9364934

แนะนำการสอบงานรถไฟแห่งประเทศไทย

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 300 ผู้ชม

แนะนำการสอบงานรถไฟแห่งประเทศไทย
แนะนำการสอบงานรถไฟแห่งประเทศไทย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบงานรถไฟแห่งประเทศไทย หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุงานรถไฟแห่งประเทศไทย , ข้อสอบงานรถไฟแห่งประเทศไทย , งานรถไฟแห่งประเทศไทย

บทบาทหน้าที่ของงานรถไฟแห่งประเทศไทย








การรถไฟแห่งประเทศไทย
 
วิสัยทัศน์
"เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570"
 
 
พันธกิจ
-ขยายขีดความสามารถในการบริการทางราง และการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพในการขนส่ง
-บูรณาการการเชื่อมต่ออย่างครบวงจรและครอบคลุม ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศจากต้นทางสู่ปลายทาง
-สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการทำธุรกิจเชิงรุก และการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการกระจายความเจริญ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านบริการขนส่งขั้นพื้นฐานแก่ประเทศ สถาบันและสังคม
- ประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
 
ยุทธศาสตร์ (Strategies)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง
 
กลยุทธ์ที่ 1.1 การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค
แผนงานที่ 1.1.1 ก่อสร้างรถไฟทางคู่
แผนงานที่ 1.1.2 การก่อสร้างทางสายใหม่
แผนงานที่ 1.1.3 การก่อสร้างรถไฟชานเมือง
แผนงานที่ 1.1.4 การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
แผนงานที่ 1.1.5 การก่อสร้างรถไฟเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า
แผนงานที่ 1.1.6 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับแผนงานย่อยภายใต้แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
กลยุทธ์ที่ 1.2 การเพิ่มจำนวนของรถจักร และล้อเลื่อนให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ
แผนงานที่ 1.2.1 จัดหารถจักรและล้อเลื่อน
แผนงานที่ 1.2.2 ปรับปรุง/ดัดแปลงรถจักรและล้อเลื่อน
แผนงานที่ 1.2.3 การผลิตรถสินค้า/รถโดยสารภายในประเทศ
กลยุทธ์ที่ 1.3 การพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณ
แผนงานที่ 1.3.1 แผนงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ
กลยุทธ์ที่ 1.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา
แผนงานที่ 1.4.1 บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แผนงานที่ 1.4.2 ก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง 
กลยุทธ์ที่ 1.5 การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย
แผนงานที่ 1.5.1 แก้ไข/ขจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
แผนงานที่ 1.5.2 เพิ่มประสิทธิภาพการกู้ภัย
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย
 
กลยุทธ์ที่ 2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในธุรกิจหลัก
แผนงานที่ 2.1.1 ศึกษาการบริหารจัดการเดินรถทั้งระบบรวมทั้งต้นทุนและค่าโดยสาร
แผนงานที่ 2.1.2 การเพิ่มรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งห่อวัตถุ
แผนงานที่ 2.1.3 การเพิ่มรายได้จากการให้เช่าพื้นที่บริเวณสถานี และการโฆษณาบนขบวนรถ
แผนงานที่ 2.1.4 การเพิ่มรายได้จากการขนส่งสินค้า
กลยุทธ์ที่ 2.2 การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีใหญ่
แผนงานที่ 2.2.1 การพัฒนาและต่อสัญญาพื้นที่รอบสถานีใหญ่ (มูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท)
กลยุทธ์ที่ 2.3 การศึกษาและพัฒนาธุรกิจใหม่
แผนงานที่ 2.3.1 การศึกษาและพัฒนาธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มรายได้
กลยุทธ์ที่ 2.4 การลดค่าใช้จ่าย
แผนงานที่ 2.4.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ EBITDA เป็นค่าบวก









ยุทธศาสตร์ที่ 3 
ยุทธศาสตร์ที่ 3  การขับเคลื่อน และการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน
 
กลยุทธ์ที่ 3.1 มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยง และสนับสนุนการตัดสินใจส่งเสริมการปฏิบัติงาน
แผนงานที่ 3.1.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศแบบบูรณาการ
แผนงานที่ 3.1.2 การพัฒนา และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตัล
กลยุทธ์ที่ 3.2 การบริหาร และพัฒนาองค์กร
แผนงานที่ 3.2.1 การจัดตั้งบริษัทลูกตามมติคณะรัฐมนตรี
แผนงานที่ 3.2.2 การพัฒนาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 3.3 การบริหาร และพัฒนาบุคลากร
แผนงานที่ 3.3.1 การบริหารทรัพยากรบุคลากร (HRM)
แผนงานที่ 3.3.2 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (HRD)
 
วัตถุประสงค์ ( Objectives ) ของแผนวิสาหกิจการรถไฟฯ พ.ศ. 2560-2564 
      1.เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการขนส่งทางรางที่ทันสมัยและการบริหารจัดการที่ดีส่งเสริมการแข่งขันของประเทศภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
      2.เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานของการรถไฟฯ ทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจรอง รวมทั้งมีการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
      3.เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่สอดคล้องกับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของการรถไฟฯ ในระยะยาว
      4.เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ของการรถไฟฯ ในการผลักดันวิสัยทัศน์การรถไฟฯ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
      5.เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความเชื่อมโยงอย่างบูรณาการ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
แนวทางขับเคลื่อนแผน 
                    ความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์วัดจากตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ของการดำเนินธุรกิจหลัก (Core Business) และไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Non-core Business) ซึ่งวัดได้จากกระบวนการปฏิบัติการ (Production process) และกระบวนการบริการ (Service process) โดยตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์มีเป้าหมายที่ท าให้ EBIDA มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ที่ขับเคลื่อนแผนจะมีหน้าที่ติดตาม (Monitoring) และปรับปรุงแก้ไข ปัญหาอุปสรรคเพื่อให้มีการด าเนินงานเป็นไปตามทิศทางของยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ควรมี อำนาจในการให้คุณให้โทษที่ผูกโยงกับการให้ผลตอบแทนตามหลักการ Gainsharing และจัดสรรผลตอบแทน ตามน้ าหนักสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละรองผู้ว่าการฯ ทั้งนี้ การติดตามและปรับปรุงแผน ยุทธศาสตร์สามารถดำเนินการได้หลายรอบจนกว่าจะเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้คือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย EBIDA เป็นบวก และเพิ่มสัดส่วนปริมาณการขนส่งทางราง
 








อำนาจหน้าที่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
 
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๓๕
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๙ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่างๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในมาตร ๖ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง    
(๑) สร้าง ซื้อ จ้าง รับจ้าง จัดหา จำหน่าย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม และดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ บริการ และความสะดวกต่างๆ ของกิจการรถไฟ
(๒) ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ถึอกรรมสิทธิ์ ครอบครอง อาศัย ให้อาศัย จำหน่าย แลกเปลี่ยน และดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ
(๓) กำหนดอัตราค่าภาระการใช้การรถไฟ บริการ และความสะดวกต่างๆ ของกิจการรถไฟ และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว
(๔) จัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย การใช้รถไฟ บริการ และความสะดวกต่างๆ ของกิจการรถไฟ
(๕) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน ลงทุน ร่วมลงทุน หรือออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน
(๖) รับส่งเงินทางรถไฟ
(๗) รับขนส่งคนโดยสาร สินค้า พัสดุภัณฑ์ และของอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ
(๘) ดำเนินกิจการโรงแรมและภัตตาคาร รวมตลอดถึงกิจการอื่นอันเป็นอุปกรณ์แก่กิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร
(๙) จัดบริการท่องเที่ยวเกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ"
 
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๔๓
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๐) และ (๑๑) ของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพื่อเติมโดยพระราชบัญญัติการถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕
"(๑๐) จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกิจการรถไฟและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ ทั้งนี้ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าวจะมีคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนจดทะเบียนของบริษัทนั้นไม่ได้
(๑๑) เข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์แก่กิจการรถไฟ"
 
การแบ่งส่วนงานและอํานาจความรับผิดชอบของผู้บริหาร
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๓ ตอนที่ ๔๐ ง หน้าที่ ๒๔๒ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คลิกเพื่อข้อมูล
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๓ ตอนที่ ๔๐ ง หน้าที่ ๑๘๘ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คลิกเพื่อข้อมูล
 
ศูนย์ประสานงานและเลขานุการคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย
-ส่วนงานขึ้นตรงต่อคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 
-ศูนย์ประสานงานและเลขานุการคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย
-ศูนย์ประสานงานและเลขานุการคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ การประชุม สารสนเทศและรับเรื่องราว ร้องทุกข์ของคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ส่วนงานขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย
   ประกอบด้วย 
   ฝ่ายตรวจสอบภายใน
   ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผน ตรวจสอบ สอบทาน ติดตาม ประเมินความพอเพียงและประเมินประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของระบบต่างๆ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ส่วนงานขึ้นตรงต่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
   ประกอบด้วย 
   1. สำนักงานผู้ตรวจการรถไฟ 
    สำนักงานผู้ตรวจการรถไฟ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ ชี้แจงนโยบาย และเร่งรัดการปฏิบัติงานของ ส่วนงาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ โครงการ แผนงาน ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งการรถไฟ แห่งประเทศไทย สั่งให้ส่วนงานหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องในการชี้แจงให้ถ้อยคำ ส่งเอกสาร หลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และการตรวจเยี่ยม รับฟังเหตุการณ์ ข้อเสนอแนะ ในการท างานมีหัวหน้า ผู้ตรวจการรถไฟ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ตรวจการรถไฟ เพื่อรายงานผลการดำเนินการต่างๆ พร้อม เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน และการกำหนดนโยบายเสนอต่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
    2. ศูนย์บริหารความเสี่ยง 
   ศูนย์บริหารความเสี่ยง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การรวบรวมข้อมูล กลั่นกรอง วิเคราะห์ วางแผน และประสานงานการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
 
