8030287

แนะนำการสอบงานการประปานครหลวง

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 179 ผู้ชม

แนะนำการสอบงานการประปานครหลวง
แนะนำการสอบงานการประปานครหลวง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบงานการประปานครหลวง หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุงานการประปานครหลวง , ข้อสอบงานการประปานครหลวง , งานการประปานครหลวง

บทบาทหน้าที่ของงานการประปานครหลวง









การประปานครหลวง
 
วิสัยทัศน์
"เป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่ให้บริการงานประปา มีธรรมาภิบาล และได้มาตรฐานในระดับสากล"
 
พันธกิจ
      1) สร้างการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กร
      2) ดำเนินการตามแผนน้ำประปาปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ด้วยการพัฒนาระบบน้ำดิบ - ผลิต - จ่าย ให้มีเสถียรภาพ
      3) พัฒนางานประปาอย่างมืออาชีพให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
      4) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนได้มีน้ำประปาใช้ถ้วนหน้า
 
ค่านิยม
"มุ่งมั่น พัฒนาตน พัฒนางาน บริการสังคม ด้วยความโปร่งใส ใส่ใจคุณภาพ"
 
สัญลักษณ์
พระแม่ธรณี สัญลักษณ์ของการประปานครหลวง
  พระแม่ธรณี สัญลักษณ์ของการประปานครหลวง เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จเปิดกิจการการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2457 โดยมีพระราชดำรัสกล่าวเปิดตอนหนึ่งความว่า
  อนึ่ง ท่านทั้งหลายที่ได้ช่วยเราทำการอันนี้ให้สำเร็จไปได้ ควรรู้สึกปลื้มใจว่าได้ทำการอันประโยชน์แลกุศลอย่างยิ่งเพราะน้ำซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ ใครๆย่อมรู้อยู่แล้วทั้งในโบราณแลบัดนี้ว่าเป็นของจำเป็นเพื่อประโยชน์แลเพื่อความสุขสำหรับป้องกันโรคอันตรายของมนุษย์ น้ำใสสะอาดย่อมเป็นเครื่องบำบัดโรคได้ดีกว่าโอสถหรือเภสัชช์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นสิ่งไรที่นับว่าเป็นมลทินโทษ ท่านโบราณาจารย์จึงต้องสอนให้ใช้น้ำเป็นเครื่องชำระล้าง ในที่สุดถึงแม้จะกล่าวเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นของชั่วร้าย เพื่อจะบำราบสิ่งชั่วร้ายอันนั้นก็จะบำราบให้พ่ายแพ้ได้โดยอาศัยอำนาจน้ำเป็นต้นว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระมุนินทรชินสีห์ประทับอยู่ที่ภายใต้โพธิบัลลังก์พระยามาร ซึ่งสมมุติว่าเป็นผู้คิดร้ายต่อพระองค์ได้หวังผจญต่อพระบรมศาสดา โดยเดชะอำนาจพระบารมีของพระองค์บันดาลให้นางพระธรณีมาสยายผมบีบน้ำบำราบมารได้ด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งน้ำ อันไหลมาจากผมของนางด้วยอำนาจสัจจะวาจาภาษิตนี้ ขอการประปาจงเป็นผลสำเร็จสมตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกนารถของเรา และสมความประสงค์ของเราแลสมความประสงค์ของท่านทั้งหลายบรรดาที่ได้ช่วยทำการอันนี้สำเร็จ ขอน้ำใสอันจะหลั่งไหลจากประปานี้ จงเป็นเครื่องประหารสรรพโรคร้ายที่จะเบียดเบียฬให้ร้ายแก่ประชาชนผู้เป็นพสกนิกรของเรา ขอน้ำอันนี้ได้รับพรแล้ว โดยพระสงฆ์ได้สวดมนต์แลโดยเราได้ตั้งใจให้พรจงบันดาลให้เป็นน้ำมนต์ทำให้ประชาชนมีความสุขสวัสดิ์ผ่องแผ้วเจริญถ้วนทั่วทุกตัวคนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
  ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าว จึงเป็นที่มาของตราสัญลักษณ์ของการประปา
(หมายเหตุ พระราชดำรัสนี้เป็นภาษาที่ใช้เขียนในสมัยนั้น จึงมีบางคำที่ผิดจากที่ใช้ในปัจจุบัน)
 
