9365090

แนะนำการสอบสำนักงานสกย

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 135 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานสกย
แนะนำการสอบสำนักงานสกย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานสกย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานสกย , ข้อสอบสำนักงานสกย , งานราชการสำนักงานสกย

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานสกย






สำนักงาน สกย
 
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (Office of the Rubber Replanting Aid Fund) หรือ สกย. (ORRAF) เป็นอดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ปรับปรุง พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530)[2] เพื่อดำเนินกิจการให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
 
นอกจากนี้รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรรงบประมาณสร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นอกจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จัดตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม
 
วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 หน่วยงานนี้ได้ยุบรวมกับ องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง เป็น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558[3]
 
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นทดแทนยางเก่า และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้งคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
2. พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
3. พัฒนาระบบ และกลไกตลาด ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา
4. จัดตั้ง และ พัฒนาองค์เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนา และอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น





แหล่งราย
ได้เงินทุนที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของ สกย. ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
1. เงินสงเคราะห์ (CESS) เก็บจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร ในอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 5 บาท เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้แต่ละปีไม่เกินร้อยละ 5 ให้กรมวิชาการเกษตร นำไปค้นคว้าวิจัยงานยาง ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของ สกย. และ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ส่งคืนกลับสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูป ของ การช่วยเหลือ ทางด้านวิชาการ และปัจจัยการผลิต เงินสงเคราะห์นี้จะจ่ายเพื่อการอื่นไม่ได้
2. เงินงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
     1. เงินสมทบ เพื่อการสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี ภายใต้แผนวิสาหกิจ สกย.
     2. เงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์
 
การแบ่งส่วนบริหารองค์กร
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แบ่งการบริหารงานออกเป็น 12 ฝ่าย และมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด 46 แห่ง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ 56 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด 12 แห่ง และศูนย์เรียนรู้ยางพารา 4 แห่ง[4] ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
การยางแห่งประเทศไทย Rubber Authority of Thailand
ความหมายตราสัญลักษณ์ เส้นรอบวง เปรียบเสมือนต้นยางเป็นรอบวงปี แสดงถึงความเจริญเติบโต ภายในมีต้นยางพาราซึ่งมีความสำคัญที่สุดแทนองค์กรการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รอยกรีด 3 รอยแสดงถึงกระบวนการผลผลิตของยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และการรวมของ 3 องค์กร การออกแบบ ประกอบด้วยหยอดน้ำยางสีขาววางอยู่กลางปลายหยดน้ำยางรองรับจากรอยกรีด สอดแทรกด้วยลายกนกแสดงถึงเอกลักษณ์ไทยคล้ายดอกบัวแย้ม กลีบใบแสดงถึงการบริหารองค์กร กยท. ในรูปแบบยุติธรรม โปร่งใส บูรณาการระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพาราโดยมี กยท. เป็นตัวกลาง ตาม พ.ร.บ การยางแห่งประเทศไทย 2558 และหยดน้ำยางสีทองวางซ้อน หมายถึง รายได้ความมั่นคง ความเจริญ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
โดยภาพรวมกราฟิกของ ตราสัญลักษณ์  นี้แสดงถึง การเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตการแปรรูปขั้นต้น แปรรูปขั้นกลาง เป็นผลิตภัณฑ์ยางอุตสาหกรรมและการตลาดเพื่อให้เกษตรกรมีกำไรมั่งคง และการเพิ่มมูลค่ายางพาราของไทยด้วยการให้บริการเป็นเลิศ ทั้งยังเสริมสร้างสังคมชาวสวนยางสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ความเป็นมา
การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เกิดจากการรวม 3หน่วย ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยางและสถาบันวิจัยยาง โดยมีพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 มีวัตถุประสงค์ให้การยางแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับเงินของกองทุน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนา เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับยางพาราและดำเนินการให้ระดับราคายางมีเสถียรภาพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปลูกแทนและการปลูกใหม่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง ด้านวิชาการ การเงิน การผลิต การแปรรูป การอุตสาหกรรม การตลาด การประกอบธุรกิจและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย มีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารสูงสุด
 



วิสัยทัศน์
  "กยท. เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ”
 
ค่านิยมองค์กร
R = Responsibility รับผิดชอบต่อตนเอง องค์กรและสังคม
A= Advance to Excellence ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ
O = Ownership ผูกพันเป็นเจ้าของร่วมกัน
T = Trust มีความน่าเชื่อถือ
 
 
พันธกิจ
  บริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้เกิดความคุ้มค่า เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และตอบสนองสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระบบ
 
ต่อเกษตรกร              ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกร      สร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
 
ต่อผู้ประกอบ            ส่งเสริมการค้าให้มีความเป็นธรรม เพิ่มขีดความสามารถกิจการยาง
 
ต่อประเทศ                ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิตการค้าและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างกลไกรักษาเสถียรภาพราคายาง
 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างรายได้จากการบริการและดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์ที่ 1 การประกอบธุรกิจจากทรัพย์สินที่มีอยู่เดิม
กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างรายได้จากโอกาสในธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ที่ 3 การลดค่าใช้จ่าย และปรับโครงสร้างหนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่า
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างกลไกรักษาเสถียรภาพราคายาง
กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ 3 การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเพื่ออนาคต
กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริม และพัฒนางานวิจัย
กลยุทธ์ที่ 2 การถ่ายทอดงานวิจัย
กลยุทธ์ที่ 3 การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ 4 การหลอมรวมเพื่อความเป็นหนึ่ง
 
ผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ
นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการด้านธุรกิจ 
นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการด้านบริหาร





ติดต่อการยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 222,296 Email: saraban@raot.mail.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com