณี ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจและศึกษาวิจัยทางธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ธรณีเทคนิค แปลความหมายทางธรณีวิทยาจากข้อมูลระยะไกล (เช่นทางอากาศ) เจาะสำรวจ เพื่อสนับสนุนงานด้านธรณีวิทยา ธรณีวิศวกรรม และทรัพยากรธรณี, พัฒนาฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรณี และพื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา
5 กองธรณีวิทยา สำรวจ เก็บข้อมูล ผลิตข้อมูล ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยา จัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและกำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาของประเทศ จัดเก็บหลักฐานทางธรณีวิทยาเพื่อการอ้างอิงและการศึกษา จัดการด้านอนุรักษ์ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา อุทยานธรณี บริหารจัดการ "พิพิธภัณฑ์แร่-หิน" (กรุงเทพมหานคร)
6 กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม สำรวจ ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย (เพื่อการวางผังเมือง จัดการพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย การกัดเซาะชายฝั่งและตลิ่ง) พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย กำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัยของประเทศ
7 กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี ศึกษาวิจัยและให้บริการการวิเคราะห์และตรวจสอบตัวอย่างทรัพยากรธรณี
8 กองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี สนอการจัดทำนโยบายและแผน การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย, จำแนกพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรณี พื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา พื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัยและมลพิษ, ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศด้านธรณีวิทยาและสาขาของธรณีวิทยา
9 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศของกรม รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบดังกล่าว, จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับ "แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม"
10 สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 (ลำปาง) ปฏิบัติงานเฉพาะในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาค อันได้แก่ สำรวจ เก็บข้อมูล ศึกษาวิจัย ประเมินศักยภาพ ให้บริการ คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในด้านธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย ผลิตข้อมูลและแผนที่ทรัพยากรแร่ ประสานการดำเนินการเหตุฉุกเฉินด้านธรณีพิบัติภัย กำกับดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ การบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา/ซากดึกดำบรรพ์/ธรรมชาติวิทยาในเขตพื้นที่ดูแล
11 สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น)
12 สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 3 (ปทุมธานี)
13 สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 (สุราษฎร์ธานี)









คณะผู้บริหาร
นายสมหมาย เตชวาล อธิบดี
นายนิวัติ มณีขัติย์ รองอธิบดี
นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดี
นายอนุกูล วงศ์ใหญ่ ผู้ตรวจราชการกรม
นายนราเมศวร์ ธีระรังสิกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษา ทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี
นางสุรีย์ ธีระรังสิกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา
นายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร ผู้อำนวยการ กองเทคโนโลยีธรณี
นายสุรชัย ศิริพงษ์เสถียร ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา
น.ส.เสาวลักษณ์ ศรีดาแก้ว เลขานุการกรม
นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผู้อำนวยการกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
นางสาวกฤตยา ปัทมาลัย ผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่
นายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม
นางอัปสร สอาดสุด ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี
นางสุภาภรณ์ วรกนก ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี
นายนิวัติ บุญนพ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายธีรพงษ์ ทองมาก ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
นางอดิภา ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน
นายสุทธิศักดิ์ โทวนิช ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
นายสุธี จงอัจฉริยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1
นางสาวดรุณี สายสุทธิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2
นายทินกร ทาทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 3
นายอานนท์ นนทโส ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4
 
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 75/10 ถ.พระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
เบอร์โทร: 02-621-9500
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : webmaster@dmr.mail.go.th
ติดต่อสารบรรณ : saraban@dmr.mail.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com