9390199

ปรึกษาคดีความเกษตรนวมินทร์  โทร 086-8639177

หมวดหมู่สินค้า: rtd72 ทนาย/ประกันตัว

14 เมษายน 2565

ผู้ชม 76 ผู้ชม



สำนักงานกฎหมาย รับว่าความคดีมรดก คดีที่ดิน คดีครอบครัว คดีกู้ยืม อุบัติเหตุรถชน คดีรถชน เรียกค่าสินไหม คดีแพ่ง คดีอาญา
ให้คำปรึกษากฎหมายฟรีในพื้นที่เกษตรนวมินทร์  
ปรึกษาคดีความเกษตรนวมินทร์  
ทนายคดีกู้ยืมเงินเกษตรนวมินทร์  
ทนายคดีพิพาทเกี่ยวกับมรดกเกษตรนวมินทร์  
คดีผิดสัญญาต่าง ๆ  คดีค้ำประกัน คดีละเมิดเรียกค่าเสียหาย  คดีร้องขอจัดตั้งผู้จัดการมรดก คดีซื้อขาย คดีบังคับจำนอง คดีประกันภัย คดีฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ คดีหุ้นส่วนบริษัท  
คดีครอบครัวเกษตรนวมินทร์ คดีตัวแทนนายหน้า คดีที่ดินเกษตรนวมินทร์   คดีฟ้องขับไล่

               ปรึกษาทนายเกษตรนวมินทร์     




       บริการปรึกษากฎหมายเกษตรนวมินทร์  

รับปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายเกษตรนวมินทร์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร  คดีแพ่ง คดีอาญา
-  ปรึกษาคดีฟรี อุบัติเหตุรถชนเกษตรนวมินทร์ ประกันภัย ค่าสินไหม คดีแพ่ง คดีอาญา เจรจากับเจ้าหนี้ เจรจาต่อรองหนี้
- รับปรึกษาปัญหาด้านกฎหมาย  รับว่าความคดีมรดกเกษตรนวมินทร์ คดีที่ดิน คดีครอบครัว คดีแรงงาน คดีเช็ค คดีกู้ยืม  คดีเช่าซื้อ คดีล้มละลาย 
- รับปรึกษาปัญหาด้านกฎหมาย  รับว่าความคดีเกษตรนวมินทร์ คดีลิขสิทธิ์สิทธิบัตร  เอกเทศสัญญาต่างๆ รับสืบทรัพย์และบังคับคดี 
- ปรึกษากฎหมายฟรี คุยกับทนายความเกษตรนวมินทร์ ฟรี สายตรงทนายความ ปรึกษาทนายฟรี ปรึกษาคดีความ ปรึกษาคดีฟรี 



รับปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายเกษตรนวมินทร์  
รับว่าความคดีแพ่ง คดีอาญาเกษตรนวมินทร์  
ทนายเกษตรนวมินทร์ ปรึกษาคดีฟรี อุบัติเหตุรถชน ประกันภัย ค่าสินไหม คดีแพ่ง คดีอาญา 
รับว่าความเจรจากับเจ้าหนี้ เจรจาต่อรองหนี้เกษตรนวมินทร์  
รับว่าความคดีมรดก  คดีที่ดินเกษตรนวมินทร์ คดีครอบครัว คดีแรงงาน คดีเช็ค คดีกู้ยืม  คดีเช่าซื้อ คดีล้มละลาย 
รับว่าความคดี คดีลิขสิทธิ์สิทธิบัตร  เอกเทศสัญญาต่างๆ รับสืบทรัพย์และบังคับคดีเกษตรนวมินทร์  


ทนายความ เส้นทางสู่วิชาชีพทนายความ

ทนายความ คือใคร
      ทนายความ คือ ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความให้สามารถว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดีต่าง ๆ
       อาชีพทนายความ ถือเป็นความฝันของใครหลายคนที่เรียนจบนิติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในกระบวนการยุติธรรม ช่วยเสาะแสวงหาความจริงให้ผู้คนได้รับความยุติธรรม เป็นอาชีพที่มีเกียรติน่ายกย่อง การเป็นทนายความนั้น ไม่ใช่ว่าใครอยากจะเป็นก็เป็นได้เลย การเป็นทนายความต้องผ่านด่านการทดสอบความรู้การฝึกอบรมทั้งทางด้านทฤษฎีและทางด้านปฏิบัติหลายขั้นตอน เมื่อผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้วจึงจะสามารถเป็นทนายความได้
 
