รับซื้อไม้เบญจพรรณลพบุรี โทร : 099-2371848
หมวดหมู่สินค้า: rtd92 ซื้อสวนยางพารา
28 เมษายน 2565
ผู้ชม 107 ผู้ชม
ศูนย์รับซื้อไม้ ยูคาลิปตัส สวนยางพารา รับซื้อไม้สักทอง ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท
ชื้อไม้สวนยางลพบุรี
ชื้อไม้ยูคาลิปตัสลพบุรี
รับซื้อไม้เบญจพรรณลพบุรี
รับซื้อไม้ยางพาราลพบุรี
รับซื้อไม้ต้นกระดาษลพบุรี
รับซื้อไม้สักทองลพบุรี
รับซื้อไม้ต้นกระดาษ ไม้ยูคา ไม่จำกัดอายุ - ตกลงซื้อขายจ่ายเงิน บริษัทดูแลให้ยาวจนถึงตัดฟัน มีบริการประเมินแปลงไม้ออนไลน์ รู้ราคาไม้ก่อนขาย ง่าย รวดเร็ว
ลพบุรี ราคาไม้ยูคาตันละ
ร้านรับซื้อไม้ยูคาใกล้ฉันลพบุรี
แหล่งรับซื้อไม้ยูคาลพบุรี
ขายไม้ยูคาลิปตัสใกล้ฉันลพบุรี
รับซื้อไม้ยูคาลพบุรี
ราคายูคาลิปตัสลพบุรี
โรงงานรับซื้อไม้ยูคาลพบุรี
เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ
1. เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ
เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ
ปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี สาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้นในการบำรุงต้นพืช ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ได้ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ ปี 2563 วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักและห่วงใยสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาหมอกควัน จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยเน้นกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ส่งเสริมให้มีจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผาทำลาย เช่น การใช้เครื่องสับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัสดุคลุมหน้าดิน การทำปุ๋ยหมักน้ำหมักเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การไถกลบตอซัง การจัดเก็บเศษวัสดุฟางข้าวมาเพาะเห็ดฟาง การอัดฟางก้อน การหมักฟางเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิมมุ่งสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเ
กษตรกรเพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การจัดกิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาการเผาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในการดำเนินการร่วมกันของเกษตรกร และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และสำรวจข้อมูลพื้นที่การเกษตรในช่วงวิกฤตหมอกควัน
โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีปัญหารุนแรง ประกอบด้วย จังหวัดน่าน เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และจังหวัดอุตรดิตถ์ และยังได้ขยายพื้นที่ดำเนินการไปยังอีก 16 จังหวัดที่มีพื้นที่การเผาสูง ประกอบด้วย กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ลพบุรี สกลนคร และจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การสร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา การสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การสร้างสัตยาบันปลอดการเผาของชุมชน – สร้างจิตสำนึก การสร้างระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุไฟไหม้ การจัดระเบียบการเผาในพื้นที่ช่วงวิกฤติหมอกควัน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ภายใต้มาตรการ 60/100 วัน ห้ามเผา
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานภาพรวมของโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ตั้งแต่ปี 2557 – 2562 มีการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรเพื่อเป็นเกษตรกรปลอดการเผา ในพื้นที่รวม 1,374 ตำบล เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ รวม 64,250 ราย สร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา รวม 7,710 ราย พื้นที่เกษตรปลอดการเผา รวม 1,374,000 ไร่ และจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ที่เป็นพื้นที่เกษตรลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการจากจำนวน 614 จุด ในปี 2557 เหลือ 313 จุด ในปี 2562 สำหรับตัวอย่างพื้นที่นำร่องชุมชนเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่การเกษตรอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และน่าน จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลดการเผาด้วยการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตปุ๋ยหมัก ปริมาณ 350 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 3 บาท รายได้ 1,050,000 บาท 2) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ปริมาณ 150 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 20 บาท รายได้ 3,000,000 บาท 3) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพาะเห็ดโคนน้อยจากฟางข้าว จำนวน 3 โรงเรือน
ใช้ฟางข้าว 4,000 กิโลกรัมต่อปี ผลิตเห็ดได้ 750 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 160 บาท รายได้ 120,000 บาท และ 4) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ผลิตฟางอัดก้อนจำหน่าย (ได้รับการสนับสนุนเครื่องอัดฟางจากภาครัฐ) ปริมาณ 20,000 ก้อน ราคาขายก้อนละ 30 บาท เมื่อหักต้นทุนแล้ว มีรายได้ 150,000 บาท และผลิตปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพด ปริมาณ 25,000 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 5 บาท มีรายได้ 125,000 บาท รวมทั้ง 2 กิจกรรม มีรายได้รวม 275,000 บาท
โดยในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรมีแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ภายใต้แผนงานบูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีเป้าหมายจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 16,800 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร 210 ชุมชน ประกอบด้วย 130 ตำบลใน 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีประสบปัญหารุนแรง 68 ศพก. ในพื้นที่ 26 จังหวัด ที่มีพื้นที่การเผาสูง และ 12 ศพก. ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ใหม่)
Main Idea
• มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
• แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
• หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาทที
ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
แต่อย่างไรก็ดี การนำพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย
มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี
โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้
ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี
แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน