การเตรียมตัวสอบสำนักงานประกันสังคม
การเตรียมตัวสอบสำนักงานประกันสังคม
คำแนะนำในการสอบสำนักงานประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม ( Social Security Office) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อให้ประเทศไทยมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยมีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก
ในการสอบเข้าสำนักงานประกันสังคม การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้าสำนักงานประกันสังคม จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบ
การออกข้อสอบก็แล้วแต่ว่าจะสอบที่ไหน ความยากง่ายและแนวข้อสอบต่างกัน การอ่านหนังสือก็อ่าน พรบ.ประกันสังคม พรบ. เงินทดแทน และก็มาตรา40 อ่านให้เข้าใจอ่านให้ละเอียด เพราะบางทีเราคิดว่าเราแม่นแล้วแต่ไปเจอข้อสอบก็มึนเหมือนกัน อย่างเช่น นาย ก. มีพ่อแม่ ลูก และภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อนาย ก.เสียชีวิต ใครจะเป็นผู้ได้รับเงินทดแทนบ้าง อะไรประมาณนี้ และอ่านระเบียบพนักงานราชการด้วย และที่ต้องอ่านอีกอันก็คือข้อมูลของหน่วยงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยหาอ่านได้จากในเว็บไซต์ แล้วก็ ผู้บริหาร มีใครบ้าง ตำแหน่งอะไร เริ่มตั้งแต่เจ้ากระทรวงไล่ลงมา และที่ต้องจำไปบ้างก้คือข้อมูลของจังหวัดที่จะไปสอบ เพราะบางที่ก็ออกข้อสอบส่วนี้ เช่น คำขวัญ ดอกไม้ ต้นไม้ประจำจังหวัด บางที่ถามว่า สส. ผู้ว่า ของจังหวัดนั้นคือใครก็มี แล้วก็มีความรู้ทั่วไป หรือไม่ก็ภาษาอังกฤษ แต่ที่เน้นๆเลยก็คือ พรบ. เกี่ยวกับประกันสังคมที่
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์
เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ
1. ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน (100 คะแนน)
- ความรู้ด้านประกันสังคม
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่ 2 โดยการสอบสัมภาษณ์ (100 คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติงานในด้านต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงาน รวมถึงความรู้ทางวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละด้านที่สมัคร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง นโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงแรงงาน นโยบายสำนักงานประกันสังคมและเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน )
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคม
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคม
3 แนวข้อสอบกฎหมายประกันสังคม
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537
5 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
6 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
7 แนวข้อสอบนักวิชาการแรงงานสำนักประกันสังคม
8 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
9 สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
คำแนะนำในการสอบสำนักงานประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม ( Social Security Office) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อให้ประเทศไทยมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยมีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก
ในการสอบเข้าสำนักงานประกันสังคม การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้าสำนักงานประกันสังคม จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบ
การออกข้อสอบก็แล้วแต่ว่าจะสอบที่ไหน ความยากง่ายและแนวข้อสอบต่างกัน การอ่านหนังสือก็อ่าน พรบ.ประกันสังคม พรบ. เงินทดแทน และก็มาตรา40 อ่านให้เข้าใจอ่านให้ละเอียด เพราะบางทีเราคิดว่าเราแม่นแล้วแต่ไปเจอข้อสอบก็มึนเหมือนกัน อย่างเช่น นาย ก. มีพ่อแม่ ลูก และภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อนาย ก.เสียชีวิต ใครจะเป็นผู้ได้รับเงินทดแทนบ้าง อะไรประมาณนี้ และอ่านระเบียบพนักงานราชการด้วย และที่ต้องอ่านอีกอันก็คือข้อมูลของหน่วยงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยหาอ่านได้จากในเว็บไซต์ แล้วก็ ผู้บริหาร มีใครบ้าง ตำแหน่งอะไร เริ่มตั้งแต่เจ้ากระทรวงไล่ลงมา และที่ต้องจำไปบ้างก้คือข้อมูลของจังหวัดที่จะไปสอบ เพราะบางที่ก็ออกข้อสอบส่วนี้ เช่น คำขวัญ ดอกไม้ ต้นไม้ประจำจังหวัด บางที่ถามว่า สส. ผู้ว่า ของจังหวัดนั้นคือใครก็มี แล้วก็มีความรู้ทั่วไป หรือไม่ก็ภาษาอังกฤษ แต่ที่เน้นๆเลยก็คือ พรบ. เกี่ยวกับประกันสังคมที่
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์
เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ
1. ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน (100 คะแนน)
- ความรู้ด้านประกันสังคม
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่ 2 โดยการสอบสัมภาษณ์ (100 คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติงานในด้านต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงาน รวมถึงความรู้ทางวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละด้านที่สมัคร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง นโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงแรงงาน นโยบายสำนักงานประกันสังคมและเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน )
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคม
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคม
3 แนวข้อสอบกฎหมายประกันสังคม
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537
5 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
6 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
7 แนวข้อสอบนักวิชาการแรงงานสำนักประกันสังคม
8 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
9 สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<