8029351

แนะนำการสอบกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

หมวดหมู่สินค้า: 59 กรมกิจการเด็กและเยาวชน

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 148 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
แนะนำการสอบกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ , ข้อสอบกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ , งานราชการกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

บทบาทหน้าที่ของกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ




กรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
 
ประวัติความเป็นมา
รัฐจัดตั้งกรมประชาสงเคราะห์ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่ตั้งกรมฯ อยู่ในพี้นที่วังสราญรมย์ เขตพระนครกรมฯ ได้ตั้งหน่วยงานรับผิดชอบดูแลเรื่องคนพิการ ในระดับ กลุ่มงาน เป็นงานคนพิการ ในฝ่ายสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง กองสวัสดิการสงเคราะห์
ในระยะเริ่มแรก เน้นการให้บริการ ด้านสวัสดิการสงเคราะห์ ให้แก่คนพิการ
 
ปี: 2493
กรมฯ ย้ายมาตั้งที่วังสะพานขาว และคงดำเนินงานสวัสดิการสงเคราะห์ให้แก่คนพิการ โดยยกระดับงานคนพิการเป็นฝ่ายสงเคราะห์คนพิการในกองสวัสดิการสงเคราะห์
 
ปี: 2524
กรมประชาสงเคราะห์ และองค์กรเอกชนด้านคนพิการเล็งเห็นความสำคัญ ในเรื่องสิทธิและโอกาสของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงได้ร่วมกันผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการ
 
ปี: 2534
รัฐบาลได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ พ.ศ.2534พ.ร.บ. ดังกล่าวให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” (สฟก.) ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัด กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
กรมฯ ได้โอนงานคนพิการในฝ่ายสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง กองสวัสดิการสังคม มารวมที่ สฟก. สฟก. ทำหน้าที่









ปี 2536
มีการปรับโครงสร้างการบริหารราชการเมื่อเดือน กันยายน โดยโอนสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ จากสังกัดกระทรวงมหาดไทย ไปสังกัด กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
 
ปี 2545
มีการปฏิรูป ระบบราชการ โดยปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ “สำนักคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ (สทก.)” สังกัดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
สทก. ทำหน้าที่เช่นเดีวกับ สฟก. โดยเน้นงานวิชาการและการจัดทำองค์ความรู้ด้านคนพิการ สำหรับงานการบริการ และการให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่คนพิการ ดำเนินการโดย สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ย้าย สทก. มาตั้งในบริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เขตราชเทวี 
เนื่องจากพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ใช้บังคับมานาน สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการไม่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้น
 
ปี: 2550 
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2550
จัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ”ขึ้น เป็นส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์มีเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และบุคลากรของสำนักงาน
 









ปี: 2558 - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
จากสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. ๒๕๕๐
ไปเป็นของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรืออธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และบุคลากรของสำนักงาน
 
วิสัยทัศน์
“เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สู่ระดับสากล” 
พันธกิจ
1. ขับเคลื่อนและบูรณาการนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ภายใต้องค์กรที่มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างเท่าเทียม
3. ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการ ให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วม
 
ยุทธศาสตร์กับการขับเคลื่อนภารกิจของ พก.
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนานโยบายและการบริหารจัดการด้านคนพิการให้มีผลสัมฤทธิ์และมีธรรมาภิบาล (Development)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมพลังคนพิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเท่าเทียม (Empowerment)
ยุทธศาสตร์ที่ 3  เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย (Participation)





ค่านิยม  มีคุณธรรม นวัตกรรมดีเด่น เน้นทีมงาน ประสานเครือข่าย
 
ภารกิจ อำนาจหน้าที่
ภารกิจ
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอนโยบายและจัดทำแผนงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทั้งดำเนินการด้านการคุ้มครอง การส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการของคนพิการ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคแก่คนพิการ การตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ การให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นได้ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล
 
อำนาจหน้าที่
1) ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการปฏิบัติงานและการเสนอนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
2) ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ และสถานการณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการรวมทั้งจัดทำแผนงาน และติดตามประเมินผล เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
3) บริหาร จัดการ และพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4) จัดทำแผนงานการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนและประสานงานให้หน่วยงานของรัฐจัดงบประมาณให้แก่องค์กรด้านคนพิการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ และพัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ
7) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง การดำเนินงาน และการกำกับดูแลศูนย์บริการคนพิการทุกประเภท
8) ดำเนินการและส่งเสริมกิจการของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ได้จัดตั้งขึ้นทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
9) ตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีให้แก่คนพิการ
10) ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
กลุ่มตรวจสอบภายใน
ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในกรม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม
(2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
 
 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
(1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
(2) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
(3) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม
(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
 
 สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานบริหารทั่วไป งานเลขานุการผู้บริหาร งานประสานราชการ และงานสารบรรณของกรม
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ งานพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบคุณธรรม และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตบุคลากรของกรม
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรม
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจกรรม เผยแพร่ความรู้และผลงานของกรม
(6) ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรม
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กองกองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ องค์กรด้านคนพิการและศูนย์บริการคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเงินกองทุน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและการมีส่วนร่วมในสังคม
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน การรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การจัดทำบัญชี การลงทุนและหาผลประโยชน์ และการจัดทำรายงานสถานะทางการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติและประกาศที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(3) ควบคุมดูแลการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตามที่กฎหมายกำหนด
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการบริหารกองทุน คณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนพิการ
(5) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน การได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ งานเลขานุการของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(6) ดำเนินการรับคำร้องขอ การรวบรวมพยานหลักฐาน การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท การจัดทำและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติหรือคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ตลอดจนดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย
(7) ให้ความรู้ คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานเกี่ยวกับการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตลอดจนการพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิทักษ์สิทธิและความเสมอภาคของคนพิการจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(8) ประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการซึ่งได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนพิการและจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีให้แก่คนพิการ
(9) ดำเนินการเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบทรัพย์ อายัดทรัพย์สิน ดำเนินคดีและบังคับคดี ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(10) พิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(11) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย




กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
(2) เสริมสร้างมาตรการ กลไก พัฒนา และรับรองมาตรฐานการจัดสวัสดิการในการคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
(3) กำหนดมาตรฐานและพัฒนาการฝึกอาชีพของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ให้สอดคล้องกับความพิการและสถานการณ์ทางสังคม
(4) พัฒนาระบบการคุ้มครองสวัสดิภาพในรูปแบบของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้แก่คนพิการ
(5) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่คนพิการของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
(6) ดำเนินการและส่งเสริมการสร้างทักษะให้กับครอบครัวคนพิการ โดยให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำแก่ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการตามความเหมาะสมแต่ละประเภท ก่อนส่งคนพิการกลับคืนครอบครัวและสังคม
(7) เป็นศูนย์กลางประสานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครอง        และพัฒนาคนพิการ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก รวมทั้งส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ตลอดจนรณรงค์เผยแพร่ความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการส่งคนพิการ  กลับเข้าสู่สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ
(8) ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ในการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้แก่คนพิการด้านการจัดสวัสดิการในชุมชน การคุ้มครองให้คนพิการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว และชุมชน
(9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำแผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติราชการของกรม รวมทั้งการบริหารงบประมาณของกรม
(3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานด้านคนพิการ
(4) ส่งเสริมด้านวิชาการ และดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิเทศสัมพันธ์ ประสานงานและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับนโยบายหรือพันธกรณีระหว่างประเทศ
(7) จัดทำและพัฒนามาตรการ กลไก และการส่งเสริมมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิต   คนพิการ
(8) บริหารจัดการข้อมูลด้านคนพิการของประเทศ และงานทะเบียนกลางรวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของนายทะเบียนจังหวัด
(9) ดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และบริหารระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
(10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กองส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการคนพิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีหรือปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลือแก่คนพิการ
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน การประสานความร่วมมือ และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาสาสมัครและเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(3) ส่งเสริมการจัดตั้ง การดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบการให้บริการของศูนย์บริการคนพิการ และกำกับดูแลศูนย์บริการคนพิการจังหวัด
(4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการด้านสวัสดิการแก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ และล่ามภาษามือ
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระร่วมกับผู้อื่นในสังคม
(6) ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพและมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนประสานงานด้านกีฬา นันทนาการ และข้อมูลข่าวสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(7) กำหนดและรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ
(8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศในการส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการของคนพิการ การเสริมสร้างและพัฒนาอาชีพของคนพิการตลอดจนการสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการและคนพิการ
(9) จัดการฝึกอบรม ส่งเสริม และพัฒนาการฝึกอาชีพให้แก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานและกำกับดูแลศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการและศูนย์ส่งเสริมอาชีพคนพิการ
(10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ
-แผนปฏิบัติราชการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2564
-แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 2564
-แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2563 - 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)
-แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี พ.ศ.2563 - 2565
-แผนปฏิบัติราชการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
-แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2563
-แผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง มีนาคม พ.ศ. 2562)
-แผนการจัดการภัยพิบัตรสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564
-แผนการพัฒนาสตรีพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564
-แผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
-แผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
-แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ 2560 -2564
-แผนกลยุทธ์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) พ.ศ. 2560 - 2564
-แผนปฏิบัติการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
-แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ 2555 -2559
-แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2551 - 2554










ตราประจำกระทรวงและความหมาย
พระประชาบดี
พระประชาบดี หมายถึง เทพผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นบุตรของพระพรหม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เทพมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ให้ การสงเคราะห์แก่ประชาชนเป็น "มนสาบุตร" หมายถึง พระพรหมนึกให้เกิดพระประบดีและบริวาร ซึ่งเป็นฤาษี 7ตน หรือสัปตฤาษี ได้รับมอบหมายจากพระพรหมให้มาสร้างมนุษย์ และสัตว์อื่นๆ เมื่อทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ถนอมเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตากรุณา โดยไม่คำนึงผลตอบ แทนแม้แต่น้อย
 
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้กำหนดให้มีเครื่องหมายประจำกระทรวง เป็นรูปวงกลมสาย โดยตรงกลางของวงกลมเป็นรูปพระประชาบดีประทับอยู่เหนือแท่น มีลายกนกเป็นภาพศีรษะฤาษี 7 ตน อยู่รอบวงกลมเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของทุกส่วนในสังคมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ "
 
ฤาษี 7 ตน หรือสัปตฤาษี ซึ่งนำมาบรรลุในเครื่องหมายด้วยนั้น มีความหมายเกี่ยวกับ การพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคงทางสังคม 7 ประเภท คือ
 
    1. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการเด็กและเยาวชน
    2. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการครอบครัว
    3. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสตรี
    4. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการคนพิการและผู้สูงอายุ
    5. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการผู้ด้อยโอกาสและอื่น ๆ
    6. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย
    7. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการชุมชนและสังคม
 
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ได้ประกาศเครื่องหมายราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546
 
ผู้บริหาร พก.
นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
 นางสาวสนธยา บุณยภูษิต รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
นางณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
 
ทำเนียบอธิบดี พก.
นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ 6 ธ.ค. 2563 - ปัจจุบัน
นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย 2563
นายสมคิด สมศรี 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560
นางนภา เศรษฐกร 6 มี.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2558
 
ติดต่อหน่วยงาน
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์
ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2354 3388
โทรสาร : 0 2354 5020
Email : webmaster@dep.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com