9477867

รับซื้อไม้เบญจพรรณแบริ่ง โทร : 099-2371848

หมวดหมู่สินค้า: rtd92 ซื้อสวนยางพารา

28 เมษายน 2565

ผู้ชม 79 ผู้ชม

 


ศูนย์รับซื้อไม้ ยูคาลิปตัส สวนยางพารา รับซื้อไม้สักทอง ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท
ชื้อไม้สวนยางแบริ่ง 
ชื้อไม้ยูคาลิปตัสแบริ่ง 
รับซื้อไม้เบญจพรรณแบริ่ง 
รับซื้อไม้ยางพาราแบริ่ง 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษแบริ่ง 
รับซื้อไม้สักทองแบริ่ง 

                   ติดต่อสอบถาม                            





บริษัทรับซื้อไม้ยางพาราจากสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท รับเหมารับซื้อไม้ยางพารา ขายไม้ยางพาราแปรรูป ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน
ราคารับซื้อไม้ยางพาราวันนี้แบริ่ง 
รับซื้อไม้ยางพาราใกล้ฉันแบริ่ง 
รับซื้อไม้ยางพาราแบริ่ง 
โรงงานรับซื้อไม้ยางพาราแบริ่ง 
รับซื้อไม้สวนยางแบริ่ง 

 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษ ไม้ยูคา ไม่จำกัดอายุ - ตกลงซื้อขายจ่ายเงิน บริษัทดูแลให้ยาวจนถึงตัดฟัน มีบริการประเมินแปลงไม้ออนไลน์ รู้ราคาไม้ก่อนขาย ง่าย รวดเร็ว
แบริ่งราคาไม้ยูคาตันละ
ร้านรับซื้อไม้ยูคาใกล้ฉันแบริ่ง 
แหล่งรับซื้อไม้ยูคาแบริ่ง 
ขายไม้ยูคาลิปตัสใกล้ฉันแบริ่ง 
รับซื้อไม้ยูคาแบริ่ง 
ราคายูคาลิปตัสแบริ่ง 
โรงงานรับซื้อไม้ยูคาแบริ่ง 


โครงการการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดการเกิดหมอกควัน
 
รายละเอียด: 
จากวิกฤติราคาพลังงานปรับตัวขึ้นลงประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาทในระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบตลอดจนประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคานํ้ามันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดหาแหล่งพลังงานที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศจึงมีนโยบายจะพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศด้วยการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 –2565) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนเพื่อให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้านํ้ามันเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้ประเทศ
 
อย่างไรก็ดี ปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอทานอลไบโอดีเซล นํ้ามันชีวภาพ หรือการผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง กากนํ้าตาล สำหรับการผลิตเอทานอล หรือนํ้ามันปาล์ม นํ้ามันสบู่ดำ นํ้ามันพืชใช้แล้ว สำหรับการผลิตไบโอดีเซล หรือ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สำหรับการผลิตนํ้ามันชีวภาพ ซึ่งแนวทางการแก้ไขจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการปลูกที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตของพืชที่มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน คือ มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มนํ้ามัน ยางพารา และ การส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน
ในการศึกษาในงานวิจัยนี้จะเน้นการศึกษาในลักษณะประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment) ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมวัสดุเหลือทิ้งจากการทำเกษตร (ซังข้าวโพด, ต้นข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด ยอดอ้อย และใบอ้อย) ตลอดจนเทคโนโลยีการแปรรูปให้เหมาะสมเพื่อการขนส่งเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบการขนส่ง ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
 
การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารสัตว์
                        อาหารสัตว์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งในขบวนการผลิตสัตว์ ถ้าผู้เลี้ยงสามารถลดต้นทุนด้านนี้ลงมากเท่าไร ก็มีโอกาสเพิ่มรายได้และผลตอบแทนมากเท่านั้น ปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ในบางฤดูกาล  เช่น ช่วงหน้าแล้ง ยังคงเป็นปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ โดยเฉพาะการขาดแคลนแหล่งอาหารหยาบสำหรับโค-กระบือ
 
                        ปกติเกษตรกรสามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้หลายชนิดและเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการเกษตรและเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อย่างดี วัสดุเหลือใช้ฯเหล่านี้ บางชนิดมีคุณค่าทางโภชนะสูง พร้อมที่จะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ แต่บางชนิดอาจมีความจำเป็นต้องแปรรูป จำกัดปริมาณการใช้ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพก่อน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้น ถ้าสามารถจัดหาได้ง่าย สะดวก และมีราคาถูกด้วย ก็จะเป็นการลดต้นทุนการผลิตสัตว์ที่ดีทางหนึ่ง ในที่นี้จะกล่าวถึงวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สำคัญบางชนิด ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีการปรับปรุงคุณภาพ  ตลอดจนคำแนะนำในการเก็บถนอมรวบรวม  และการนำไปใช้ต่อไป
 
การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร
การจัดการผลพลอยได้ - สิ่งเหลือทิ้งและสิ่งปฏิกูลทางการเกษตร
ความหมายของคำทั้งสองคำ
        สิ่งเหลือทิ้ง หมายถึง วัตถุที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ใช้ประโยชน์จากวัตถุนั้นอีกต่อไปในเวลาข้างหน้า เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กิ่งไม้ กระดูกสัตว์ ฯ
        สิ่งปฏิกูล หมายถึง  วัตถุที่เป็นของเน่าเสียซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง และน้ำโสโครก ที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ 
เหตุผลที่ใช้อธิบายถึงการจัดการ
        1.เพราะปัจจุบันสังคมมนุษย์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลธรรมชาติ
        2.เพราะเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
        3.เพราะต้องการลดความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์แบบไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและภูมิภาคบนโลกใบนี้ 
วิธีการที่นำมาใช้เพื่อการจัดการสิ่งเหลือทิ้งหรือสิ่งปฏิกูล
        1.การ RECYCLE   (reuse-repair-reform) เป็นวิธีการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้
                หมายถึง การนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือ วัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุที่ต้องทิ้ง หรือสิ่งที่ต้องทำลายด้วยวิธีการต่างๆ มาแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพใหม่(reform) หรือนำมาซ่อมแซม(repair) แล้วนำกลับมาใช้(reuse)ประโยชน์อีก ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ ก็ได้
กระบวนการของการ รีไซเคิล (RECYCLE) มี 4 ขั้นตอน 
                1. การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุทุกชนิด
                2. แยกชนิด / ประเภทของวัสดุ วัตถุที่รวบรวมได้
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปผ่านกระบวนการต่างๆ/กรรมวิธีต่างๆ ตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆเช่น หลอม กลั่น กรอง หมัก ระเหยน้ำ บีบอัด เผาไหม้ 
                4.นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของการ รีไซเคิล (RECYCLE)
                1.การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
                2.การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)จากมูลสัตว์และเศษอาหาร
                3.การผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชไร่ที่เหลือทิ้ง
                4.การผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
                5.การผลิตแผ่นไม้จากเศษไม้ชนิดต่างๆ
                6.การผลิตแท่งเพาะชำต้นไม้จากขุยมะพร้าว
                7.การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆ
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
            ชีวมวล หมายถึง สารอินทรีย์ทุกชนิดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต 
         1.เก็บรวมรวมชีวมวลชนิดต่างๆให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ เครื่องผลิตไฟฟ้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับเชื้อเพลิง
         3.ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการเผาไหม้ให้ความร้อนกับน้ำ
         4.นำไอน้ำที่ได้ไปหมุนไดนาโม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)