บุคคลที่จะเป็นทนายความได้ต้องมีคุณสมบัติและผ่านขั้นตอบการทดสอบและฝึกอบรมต่าง ๆ อย่างน้อย 6 ประการ ดังต่อไปนี้  
   1.จบปริญญาตรี หรือ อนุปริญญาตรี นิติศาสตร์
   2.ต้องผ่านการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ 
   3.ผ่านการสอบปากเปล่า
   4.ผ่านอบรมจริยธรรม
   5.ผ่านการสมัครเป็นสามัญหรือวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภา
   6.ผ่านการยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
 
ขั้นตอนที่ 1  จบปริญญาตรี หรือ อนุปริญญาตรี นิติศาสตร์
          บุคคลที่จะมีสิทธิสมัครสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ หรือที่เรียกกันว่า “ตั๋วทนาย”
ทั้งในกรณีอบรมวิชาว่าความและกรณีผู้ฝึกงาน 1 ปี จะต้องจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ หรือ อนุปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สภาทนายความรับรองเท่านั้น ผู้จะเป็นทนายความได้จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิชาการทางกฎหมายมากเพียงพอจนเรียนจบปริญญาตรีหรืออนุปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่สภาทนายความรับรอง
 
ขั้นตอนที่ 2  ต้องผ่านการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ
        เมื่อเรียนจบนิติศาสตร์หรือได้รับอนุปริญญา บุคคลที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นทนายความจะต้องผ่านการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ และผ่านการฝึกอบรม 
โดยการฝึกอบรมและการสอบนั้น สภาทนายความได้จัดการทดสอบออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
 
การสอบใบอนุญาตว่าความประเภทผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ (หรือตั๋วรุ่น)
การสอบใบอนุญาตว่าความประเภทผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
(หรือตั๋วปี)
ซึ่งในที่นี้ขอเรียกสั้น ๆ ว่า “ตั๋วรุ่น” กับ “ตั๋วปี” นะครับ
กรณีตั๋วรุ่น
สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ จะทำการเปิดรับสมัครอบรมวิชาว่าความปีละ 2 รุ่น ซึ่งจะเปิดรับสมัครช่วงกลางปีกับช่วงปลายปี โดยการสอบข้อเขียนจะแบ่งออกเป็น  2 ภาค คือ ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาคทฤษฎี การสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และ ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4-6 ข้อ 80 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปถือว่าสอบผ่านข้อเขียนภาคทฤษฎี   
ผู้สอบผ่านภาคทฤษฎีต้องไปฝึกงานภาคปฏิบัติ 6 เดือน ในสำนักงานทนายความต่าง ๆ ที่มีทนายความผู้มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี เซ็นรับรองว่าได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติจริงและมีระบบเซ็นประเมินการฝึกภาคปฏิบัติด้วย เมื่อได้รับการเซ็นรับรองแล้วถึงจะมีสิทธิสอบข้อเขียนภาคปฏิบัติต่อไป
 
           ภาคปฏิบัติ การสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย  และ ข้อสอบอัตนัย  โดยให้เขียนในแบบพิมพ์ศาล รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ข้อสอบก็จะเป็นการให้ตัวอย่างข้อเท็จจริง
มา 1 เรื่อง แล้วให้ผู้เข้าสอบทำการเขียนคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง หรือหนังสือบอกกล่าวต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เข้าสอบก็จะต้องเขียนคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง ต่าง ๆ เสมือนที่จะยื่นต่อศาลจริง ๆ จากนั้นข้อสอบก็จะถูกส่งไปให้คณะกรรมการผู้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญ จากสถาบันฝึกอบรมวิชาว่าความเป็นผู้ทำการตรวจข้อสอบ 
ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน และถึงจะมีสิทธิไปลงทะเบียนเพื่อสอบปากเปล่าอีกชั้นหนึ่ง
 