ภาพลักษณ์ของ กปน.
การบริหารจัดการภาพลักษณ์
 
 
คำขวัญของแบรนด์
การประปานครหลวง ประปาเพื่อประชาชน
 
บุคลิกภาพของแบรนด์   
 
      Q – Quality ใส่ใจคุณภาพ มีมาตรฐานในการทำงาน
      W – Willingness มีความมุ่งมั่น เสียสละเพื่อส่วนรวม
      A – Achievement กระตือรือร้น พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
      T – Team ทำงานเป็นทีม รับฟังผู้อื่น
      E – Excellent Service พร้อมให้บริการที่เป็นเลิศในทุกด้าน
      R – Respect to Transparency มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต
 








  ความรับผิดชอบต่อสังคม
  แบรนด์ กปน.
  ข่าวสำหรับคณะกรรมการกปน.
เกี่ยวกับ กปน.
  วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ค่านิยม
  สัญลักษณ์
  ภาพลักษณ์ของ กปน.
  ประวัติ/ภาระหน้าที่
ทิศทางและนโยบายขององค์กร
  ทิศทางและนโยบายขององค์กร
  นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล
  จริยธรรมการดำเนินงาน กปน.
  ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
  การตรวจสอบภายใน
  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการ กปน.
  การควบคุมภายใน
  แผนปฏิบัติงานและความก้าวหน้า
พ.ร.บ. และกฏ
  พระราชบัญญัติ
  ข้อบังคับการประปานครหลวง
  ระเบียบการประปานครหลวง
  คำสั่งการประปานครหลวง
  ประกาศการประปานครหลวง
 
ประวัติ/ภาระหน้าที่
พระผู้ก่อตั้งกิจการประปา
วันที่ 13 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาลจัดการที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศการที่จะต้องจัดทำนั้นคือ
 
-ให้ตั้งทำที่น้ำขังที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี อันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้นถึงทุกฤดู
-ให้ขุดคลองแยกจากที่ยังน้ำนั้นเป็นทางน้ำลงมาถึงคลองสามเสนฝั่งเหนือ ตามแนวทางรถไฟ
-ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ที่ตำบลนั้น สูบน้ำขึ้นยังที่เกรอะกรองตามวิธีให้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรคแล้วจำหน่ายน้ำไปในที่ต่างๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร
 
กิจการอย่างนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เรียกตามภาษาสันสกฤต เพื่อจะให้เป็นคำสั้นว่า "การประปา"
ตอนหนึ่งของพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเปิดกิจการประปากรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2457
" ขอประปาจงเป็นผลสำเร็จสมความพระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกนารถของเรา และความประสงค์ของเราแลความประสงค์ของ ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ได้ช่วยทำการอันนี้สำเร็จ ขอน้ำใสอันจะหลั่งจากประปานี้ จงเป็นเครื่องประหารสรรพโรคร้ายที่จะเบียดเบียนให้ร้ายแก่ประชาชนผู้เป็นพสกนิกรของเรา ขอน้ำอันนี้ที่ได้รับพรแล้วโดยพระสงฆ์ได้สวดมนต์ และโดยเราได้ตั้งใจให้พร จงบันดาลให้เป็นน้ำมนต์ทำให้ประชาชนมีความสุขสวัสดิ์ผ่องแผ้ว เจริญทั่วทุกตัวคนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป "
 
