7958869

แนะนำการสอบกรมประมง

หมวดหมู่สินค้า: 48 กรมชลประทาน

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 165 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมประมง
แนะนำการสอบกรมประมง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมประมง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมประมง , ข้อสอบกรมประมง , งานราชการกรมประมง

บทบาทหน้าที่ของกรมประมง




กรมประมง
 
ประวัติกรมประมง
การบริหารกิจการประมงของประเทศไทย ได้เริ่มจัดระเบียบขึ้นในปีพุทธศักราช 2444 (ร.ศ.120) โดยรัฐบาลมุ่งหวังประโยชน์ 3 ประการคือ 1. การเก็บภาษีอากร 2. ให้มีสัตว์น้ำเพียงพอสำหรับเป็นอาหารของประชาชน และ 3. ให้มีสัตว์น้ำเป็นสินค้าแก่บ้านเมือง แต่ในทางปฏิบัติการบริหารการประมงในช่วงปี พ.ศ. 2444-2464 นั้น มุ่งประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรมากกว่าการเอาใจใส่ในการบำรุงรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการจัดแบ่งหน้าที่ราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติกับกระทรวงเกษตราธิการ โดยกำหนดให้กระทรวงพระคลังฯ มีหน้าที่ปกครองที่จับสัตว์น้ำ เก็บเงินอากรในที่จับสัตว์น้ำ และการเก็บค่าอากรน้ำ ส่วนกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งมีเจ้าพระยาพลเทพ ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดี มีหน้าที่เพาะเลี้ยงและดูแลรักษาสัตว์น้ำ แนะนำฤดูงดจับสัตว์น้ำ กำหนดขนาดตาอวนและขนาดเครื่องมือ ห้ามการใช้เครื่องมือบางอย่าง และห้ามทำอันตรายสัตว์น้ำ เช่น วางยาเบื่อยาเมา ใช้ของระเบิด เป็นต้น ซึ่งเป็นการป้องกันพืชพันธุ์สัตว์น้ำ จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของประเทศไทยได้เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
แต่ด้วยสมัยนั้นประเทศไทยยังขาดผู้มีความรู้ในการบำรุงรักษาสัตว์น้ำ ประกอบกับการที่จะบำรุงรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้นนั้น ต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้พิเศษเฉพาะทาง รัฐบาลจึงได้ติดต่อกับอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ให้ช่วยจัดหาผู้ชำนาญการในเรื่องปลามาเป็นที่ปรึกษาและปฏิบัติงาน พระยาเมธาธิบดีผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาจึงได้ทาบทาม ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท (Dr.Huge M. smith, MD.,LL.D)  ผู้เคยเป็นCommissioner   of   fisheries  U.S.A     ให้เข้ามาช่วยในเรื่องดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้เข้ามารับราชการในฐานะ Adviser in fisheries
to  His  Siamese  Majesty's   Government  สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2466 โดยจัดสำนักงานให้ตั้งอยู่ที่วังสุริยง (นางเลิ้ง) โดยงานในขั้นแรกคือการสำรวจ ศึกษาพันธุ์สัตว์น้ำจืดและทะเลของประเทศไทยว่ามีมากน้อยเท่าใด เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์ การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งผลในการสำรวจจะจำแนกในทางชีววิทยา โดยมีภาพประกอบและจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่  และได้เขียนข้อวิจารณ์ถึงทรัพยากรในน้ำและการประมงของประเทศไทยรวมทั้งผังงานและข้อแนะนำในการบริหาร การสงวน และการพัฒนา ในหนังสือชื่อ  A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam, with Plans and Recommendation for the Administration, Conservation and Development เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งภายหลังได้มีการแปลเป็นภาษาไทย เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษากันอย่างแพร่หลาย
 
และเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2469 ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกรมรักาสัตว์น้ำขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการโดยกำหนดให้มีหน้าที่ดูแลแนะนำการขยายการจับสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารและสินค้าภายในภายนอกประเทศ กำหนดเขต และฤดูที่อนุญาตให้จับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ร.ศ.120 และนับถัดมาอีก 6 วัน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ
 
ระหว่างที่กระทรวงเกษตราธิการกำลังเริ่มงานบำรุงรักษาสัตว์น้ำเป็นช่วงระยะเวลาที่ต้องการผู้มีความรู้ในวิชาเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์และดูแลรักษาสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร ทรงมีประสงค์อันแรงกล้าในการที่จะสนับสนุนการพัฒนาการประมงของไทยให้ก้าวหน้า โดยได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนให้กระทรวงเกษตราธิการจัดส่งข้าราชการหรือนักเรียนไปศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลาในต่างประเทศ ปรากฏว่าผู้ได้รับการคัดเลือกจำนวน 2 ท่าน คือ หลวงจุลชีพพิชชาธร และ ศาสตราจารย์บุญ  อินทรัมพรรย์ ซึ่งถือเป็นนักเรียนทุนมหิดลชุดแรกที่ได้เดินทางไปสึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้มีการเปิดสอบชิงทุนเพิ่มอีก 1 ทุน ซึ่งผู้ที่สอบตัดเลือกได้คือ ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ





ระยะเวลาผ่านไปครบกำหนด 6 ปี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2471 หลวงจุลชีพพิชชาธรได้สำเร็จการศึกษา จึงเดินทางกลับมาประเทศไทย กระทรวงเกษตราธิการจึงมีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำเป็นเวลา 2 ปี และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ แทน ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท ซึ่งขอลาออกจากราชการ แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 ศาสตราจารย์บุญ  อินทรัมพรรย์ สำเร็จการศึกษากลับมา ได้มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมชั้น 2 กรมรักษาสัตว์น้ำ
 
ในปี พ.ศ. 2475 มีการย้ายกรมรักษาสัตว์น้ำจากวังสุริยง (นางเลิ้ง) ไปตั้งอยู่ภายในอาคารที่เคยเป็นกรมเพาะปลุก บริเวณกระทรวงเกษตราธิการ กระทั่งปี พ.ศ. 2479 จึงได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่วังพระองค์เจ้าทสสุริวงศ์ หลังอาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรมโยธาธิการเดิม) ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทการบินไทย หลานหลวงในปัจจุบัน
 
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ให้รวมกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า “กระทรวงเกษตรพาณิชยการ” และเปลี่ยนเป็นชื่อ “กระทรวงเศรษฐการ” ในปีพ.ศ. 2476 เนื่องจากมีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมขึ้น มีกรมการประมงรวมอยู่ในกระทรวงเศรษฐการด้วย โดยมีหลวงจุลชีพพิชชาธร เป็นอธิบดีกรมการประมง
 
จวบจนปี พ.ศ. 2496 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2497 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปลี่ยนนามกรมการประมง เป็น “กรมประมง” จนถึงปัจจุบัน


 
วิสัยทัศน์ (กรมประมง)
"เป็นหน่วยงานที่มุ่งพัฒนาและบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำสู่การประมงที่ยั่งยืน"
 
พันธกิจ
1. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มมูลค่าของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการประกอบอาชีพของเกษตรกร
2. พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพและตรวจสอบย้อนกลับ
3. บริหารจัดการประมงเพื่อให้มีทรัพยากรประมงใช้อย่างยั่งยืน
4. พัฒนาการวิจัยเพื่อน้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมถ่ายทอดสู่เกษตรกร
5. ปรับบทบาทขององค์กรและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะที่พร้อมปฏิบัติงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
 
ยุทธศาสตร์กรมประมง 5 ปี (พ.ศ. 2560 -2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบสินค้าประมงให้มีมาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการด้านการประมงและทรัพยากรสัตว์น้้าให้มีความยั่งยืนและคงความหลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ
 
ค่านิยมร่วมขององค์กร
"We are FISHERIES"
F = Friendly หมายถึง เต็มไปด้วยความเป็นมิตร
I = Integrity ” มีคุณธรรม จริยธรรม
S = Smart ” มีความสง่างามและภาคภูมิใจในตนเอง
H = Happiness ” มีความสุข
E = Enthusiasm ” มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
R = Responsibility ” มีความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ทำ
I = Intelligence ” มีความคิดที่ฉลาดหลักแหลม
E = Energy ” มีกำลังและพลังทุ่มเท
S = Simplicity ” มีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย
 
อำนาจหน้าหน้าที่หน้าหลัก  ข้อมูลองค์กร  อำนาจหน้าที่/วิสัยทัศน์
กรมประมง กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมงตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เว็บไซต์ของกรมประมงได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงาน และกิจกรรมต่างๆ ของกรมประมงต่อหน่วยงานราชการ เอกชน ตลอดจนประชาชน ทั่วไปที่สนใจ ให้ทราบผลการปฏิบัติงานที่ได้ปฎิบัติมาแล้ว กรมประมงหวังว่า เว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ เพื่อส่งผลประโยชน์ถึงประชาชนที่สนใจและใช้ประโยชน์จากกิจกรรมประมงโดยทั่วกันอีกทางหนึ่ง
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการ พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558 กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปี 
พ.ศ. 2535   กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และด้านวิชาการประมงทุกสาขา 
3. สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย แหล่งทำการประมงในน่านน้ำต่างประเทศ และดำเนินการเกี่ยวกับการทำการประมงร่วมกับประเทศอื่นๆ
4. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับการประมง
5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย










ผู้บริหารกรมประมง
นายมีศักดิ์  ภักดีคง อธิบดีกรมประมง
ดร.วิชาญ  อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง
ประวัติ นายบัญชา  สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง
นายบัญชา  สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง
ประวัติ นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง
นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง
 ดร.ถาวร  ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง
 
ที่ตั้งกรมประมง
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
50 เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
 0-2562-0600 ถึง 15    secretary@fisheries.go.th  



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com