กรณีตั๋วปี
การสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ กรณีผู้ฝึกงานในสำนักงานทนายความไม่น้อย
กว่า 1 ปี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
    (1) บุคคลที่จะสมัครเป็นทนายความจะต้องไปติดต่อขอรับแบบแจ้งการฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี จากสภาทนายความ แล้วนำไปขอฝึกงานกับทนายความผู้ที่มีใบอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี ลงชื่อรับรองการฝึกงานให้ด้วย
    (2) เมื่อฝึกงานครบกำหนด 1 ปี ถึงจะมีสิทธิลงทะเบียนสอบข้อเขียนได้ สำหรับการสอบข้อเขียนเนื้อหาจะแบ่งการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย และ ข้อสอบอัตนัย โดยให้เขียนในแบบพิมพ์ศาลเสมือนจริง รวม 100 คะแนน ลักษณะข้อสอบ
และการตรวจข้อสอบก็จะคล้ายกับการสอบภาคปฏิบัติ สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนน
ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปจึงถือว่าสอบผ่าน และจะต้องไปสอบปากเปล่าอีกชั้นหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 ต้องผ่านการสอบปากเปล่า
       เมื่อผ่านการสอบภาคปฏิบัติ หรือ การฝึกงาน 1 ปีแล้ว บุคคลผู้ที่จะสามารถเป็นทนายความได้ จะต้องผ่านการสอบปากเปล่าด้วย  โดยการสอบปากเปล่าเป็นการสอบแบบสัมภาษณ์ต่อหน้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2-3 คน เนื้อหาที่ใช้ในการสอบมี 3 ส่วน คือ 1.ประสบการณ์ฝึกงาน 2. หลักกฎหมาย และ 3. การซักถามพยาน และทางคณะกรรมการก็จะประเมินว่าบุคคลนั้นควรผ่านการสอบปากเปล่าหรือไม่  
 
ขั้นตอนที่ 4 ต้องผ่านการอบรมจริยธรรม
        เมื่อผ่านการสอบปากเปล่าแล้ว สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ จะกำหนดวันอบรมจริยธรรม  เนื้อหาการอบรมก็จะบรรยายถึงหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรมของทนายความ รวมถึงมรรยาททนายความด้วย ฯลฯ โดยบุคคลผู้ที่จะเป็นทนายความได้จะต้องผ่านการอบรมในครั้งนี้ด้วย
 
ขั้นตอนที่ 5 ต้องผ่านการสมัครเป็นสามัญหรือวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภา
        เมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว ก็จะต้องนำใบประกาศนียบัตรดังกล่าวไปยื่นเพื่อสมัคร สามัญสมาชิก (กรณีผู้สอบผ่านเนติฯ) หรือ วิสามัญสมาชิก (กรณีผู้ที่สอบไม่ผ่านเนติฯ) กับ เนติบัณฑิตยสภา โดยเนติบัณฑิตยสภาก็จะทำการตรวจสอบว่าบุคคลนั้น ๆ มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาหรือไม่ อย่างไร
 
ขั้นตอนที่ 6  ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
       เมื่อได้รับอนุมัติให้เป็นสามัญสมาชิกหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาเรียบร้อยแล้ว บุคคลผู้จะเป็นทนายความได้ ก็จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนใบอนุญาตให้เป็นทนายความที่ ฝ่ายทะเบียนของสภาทนายความ หลังจากนั้นสภาทนายความก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะจดทะเบียนเป็นทนายความได้หรือไม่ โดยตรวจสอบจากข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้าน อาทิเช่น
 
- บุคคลนั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต
- บุคคลนั้นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ สภาทนายความรับรอง
- บุคคลนั้นไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
- บุคคลนั้นต้องไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
- บุคคลนั้นต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
- บุคคลนั้นต้องไม่เป็นบุคคลผู้ต้องพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
- บุคคลนั้นต้องไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
- บุคคลนั้นต้องไม่เป็นผู้มีกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
- บุคคลนั้นต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือน และตำแหน่งประจำเว้นแต่ ข้าราชการการเมือง
- บุคคลนั้นต้องไม่เป็นบุคคลที่ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ เว้นแต่เวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันถูกลบชื่อ
        
เมื่อสภาทนายความได้ตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว หากเห็นว่าบุคคลนั้น ๆ มีคุณสมบัติครบถ้วนไม่มีลักษณะต้องห้าม สภาทนายความก็จะออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความให้แก่บุคคลนั้น ๆ 
 
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคคลที่สามารถเป็นทนายความได้
จะต้องมีความรู้ทางกฎหมายทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ ผ่านการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบ ตรวจสอบคุณสมบัติจากเนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความอย่างละเอียดถี่ถ้วนมาแล้วในหลายขั้นตอน  อันเป็นเครื่องการันตรีได้ว่า บุคคลที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็น “ทนายความ” จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางกฎหมายจริง ๆ และต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และกระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่สามารถเป็นทนายความได้
 
Engine by shopup.com