7947227

แนะนำการสอบกรมทางหลวง

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 130 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมทางหลวง
แนะนำการสอบกรมทางหลวง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมทางหลวง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมทางหลวง , ข้อสอบกรมทางหลวง , งานราชการกรมทางหลวง


บทบาทหน้าที่ของกรมทางหลวง





กรมทางหลวง
 
ประวัติกรมทางหลวง
ลงวันที่ 22/06/2560
กรมทางหลวงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมเมื่อวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 131 ตรงกับ พ.ศ. 2455 แต่เดิมนั้นจะมีแต่กรมคลอง ซึ่งอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการ ล่วงมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล่าฯ ให้ยุบกรมคลองมาขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการและใช้ชื่อว่า “กรมทาง” ให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคมตามประกาศจัดราชการรัตนโกสินทร์ศก 131
 
• วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2457
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนแผนกทางน้ำของกรมทางไปให้กรมทดน้ำ คือกรมชลประทานขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการกรมทางจึงเหลืออยู่แต่กองทางบกเพียงอย่างเดียว โดยมีเจ้ากรมเป็นหัวหน้า
 
• วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2460
ภายหลังที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน ออสเตรีย – ฮังการี ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมทางไปอยู่กับกรมรถไฟหลวง สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมขึ้นอยู่กับผู้บัญชาการรถไฟหลวง เพื่อสะดวกแก่กรมรถไฟหลวงและกรมทางที่จะได้ใช้วิศวกรที่มีเป็นชนชาติศัตรูที่ต้องถูกควบคุม เป็นเชลยศึกและปลดออกจากประจำการหลายคน ในสมัยนั้นมีนายช่างทางเอกเป็นหัวหน้ากรมทาง
 
• วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กับกระทรวงเกษตราธิการเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า "กระทรวงเกษตรและพณิชยการ" กรมรถไฟหลวง ซึ่งมีกรมทางรวมอยู่ จึงเปลี่ยนเป็นสังกัดกระทรวงเกษตรและพณิชยการ







• วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ตราพระราช บัญญัติ จัดตั้งกระทรวง ทบวงกรม พุทธศักราช 2475 ยุบเลิกกระทรวงเกษตรและพณิชยการ กรมรถไฟหลวง ซึ่งมีกรมทางหลวงรวมอยู่ด้วย ไปสังกัดกระทรวงเศรษฐการ
 
• วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2477
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างทาง และบำรุงรักษาทางหลวงพุทธศักราช 2477 ของกรมทางให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาเทศบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย
 
• วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล กองทางก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมทางโอนสังกัดจาก กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย มาสังกัดกระทรวงคมนาคม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 แม้จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมสังกัดกระทรวงคมนาคมแล้วก็ตามก็ยังไม่มีที่ ทำการเป็นของตนเอง ยังคงอาศัยอยู่ในกรมโยธาเทศบาลที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2491 จึงได้ย้ายไปอยู่ ที่ถนนพระราม 6 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทางหลวงในปัจจุบัน และได้ทำพิธีเปิดอาคารที่ทำการของกรมด้านถนนศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2498
 
• วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495
กรมทางหลวงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทางหลวงแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 สังกัดกระทรวงคมนาคม
 
•วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
กรมทางหลวงแผ่นดินได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2506





• วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 จนถึงปัจจุบัน
กรมทางหลวงได้โอนไปสังกัดกระทรวงคมนาคม ตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยลำดับดังนี้
-- ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216
-- พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534
-- พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
 
คณะผู้บริหารปัจจุบัน
นายสราวุธ  ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (คนที่ 33)
นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดีฝ่ายบำรุงทาง
นายไพฑูรย์ พงษ์ชวลิต รองอธิบดีฝ่ายบริหาร
นายมนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ
นายอภิชาติ  จันทรทรัพย์ รองอธิบดีฝ่ายดำเนินงาน
 นายสิทธิชัย บุญสะอาด วิศวกรใหญ่ด้านสำรวจและออกแบบ
นายอรรถสิทธิ์  สวัสดิ์พานิช วิศวกรใหญ่ด้านวิจัยและพัฒนา
นายนรินทร์  ศรีสมพันธุ์ วิศวกรใหญ่ด้านวางแผนและวางโครงการก่อสร้าง
 นายวันจักร ฉายากุล วิศวกรใหญ่ด้านอำนวยความปลอดภัย
นายชาติชาย ช่วงชิง วิศวกรใหญ่ด้านบำรุงรักษา
นายนรินทร์  ศรีสมพันธุ์ รก. วิศวกรใหญ่ด้านควบคุมการก่อสร้าง
 
