รับดูแลสวนอำเภอหนองเสือ โทร 063-9563559
14 เมษายน 2565
ผู้ชม 102 ผู้ชม
รับตัดต้นไม้ใหญ่ รับตัดแต่งกิ่งไม้ใกล้บ้าน แต่งกิ่งไม้ใกล้สายไฟ รับขุดตอ รับโค่นต้นไม้ รับเคลียพื้นทีว่างรกร้าง รับปูหญ้า จัดสวน ตัดต้นไม้ ดูแลสวน รับปูหญ้า รับกำจัดวัชพืช รับตัดหญ้า
รับตัดต้นไม้ใหญ่อำเภอหนองเสือ
รับดูแลสวนอำเภอหนองเสือ
รับตัดหญ้าอำเภอหนองเสือ
บริการค้ำยันต้นไม้อำเภอหนองเสือ
แต่งต้นไม้อำเภอหนองเสือ
ล้อมต้นไม้อำเภอหนองเสือ
บริการตัดหญ้าใกล้ฉันอำเภอหนองเสือ
บริการปูสนามหญ้าอำเภอหนองเสือ
โทรหาคน ตัดต้นไม้/ตัดหญ้า
บริการตัดแต่งกิ่งอำเภอหนองเสือแต่งทรงต้นไม้เพื่อความสวยงาม ด้วยทีมงานที่มีความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติและโครงสร้างของต้นไม้แต่ละชนิด ผลงานของเรา
บริการตัดต้นไม้อำเภอหนองเสือแบบถอนราก ขุดโคนออก พร้อมขนทิ้งออกจากพื้นที่ บ้าน โรงงาน
บริการตัดต้นไม้ใหญ่อำเภอหนองเสือที่เป็นอันตราย พื้นที่การทำงานยากต่อการตัด ต้องใช้เครื่องจักร โดยมีวิศวกรโยธา ควบคุมการทำงาน
บริการขุดย้ายต้นไม้อำเภอหนองเสือทุกชนิด ทุกขนาด (ต้นไม้ที่มีความผูกพัน มีคุณค่าทางจิตใจ) เพราะต้นไม้บางชนิดซื้อปลูกใหม่จะคุ้มค่ากว่า
บริการเคลียร์ต้นไม้อำเภอหนองเสือพัชพืช หญ้าสูง เพื่อทำแนวกันไฟไหม้และป้องกันอัคคีภัย ตามโรงงาน สถานที่ราชการ ที่สาธารณะ
งานบริการอื่นๆที่เกียวกับต้นไม้และสวนอำเภอหนองเสือ
บริการดูแลสวนอำเภอหนองเสือให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการเลือกต้นไม้ที่จะปลูกให้เหมาะสมกับลูกค้า ตามหลักฮวงจุ้ยและวันเกิด ผลงานของเรา
บริการปูหญ้าอำเภอหนองเสือ ปลูกหญ้า เปลี่ยนหญ้าที่ตาย ทำระบบรดน้ำอัตโนมัติ
บริการค้ำยันอำเภอหนองเสือ รับตัดต้นไม้ แต่งต้นไม้ ขุดราก เคลียร์ลิ้ง
บริการค้ำยันต้นไม้ บริการรับตัดต้นไม้ แต่งต้นไม้ ขุดราก ถอนโคลน พร้อมบริการขนทิ้งทั้งหมด หน้างาน
ปัญหาจากต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำจัดการอย่างไร
กิ่งไม้-รากไม้ข้างบ้านล้ำเข้ามาในบ้าน ทำอย่างไร
เรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ตรง ๆ เลยครับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1347 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้”
จากกฎหมายข้างต้น เราสามารถแยกได้เป็น 2 กรณีดังนี้
กรณีแรก "รากไม้"
ถ้ารากไม้ของต้นไม้บ้านข้าง ๆ รุกเข้ามาในที่ดินของเรา เราสามารถตัดได้เลยโดยไม่ต้องบอกเจ้าของ และรากไม้ที่ตัดไว้ถือเป็นสิทธิของเรา ไม่ใช่ของเจ้าของต้นไม้
กรณีที่สอง "กิ่งไม้"
ก่อนจะตัดจะต้องบอกให้เจ้าของตัดภายในเวลาอันสมควรก่อนจึงจะตัดได้ และเมื่อตัดแล้วกิ่งไม้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นไม้ ไม่เหมือนกับกรณีของรากไม้
ถ้าเราตัดกิ่งไม้ไปก่อนโดยไม่บอกจะถือเป็นการทำให้เสียทรัพย์หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2500 วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้ว่า การที่ไม่บอกกล่าวก่อนตัดนั้นเป็นเพียงการละเว้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายแพ่งวางไว้ แต่จะเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ต้องพิจารณาเจตนาเป็นเรื่อง ๆ ไป เฉพาะเรื่องนี้พฤติการณ์ไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอาญา
ถ้าต้นไม้ข้างบ้านล้ำเข้ามาในบ้าน ผลเป็นอย่างไร
กรณีสิ่งที่ล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของเราไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นต้นไม้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1346 บัญญัติไว้ ดังนี้
