8022947

แนะนำการสอบกรมสรรพสามิต

หมวดหมู่สินค้า: 60 กรมสรรพากร

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 160 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมสรรพสามิต
แนะนำการสอบกรมสรรพสามิต หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมสรรพสามิต หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมสรรพสามิต , ข้อสอบกรมสรรพสามิต , งานราชการกรมสรรพสามิต

บทบาทหน้าที่ของกรมสรรพสามิต





รูปนกวายุภักษ์ ภายใต้อุณาโลมเปล่งรัศมี อักษรตอนล่างว่า “สรรพสามิตต์” ริมขอบล่างมีลวดลายกนกล้อมรอบนกวายุภักษ์ ซึ่งมีปรากฏในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2493 ได้เปลี่ยนชื่อ “กรมสรรพสามิตต์” เป็น “กรมสรรพสามิต” แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลง คำว่า “สรรพสามิตต์” ในดวงตราประจำกรมแต่อย่างใด
การจัดตั้งกรมภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น
 
การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ในประเทศไทยสันนิษฐานว่ามีการจัดเก็บตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแต่ไม่มีหลักฐาน มาปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2178) โดยกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญได้กำหนดว่าได้เก็บอากรจากสุรา แต่อัตราเท่าใดและวิธีการจัดเก็บอย่างไร ไม่ได้ระบุไว้ แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับภาษีสรรพสามิตของไทยอาจกล่าวได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสินค้าสองประเภท คือ ฝิ่น และสุรา ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแยกจากกัน คือ กรมฝิ่นและกรมสุรา
 
ใน พ.ศ. 2474 กรมสุราได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมและจัดเก็บภาษี ไม้ขีดไฟที่ทำขึ้นในราชอาณาจักรด้วยอีกอย่างหนึ่ง และต่อไปอาจจะมีกิจการอย่างอื่นเพิ่มขึ้นอีกก็ได้นาม “กรมสุรา” ไม่เหมาะสมกับหน้าที่ราชการที่ปฏิบัติอยู่ จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เปลี่ยนนาม “กรมสุรา” เป็น “กรมสรรพสามิตต์” และในวันรุ่งขึ้นคือในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ เป็นคนแรก
 
ในปีพุทธศักราช 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง ให้แยกงานสรรพสามิตต์และงานฝิ่นออกจากกรมสรรพากรแล้วตั้งเป็น “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” และในปีเดียวกันนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 ให้แก้นาม “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” เป็น “กรมสรรพสามิต”
 
ความหมายค่านิยมกรมสรรพสามิต
S = Standardization (ความมีมาตรฐาน)
T = Transparency (ความโปร่งใส)
A = Accountability (จิตสำนึกความรับผิดชอบ)
R = Rapid & Simplicity (ความรวดเร็วและเรียบง่าย)
S = Satisfaction (ความพึงพอใจ)
 
วัฒนธรรมองค์กร (Excise Culture)
-ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรม
-พัฒนาปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง บูรณาการงานเครือข่ายและหมั่นศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
-ยึดมั่นในมาตรฐานการบริการ โดยคำนึงถึงความพอใจที่เกินกว่าความคาดหวังของผู้รับบริการ
-กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย โดยคำนึงผลกระทบอย่างครบถ้วน
-มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ ซื่อตรง รับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน
วิสัยทัศน์ (Vision)
-ผู้นำการจัดเก็บภาษีเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และพลังงาน The leader of tax collection for society,environment and energy.
 
พันธกิจ (Mission)
-บริหารการจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมฐานะทางการคลังอย่างยั่งยืน
-ขับเคลื่อนมาตรการภาษีเพื่อความผาสุกของประชาชน
-พัฒนารูปแบบการบริหารการจัดเก็บภาษีเพื่อรองรับยุควิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal)
-บริหารจัดการองค์กรสู่ระบบราชการ 4.0





ยุทธศาสตร์กรมสรรพสามิต (Strategy)
-นำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการจัดเก็บรายได้ภาษีอย่างยั่งยืน
-เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
-ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน
-พัฒนาองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
 
หน้าที่ความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต
(ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพสามิต  กระทรวงการคลัง  พ.ศ. 2551)
 
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต  กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต  กฎหมายว่าด้วยสุรา  กฎหมายว่าด้วยยาสูบ   กฎหมายว่าด้วยไพ่  กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต  กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา  กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปากครองส่วนท้องถิ่น  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
2. ตรวจสอบ  ป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีที่กรมจัดเก็บ
3. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมต่อกระทรวง
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการประสานแผน  การกำกับ  เร่งรัด  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด  และงานสารสนเทศของกรม
5. บริหารกิจการขององค์การสุราและโรงงานไพ่
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
การแบ่งส่วนราชการกรมสรรพสามิต
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สำนักกฎหมาย
4. สำนักตรวจสอบ  ป้องกันและปราบปราม
5. สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1
6. สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2
7. สำนักบริหารการคลังและรายได้
8. สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล
9. สำนักแผนภาษี
10 สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 1 -10
11. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่  ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
12. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา  ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
13. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
14. กลุ่มตรวจสอบภายใน
15. กลุ่มพัฒนาและตรวจสอบทางเทคนิค
16. กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง
 
หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี 1
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี 1 มีหน้าที่ความรับผิดชอบและการแบ่งงานภายใน ดังนี้
 
         1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายว่าด้วยยาสูบ กฎหมายว่าด้วยไพ่ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
         2. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
         3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
แบ่งงานภายในออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายอำนวยการ 
       1.1 ปฏิบัติงานในการบริหารงานทั่วไปของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในด้านงานธุรการ งานสารบรรณ งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูลต่าง ๆ งานบริหารงานบุคคล และงานพัสดุครุภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ และที่กรมได้มอบอำนาจให้ปฏิบัติในกรณีต่าง ๆ 
       1.2 การจัดเตรียมการประชุม การประสานงาน การติดต่อกับสำนักงานสรรพสามิตภาค หน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
       1.3 การดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การจัดทำงบประมาณของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ และที่กรมได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติในกรณีต่าง ๆ
       1.4 การตรวจตัดปีเงินผลประโยชน์
       1.5 ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรวบรวม ตรวจสอบรายงาน สถิติ ปริมาณงานต่าง ๆ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ สนับสนุน เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมทั้งประเมินผลงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
       1.6 การวางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการประชาสัมพันธ์ของภาค พร้อมทั้งการติดตามแผน เพื่อให้ประชาชน ผู้เสียภาษีมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
       1.7 การดำเนินการเกี่ยวกับการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการนอกเวลาทำการปกติ
       1.8 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 









2. ฝ่ายบริหารการจัดเก็บภาษี
       2.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทุกประเภท ภาษี อบจ. และที่ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บ
       2.2 การประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม การยกเว้น และการขอคืนภาษี
       2.3 ประสานงานด้านข้อมูลกับภาค เพื่อประโยชน์ต่องานด้านตรวจสอบภาษีของภาค
       2.4 ควบคุม ตรวจสอบ และตรวจปฏิบัติการโรงอุตสาหกรรม/โรงงานที่อยู่ในความควบคุม
       2.5 การจัดทำรายงาน งบเดือน และสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี
       2.6 ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาการอนุญาต และการขออนุมัติในกรณีต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบและที่กรมได้มอบอำนาจให้ปฏิบัติ การพิจารณาการ ออกใบอนุญาต พร้อมทั้งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ และที่ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บ
       2.7 พิจารณาตรวจสอบการขอจดทะเบียนสรรพสามิต การจัดทำข้อมูลสถิติและรายงานที่เกี่ยวข้อง2.8 ควบคุมการเบิกจ่ายและจำหน่ายแสตมป์สรรพสามิต
       2.8 กำกับ ดูแล และควบคุมการผลิตและจำหน่ายใบยาสูบและยาสูบทุกประเภทตามที่กำหนดในกฎหมาย และระเบียบ
       2.9 การส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าในความควบคุม
       2.10 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
3. ฝ่ายปราบปราม
       3.1 วางแผนการสืบสวน ป้องกันและปราบปราม การกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตและดำเนินการปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ให้เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
       3.2 สืบสวน วางแผนจับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดตามกฎหมายสรรพสามิตและระเบียบวิธีปฏิบัติ
       3.3 ออกตรวจร้านค้า โรงอุตสาหกรรม โรงงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับและสัญญาของทางราชการ
       3.4 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร และความรู้ความเข้าใจเพื่อป้องกันหรือลดการกระทำผิดตามกำหมายสรรพสามิต
       3.5 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
4. ฝ่ายกฎหมาย
      4.1 ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการด้านงานคดีในทางแพ่งตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำกฎหมายภาษีสรรพสามิตที่อยู่ในความรับผิดชอบและที่กรมได้มอบอำนาจให้ปฏิบัติในกรณีต่าง ๆ
      4.2 การตรวจสอบสำนวนและติดตามผลการเปรียบเทียบคดี พร้อมทั้งการให้ความรู้ ความเข้าใจในงานคดี
      4.3 ปฏิบัติงานเกี่ยวกับของกลางในคดีกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตั้งแต่การตรวจรับ การเก็บรักษา การทำลาย และการขายทอดตลาด
      4.4 การจัดทำรายงานสถิติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      4.5 ปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
 
ทำเนียบผู้บริหาร
นายลวรณ แสงสนิท  อธิบดีกรมสรรพสามิต
ดร.ธิบดี วัฒนกุล ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี  
นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต   
นายวิวัฒน์ เขาสกุล   รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต 
 
ข้อมูลติดต่อ กรมสรรพสามิต
ที่อยู่ : 1488 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
หมายเลขโทรศัพท์ : 0 2241 5600 - 18
สายด่วน : 1713
เว็บไซต์ : https://www.excise.go.th
E-mail : contact@excise.go.th

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com