หน้าที่ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
 
กรมทางหลวงมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และ ทางหลวงสัมปทาน รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2 วิจัยและพัฒนางานก่อสร้าง บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน
3 ร่วมมือและประสานงานด้านงานทางกับองค์กรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย





กลยุทธ์
 
วิสัยทัศน์
"ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ"
 
พันธกิจ
- พัฒนาระบบทางหลวง (Highway System) ให้เกิดความเชื่อมต่อ (Connectivity) การเข้าถึง (Accessibility) และความคล่องตัว (Mobility) ที่สมบูรณ์เพื่อการขับเคลื่อนประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
- ควบคุมดูแลระดับการให้บริการ (Serviceability) และความปลอดภัย (Safety) บนทางหลวงให้ได้มาตราฐานเพื่อคุณภาพการให้บริการที่ดี
- พัฒนาระบบบริหารองค์กร (Organization Management) ตามธรรมาภิบาล
 
 ค่านิยม : "HIGHWAYS"
 HIGH PERFORMANCE : สร้างสรรค์ผลงาน
 INTELLIGENT TECHNOLOGY  : ผสานเทคโนโลยี
 GOOD KNOWLEDGE : ด้วยความรู้ที่เหมาะสม
 HONESTY : ซื่อสัตย์  
 WORK SMART : ปฏิบัติงานอย่างรู้รอบ  
 ACCOUNTABILITY : รับผิดชอบต่อพันธกิจ 
 YEAR-ROUND COMMITMENT : เกาะติดการให้บริการ  
 SYNERGY : ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว  
 
 วัฒนธรรม : "DOH"
 Deliver Good Service toPeople : มุ่งให้เกิดการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน
 Obligate Governance Sufficient Economy and Sustainability : ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ความพอเพียง และความยั่งยืน
 Hold Accountability for Interests of Nation and People : คงไว้ซึ่งความรับผิดชอบในผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
 
ยุทธศาสตร์กรมทางหลวง
1. พัฒนาระบบทางหลวงที่เชื่อมต่อ (Connectivity) เข้าถึง (Accessibility) และคล่องตัว (Mobility) อย่างมีคุณภาพและตรงตามความต้องการ
2. การรักษาระดับการให้บริการ (Serviceability) ของระบบทางหลวง ให้เป็นไปตามมาตราฐานอย่างต่อเนื่อง
3. การยกระดับความปลอดภัย (Safety) ของระบบทางหลวงอย่างบูรณาการ
4. การพัฒนาส่งเสริมระบบบริหารจัดการองค์กร (Organization Management)
 
เป้าหมายการให้บริการ 
1. พัฒนาระบบทางหลวงให้เชื่อมต่อเข้าถึง และคล่องตัว เพื่อระบบการเดินทางขนส่งและโลจิสติกส์ที่สมดุลและสมบูรณ์
2. การรักษาและบำรุงรักษาระดับการให้บริการของระบบทางหลวงที่รวดเร็วครอบคลุมและทันต่อสถานการณ์
3. การควบคุมและพัฒนามาตราฐานความปลอดภัยบนระบบทางหลวงอย่างบูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม












บุคลากร
การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมทางหลวงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ภารกิจของ กรมทางหลวงบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องกับภารกิจของกรมทางหลวงมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลไกการบริหารทรัพยากรบุคคลครอบคลุมตั้งแต่การทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลกรมทางหลวง การจัดระบบงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล การปรับปรุงแบ่งงานภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน การบริหารอัตรากำลัง การควบคุมดูแลข้อมูลประวัติบุคลากร การสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากร การบริหารผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะของบุคลากร การดำเนินการทางวินัย การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และการฌาปนกิจสงเคราะห์ ตลอดจนการดำเนินการอื่น ๆ ตามนโยบาย ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งไม่รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 
กรมทางหลวง
2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
title โทรศัพท์ : (+66) 0 2354 6668-75 , 0 2206 3789
โทรสาร : (+66) 0 2354 6738
อีเมล์ : prdoh@doh.go.th
อีเมล์สารบรรณกลาง : saraban@doh.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com