“มาตรา 1346 ถ้ามีต้นไม้อยู่บนแนวเขตที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของต้นไม้ร่วมกัน ดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนเสมอกัน และถ้าตัดต้นลงไซร้ ไม้นั้นเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนดุจกัน
เจ้าของแต่ละฝ่ายจะต้องการให้ขุดหรือตัดต้นไม้ก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการนั้นต้องเสียเท่ากันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งสละสิทธิในต้นไม้ไซร้ ฝ่ายที่ต้องการขุดหรือตัดต้องเสียค่าใช้จ่ายฝ่ายเดียว ถ้าต้นไม้นั้นเป็นหลักเขตและจะหาหลักเขตอื่นไม่เหมาะเหมือน ท่านว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องการให้ขุดหรือตัดไม่ได้”
หมายความว่าถ้าต้นไม้ (ซึ่งหมายถึงส่วนลำต้น) อยู่ตรงแนวเขต (โดยที่ไม่ต้องพิจารณาว่าอยู่ตรงกลางหรืออยู่ล้ำไปด้านไหนมากกว่าด้วยนะครับ) ให้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่งร่วมกัน ดอกผลเป็นของทั้งสองฝั่งเท่ากัน ถ้าตัดลงมา เนื้อไม้ก็เป็นของสองฝั่งเท่ากันด้วย
ปัญหาว่าถ้าจะตัด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะตัดได้ไหม โดยปกติแล้ว เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะใช้สิทธิในทางที่ขัดกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นไม่ได้ ถ้าว่ากันตามหลักนี้แล้ว จะตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนไม่ได้ แต่ถ้าดูข้อความในมาตรา 1346 วรรคสองแล้วพบว่า
กฎหมายห้ามตัดต้นไม้ในกรณีที่ต้นไม้เป็นแนวเขต ซึ่งก็น่าจะตีความได้ว่า ถ้าต้นไม้นั้นไม่ใช่แนวเขตก็น่าจะตัดได้โดยฝ่ายเดียว ต่างไปจากเรื่องกรรมสิทธิ์รวมทั่วไป ไม่อย่างนั้นก็ไม่น่าจะเขียนกฎหมายไว้เช่นนี้ เพราะจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากไปใช้เรื่องกรรมสิทธิ์รวมได้อยู่แล้ว
ดอกหรือผลของต้นไม้ข้างบ้านที่ล้ำเข้ามาในที่เป็นของใคร
ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1348 กำหนดไว้อย่างนี้ครับ
“มาตรา 1348 ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”
ตามปกติแล้ว ดอกผลของต้นไม้ต้นใด ก็ต้องตกเป็นของเจ้าของต้นไม้นั้น แต่เฉพาะกรณีที่ดอกผลตกลงในที่บุคคลอื่นเช่นนี้ กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าของที่ดิน คำว่า "สันนิษฐาน" นี้ หมายความว่าไม่ใช่เรื่องเด็ดขาด แต่คู่ความอาจนำสืบต่อศาลได้ว่าเป็นอย่างอื่น เช่น
เจ้าของต้นไม้อาจนำหลักฐานมาแสดงว่าดอกผลที่หล่นลงในที่ดินข้างเคียงเป็นของตนก็ได้ ที่กฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานไว้อย่างนี้ก็เพราะเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันระหว่างเจ้าของที่ดินข้างเคียงกันหากปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกัน
ความเสียหายที่เกิดจากต้นไม้ข้างบ้าน ใครรับผิดชอบ
เรื่องนี้ก็ว่ากันตามหลักทั่วไปครับ ทรัพย์สินของใครทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เจ้าของต้องรับผิดชอบ
ถ้าข้างบ้านอ้างว่าเป็นต้นไม้ที่ตนไม่ได้ปลูก ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องรับผิดชอบ ผลเป็นอย่างไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 กำหนดว่าไม้ยืนต้นถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน และมาตรา 144 กำหนดว่าเจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์ ซึ่งหมายความว่า เจ้าของที่ดินถือเป็นเจ้าของต้นไม้ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจปลูกก็ตาม ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย