อ่างล้างหน้าตันอำเภอบ้านฉาง โทร 062-9932393
หมวดหมู่สินค้า: rtd79 รวมช่าง
17 เมษายน 2565
ผู้ชม 99 ผู้ชม
ช่างท่อตันประสบการณ์กว่า 15 ปี ซ่อมท่อตัน ทะลวงท่อ ลอกท่อ ล้างท่อไขมัน ชักโครกตัน ส้วมตัน อ่างล้างจานตัน อ่างล้างหน้าตัน เศษอาหารอุดตัน ด้วยงูเหล็กซ่อมเเละติดตั้งปั๊มน้ำ ประปา ซ่อมน้ำรั่ว เดินระบบไฟฟ้า ผลงานของเรา
ส้วมตันอำเภอบ้านฉาง
อ่างล้างหน้าตันอำเภอบ้านฉาง
อ่างล้างจานตันอำเภอบ้านฉาง
ชักโครกตันอำเภอบ้านฉาง
ท่อน้ำตันอำเภอบ้านฉาง
แก้ท่อตันอำเภอบ้านฉาง
งูเหล็กทะลวงท่ออำเภอบ้านฉาง
ช่างงูเหล็กซ่อมแก้ท่อตันอำเภอบ้านฉางท่อส้วมตัน ชักโครกตัน ท่อพื้นห้องน้ำตัน
ค่าบริการแก้ท่อตันอำเภอบ้านฉางแก้ไข ท่อตัน ส้วมตัน ด้วยงูเหล็ก ท่อตันไม่ต้องทุบ
รับทะลวงท่ออำเภอบ้านฉางลอกท่อ แก้ท่อน้ำตัน บริการทุกวัน แก้ไม่ได้ ไม่คิดเงิน รับประกัน หลังการซ่อม หาเราง่าย ท่อตัน ผลงานของเรา
ช่างงูเหล็กใกล้ฉันอำเภอบ้านฉาง
ท่อตันเพราะไขมันอำเภอบ้านฉาง
ท่อตันวิธีแก้อำเภอบ้านฉาง
ท่อน้ำตันหอพักอำเภอบ้านฉาง
ท่อตันเส้นผมอำเภอบ้านฉาง
วิธีแก้ท่อตันอ่างล้างจานอำเภอบ้านฉาง
ท่อตันงูเหล็กอำเภอบ้านฉาง
ท่อตันอำเภอบ้านฉาง
ทำไมควรใช้บริการซ่อมบ้านกับเรา? ผลงานของเรา
เพราะเราใช้ช่างมืออาชีพ แก้ปัญหาเรื่องซ่อมบ้านได้ตรงจุด ทำให้งบไม่บานปลาย
ประหยัดทั้งเงินและเวลา เรามีช่างหลากหลายสาขา เพื่อเหมาะสมกับงานที่จะเข้าไปทำ
เช่น ช่างไฟ ,ช่างประปา,ช่างไม้,ช่างปูนฯลฯ และไม่ใช่แค่มีความรู้ในงานซ่อม
เรายังฝึกอบรม ช่างในเรื่องมารยาทในการให้บริการ เพื่อให้มีความพึงพอใจสูงสุด
ช่างซ่อมประตู/หน้าต่างอำเภอบ้านฉาง
ช่างซ่อมท่อประปารั่วซึมอำเภอบ้านฉาง
ช่างซ่อมรอยร้าวของผนังอำเภอบ้านฉาง
ช่างต่อเติมบ้านรีโนเวทบ้านอำเภอบ้านฉาง
ช่างตรวจเช็คปัญหาไฟฟ้าอำเภอบ้านฉาง
ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอำเภอบ้านฉาง
ช่างทาสีผนัง/เพดานใหม่อำเภอบ้านฉาง
8จุดที่ต้องตรวจเช็คเมื่อส้วมตัน
“ 8 จุดที่ต้องตรวจเช็ค เพื่อการแก้ปัญหาส้วมตัน ส้วมราดไม่ลง หรือใช้งานไม่ได้ อย่างตรงจุด”
เรื่องส้วมดูจะเป็นปัญหาที่หนักหนาอีกประการหนึ่ง ทั้งในขณะที่น้ำท่วมก็มักจะราดไม่ลง หรือแม้ว่านํ้าลดแล้วส้วมของเราก็มักยังเป็นปัญหาอยู่ อาจจะเป็นปัญหาดั้งเดิม หรือเป็นปัญหาเกิดใหม่ จึงขอสรุปรวมปัญหาที่เกิดกับส้วม และแบ่งจุดที่ควรตรวจเช็คออกเป็น 8 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.เช็คระบบของส้วมเรา ถ้าเป็นส้วมระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม (หมายถึงเมื่อของเสียย่อยสลายแล้ว จะซึมผ่านสู่พื้นดิน ระบบนี้เป็นระบบ ที่นิยมกันทั่วประเทศ เป็นเวลานาน) ให้สำรวจบ่อซึมว่าวางอยู่ตรงบริเวณที่พื้นดินชื้นแฉะหรือไม่ เพราะบ่อซึมจะไม่สามารถซึมนํ้าออกในบ่อออกไปได้ และในยามที่นํ้าท่วม นํ้าที่ท่วมนั้นก็จะไหลย้อนกลับเข้ามาในบ่อและระบบย่อยสลายอีกด้วย ปัญหาที่ตามมาก็คืออาการราดส้วมไม่ลง ใช้ส้วมไม่ได้ ส้วมจะเต็มอยู่บ่อยๆ นั่นเอง แก้ไขได้ 2 ประการคือ หากพื้นดินชื้นแฉะเพราะนํ้าท่วม ก็รอดูอาการสักนิดให้พื้นดินแห้งก่อนปัญหาต่างๆ ก็จะดีขึ้น แต่หากพื้นดินบริเวณนั้นชื้นแฉะตามธรรมชาติ ก็ควรเปลี่ยนระบบ มาเป็นระบบเครื่องกลสำหรับย่อยสลาย หรือ ถังส้วมสำเร็จ ซึ่งจะทำหน้าที่ ย่อยสลายปฏิกูล ต่าง ๆจนเป็น นํ้าสะอาด แล้วก็ปล่อยลง ท่อระบายนํ้าสาธารณะได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
2.เช็คระดับของโถส้วม ถ้าอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับระดับบ่อเกรอะ หรือถังส้วมสาเร็จรูป จะทำให้ระนาบของท่อส้วม ไหลไม่สะดวก หรือบางครั้งอาจจะมีอาการไหลย้อนกลับ โดยเฉพาะในยามนํ้าท่วมทำให้ระดับนํ้าตรงถังส้วมสูงกว่า ระดับโถส้วม เป็นอีกสาเหตุของการเกิดอาการ ราดไม่ลง หรือตอนกดนํ้าและราดนํ้าที่โถส้วมทำให้ในโถส้วมมีแรงดันสูงมากขึ้น หากนํ้าไม่สามารถไหลลงไปได้ก็จะเกิดอาการแรงดันย้อนกลับ ทำให้ของเสียทั้งหลายอาจกระฉอกขึ้นเปรอะเปื้อนได้
3.เช็คท่อส้วม เพราะอาจเกิดการแตก หรืออาจไปฝังในพื้นดิน ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และราดส้วมไม่ค่อยลง เพราะไปเกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมาก
4.เช็คท่ออากาศ บางท่านอาจจะลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดนํ้าจะราดไม่ลง เปรียบได้กับการพยายาม กรอกนํ้าใส่ขวด โดยไม่มีช่องอากาศ เหลือเลยที่ปากขวดก็จะกรอกนํ้าไม่ลงเช่นกัน บางบ้านอาจจะมีท่ออากาศ แต่ท่ออากาศอาจอุดตันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากความสกปรก หรือเกิดจาก เศษผง เล็กลอยมาอุดตอนที่นํ้าท่วมก็ได้
5.เช็คขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึม หรือถังบาบัดสำเร็จรูป ว่ามีขนาดเล็กเกินไปหรือไม่ หลายครั้งพบปัญหา เพราะใช้อาคาร ผิดประเภท เช่น ออกแบบไว้สำหรับคนในบ้าน 5 คน แต่พอใช้งานจริงกลับมีถึง 8-9 คน ปริมาณของเสียต่าง ๆ จึงมากกว่าอุปกรณ์ที่เตรียมรองรับ ถังส้วมจึงอาจเต็มบ่อยเต็มเร็ว เพราะมีช่องว่างน้อย ถ้าเป็นระบบบ่อซึม ก็มีพื้นผิวการซึมนํ้าออกน้อย นํ้าจึงซึมออกไม่ทัน
6.เช็คท่อส้วมว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ อาจมีผู้ใช้งานบางท่านใส่สิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงในโถส้วม หรือสิ่งของบางอย่างอาจจะลอยมากับนํ้าท่วม เช่นแผ่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย ถุงมืออนามัย หรือ แปรงขัดส้วมอนามัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะไม่ย่อยสลาย และเป็นสาเหตุ แห่งการอุดตัน
7.เช็คการใช้งานของถังบำบัดสำเร็จรูป เพราะบางรุ่นบางยี่ห้อ ต้องใช้เครื่องมือกลเข้าปั่นอากาศเข้าไปช่วยการย่อยสลาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวหนุนมอเตอร์ ในขณะที่นํ้าท่วมบางบ้านอาจจะปิดไฟฟ้าไว้ ดังนั้นเพียงเปิดระบบไฟฟ้าและลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้า ก็สามารถกลับมาใช้งานได้แล้ว
8.เช็คท่อให้น้ำไหล ถังบำบัดสำเร็จรูปทุกยี่ห้อ จะต้องมีท่อน้ำไหลออกจากถังบำบัดสู่ท่อระบายนํ้าในบ้านเรา หรือสู่ท่อสาธารณะ จะต้องตรวจเช็คว่า ระดับของท่อที่ออกจากถังบำบัด ว่าต้องสูงกว่าระดับท่อระบายนํ้าเสมอ มิเช่นนั้น จะเกิดอาการ ไหลย้อนกลับได้เช่นกัน
5 วิธีแก้ปัญหา ส้วมตัน ท่อตันด้วยตัวเองไม่ต้องง้อช่าง
