9254074

รับซื้อไม้เบญจพรรณกำแพงเพชร โทร : 099-2371848

หมวดหมู่สินค้า: rtd92 ซื้อสวนยางพารา

28 เมษายน 2565

ผู้ชม 76 ผู้ชม

 


ศูนย์รับซื้อไม้ ยูคาลิปตัส สวนยางพารา รับซื้อไม้สักทอง ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท
ชื้อไม้สวนยางกำแพงเพชร 
ชื้อไม้ยูคาลิปตัสกำแพงเพชร 
รับซื้อไม้เบญจพรรณกำแพงเพชร 
รับซื้อไม้ยางพารากำแพงเพชร 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษกำแพงเพชร 
รับซื้อไม้สักทองกำแพงเพชร 

                   ติดต่อสอบถาม                            





บริษัทรับซื้อไม้ยางพาราจากสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท รับเหมารับซื้อไม้ยางพารา ขายไม้ยางพาราแปรรูป ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน
ราคารับซื้อไม้ยางพาราวันนี้กำแพงเพชร 
รับซื้อไม้ยางพาราใกล้ฉันกำแพงเพชร 
รับซื้อไม้ยางพารากำแพงเพชร 
โรงงานรับซื้อไม้ยางพารากำแพงเพชร 
รับซื้อไม้สวนยางกำแพงเพชร 

 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษ ไม้ยูคา ไม่จำกัดอายุ - ตกลงซื้อขายจ่ายเงิน บริษัทดูแลให้ยาวจนถึงตัดฟัน มีบริการประเมินแปลงไม้ออนไลน์ รู้ราคาไม้ก่อนขาย ง่าย รวดเร็ว
กำแพงเพชรราคาไม้ยูคาตันละ
ร้านรับซื้อไม้ยูคาใกล้ฉันกำแพงเพชร 
แหล่งรับซื้อไม้ยูคากำแพงเพชร 
ขายไม้ยูคาลิปตัสใกล้ฉันกำแพงเพชร 
รับซื้อไม้ยูคากำแพงเพชร 
ราคายูคาลิปตัสกำแพงเพชร 
โรงงานรับซื้อไม้ยูคากำแพงเพชร 


เกษตรฯ รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติ ถวายในหลวง ร.10
 
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญนี้
 
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล ซึ่งจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผา
 
รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน
 
ทั้งนี้ ประเทศไทย มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตัน ต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง
 
ตั้งแต่ ปี 2557 และสำหรับในปี 2562 ได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า ซึ่งเกษตรกรจะมี 8 ทางเลือก ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
 
ทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย” ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และทางเลือกที่ 8 จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษต
ร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass)
 
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า
 
โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้ และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล และพื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก. อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ ความเข้าใจ กับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้า จากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
 
พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป
 
กรมส่งเสริมการเกษตร เชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าว จะเป็นโครงการดีๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป
 
Main Idea
 
• มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
 
• แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
 
• หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาททีเดียว
 
                     ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
 
     จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
 
     แต่อย่างไรก็ดี การนำพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
 
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน
 
     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย
 
     มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี
 
     โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
 
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
               
     ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้
 
     ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี
 
     แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน
 
     เห็นไหมละว่า แค่ลองเปลี่ยนความคิด มองหาโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ ถึงแม้เป็นเพียงเศษวัสดุเหลือใช้ ก็อาจสร้างประโยชน์มหาศาลให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน
 
Engine by shopup.com