                กาซชีวภาพ หมายถึง กาซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ทุกชนิดโดยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีกาซออกซิเจน (anarobe) เช่น กาซมีเทน กาซคาร์บอนไดออกไซด์ การไนโตรเจน การไฮโดรเจนซัลไฟด์ บรรดากาซที่เกิดขึ้น กาซมีเทนซึ่งติดไฟได้ จะมีปริมาณมากที่สุด จึงนำมาใช้เป็นกาซหุงต้มได้ 
         1.รวมรวมสารอินทรีย์ชนิดต่างๆที่ย่อยสลายได้ง่ายให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ ถังหมัก (ถังปฏิกรณ์)และถังเก็บกาซ (สำรองกาซก่อนการนำไปใช้)
         3.หมักอินทรีย์สารที่เก็บรวบรวมได้ในถังหมัก
         4.ได้กาซจากกระบวนการหมักนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม / เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ในฟาร์ม
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้ง
            การหมักธรรมชาติ
         1.เก็บรวบรวมเศษซากพืชหรือวัสดุต่างๆที่ได้จากพืช นำมากองรวมกัน ให้มีปริมาณที่มากพอสมควร
         2.รดน้ำให้กองวัสดุมีความชื้นที่พอเหมาะพอดี รอเวลาให้กองวัสดุย่อยสลายเองตามธรรมชาติจนแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus)
            การหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่ง
         1.กองเศษซากพืชเป็นชั้นแรกให้มีความหนาประมาณ 30-50 ซม.
         2.ใช้มูลสัตว์หว่านให้กระจายทั่วพื้นที่ด้านบนของชั้นเศษซากพืช
         3.ใช้สารละลายเชื้อจุลินทรีย์ (พด.ต่างๆ) รดให้ทั่วทั้งกอง
         4.ใช้ดินปิดทับชั้นกองวัสดุชั้นแรก
         5.กองวัสดุเป็นชั้นที่ 2-3-4 แล้วปฏิบัติในแต่ละชั้นตามข้อ 2,3,4 ในทุกชั้นที่กอง
         6.คอยรดน้ำเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นอยู่เสมอ และพลิกกลับกองทุกๆ เดือน จนกว่าเศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมด จึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินหรือบำรุงต้นพืชได้
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
         1.นำผัก ผลไม้ต่างๆมาสับ ให้มีขนาดเล็กลง (ให้ได้น้ำหนักรวมตามที่ต้องการ)
         2.นำผัก ผลไม้ที่สับแล้ว ใส่ลงในถุงตาข่าย แล้วใส่ไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด (ในอัตรา 10 ส่วน)
                3.ใช้น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ละลายน้ำ (ในอัตราส่วน 1:3) ใส่ลงในถังหมัก ปิดฝาให้แน่นอย่าให้มีอากาศเข้าหรือออกจากถังหมักได้ (หมักทิ้งไว้ 2 เดือน) จะได้น้ำปุ๋ยหมักเข้มข้นนำไปใช้งาน
        2.การนำวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร(reform)
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่เหลือจากการเกษตรซึ่งโดยทั่วไปไม่มีราคาแล้วหรือมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ นำมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นงานผลิตอีกครั้ง โดยนำมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ได้
กระบวนการของการ นำมาใช้ มี 3 ขั้นตอน 
              1.การเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้ง ให้มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้งานได้
               2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการอย่างง่ายๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, หมัก
             3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะ
ตัวอย่างของการนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร
         1.การนำฟางข้าว /ตอซัง/ต้นถั่ว/ต้นข้าวโพด/ใบไม้ผลชนิดต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักแห้ง
         2.การใช้เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนมาเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม
         3.การใช้เปลือกสับปะรดมาหมักและใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุน
         4.การใช้ฟางข้าว /ตอซัง/เปลือกถั่วเขียว/ทะลายปาล์มนำมันมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย/โรงเรือน
         5.การใช้มูลสุกรมาเป็นอาหารเลี้ยงสุกรรุ่นและสุกรขุน
         6.การใช้มูลสุกร/มูลไก่ เป็นอาหารของปลา
        3.การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมบางชนิด (reform ; reuse)
             หมายถึงการนำเอาวัสดุบางชนิดจากภาคเกษตรกรรมมาผ่านกระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการปฏิบัติจนได้ผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์
กระบวนการของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม มี 3 ขั้นตอน 
                1.การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุที่ต้องการใช้ให้มีปริมาณที่มากและพอเพียงกับความต้องการใช้