ชักโครกเต็ม ส้วมตัน ท่อตัน หนึ่งในปัญหาน่าเบื่อ แต่เมื่อไหร่ที่เจอก็ต้องแก้ไขกันไป ซึ่งตามจริง ปัญหาส้วมตัน ท่อตัน นี้เกิดจากการใช้งานของมนุษย์เราเองนี่ล่ะค่ะ ที่มักทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ยาก อย่าง ทิชชู่ ผ้าอนามัย เส้นผม ฯลฯ ลงไปทำให้อุดตันอยู่ภายในท่อ ขัดขวางการระบาย…เลยเกิดภาวะน้ำรอการระบายอยู่เต็มคอห่าน ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดหากปรับวิธีการใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมนะคะ แต่หากเกิดปัญหาตันขึ้นมาแล้วจะทำยังไง ไม่ยากๆ ลอง 5 วิธีแก้ปัญหาส้วมตัน ท่อตัน ด้วยตัวเองที่เรามาบอกต่อในวันนี้กันค่ะ
1. ลูกยางปั๊ม
เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดค่ะ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายวัสดุบ้าน หรือ ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป แต่…ออกจะเลอะตัวอยู่สักหน่อยนะคะ แหะๆๆ วิธีแก้ส้วมตัน ท่อตันก็ไม่ยากค่ะ เพียงแค่สวมหัวลูกยางลงในคอห่าน หรือ ท่อ จากนั้นออกแรงกดปั๊มเป็นจังหวะ เพื่อให้แรงอัดของลูกยางช่วยดันสิ่งอุดตันให้ไหลออกไป
2. โซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)
โซดาไฟ เป็นสารเคมีมีฤทธิ์เป็นกรด ก่อนใช้ควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยสวมผ้าปิดปาก แว่นตา และ ถุงมือยางนะคะ นำโซดาไฟมาละลายกับน้ำอุ่น แล้วราดลงในส้วมหรือท่อที่ตัน ปล่อยทิ้งไว้สักครู่ ให้โซดาไฟทำปฏิกิริยาสัก 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นให้ราดน้ำร้อน หรือ น้ำอุณหภูมิปกติ ก็ได้ (แต่น้ำร้อนจะช่วยล้างไม่ให้โซดาไฟจับกันเป็นก้อนอันจะสร้างปัญหาอุดตันตามมาได้) หรือ กดชักโครกซ้ำอีกครั้งค่ะ
3. น้ำยาล้างท่ออุดตัน (ก่อนใช้ควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยสวมผ้าปิดปาก แว่นตา และ ถุงมือยางนะคะ เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง)
เทน้ำยาล้างท่อครึ่งขวดลงไปในท่อหรือคอห่านที่อุดตัน ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นจึงเทอีกครึ่งขวดตามลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 20 – 30 นาที แล้วจึงราดน้ำตาม
4.ใช้สายงูเหล็ก
สายงูเหล็ก มีลักษณะเป็นเส้นโลหะยาวๆ ติดปลายด้ามจับสำหรับหมุน อุปกรณ์นี้สามารถหาซื้อได้ตามห้างหรือร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปเลยค่ะ วิธีการแก้ปัญหาท่อตัน ส้วมตันด้วยสายงูเหล็ก ก็เพียงแค่แหย่งูเหล็กลงไปในคอห่าน หรือท่อที่ตันให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นหมุนด้ามจับไปมา สายโลหะจะคว้านดันสิ่งอุดตันออกไป ระหว่างหมุน สามารถราดน้ำลงไปช่วยล้าง หรือ ราดน้ำร้อนลงไปก็จะช่วยได้มากค่ะ
5. น้ำยาล้างจาน
ถือเป็นไม้อ่อน สำหรับเคสที่ท่อ หรือ ส้วมอุดตันไม่หนัก เท่านั้นนะคะ โดยเทน้ำยาล้างจานลงไปในส้วม หรือ ท่อที่อุดตัน ประมาณ 1 จอก แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที น้ำยาล้างจานก็จะไปจับเกาะสิ่งที่อุดตันภายใน ทำให้ภายในท่อลื่นขึ้น สิ่งอุดตันจะอ่อนตัว จากนั้นให้เทน้ำร้อนจัด ประมาณ 1 – 2 ลิตร เพื่อชะล้างน้ำยาล้างจานออกให้หมด จากนั้นให้กดชักโครก หรือ ราดน้ำตามอีกครั้ง
หากทำตามทุกวิธีที่แนะนำมาแล้วยังไม่สำเร็จ คงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมือโปร อย่างบริษัทรับจัดการท่อตัน มาช่วยแก้ปัญหาให้แล้วล่ะค่ะ