    3. กองบังคับการตำรวจรถไฟ
   กองบังคับการตำรวจรถไฟ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การสืบสวน สอบสวน ป้องกัน ระงับ และปราบปรามอาชญา การรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในเขตและบนขบวนรถ การแบ่งส่วนงานของกองตำรวจรถไฟ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
 
กลุ่มยุทธศาสตร์ 
   กลุ่มยุทธศาสตร์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และบูรณาการด้าน นโยบาย ยุทธศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา แผนการด าเนินงาน เป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรที่เชื่อมโยงกับ นโยบายของภาครัฐเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือค าสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่ผู้ว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทยมอบหมาย และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟ แห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 
   1. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
   ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางนโยบาย ระเบียบและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคล เพื่อให้ได้มา พัฒนา บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มี ประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอ ให้บริการงานบุคคล ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 
   ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การกำหนดยุทธศาสตร์สารสนเทศ จัดทำแผนงบประมาณและ แผนงานโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการบริหารงานโครงการต่างๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การบริหารจัดการเว็บไซต์และระบบอินทราเน็ตของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย ให้บรรลุตามเป้าหมาย และท าการศึกษาข้อมูล การกำหนด มาตรฐานวิชาการและความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนงานสารสนเทศด้านมาตรฐานวิชาการ และความปลอดภัย ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   3. สำนักงานนโยบาย แผน วิจัยและพัฒนา 
   สำนักงานนโยบาย แผน วิจัยและพัฒนา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การกำหนดนโยบาย แผนวิสาหกิจ การวิเคราะห์โครงการลงทุน การแก้ไขปรับปรุงแผนและโครงการ การติดต่อประสานงาน การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  
   4. ศูนย์ฝึกอบรมการรถไฟ
   ศูนย์ฝึกอบรมการรถไฟ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน พัฒนา ออกแบบและบริหารงานฝึกอบรม โรงเรียน วิศวกรรมรถไฟ เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ และจัดตั้งสถาบันพัฒนาระบบรางเพื่อเตรียม บุคลากรรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งการออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองคุณสมบัติของพนักงานเทคนิค วิชาชีพระบบราง ให้มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย









กลุ่มอำนวยการ 
   กลุ่มอำนวยการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการด้านการเงิน บัญชี การพัสดุ กฎหมาย สนับสนุนส่วนงาน อื่นๆ รวมทั้งงานด้านสุขภาพอนามัย โดยวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจในการอำนวยการ สนับสนุนการ ปฏิบัติงาน และประสานการท างานร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของส่วนงานภายในการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบูรณาการ การกำหนดทิศทางเพื่อน า วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมาย และ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 
   1 ฝ่ายการเงินและการบัญชี 
   ฝ่ายการเงินและการบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การบริหารจัดการด้านการเงินและการบัญชี ให้เป็นไปตามนโยบาย คำสั่ง และวิธีการปฏิบัติการต่างๆ ควบคุมให้มีการกำหนดมาตรฐานการบัญชี การรายงานด้านการเงิน การควบคุมงบประมาณและปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2 ฝ่ายการพัสดุ 
   ฝ่ายการพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ การบริหารพัสดุคงคลัง การตรวจรับ และการจัดสรรให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  
   3 สำนักงานอาณาบาล 
   สำนักงานอาณาบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานด้านกฎหมาย การสอบสวนและการดำเนินคดี การเจรจาตกลงเกี่ยวกับการเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายทั่วไป ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย เป็นตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยในกรณีฟ้องหรือถูกฟ้องคดี ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  
 
   4 สำนักงานแพทย์ 
   สำนักงานแพทย์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การกำหนดเป้าหมาย บริหารงาน โครงการ ด้านแพทย์สงเคราะห์ อำนวยการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพและอนามัย ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์แก่ผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว รวมทั้งผู้โดยสารรถไฟตามสถานที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 
   กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการงานด้านก่อสร้าง บำรุงรักษาทางรถไฟ และสิ่งก่อสร้าง ที่เกี่ยวเนื่องในกิจการรถไฟ รวมถึงวางเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ส าหรับองค์กรในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล การพัฒนาและลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบูรณาการ การกำหนดทิศทางเพื่อนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ของ องค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมาย และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย
   1. ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง 
   ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผน บริหารจัดการ การดำเนินการโครงการขนส่งระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อสร้างทางสายใหม่ โครงการก่อสร้างทางคู่ โครงการปรับปรุงโครงสร้างทาง และโครงการรถไฟความเร็วสูง ติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมการก่อสร้างตามสัญญาสัมปทาน และงานด้านเทคนิควิศวกรรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  
 
   2. ฝ่ายการช่างโยธา 
   ฝ่ายการช่างโยธา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การควบคุม พัฒนา ซ่อมบูรณะ บำรุงรักษา ออกแบบแผนผัง ผลิต ซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ จัดทำโครงการวางแผนปฏิบัติ ซ่อมแซมทาง สะพาน ช่องระบายน้ำ อุโมงค์ อาคารสถานที่ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ และงานด้านเทคนิควิศวกรรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย










กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า 
   กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการงานด้านก่อสร้าง วางระบบ บำรุงรักษาระบบสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบรถไฟฟ้า ที่เหมาะสมต่อการให้บริการและการเดินรถได้ตามมาตรฐาน และ สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องในกิจการรถไฟ รวมถึงวางเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล การพัฒนาและลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบูรณาการ การกำหนดทิศทางเพื่อนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมาย และเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 
   1. ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 
ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การควบคุม พัฒนา ออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษาซ่อมแซม จัดทำโครงการ วางแผนปฏิบัติ การจัดหาเครื่องอาณัติสัญญาณ โทรคมนาคม ไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องมืออีเล็กทรอนิกส์ และเครื่องสื่อสารต่างๆ ให้สอดคล้องประสานสัมพันธ์กับความต้องการของการเดินรถและงานด้านเทคนิควิศวกรรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2. สำนักงานบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า 
สำนักงานบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผน บริหารจัดการ และอำนวยการโครงการขนส่ง ระบบรางเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หน่วยธุรกิจระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจน ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มธุรกิจการเดินรถ 
 
   กลุ่มธุรกิจการเดินรถ มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการธุรกิจด้านบริการโดยสาร สินค้า และควบคุมดูแลการเดินรถ โดยวางเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กร รวมถึงวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจในการพัฒนาธุรกิจเดินรถ ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบูรณาการ การกำหนดทิศทางเพื่อน า วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมาย และ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 
   1. ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ 
ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน กำหนดเป้าหมาย บริหารจัดการจัดเดินขบวนรถ ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ตามเส้นทางรถไฟที่เปิดการเดินรถแล้วและที่จะเปิดเดินรถในอนาคต ควบคุมดูแลใน ด้านปฏิบัติการเดินรถ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเดินรถ ตลอดจนจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของ การรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย นโยบายและวัตถุประสงค์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2. ฝ่ายบริการโดยสาร 
ฝ่ายบริการโดยสาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสม กับสถานการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์การบริการผู้โดยสาร ความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร การรับ-ส่งสินค้าประเภทห่อวัตถุและสัมภาระไปกับขบวนรถ โดยสารที่เปิดการเดินรถแล้วหรือเปิดการเดินรถใหม่ ควบคุมดูแลมาตรฐานบริการโดยสาร กำหนดราคาค่า โดยสาร ค่าระวางห่อวัตถุและสัมภาระ ปรับปรุงและขยายงานด้านการตลาดและการจัดบริการ การใช้ ประโยชน์รถโดยสาร เพื่อสร้างรายได้อย่างสูงสุดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างบริการที่มีคุณภาพและเป็น ประโยชน์แก่สาธารณชน ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย นโยบายและวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   3. ฝ่ายบริการสินค้า 
ฝ่ายบริการสินค้า มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสม กับสถานการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์การจัดการเดินรถ สินค้าตามเส้นทางรถไฟที่เปิดการเดินรถแล้วหรือเปิดการเดินรถใหม่ ควบคุมดูแลมาตรฐานบริการขนส่งสินค้า ปรับปรุงและขยายงานด้านการตลาดและการจัดบริการ การใช้ประโยชน์รถสินค้า เพื่อสร้างรายได้อย่างสูงสุด ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างบริการที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ให้บรรลุผลสำเร็จตาม เป้าหมาย นโยบายและวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย 
   4. สำนักงานยุทธศาสตร์ธุรกิจการเดินรถ
สำนักงานยุทธศาสตร์ธุรกิจการเดินรถ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดกรอบนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และประสานการ ดำเนินโครงการ แผนงานของหน่วยงาน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจบริการด้านการขนส่งสินค้าและ การโดยสาร ขีดความสามารถในการแข่งขัน วางระบบและพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกประเทศและต่างประเทศ เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การรถไฟแห่ง ประเทศไทย กับกระทรวงคมนาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย










 
กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน 
 
   กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักร ล้อเลื่อนต่างๆ โดยวางเป้าหมาย เชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กร รวมถึงวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจในการพัฒนาธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและ ล้อเลื่อน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบูรณาการ การกำหนดทิศทางเพื่อน า วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมาย และ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 
   1. ฝ่ายการช่างกล 
   ฝ่ายการช่างกล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การควบคุม บำรุงรักษา ซ่อมแซม ออกแบบ สร้าง การจัดหารถจักร รถโดยสาร รถสินค้า และล้อเลื่อนอื่นๆ งานด้านเทคนิควิศวกรรม ตลอดปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2. สำนักงานจัดหาพัสดุซ่อมบำรุง 
   สำนักงานจัดหาพัสดุซ่อมบำรุง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อม บำรุงรถจักร รถพ่วง และล้อเลื่อนต่างๆ การตรวจรับ และการจัดสรรให้ส่วนงานภายในกลุ่มธุรกิจการซ่อม บำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน 
   กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบบริหารจัดการธุรกิจด้านที่ดิน ทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ ให้เกิดประโยชน์ต่อ องค์กร วางเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กร รวมถึงวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจในการพัฒนาธุรกิจการ บริหารทรัพย์สิน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบูรณาการ การกำหนดทิศทาง เพื่อนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร ให้ประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มอบหมาย และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย
 
   1. ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน 
ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน และบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ เพื่อให้การรถไฟแห่ง ประเทศไทย ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดจากการพัฒนาทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยการ ให้เช่าหรือร่วมลงทุนกับภาครัฐ ภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาคารสถานที่ ย่านสถานี และสนามกอล์ฟการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามแผนนโยบาย และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 
   2. ฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน ฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการควบคุมดูแลด้านการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน การบริหารพื้นที่ตลาด ให้เป็นไปตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์พันธกิจในการพัฒนาที่ดิน และธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ประสานการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในและ ภายนอก เพื่อสนับสนุนการป้องกันและดำเนินการกับผู้บุกรุก หรือรุกล้ำเขตที่ดินรถไฟ และกรณีเกิดข้อพิพาท การใช้ประโยชน์บนที่ดินรถไฟ ตลอดทางทุกสาย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย









 
ส่วนงานผู้ช่วยผู้ว่าการด้านบริหาร
   ประกอบด้วย 
   1. สำนักงานผู้ว่าการ 
   สำนักงานผู้ว่าการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานเลขานุการ งานธุรการ ของผู้ว่าการและผู้บริหารระดับสูง งานทะเบียนกลาง การรับส่งและจัดเก็บเอกสาร การจัดประชุม สัมมนา และประสานงานกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  
   2. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ 
   ศูนย์ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน และดำเนินการเผยแพร่กิจการเพื่อเสริมสร้างความ เข้าใจอันดี ตลอดจนป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิดระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับบุคคลหรือหน่วย เป้าหมายต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การโฆษณาเผยแพร่บริการรถไฟส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ส่วนงานผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ
   ประกอบด้วย 
   1. กองควบคุมการปฏิบัติการ กองควบคุมการปฏิบัติงาน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การติดตาม รวบรวม วิเคราะห์ เสนอแนะ สถานภาพการหมุนเวียนล้อเลื่อน การชำรุด ของรถจักรและล้อเลื่อน เหตุอันตรายด้านการเดินรถ และการวิเคราะห์สาเหตุของเหตุอันตราย รวมทั้งเสนอแนะข้อแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
คณะกรรมการ รฟท.
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการ
นายกรณินทร์ กาญจโนมัย กรรมการ
นายอำนวย  ปรีมนวงศ์ กรรมการ
น.ส.ไตรทิพย์  ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย กรรมการ
นายพินิจ พัวพันธ์ กรรมการ
นางศุกร์ศิริ  บุญญเศรษฐ์ กรรมการ
นายนิรุฒ  มณีพันธ์ กรรมการ และเลขานุการ
 
ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 1 ถ.รองเมือง แขวงรองเมือง ปทุมวัน กทม.10330
โทร 1690
webmaster.srt@railway.co.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com