                2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการเบื้องต้นต่างๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, บด,ร่อน,เผา
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
ตัวอย่างของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม
         1.การใช้เปลือกไข่และแกลบเผา บำบัดโลหะหนัก(ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม(Cd))ในน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
         2.การผลิตวัสดุแทนไม้จากหญ้าแฝก ฟางข้าว  เศษไม้ไผ่ ใบปาล์ม กากสมุนไพรต่างๆ
        4.การจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยง/ขยะอินทรีย์/เศษอาหาร 
             หมายถึง การกำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ(pollution)ทางดิน ทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้งการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warm)
    กระบวนการนี้ต้องใช้ “จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ”(Effective Micro-organism=EM)ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 Family 10 Genus 80 Species เพื่อนำไปเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุนานาชนิดให้เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
   วิธีการใช้ EM.ส่วนมากจะใช้ในลักษณะของสารละลายเจือจางเพื่อการชำระล้างพื้นหรือการหมักในภาชะปิด
        5.การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  
             5.1 การทำฟางปรุงแต่ง
                      ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ใช้ฟางข้าวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทั่วๆ ไปฟางข้าวจะมีโปรตีน 3-4 %  โภชนะที่ย่อยได้ทั้งสิ้น 35-50 %  มีไวตามินเอ  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และแร่ธาตุอื่น ๆ  ต่ำมาก  
                      การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวมีข้อเสียบางประการ  เพราะปริมาณของโปรตีน  พลังงาน  และแร่ธาตุในระดับนี้  จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ดังนั้นวัวควาย  แพะ  แกะ  ที่กินแต่ฟางแห้งอย่างเดียวจะไม่สามารถเจริญเติบโต  แต่จะสูญเสียน้ำหนักไปเรื่อย ๆ  ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพและแก้ไขวิธีการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงดังกล่าว    
        การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสามารถทำได้  2   วิธี  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
                    ก.การปฏิบัติต่างๆ (treatment)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟางข้าว  เช่น การตัด การแช่น้ำ การลดปริมาณลิกนิน  หรือการเตรียมให้เป็นฟางอัดก้อน  ฟางอัดเม็ด  เป็นต้น  การตัดการบด  การแช่น้ำและการอัดเม็ดอัดก้อนจะทำให้สัตว์กินฟางได้มากขึ้น  และการย่อยได้ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยกตัวอย่าง  เช่น  การอัดเม็ดโดยใช้ฟาง 80 % ผสมกับกากเมล็ดฝ้าย 10 % กากน้ำตาล 6 % ไขมัน 2 % ยูเรีย 1 % แร่ธาตุอื่น ๆ 1 %  จะได้อาหารอัดเม็ดที่มีคุณภาพดี  ทำให้วัวตอนเจริญเติบโตดีและกินฟางอัดเม็ดนี้ได้ถึง 2.9 %  ของน้ำหนักตัว  ในขณะที่วัว  ซึ่งกินฟางข้าวเพียง 2.4 %  ของน้ำหนักตัว  
                            ตามปกติสัตว์จะกินอาหารอัดเม็ดได้มากกว่าอาหารอัดก้อน (cube)  และสัตว์กินอาหารอัดก้อนได้มากกว่าอาหารบดธรรมดา  นอกจากนี้การเอาฟางมาอบด้วยความร้อนและความดันของไอน้ำที่ 28 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  เป็นเวลานาน 3 นาที จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมครึ่งเท่า แต่ถ้าใช้ฟางทำปฏิกริยากับด่างโซดาไฟ 3 % ภายใต้ความดันและไอน้ำร้อน จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2  เท่าตัว
                            การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อลดปริมาณของลิกนิน  และทำให้เซลล์ของพืชพองตัว  จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และยังผลให้สัตว์กินฟางที่ปรุงแต่งนี้มากด้วย  สารเคมีที่นิยมใช้กันมากมี  3-4  ชนิด  คือ  โซดาไฟ  (NaOH)  ปูนขาว  (calcium  hydroxide=Ca(OH)2)  และแอมโมเนียในรูปต่าง ๆ  ถ้าเรานำฟางไปแช่ในสารละลายโซดาไฟ  1.5-2  %  นาน  18-24  ชั่วโมง  จะทำให้การกินการย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นมากมาย  หรือถ้าเราใช้สารละลายโซดาไฟที่เข้มข้น  3.5-5  %  ฉีดพ่นบนฟางข้าวแล้วหมักทิ้งไว้สักครึ่งวันหรือจะนำไปให้สัตว์กินทันที  พบว่าวัวรุ่นลูกผสมจะกินฟางปรุงแต่งได้มากขึ้นหนึ่งเท่าครึ่งของฟางธรรมดา  และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเกือบสองเท่า  การแช่ฟางข้าวในสารละลายปูนขาว  1.5  %  นาน  24-48  ชั่วโมง  ก็มีผลทำให้ปริมาณการกินการย่อยของฟางข้าวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน  
