8025066

แนะนำการสอบสภากาชาดไทย

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 106 ผู้ชม

แนะนำการสอบสภากาชาดไทย
แนะนำการสอบสภากาชาดไทย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสภากาชาดไทย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสภากาชาดไทย , ข้อสอบสภากาชาดไทย , งานราชการสภากาชาดไทย

บทบาทหน้าที่ของสภากาชาดไทย




 



ประวัติ
สภากาชาดไทย
สภากาชาดไทย เป็นองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรม ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับเขตแดนริมฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีการสู้รบเกิดขึ้น  เป็นผลให้มีทหารเสียชีวิต และบาดเจ็บ ได้รับความทุกข์ทรมานจำนวนมาก แต่ยังไม่มีองค์การกุศลใดเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้เป็นกิจลักษณะ
ดังนั้นกุลสตรีไทยที่สูงศักดิ์ในเวลานั้น โดยการนำของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภริยาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ได้ชักชวนบรรดาสตรีไทยช่วยกันเรี่ยไรเงินและสิ่งของ เพื่อส่งไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และมีความเห็นว่าควรจะมีองค์การใดองค์การหนึ่งช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของทหาร เช่นเดียวกับองค์การกาชาดของต่างประเทศ จึงได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอให้ทรงเป็นชนนีบำรุง คือ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการจัดตั้งองค์การ เพื่อบรรเทาทุกข์ยากของทหาร ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงพระราชดำริว่า เป็นความคิดที่ต้องด้วยแบบอย่าง อารยประเทศที่ เจริญแล้วทั้งหลาย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดง” ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436  ต่อมาถือเป็นวันสถาปนาสภากาชาดไทย และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น “สภาชนนี” สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงเป็น สภานายิกา  ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็น เลขานุการิณี และ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ เป็นเหรัญญิกา สภาอุณาโลมแดง
 
พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระยุพราชเสด็จ กลับจากการศึกษา ในประเทศอังกฤษผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่น ได้เสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลของกาชาดญี่ปุ่น ทำให้ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาดขึ้นในเมืองไทย ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ฉะนั้น เมื่อ สมเด็จพระราชบิดา เสด็จสู่ สวรรคาลัย พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในพระราชบิดา ให้โรงพยาบาลนี้ เป็นของสภากาชาดสยาม เมื่อ พ.ศ. 2457 ชื่อสภาอุณาโลมแดง และสภากาชาดนี้ เรียกปะปนกันตลอดมา แต่เมื่อ พ.ศ. 2453 ชื่อสภาอุณาโลม แดงก็สูญไป คงใช้กันแต่ สภากาชาดสยาม หรือสภากาชาดไทย ตามชื่อประเทศ ซึ่งเปลี่ยนจาก สยามเป็นไทย มาจนบัดนี้



 



ในปีพ.ศ.2461 มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในสงครามและยามสงบ กับทั้งทำการบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิ  ศาสนา หรือความเห็นในทางการเมืองของผู้ประสบภัย ยึดหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง และต่อมาในปีพ.ศ. 2463 ได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามแก้ไขเพิ่มเติมจัดระเบียบสภากาชาดสยามเป็นสมาคมอิสระ ยังผลให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศรับรองสภากาชาดสยาม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 และสันนิบาตสภากาชาดมีมติรับสภากาชาดสยามเป็นสมาชิกเมื่อปีพ.ศ. 2464 ต่อมาสภากาชาดสยามเปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย เมื่อปีพ.ศ. 2482
 
นอกจากพระราชบัญญัติสภากาชาดไทย 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว ได้มีพระราชบัญญัติสภากาชาดไทย ฉบับที่ 3 วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2499  เกี่ยวกับเรื่องเครื่องหมายกาชาด เพื่ออนุวัติตามบทแห่งอนุสัญญาเจนีวา  ปีพ.ศ.2492 พระราชบัญญัติฉบับที่ 4 วันที่13 มีนาคม พ.ศ.2550 ว่าด้วยเหรียญกาชาด และพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 5 วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2550 เพิ่มข้อความในพระราชบัญญัติปีพ.ศ.2461 ว่า “ให้สภากาชาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินการอันเป็นสาธารณกุศลเพื่อมนุษยธรรม ตามหลักการกาชาดสากล และพึงได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐ”
 
วิสัยทัศน์
สภากาชาดไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลระดับชาติ ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรม ตามหลักการกาชาดสากล เป็นองค์กรที่มีลักษณะเป็นพลวัต และนวัตกรรม มีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศ และเป็นไปตามคติทัศน์ของสภากาชาดไทย คือ การบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรค กำจัดภัย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและเป็นที่พึ่งของประชาชน
พันธกิจ
พันธกิจที่ 1 การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย
พันธกิจที่ 2 การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย
พันธกิจที่ 3 การบริการโลหิต
พันธกิจที่ 4 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต



 


 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่เป็นเลิศและครบวงจร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและขยายบริการโลหิต ผลิตภัณฑ์จากพลาสมาและเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบอาสาสมัครแบบบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก
 
หน่วยงานภายใน
ประกอบด้วย หน่วยงาน ดังนี้
กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร
สำนักนโยบาย ยุทธศาสตร์ และงบประมาณ
สำนักบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
สำนักขับเคลื่อนการพัฒนา
สำนักกฎหมาย
สำนักงานการคลัง
สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
สำนักงานอาสากาชาด
สำนักงานยุวกาชาด
สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด
ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย
สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานบริหาร
สำนักงานจัดหารายได้
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน
สำนักงานกลาง
สำนักงานบริหารระบบกายภาพ
 
การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย
สภากาชาดไทยให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ประชาชนและผู้ด้อยโอกาส ให้บริการชีววัตถุและยาปราศจากเชื้อที่มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยและปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางจัดหาและบริการดวงตาและอวัยวะที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ จากแพทย์ผู้เชีี่ยวชาญเฉพาะทาง และบุคลากรด้านสาธารณสุข อีกทั้งผลิตบุคลากรพยาบาลเฉพาะทาง
 


ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com