แนะนำการสอบกรมการบินพลเรือน
แนะนำการสอบกรมการบินพลเรือน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมการบินพลเรือน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมการบินพลเรือน , ข้อสอบกรมการบินพลเรือน , งานราชการกรมการบินพลเรือน
บทบาทหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน
กรมการบินพลเรือน
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: The Civil Aviation Authority of Thailand , ชื่อย่อ : กพท. , CAAT) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการบินพลเรือนของประเทศ พัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางอากาศ อุตสาหกรรมการบิน และการบินพลเรือน กำหนดมาตรฐาน กำกับ ดูแล และตรวจสอบการดำเนินการด้านการบินพลเรือน ร่วมมือ และประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศในด้านการบิน พลเรือน และในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ เนื่องจากกรมดูแลเฉพาะการบินเชิงพาณิชย์และพลเรือนเท่านั้น ไม่ได้ควบคุมการบินของทหาร และตำรวจ
ประวัติ
การบินในประเทศไทยเริ่มมีบทบาทขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบก ได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454
เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2463 กรมอากาศยานทหารบกได้เปิดการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เส้นทางบินได้ขยายออกไปยังจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย มีเส้นทางบินอีกสายหนึ่งไปยังจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ แม้จะมีการขนส่งผู้โดยสารบ้าง แต่บริการหลักก็ยังคงเป็นไปรษณีย์ และเป็นการขนส่งไปยังจังหวัดที่ยังไม่มีทางรถไฟที่เชื่อมถึง
ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด
เมื่อกิจการขนส่งทางอากาศ ได้เจริญรุดหน้าขยายตัวขยายเส้นทางออกไป และมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนจากกองบินพลเรือนเป็นกองการบินพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเศรษฐการ ถัดมาในปี พ.ศ. 2477 ย้ายไปสังกัดกรมการขนส่ง ทบวงพาณิชย์และคมนาคม กระทรวงเศรษฐการ[3] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2484 กรมการขนส่ง โอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงคมนาคม ต่อมา พ.ศ. 2485 ได้มีการแบ่งแยกกองให้ชัดเจนเป็น กองขนส่งทางอากาศ กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม
ต่อมาปี พ.ศ. 2491 ได้มีการแยกการบินพลเรือน ออกจากการบินทหาร และโอนกิจการให้กระทรวงคมนาคม และปี พ.ศ. 2497 ได้ยกฐานะเป็น สำนักงานการบินพลเรือน แต่ยังสังกัดกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคมอยู่ จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 ได้ยกฐานะเป็น กรมการบินพาณิชย์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมการขนส่งทางอากาศ” เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545
และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "กรมการบินพลเรือน" มีผลตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เปลี่ยนแปลงชื่อกรมเป็น "สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย"[5]
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติการบินพลเรือน พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิก พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ และ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ในส่วน (๔) ที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศนอกจากนี้ยังได้กำหนดฐานอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้นมาใหม่
การลดสถานะความปลอดภัยการบินของประเทศไทยจาก ICAO พ.ศ. 2558
เมื่อวันที่ 19-30 มกราคม พ.ศ. 2558 ทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เข้ามาตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล ของกรมการบินพลเรือนของไทย ในการตรวจสอบพบว่า กรมการบินพลเรือน มองข้ามกฎความปลอดภัยหลายข้อ ทำให้ในเดือน กุมภาพันธ์ ICAO ประกาศลดสถานะความปลอดภัยการบินของประเทศไทย ทำให้ตกอยู่ในระดับที่แย่ที่สุดในภูมิภาค
ในปลายเดือน มีนาคม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศญี่ปุ่น (JCAB) ได้นำผลการตรวจสอบของ ICAO มาเป็นเกณฑ์สั่งห้ามเที่ยวบินเช่าเหมาลำที่จดทะเบียนจากประเทศไทยบินเข้าญี่ปุ่น ทั้งนี้ทำให้ทุกสายการบินจากไทยไปประเทศญี่ปุ่นจะขอเพิ่มเที่ยวบิน เส้นทาง และขนาดของเครื่องบินไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป[6] เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการกับเหตุการณ์ดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับเที่ยวบินเช่าเหมาลำที่จะเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนท่องเที่ยว เบื้องต้นทางรัฐบาลได้อาศัยความสัมพันธ์ขอผ่อนผันให้ทำการบินได้ชั่วคราว [7][8]
2 เมษายน ทางกรมการบินพลเรือนพยายามหารือกับเกาหลีใต้มิให้ทำการห้ามสายการบินเช่าเหม่าลำจากไทย จำนวน 3 สายการบินทำการบินเข้าไปยังเกาหลี ส่งผลให้มีผู้โดยสารติดค้างที่สนามบิน และทำให้ถูกยกเลิกเที่ยวบินไปเกาหลีมากกว่า 10,000 คน[9]
18 มิถุนายน เมื่อครบกำหนดการผ่อนปรน 90 วัน ICAO ลดสถานะความปลอดภัยการบินของประเทศไทยและขึ้นสัญญาลักษณ์ธงแดงบนเว็บไซต์ของตน เนื่องจากแผนแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญของไทย ยังไม่ผ่านการรับรองอีกทั้งกรมการบินพลเรือนยังไม่ผ่านมาตรฐานการออกใบรับรองผู้เดินอากาศ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด [10]
วัตถุประสงค์
1. กำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนา กิจการการบินพลเรือน ทั้งในด้านนิรภัยการรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบินพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
2. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ
3. ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางอากาศ อุตสาหกรรมการบินและกิจการการบินพลเรือนให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานสากล
4. เป็นศูนย์กลางในการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจการการบินพลเรือนให้สามารถดำเนินการ และแข่งขันได้ในระดับสากล
นอกจากอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ด้วย
1. ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา กิจการการบินพลเรือน ทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อมการรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานการบินพลเรือนของประเทศ
2. เสนอแนะนโยบายต่อคณะกรรมการการบินพลเรือนเกี่ยวกับกิจการการบินพลเรือน และการขนส่งทางอากาศ
3. เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
4. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการให้กับคณะกรรมการการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนมอบหมาย
5. ดำเนินการจัดทำแผนอำนวยความสะดวก แผนรักษาความปลอดภัย และแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ รวมทั้งแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการการบินพลเรือนพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
6. ดำเนินการจัดระเบียบการบินพลเรือน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้น่านฟ้าให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
7. ตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินและกิจการการบินพลเรือนปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรฐานสากล
8. กำกับดูแลกิจการสนามบินและสนามบินอนุญาตที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ หรือตามกฎหมายอื่นให้เกิดความปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล
9. ให้ความร่วมมือและสนับสนุนคณะกรรมการการบินพลเรือนและส่วนราชการในการประสานงาน หรือเจรจากับองค์การระหว่างประเทศหรือต่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิในการบิน หรือการทำความตกลงใดๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น
10. ร่วมมือและประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศในด้านการบินพลเรือนตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
11. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัย และพัฒนากิจการการบินพลเรือน
12. ให้การรับรองหลักสูตรและสถาบันฝึกอบรมผู้ประจำหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ กำหนดคุณสมบัติ และความรู้ของบุคลากรด้านการบินอื่นที่พึงต้องมี
13. กำหนดมาตรฐานการทำงานของผู้ประจำหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
14. จัดทำทะเบียนอากาศยาน รวมทั้งทะเบียนผู้ประจำหน้าที่ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน
15. จัดทำและเผยแพร่ความรู้ และข่าวสารเกี่ยวกับการบินพลเรือน
16. ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
งานบริการหลักที่สำคัญของกรมได้แก่
-จดทะเบียนอากาศยาน การขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ ผู้ครอบครอง เจ้าหน้าที่ต่างๆ และ ผู้ขับอากาศยาน
-อนุญาตก่อสร้าง แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือปลูกต้นไม้ยืนต้นภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ
หน่วยงานที่สังกัด
สำนักบริหารกลาง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปและงานช่วยอำนวยการของกรมการบินพลเรือน
-ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรมการบินพลเรือน
-ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรมการบินพลเรือน
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรมการบินพลเรือนและดำเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด
สำนักกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ กฎหมายว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
-ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครองและงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน
-ให้คำปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับที่จำเป็นต่อการควบคุมดูแลการบินพลเรือนและการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อยกร่างและพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบินพลเรือน
สำนักกำกับกิจการขนส่งทางอากาศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-เสนอให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านการประกอบกิจการการเดินอากาศและการใช้อากาศยานส่วนบุคคล
-ประสานงานกับองค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนทั้งในประเทศ และต่างประเทศในการเจรจาทำความตกลงด้านสิทธิการบิน
-ดำเนินการจัดสรรสิทธิการบินและการอนุญาตการบินแก่อากาศยานและสายการบินของไทย และต่างประเทศ
-กำกับดูแลการจัดเก็บค่าโดยสาร และค่าระวางของอากาศยานขนส่ง
-กำกับดูแลตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของผู้ประกอบการเดินอากาศ และการใช้อากาศยานส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย อนุสัญญา ความตกลง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการบินพลเรือน
สำนักพัฒนาท่าอากาศยาน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานในท่าอากาศยานของกรมให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย
-ดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้าง ปรับปรุงและบำรุงรักษาท่าอากาศยาน และควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยานของกรม รวมทั้งสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในส่วนกลาง
-ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
สำนักมาตรฐานการบิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-เสนอแนะให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคอากาศ
-ดำเนินการออกใบอนุญาต หรือใบรับรองต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคอากาศ
-กำกับดูแลและตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย
-ปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ประสานการค้นหาและช่วยเหลือกรณีอากาศยานประสบภัย รวมทั้งดำเนินการด้านนิรภัยการบิน และสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
กองมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-เสนอแนะให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน
-ดำเนินการออกใบอนุญาตและใบรับรองต่าง ๆ เกี่ยวกับด้านการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน
-กำกับดูแลและตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน
-ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองมาตรฐานสนามบิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-เสนอแนะให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคพื้น การรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ การใช้ห้วงอากาศ และการควบคุมการจราจรทางอากาศ
-ดำเนินการออกใบอนุญาตและใบรับรองต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยในการขนส่งทางอากาศ การใช้ห้วงอากาศ และการควบคุมการจราจรทางอากาศ
-กำกับดูแล และตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคพื้น การรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ การใช้ห้วงอากาศและการควบคุมการจราจรทางอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย
สำนักส่งเสริมและพัฒนากิจการขนส่งทางอากาศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-ศึกษาและพัฒนาระบบเศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศของประเทศ
-เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการบินพลเรือน และการขนส่งทางอากาศ
-จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของกรมการบินพลเรือน
-ศึกษา พัฒนา ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติราชการในภารกิจของกรมการบินพลเรือน
-ประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ไม่เกี่ยวกับสิทธิการบิน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
-บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการบินพลเรือน
-พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ หรือฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม
-ท่าอากาศยาน (28 แห่ง) ไปอยู่ในความดูแลของกรมท่าอากาศยานแทน
ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน ตั้งอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
-ภาคเหนือ ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ปาย แม่สะเรียง ลำปาง แพร่ น่านนคร ตาก แม่สอด พิษณุโลก เพชรบูรณ์
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าอากาศยานนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทรภักดี อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม
-ภาคตะวันตก ท่าอากาศยานหัวหิน
-ภาคใต้ ท่าอากาศยานชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง ปัตตานี นราธิวาส
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-ควบคุมกิจการขนส่งทางอากาศในเขตความรับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับ ตลอดจนความตกลงและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง
-ให้บริการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่อากาศยาน ผู้โดยสารและบุคคลอื่นที่ใช้บริการท่าอากาศยาน รวมทั้งการขนส่งสินค้า สัมภาระ และไปรณียภัณฑ์ทางอากาศ
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่อธิบดีกรมการบินพลเรือนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรมการบินพลเรือน
-ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในกรมการบินพลเรือน
-ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานภายในกรมการบินพลเรือน
กลุ่มตรวจสอบภายใน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
-ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรมการบินพลเรือน
กรรมการอื่นในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีมติผ่านคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการอื่นดังนี้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
1 พลอากาศเอก วิจิตร์ จิตร์ภักดี ผู้แทนกองทัพอากาศ
2 นายอภิชาต เพ็ญสุภา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารกิจการการบินพาณิชย์
3 นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
4 ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินหรือการคลัง
5 นายกงกฤช หิรัญกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการ
ต่อมาเมื่อพลอากาศเอกวิจิตร์เกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ทำให้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งพลอากาศเอก ทวิเดนศ อังศุสิงห์ เข้ามาเป็นผู้แทนกองทัพอากาศแทนพลอากาศเอกวิจิตร์ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
รายนามผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน รักษาการแทน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (0 ปี 220 วัน)
นาวาอากาศตรี อลงกต พูลสุข ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (0 ปี 143 วัน)
นายจุฬา สุขมานพ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 -
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
333/105 อาคารหลักสี่พลาซ่า ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
The Civil Aviation Authority of Thailand
333/105 Lak Si Plaza, Khampheng Phet 6 Rd., Talat Bang Khen, Lak Si, Bangkok 10210
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<