7996550

แนะนำการสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

หมวดหมู่สินค้า: 22 กรมการปกครอง

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 156 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
แนะนำการสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ , ข้อสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ , งานราชการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

บทบาทหน้าที่ของ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์




สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
 
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: Crown Property Bureau; อักษรย่อ: CPB) เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐที่มีสถานะพิเศษ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย (ซึ่งประกอบด้วย ทรัพย์สินในพระองค์ และทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์)
 
ประวัติ
“สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561
 
จุดเริ่มของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขและยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์อีก 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คือ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561
 
การบริหารจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการปกครองในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีวิวัฒนาการเคียงคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ทรัพย์สินในราชอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงอยู่ในฐานะ “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่เพียงพระองค์เดียว อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์ได้ทรงพยายามแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) การค้าขายกับต่างประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จึงได้ทรงเก็บสะสมกำไรที่ได้จากการค้าสำเภาซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไว้ในถุงผ้าสีแดงซึ่งเรียกกันว่า “เงินถุงแดง” ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม เรียกว่า “เงินข้างที่” ซึ่งต่อมามีจำนวนมากขึ้นก็เก็บไว้ในห้องข้างๆที่บรรทม จึงเรียกว่า “คลังข้างที่” โดยได้พระราชทานให้ไว้เป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ในยามบ้านเมืองเกิดภาวะคับขัน และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2426) ที่สยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสจึงได้นำเงินถุงแดงมาสมทบเพื่อเป็นการชดใช้ค่าเสียหายและค่าประกันแก่ฝรั่งเศส จนสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้
 
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นยุคแห่งการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการคลังใหม่และมีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้รายรับและรายจ่ายของแผ่นดินเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนซึ่งการจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดินอย่างเด็ดขาด โดยทรงมอบหมายให้ “กรมพระคลังข้างที่” เป็นผู้จัดการดูแล   พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อรายได้ของแผ่นดินมากขึ้นอันเนื่องมาจากการปฏิรูปทางการเงิน ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ ซึ่งมีการจัดตั้งกระทรวงการคลังขึ้นมาเป็นครั้งแรก ส่งผลให้จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรของกรมพระคลังข้างที่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในช่วงแรกรายได้ของกรมพระคลังข้างที่นำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาพระราชวัง และค่าใช้จ่ายในการเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังต่างประเทศของพระราชโอรสเป็นหลัก เมื่อรายได้เพิ่มมากขึ้นจึงมีเงินเหลือจ่ายจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงเกิดการริเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนและให้โอกาสในการทำการค้าขาย นอกจากนี้เมืองสำคัญในต่างจังหวัดยังได้มีการสร้างตลาดขึ้น เพื่อนำค่าบำรุงตลาดไปใช้ในการพัฒนาระบบสุขาภิบาลและสาธารณูปโภคพื้นฐานในเขตศูนย์กลางเมืองใหม่เหล่านี้ควบคู่พร้อมไปกับการตัดถนนของกระทรวงโยธาธิการ ดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน
 
“ตราเครื่องหมายของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์”
ใช้ครุฑครอบพระมหามงกุฎ และมีชื่อสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ครุฑ






การบริหาร
 
โครงสร้างใหม่
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 กำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
 
คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามโครงสร้างใหม่ประกอบด้วย 
- พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นประธานกรรมการ และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง
-นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย เป็นกรรมการ
-ดร.กฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นกรรมการ
-พันโท สมชาย กาญจนมณี เป็นกรรมการ
-พันตำรวจเอก ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม เป็นกรรมการ
-พลอากาศเอก อำนาจ จิระมณีมัย เป็นกรรมการ
-พลเอก จักรภพ ภูริเดช เป็นกรรมการ
-พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต เป็นกรรมการ
-พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ เป็นกรรมการ
-ดร.อำพน กิตติอำพน เป็นกรรมการ
-พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นกรรมการ
 
ต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต เป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพิ่มเติม 
 
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ รองสมุหราชองครักษ์เป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 
 
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลอากาศเอก สถิตยพงษ์ สุขวิมล เป็นเลขาธิการพระราชวัง และผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี นั้น ทำให้ตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่างลง
 
วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อำพน กิตติอำพน และพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพิ่มเติม
 
ปัจจุบัน
-รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
-พลเอก จิระศักดิ์ วัฒนาวงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์











โครงสร้างเดิม
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 กำหนดให้มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และจะทรงแต่งตั้งหนึ่งคนในจำนวนนี้ให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ
 
เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งพลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์
 
การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491
 
ทรัพย์สิน
พอพันธุ์ (2549) เขียนว่า ปัจจัยที่ทำให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นกลุ่มทุนทรงอิทธิพลของประเทศ ได้แก่ การแก้ไขพระราชบัญญํติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์, ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ[6]:17
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินในความดูแล เป็นที่ดินกว่า 54 ตารางกิโลเมตรในกรุงเทพมหานคร และ 160 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดอื่น โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ องค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา ในจำนวนนี้มีการจัดประโยชน์หลายรูปแบบ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยหาประโยชน์พอยังชีพ ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและสมาคม องค์กรที่ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจ แยกเป็นที่ดินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 25,000 สัญญา และในส่วนภูมิภาค อาทิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดลำปาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา[16]
 
ในปลายปี พ.ศ. 2556 สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รวมพื้นที่ 41,000 ไร่ (65.6 ตร.กม. หรือ 16,210 เอเคอร์) ซึ่งเป็นที่ดิน 93% สำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน ตลาด ผู้เช่าอาคาร ที่ดินรายย่อย และมีพื้นที่ดินเชิงพาณิชย์ใจกลางเมืองคิดเป็น 7%[17]
 
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ริเริ่มการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ต่อมาร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
 
อนึ่ง ก่อนพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 จะมีผลบังคับใช้ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479[19] ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร
 
สฤณี อาชวานันทกุล เขียนโดยอ้างอิงหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work ว่า ทรัพย์สินโดยเฉพาะหุ้นและที่ดินมีมูลค่ากว่า 990,000 ล้านบาทในปี 2548
 
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
173 ถนน นครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
หมายเลขโทรศัพท์ 0-2787-7000 (สำหรับผู้เช่า), 0-2787-7777 (สำหรับบุคคลทั่วไป)



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com