แนะนำการสอบสำนักงานสปก
หมวดหมู่สินค้า: 27 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
27 มิถุนายน 2565
ผู้ชม 136 ผู้ชม
แนะนำการสอบสำนักงานสปก
แนะนำการสอบสำนักงานสปก หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานสปก หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานสปก , ข้อสอบสำนักงานสปก , งานราชการสำนักงานสปก
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานสปก
สำนักงานสปก
ประวัติความเป็นมา
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีกลุ่มชาวไร่ชาวนา นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง สาเหตุสำคัญมาจาก ปัญหาที่ดินทำกินและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้
"ปัจจุบันปรากฎว่า เกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อน เนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดินต้องเสีย ค่าเช่าในอัตราสูงเกินควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราการผลิตผลเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรม และเสียเปรียบจากการเช่าที่ดิน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด"
ผลจากการประกาศใช้พระราชบัญญํติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2518 เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุง สิทธิการถือครองที่ดิน การกระจายสิทธิในที่ดิน ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน ที่มีมากเกินความจำเป็น ให้ไปสู่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินพร้องทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอาชีพ ปรับปรุง ส่งเสริม และสนับสนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่าง ๆ และให้มีการจัดตั้งกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ความเป็นมาของปฏิรูปที่ดิน
เมื่อพูดถึงการปฏิรูปที่ดิน ก็มักจะมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอว่า เป็นวิธีการและแนวความคิดที่ประเทศซึ่ง ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์นำมาใช้ก่อนประเทศอื่น ซึ่งความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ถ้าเราได้ศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐกิจ ของลัทธิมาร์กซิสม์แล้ว เราจะพบว่าแนวความคิดในการกระจายการถือครอง ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของประเทศนั้น จะไม่ มีอยู่ในทฤษฎีเศรษฐกิจแบบมาร์กซิสม์ ตรงกันข้าม ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบมาร์กซิสม์จะเน้นถึงการรวมกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อให้การผลิตทางการเกษตร เป็นการผลิตขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส่วนเกษตรกรจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่จะมีฐานะเป็นกรรมกรในไร่นา เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คอมมิวนิสต์เป็นพวกแรกที่ได้นำวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองอย่างสำคัญและจริงจัง จนทำให้พวกตนประสบชัยชนะในที่ต่าง ๆ
ในเรื่องของการปฏิรูปที่ดินนั้น ถ้าเราได้ศึกษาถึงความเป็นมาของมันแล้ว เราจะพบว่า การปฏิรูปที่ดินเป็นกลยุทธทางเศรษฐกิจ การเมือง ในการปกครองประเทศซึ่งได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่พอจะหาหลักฐานได้นั้น การปฏิรูปที่ดินเริ่มมีขึ้นใน อาณาจักรกรีก ในสมัยของจักรพรรดิโซลอน (Solon) และในสมัยของจักรพรรดิพิซิสทราตัส(Pisistratus) ซึ่งอยู่ในระยะเวลา ศตวรรษที่หกก่อนคริสต์กาล ในอาณาจักรโรมัน ก็ได้มีการปฏิรูปที่ดินในสมัยของจักรพรรดิกราชิ (Grachi) ซึ่งอยู่ในศตวรรษที่สอง ก่อนคริสต์กาล ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 การปฏิรูปที่ดินก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมของประเทศฝรั่งเศสในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปที่ดินที่ใช้ในสมัยโบราณ มีลักษณะเป็นการจัดสรรระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบประนีประนอม และมิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังมากนัก ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ดินจึงเป็นแต่เพียงมาตราการที่ช่วยเหลือผ่อนปรนความกดดัน ทางการเมือง และช่วยให้ผู้ปกครองประเทศได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของ ประเทศได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิรูปที่ดินที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย การปฏิวัติใหญ่ ปี ค.ศ.1917 นั้น ได้มีการจัดระบบ การกระจายการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง และด้วยวิธีรุนแรง ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปนั้น เป็นการปฏิรูปที่ดินที่ได้ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างมากมาย ซึ่งมีบางคนเรียกการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวว่าเป็น "การปฏิวัติที่ดิน" ที่ได้ช่วยให้ผู้ปกครองประเทศสามารถสร้างอำนาจและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศได้อย่างมั่นคง
จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปที่ดินเพื่อที่จะช่วยลดช่องว่างความแตกต่างในฐานะความเป็นอยู่ของคนในสังคม และเพื่อสร้าง เสถียรภาพของการเมือง ทั้งนี้ก็โดยการให้ผลประโยชน์และความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และชักนำให้เขาเหล่านั้นหันมาจงรักภักดีและสนับสนุนรัฐบาลที่ทำการปฏิรูปที่ดิน
แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในปี 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอแนวคิด ในการจัดระบบการ ถือครองที่ดิน โดยกล่าวว่า ให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากประชาชน ที่ต้องการขาย แลัวนำมาพัฒนาทำคูทำคันนา จัดทำเป็นที่ดินประกอบ การเกษตรของรัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา และมีการใช้วิชาการสมัยใหม่ จากนั้นให้ราษฎรมาเป็นลูกจ้าง ประกอบการเกษตร ของรัฐบาล แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านเป็นอย่างมาก ต่อมา มีการเรียกร้องให้รัฐบาล แก้ไขปัญหาที่ทำกินจากบุคคลหลายกลุ่ม มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง ชาวไร่ ชาวนา ดร.ไชยยงค์ ชูชาติ ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาปัญหาการถือครองที่ดิน และจัดรูปที่ดินขึ้น เพื่อให้พิจารณากำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลสนใจปัญหาที่ดินทำกิน ของเกษตรกร และมีการจัดตั้ง กองทุนเพื่อจัดหาที่ดินให้เกษตรกร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2513 เพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ที่ เหมาะสม มาจัดสรรให้เกษตรกร ผ่อนส่ง ภายใน 15 - 20 ปี โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี และยังได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาเรื่องการปฏิรูปที่ดินด้วย หลังปี 2516 ในช่วงที่แรงผลักดันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทวียิ่งขึ้น ชาวนา ชาวไร่ นัดชุมนุมกันหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องขอความข่วยเหลือจจากรัฐบาล เนื่องจากความเดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกิน รัฐบาลในขณะนั้น โดย ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหา โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2518 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 81 ความว่า "ให้รัฐพึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ และสิทธิในที่ดิน เพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดิน และวิธีการอื่นๆ"
วิสัยทัศน์
"องค์การด้านการบริหารจัดการพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน เพิ่มศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร สู่ความผาสุก”
พันธกิจ
1. บริหารจัดการพื้นที่ ส.ป.ก.
2. เพิ่มศักยภาพพื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อการเกษตรกรรม
3. พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ ส.ป.ก. ให้มีความยั่งยืน
4. การสนับสนุนเงินทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
5. พัฒนาองค์การให้ทันสมัย
ภารกิจการดำเนินงาน
ส.ป.ก.กำหนดภารกิจการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ 3 ประการ ดังนี้
งานจัดที่ดิน
เป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรได้เป็นเจ้าของที่ดินภายใต้กฏหมายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยดำเนินการในที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ ที่ดินของรัฐ และที่ดินเอกชน
ในที่ดินของรัฐ
ส.ป.ก. จะทำการสำรวจรังวัด และสอบสวนสิทธิในที่ดิน เจรจากระจายสิทธิ ลดเนื้อที่และแบ่งแยกที่ดิน (กรณีมีที่ดินกินสิทธิตามกฎหมาย) เพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ตามที่เกษตรกรได้ยื่นคำร้องไว้ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับสิทธิตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ได้รับหนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก.4-28) และหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) และมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป โดยที่ดินของรัฐ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพ ที่จำแนกเป็นที่จัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี ที่สาธารณประโยชน์ที่ราษฎรเลิกใช้ร่วมกัน ที่สาธารณสมบัติแผ่นดิน และที่รกร้างว่างเปล่าที่อยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร
ในที่ดินเอกชน
ส.ป.ก.จะนำที่ดินที่จัดซื้อหรือเวนคืนมาจัดสรรแก่เกษตรกรผู้เช่า หรือผู้ไร้ที่ทำกิน หรือผู้มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งเกษตรกรจะต้องเช่า หรือเช่าซื้อจาก ส.ป.ก. และมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป โดย ส.ป.ก.จะจัดซื้อ หรือเวนคืนที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเกินกว่าพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด
งานพัฒนา
ดำเนินงานในส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำ เพื่อยกระดับสภาพความเป็นอยู่ตามความจำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร
งานเพิ่มรายได้
เป็นการดำเนินงานปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและโครงสร้างทางการเกษตร จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดิน จัดหาสินเชื่อและปัจจัยการผลิต พัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรและนอกการเกษตร การให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการรักษาดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบ และมติของ คปก. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในที่ดินสาธารณะ ที่ดินชุมชน และที่ดินที่จัดให้เกษตรกร โดย ส.ป.ก.จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามสภาพของท้องที่นั้นๆ สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
อำนาจหน้าที่
สำนักงานปฎิรูปทีดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1.ดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.ดำเนินการจัดหาทีดินเอกชน และที่ดินของรัฐ มาดำเนินการปฎิรูปที่ดิน ตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยจัดที่ดินให้เกษตรกรทำประโยชน์ เช่า เช่าซื้อ การให้กรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประสานงานส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการปฎิรูปที่ดินและวิชาการด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำแนกการใช้ประโยชน์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากร ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
4.บริหารกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ การให้กู้ยืมเงินสำหรับการพัฒนาอาชีพ รวมตลอดถึงการใช้เงินกองทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมิให้สูญเสียสิทธิในที่ดิน รวมทั้งการจัดทำสารบบที่ดินเพื่อการปฎิรูปที่ดิน
5.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
นโยบายปฏิรูปที่ดิน
-นโยบาย ส.ป.ก. ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๘
-นโยบายด้านการจัดที่ดิน
-นโยบายด้านการพัฒนา
-นโยบายด้านการบริหาร
-นโยบายด้านบุคลากร
-นโยบายด้านกองทุนปฏิรูป
-นโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ฯลฯ
วัฒนธรรม
"ALROSMART: องค์กรแห่งความน่าเชื่อถือ”
A : Area Management การจัดการพื้นที่และคุ้มครองที่ดินเกษตรกรรม
L : Learning & Development การเรียนรู้และพัฒนาตลอดเวลา
R : Responsibility ความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้
O : Organization Commitment ความผูกพันต่อองค์กร
S : Service Mind การมีจิตบริการ
M : Moral การมีคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรมอันดี
A : Ability การมีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงาน
R : Respect การยอมรับนับถือแก่กัน
T : Teamwork การทำงานเป็นทีม
ค่านิยม
ALRO
A : Achievement Motivation : การมุ่งผลสัมฤทธิ์
หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
L : Learning and Development : การเรียนรู้และพัฒนา
หมายถึง เรียนรู้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและกล้าเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
R : Responsibility : ความรับผิดชอบ
หมายถึง รับผิดชอบต่องานในหน้าที่ ต่อการตัดสินใจ ต่อการกระทำ และต่อผลงาน
O : Organizational Commitment : ความผูกพันต่อองค์กร
หมายถึง ความรู้สึกดีๆ ที่บุคลากรมีต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้บังคับบัญชา และมีความเต็มใจที่จะงานเพื่อความก้าวหน้าและประโยชน์ขององค์กร
อาคาร ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 0-2282-9004 โทรสาร : 0-2281-0815 สายด่วน 1764
อีเมล์ : alro@alro.go.th
เป้าประสงค์
1. การบริหารจัดการพื้นที่ปฏิรูปที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การเพิ่มศักยภาพในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
4. การเพิ่มศักยภาพการใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
5. การพัฒนาองค์การเพื่อให้เป็นองค์การที่มีคุณภาพสูงในการปฏิบัติราชการ รองรับการให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิผล
ผู้บริหาร ส.ป.ก.
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก.
นายสุริยน พัชรครุกานนท์ รองเลขาธิการ ส.ป.ก.
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการ ส.ป.ก.
นายเอกพงศ์ น้อยสร้าง รองเลขาธิการ ส.ป.ก.
ว่าง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม
นายเลิศศักดิ์ สุขสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกรม
นายนภดล ตันติเมฆิน ผู้ตรวจราชการกรม
นายกิตติ แดงพลอย ผู้ตรวจราชการกรม
นายภาชน์ จารุภุมมิก ผู้ตรวจราชการกรม
นายปราโมทย์ ยอดแก้ว ผู้ตรวจราชการกรม
นางสาวจิราทิตย์ โรจน์อุ่นวงศ์ สำนักบริหารกองทุน
นายวัฒนา มังธิสาร สำนักจัดการแผนที่และสารบบที่ดิน
นางสาวเมตตา คุโณปถัมภ์ กองการเจ้าหน้าที่
นายวิวรรธน์ สงประเสริฐ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
นางสาววรรณพร ดอกจำปา ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายสุรชัย ยุทธชนะ สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน
นายสมศักดิ์ การเจริญกุลวงศ์ สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
นายประดิษฐ์ ใจรังษี สำนักวิชาการและแผนงาน
นายปรีชา ลิ้มถวิล สำนักฎหมาย
นางสาวธัญพร แพมงคล สำนักบริหารกลาง
นางสาวอุษานันท์ คล้ายชัง กลุ่มตรวจสอบภายใน
นางสาวกานดา ศากยะโรจน์ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
นางสาวสุนิสา เอกธิการ กองประสานงาน
โครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ
(ว่าง) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมศิลปาชีพ
นางสาวอาภาพรรณ พัฒนพันธุ์ ด้านการปฏิรูปที่ดิน
นางอาทิตยา พองพรหม ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
นายเกียรติยศ ทรงสง่า ด้านการจัดที่ดิน
(ว่าง) ด้านแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตปฏิรูปที่ดิน
(ว่าง) ด้านการบริหารเงินทุนปฏิรูปที่ดิน
(ว่าง) ด้านกฎหมายปฏิรูปที่ดิน
(ว่าง) ด้านการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน
(ว่าง) ด้านการออกแบบและพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร.0-2282-9004 โทรสาร. 0-2281-0815, 0-2281-5649 ติดต่อผู้ดูแลระบบ webmaster@alro.go.th
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<