ยุคก่อร่าง
เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2457 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกในครั้งนั้นว่า การประปากรุงเทพฯ มีกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน กิจการประปาได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จากที่เคยจำหน่วยเฉพาะในเขตพระนคร ได้ขยายการจำหน่ายไปยังฝั่งธนบุรี โดยวางท่อตามแนวสะพานพุทธยอดฟ้าไปยังถนนประชาธิปกและสมเด็จเจ้าพระยาต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพุทธยอดฟ้าถูกระเบิดทำลาย เป็นเหตุให้ท่อประปาที่วางไว้เกิดชำรุดเสียหายไปด้วย ทำให้การจ่ายน้ำย่านฝั่งธนต้องหยุดชะวัก เทศบาลนครธนบุรีจึงได้เริ่มกิจการประปาของตนเอง โดยขุดเจาะบ่อบาดาลให้บริการน้ำ
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเมื่อปี 2489 โรงงานผลิตน้ำสามเสนเป็นโรงกรองน้ำแห่งเดียวในขณะนั้น ผลิตน้ำได้น้อย ไม่เพียงแต่การบริการน้ำประปาที่เกิดสภาพน้ำไหลอ่อน และไม่ไหลเป็นบริเวณกว้าง ไฟฟ้าก็เช่นกันมีสภาพดับๆ เปิดๆ รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงกิจการไฟฟ้า และประปาขึ้น โดยมีหลวงบุรกรรมโกวิท อธิบดีกรมโยธาสมัยนั้นเป็นประธาน และเพื่อแก้ปัญหาน้ำไฟไม่พอใช้ จึงได้มีนโยบายให้ระงับการขอติดตั้งไฟฟ้าและประปาเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการปรับปรุงกิจการทั้ง 2 ชนิดนี้ให้เพียงพอ
 
ต่อมาได้มีการรวมและโอนกิจการประปาไฟฟ้าให้เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติการประปานครหลวง ให้โอนกิจการประปากรุงเทพ กรมโยธาเทศบาล การประปานนทบุรี การประปาเทศบาลนครธนบุรี และประปาเทศบาลสมุทรปราการ รวมเป็นกิจการเดียวกัน เรียกว่า การประปานครหลวง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2510 ประธานกรรมการการประปานครหลวง ท่านแรก คือ พล.อ.ประภาศ จารุเสถียร และแต่งตั้ง อธิบดีกรมโยธาเทศบาล นายดำรงค์ ชลวิจารณ์ เป็นผู้ว่าการการประปานครหลวง









 
ภาระหน้าที่
โดยมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การประปานครหลวง พ.ศ.2510 ดังนี้คือ
 
-สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการประปา
-ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ และควบคุมมาตรฐานเกี่ยวกับระบบประปาเอกชนในเขตท้องที่ดังกล่าว
-ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันหรือเป็นประโยชน์แก่การประปา และคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน
 
ยุคสร้างตัว
ในปี 2513 การประปานครหลวงได้ว่าจ้างบริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษา แคมป์เดรสเซอร์ แอนด์ แมคกี จากสหรัฐอเมริกา จัดทำโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักระยะยาว 30 ปีขึ้น เป็นครั้งแรก
 
โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 5 ปี(2517-2522) เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและขยายระบบส่งน้ำให้ไปถึงประชาชนให้มากขึ้น อาทิ ปรับปรุงคลองส่งน้ำ ก่อสร้างโรงสูบน้ำดิบใหม่ที่ ตำบลสำแล จังหวัดปทุมธานี
 
ก่อสร้างโรงกรองน้ำบางเขน ก่อสร้างโรงสูบน้ำและถังเก็บน้ำ 4 มุมเมืองคือ โรงสูบน้ำท่าพระ สวนลุมพินี คลองเตย และพหลโยธิน และวางท่อประธานส่งน้ำควบคู่กันไป และในระหว่างที่รอการก่อสร้างตามโครงการนี้ การประปานครหลวงได้แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการขุดเจาะบ่อบาดาลจำนวนมากในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ
 
ยุคพัฒนา
หลังจากปี 2529 เป็นต้นมา กิจการประปาสามารถพัฒนาและดำเนินงานก้าวหน้าไปตามโครงการแผนหลักอย่างต่อเนื่อง กิจการได้ผ่านพ้นกับภาวะการขาดทุนมาเป็นมีกำไรติดต่อกันทุกปี การขยายกำลังการผลิตและจ่ายน้ำที่เป็นไปตามแผน สามารถเพิ่มผู้ใช้น้ำถึงปีละ 8 - 9% ทุกปี ในช่วงเวลานี้ การประปานครหลวงจึงได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่และย้ายจากสำนักงานแม้นศรีมาอยู่สำนักงานใหญ่บางเขนเมื่อปี 2533
 
ในขณะเดียวกัน การประปานครหลวงได้เริ่มจัดทำโครงการประปาฝั่งตะวันตกเมื่อ พ.ศ.2530 เพื่อรองรับการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นของชุมชนทางด้านฝั่งธนบุรีและนนทบุรี และประการสำคัญเพื่อจัดหาแหล่งน้ำดิบแห่งใหม่สำรองจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวและปริมาณน้ำเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้ดงการที่เพิ่มขึ้น จึงได้ก่อสร้างโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ และขุดคลองประปาสายใหม่ขึ้นเพื่อรับน้ำจากแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีปริมาณน้ำมากและมีคุภาพดีในระยะแรกได้ขุดคลองประปาสายใหม่ไปถึงแม่น้ำท่าจีนและขุดต่อไปยังจังหวัดกาญจนบุรีรวมความยาว 106 ก.ม. แล้วเสร็จเมื่อปี เมษายน 2542 (ข้อมูล:หนังสือ 40 ปี กปน. หน้า 62) ซึ่งทำให้ กปน.มีความมั่นคงในการผลิตน้ำประปาเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำประปาในอนาคต
 
ยุคมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ตั้งแต่ปี 2539 ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบแพร่กระจายไปเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ การโจมตีค่าเงินบาทส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประปานครหลวง ทำให้การประปานครหลวงต้องปรับแผนและชลอการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับภาาวะการณ์ที่เแปรเปลี่ยนไปในการบริหารภายในได้มีการรณรงค์ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในทุก ๆ ด้าน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การให้บริการประชาชนในเชิงรุกให้มากขึ้น สร้างภาพลักษณ์ของการให้บริการที่ประชาชนพึงพอใจในเรื่องความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ตรวจสอบได้ รวมทั้งสร้างความมั่นใจในคุณภาพน้ำประปาว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานสามารถดื่มได้ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มศักยภาพของการทำงานในองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสากล จนได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิด ISO 9002 ในโรงงานผลิตน้ำบางเขน และมีนโยบายจะจัดทำมาตรฐาน ISO 9002 ในงานบริการประชาชนที่สำนักงานประปาสาขาต่างๆ ต่อไปอีกด้วย โดยมี เป้าหมายของการดำเนินงานขององค์กร "เป็นองค์กรชั้นนำที่ให้บริการงานประปา ที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของสังคม"
 
รายนามคณะกรรมการการประปานครหลวงชุดปัจจุบัน
 
ประธานกรรมการการประปานครหลวง
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน 
 
กรรมการการประปานครหลวง
พล.อ. สิงห์ทอง หมีทอง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก 
นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
นายกฤษดา กวีญาณ ประธานกรรมการบริษัท บริหารสินทรัพย์ เพลินจิต จำกัด
นายชัยทัต แซ่ตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไชยกาญจน์ คอนเซาท์ติ้ง จำกัด
นายวรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด
นายประสิทธิ์ สืบชนะ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
หม่อมราชวงศ์ศศิพฤนท์ จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพลินจิต แคปปิตอล จำกัด
นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน 
นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายนิทัศน์ มณีศิลาสันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเพ่นเซิร์ฟ จำกัด
นายวีรวัฒน์ ยมจินด ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมคซิม่า สตูดิโอ จำกัด
นายจำเริญ โพธิยอด รองปลัดกระทรวงการคลังผู้แทนกระทรวงการคลัง
นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการการประปานครหลวง
 
ติดต่อเรา
ศูนย์ CALL CENTER
โทร 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง
E-mail address : mwa1125@mwa.co.th


ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com