9369339

แนะนำการสอบกรมปศุสัตว์

หมวดหมู่สินค้า: 48 กรมชลประทาน

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 144 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมปศุสัตว์
แนะนำการสอบกรมปศุสัตว์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมปศุสัตว์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมปศุสัตว์ , ข้อสอบกรมปศุสัตว์ , งานราชการกรมปศุสัตว์

บทบาทหน้าที่ของกรมปศุสัตว์




กรมปศุสัตว์
ประวัติกรมปศุสัตว์
 
ความหมายของตราสัญลักษณ์ประจำกรมปศุสัตว์
เครื่องหมายราชการกรมปศุสัตว์
ภาคภาษาไทย
เป็นรูปวงกลม มีกรอบล้อมรอบ กึ่งกลางมีรูป โคอุสุภราช มีนามว่า พระนนทิ ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสัตว์จัตุบาทและ ม้าฉันท์ เป็นม้าขาวคู่บารมีของพระพุทธเจ้า ทั้งโคและม้า ดังกล่าวถือว่าเป็นใหญ่กว่าสัตว์พาหนะทั้งมวล ช่วยกันประคองเรือนแก้วที่ประทับพระพิรุณทรงนาคให้ลอยอยู่เหนือเมฆ ดังนั้น ดวงตรานี้  จึงมีความหมายถึง ปศุสัตว์และสัตว์พาหนะทั้งมวลมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยเบียดเบียน และมีข้อความ “กรมปศุสัตว์” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์
 
สีประจำกรมปศุสัตว์ คือ สีฟ้าหม่น
ภาคภาษาอังกฤษ
มีองค์ประกอบเหมือนกับภาษาไทย แต่เปลี่ยนจากอักษรไทย เป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อความว่า “Department of Livestock Development” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์
 
ประวัติกรมปศุสัตว์
พ.ศ.2447 ได้เริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นในกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการ
พ.ศ.2449 ได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2451 ได้เปลี่ยนชื่อ "กรมช่างไหม" เป็น "กรมเพาะปลูก"
พ.ศ.2463 ได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรมเพาะปลูก
พ.ศ.2474 ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
พ.ศ.2476 หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ
พ.ศ.2477 กรมตรวจกสิกรรม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง" โดยกิจการบำรุงพันธุ์สัตว์ การรักษาและป้องกันโรคสัตว์ได้รวมกันยกฐานะเป็น"กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ" ประกอบด้วย 8 แผนก คือ แผนกวิชาโรคสัตว์ แผนกวัคซีน และซีรั่ม แผนกปราบโรค แผนกด่านกักกันสัตว์ แผนกสัตว์ใหญ่ แผนกสุกร แผนกเป็ดไก่ และแผนกอาหารสัตว์
พ.ศ.2481 กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ ขยายงานแบ่งออกเป็น 2 กอง คือ กองสัตวรักษ์ และกองสัตวบาล
5 พฤษภาคม 2485 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการและมี" การแบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองสัตวบาล กองสัตวรักษ์ และกองสัตวศาสตร์
15 กุมภาพันธ์ 2494 จัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์และสัตวพาหนะ เป็น 5 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค
8 มีนาคม 2495 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" เป็น "กรมการปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร ซึ่งเปลี่ยนจาก กระทรวงเกษตราธิการ แบ่งส่วนราชการเป็น 7 กอง ในส่วนกลางและ 3 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค ในปลายปี ๒๔๙๕ ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม.
26 ธันวาคม 2496 กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร
21 พฤษภาคม 2500 ได้มีพระราชกฤษฎีกาการจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 8 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค
20 กรกฎาคม 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 11 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค
22 เมษายน 2522 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 13 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค
21 มกราคม 2527 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 14 กอง ในส่วนกลาง และ 2หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค
11 มิถุนายน 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 16 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค





วิสัยทัศน์
“เป็นองค์การที่นำและขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในตลาดโลก”
 
พันธกิจ
ประเด็นหลักพันธกิจ
ทรัพยากรมนุษย์สาขาการปศุสัตว์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาปศุสัตว์ (โดยครอบคลุมทั้งบุคลากรกรม เกษตรกร อาสาปศุสัตว์ และผู้ประกอบการ) ให้มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และศักยภาพที่พร้อมกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างแข็งแกร่ง
ระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์และตลอดห่วงโซ่การผลิต พัฒนาระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตให้มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ดิจิทัลด้านการปศุสัตว์ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่ครอบคลุมทั้งซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล และระบบเชื่อมโยงข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญในสาขา เพื่อตอบสนองการใช้งานสาหรับ การปศุสัตว์และเพื่องานปศุสัตว์
องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัยด้านการปศุสัตว์ พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัยต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปศุสัตว์ในทุกมิติ ทั้งด้านวิชาการ ด้านฐานข้อมูล ด้านการผลิต และด้านการตลาด
การบริหารจัดการองค์การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (HPO & GG) ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์การและการบริหารจัดการบุคลากร ร่วมกับการปรับบทบาทองค์การและการนาองค์การไปสู่รูปแบบใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การชั้นนา และเป็นองค์การนาการขับเคลื่อน ปศุสัตว์
ความร่วมมือระหว่างองค์การ ทั้งในและต่างประเทศ มุ่งประสานความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อการต่อยอดองค์ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์สาขาปศุสัตว์ แสวงหาการรับรองและเป็นที่ยอมรับ ในตลาดใหม่ รวมกับบูรณาการการทางานร่วมกันทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และอาสาปศุสัตว์





อำนาจหน้าที่
กรมปศุสัตว์ มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและนโยบาย การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์เพียงพอ และมีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้าง และสารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์
3. ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ ชีวภัณฑ์และชีววัตถุสำหรับสัตว์ ยาสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ระบบการผลิตปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านการปศุสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
4. ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ น้ำเชื้อ เชื้อพันธุ์ พืชอาหารสัตว์ และเสบียงสัตว์ เพื่อการพัฒนาด้านการปศุสัตว์ และผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และชีววัตถุสำหรับสัตว์ เพื่อการควบคุมโรคระบาดสัตว์
5. ควบคุม ป้องกัน กำจัด บำบัด วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ กำกับดูแลสถานพยาบาลสัตว์ และพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์
5. ส่งเสริม พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ และบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปศุสัตว์
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
ค่านิยมองค์กร
" I2 - SMART "
I = Innovation (สร้างนวัตกรรม)
I = Integration (ทำงานแบบบูรณาการ)
S = Standard (สร้างมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์)
M = Mastery (การทำงานอย่างมืออาชีพ)
A = Agility (ความคล่องตัวและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง)
R = Responsibility (มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ)
T = Teamwork (มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน)
 
ผู้บริหารกรมปศุสัตว์ (อธิบดี / รองอธิบดี)
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์เศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
 
กรมปศุสัตว์  โทรศัพท์ (Call Center) 0-2653-4444  อีเมล์ info[at]dld.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com