                            ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมปรุงแต่งฟางข้าวโดยใช้สารยูเรีย  เพราะเป็นสารที่หาได้ง่าย  ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ยูเรียประมาณ  6  %  โดยกการใช้ผ้าพลาสติคปูบนพื้น  แล้วนำฟางมาวางเรียงให้เป็นกอง  ใช้น้ำจำนวน  3  ปีบ  (60  ลิตร)  รดกองฟาง  น.น.  100  กก.  ให้ทั่วโดยใช้บัวรดน้ำ  ต่อมาเอายูเรีย  6   กก.  ละลายในน้ำ  2  ปีบ  (40  ลิตร)    ใส่ในบัวรดน้ำแล้วราดบนฟางให้ชุ่ม หากทำกองใหญ่ใหห้ทำทีละ  100  กก.   ปิดหุ้มกองฟางด้วยผ้าพลาสติคเก็บชายพลาสติคให้แน่นหาไม้หรือวัสดุกันแสงมาวางทับพอประมาณและหมักไว้นาน 21 วัน  ในสูตรดังกล่าวอาจใช้  กากน้ำตาล  3-5  %  และเกลือ  0.3  %  เพื่อเพิ่มความน่ากิน  พบว่าฟางหมักยูเรียจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น  2  เท่า  ปริมาณการกินการย่อยของฟางหมักจะเพิ่มขึ้น  8-15  %  และสามารถรักษาน้ำหนักของวัวในช่วงสั้น ๆ  ได้
                ข. การให้อาหารเสริม  (supplementation)  เนื่องจากฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ  และแม้จะได้ปรุงแต่งโดยใช้โซดาไฟหรือยูเรียมาแล้วก็ตามเราไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ด้วยฟางปรุงแต่งดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ  เพราะการปรุงแต่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มปริมาณการกินและการย่อย  และจะเพิ่มปริมาณของโปรตีนขึ้นเมื่อเราใส่แอมโมเนียหรือยูเรีย  และ  โปรตีนดังกล่าวก็ไม่ใช่โปรตีนที่แท้จริง  แต่เป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะเอาไปสร้างโปรตีนอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวธรรมดาหรือฟางที่ปรุงแต่งแล้วก็ตาม  เราควรจะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแก่สัตว์ด้วย  และอาหารเสริมดังกล่าวควรจะประกอบด้วยอาหารพลังงาน  โปรตีน  แร่ธาตุ  และไวตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะได้แบ่งไปใช้ส่วนหนึ่ง  และตัวสัตว์เองจะได้นำเอาไปใช้อีกส่วนหนึ่ง  อาหารเสริมที่ควรใช้ร่วมกับฟางข้าวธรรมดาหรือฟางปรุงแต่งมีดังต่อไปนี้
    1.ฟางบวกกับอาหารข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ว หางนมผง เนื้อป่น กากเมล็ดฝ้าย ยูเรียผสมกับกากเมล็ดฝ้าย รำ ปลายข้าว เป็นต้น
    2.ฟางบวกกับรำและเกลือแร่ต่าง ๆ  
    3.ฟางบวกกับยูเรียและเกลือแร่ต่าง ๆ  
    4.ฟางบวกกับยูเรีย  กากน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ  
    5.ฟางหมักยูเรียบวกรำข้าว  ใบมันสำปะหลังแห้งหรืออาหารข้นอื่น ๆ  
    6.ฟางบวกกับข้าวฟ่าง  ยูเรีย  กากน้ำตาล  เกลือแร่ต่าง ๆ  
    7.ฟางบวกกับแหนแดง  หรือผักตบชวา
    8.ฟางบวกกับใบกระถิน
    9.ฟางบวกกับไมยราพยักษ์หรือฝักจามจุรีและอื่น ๆ 
    10.ฟางบวกกับอาหารผสมมูลไก่แห้ง
การใช้ผลพลอยได้การเกษตรรูปแบบต่าง ๆ  
                5.2.หญ้าหมัก (Silage)  คือการนำหญ้าหรือพืชต่าง ๆ  มาสับเป็นท่อน ๆ  นำไปหมัก  ในหลุม  หรือบังเกอร์  ปิดให้มิดชิด   เป็นเวลา  21  วัน  ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน  (Anaerobic  condition)  แบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่ได้(Lactobacillus)  แบคทีเรียจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรตในหญ้าและคาร์โบไฮเดรตในธัญพืชเสริม(silage  preservative)  แล้วแบคทีเรียจะผลิตกรดแลคติก(CH3CHOHCOOH)  และกรดอะซีติค(CH3COOH)ออกมา ทำให้หญ้าไม่เน่า  เมื่อพีเอ็ชได้ที่(ประมาณ  3.5-4)  จุลินทรีย์ทุกชนิดแม้กระทั่ง  Lactobacillus  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ทุกขบวนการจะหยุดทำงาน  พืชที่ถูกหมักจะอยู่ในสภาพสด  และสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี  โดยส่วนประกอบทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ปล่อยให้อากาศซึมเข้า
                5.3.หญ้าแห้ง (Hay)  คือการนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำในลำต้นต่ำ ตัดแล้วตากแดด 2-3 แดด ติดกัน เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง 
 
Engine by shopup.com