จัดหาต้นไม้ร้อยเอ็ด โทร 061-6959944
10 เมษายน 2565
ผู้ชม 82 ผู้ชม
บริการรับตัดหญ้า ตัดต้นไม้ ดูแลจัดการสวนด้วยทีมงานผู้ชำนาญการดูแลสวน ให้ดูสะอาด เป็นระเบียบ ประจำโครงการหมู้บ้าน สถานที่ต่างๆ ทั้งแบบครั้งและรายเดือน
รับออกแบบจัดสวนร้อยเอ็ด
จัดหาต้นไม้ร้อยเอ็ด
ตัดหญ้าร้อยเอ็ด
ดูแลสวนรายเดือนร้อยเอ็ด
รับตัดต้นไม้ร้อยเอ็ด
จัดสวนปรับภูมิทัศน์ร้อยเอ็ด
จัดสวนหน้าบ้านร้อยเอ็ด
ย้ายต้นไม้ลงปลูกร้อยเอ็ด
จัดสวนราคาถูกร้อยเอ็ด
ย้ายต้นไม้ร้อยเอ็ด
ค้ำยันพยุงต้นไม้ร้อยเอ็ด
รับปูหญ้าร้อยเอ็ด
ขุดล้อมต้นไม้ใหญ่ร้อยเอ็ด
ติดต่อสอบถาม
รับจัดสวนร้อยเอ็ด ออกแบบจัดสวน จัดสวนฮวยจุ้ย ราคาไม่แพง จัดสวนหน้าบ้าน
ดูแลสวนร้อยเอ็ด สวนจะสวยได้ต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อให้ สามารถผลิดอกออกผลให้เราได้ดู
ออกแบบทำน้ำตกร้อยเอ็ด บ่อปลา น้ำล้น น้ำพุ ม่านน้ำ วางระบบน้ำ ระบบสปริงเกอร์
ขุดล้อมต้นไม้ใหญ่ร้อยเอ็ด การย้ายต้นไม้ ต้มไม่ลีลาสวย ไม้งาม ไม้มงคล
รับปูหญ้าร้อยเอ็ด จำหน่ายหญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น รับปูหญ้าในราคาถูก
จัดสวน ดูแลสวนร้อยเอ็ด รายเดือน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ปลูกต้นไม้ ปูหญ้า ตัดหญ้าร้อยเอ็ด ตัดกิ่งไม้ บริการ : จัดหาพันธุ์ไม้ ส่ง - ปลูก พร้อม รับประกันฟรี! บริการตัดต้นไม้ร้อยเอ็ด รับตัดต้นไม้ทุกชนิด รับตัดต้นไม้ใหญ่ ตัดต้นไม้ใหญ่ ตัดแต่งกิ่งแต่งทรงต้นไม้ รับจัดสวน ตัดต้นไม้ รับตัดต้นไม้ บริการตัดต้นไม้ใหญ่ รับเคลียร์พื้นที่
ปัญหาจากต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำจัดการอย่างไร
กิ่งไม้-รากไม้ข้างบ้านล้ำเข้ามาในบ้าน ทำอย่างไร
เรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ตรง ๆ เลยครับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1347 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้”
จากกฎหมายข้างต้น เราสามารถแยกได้เป็น 2 กรณีดังนี้
กรณีแรก "รากไม้"
ถ้ารากไม้ของต้นไม้บ้านข้าง ๆ รุกเข้ามาในที่ดินของเรา เราสามารถตัดได้เลยโดยไม่ต้องบอกเจ้าของ และรากไม้ที่ตัดไว้ถือเป็นสิทธิของเรา ไม่ใช่ของเจ้าของต้นไม้
กรณีที่สอง "กิ่งไม้"
ก่อนจะตัดจะต้องบอกให้เจ้าของตัดภายในเวลาอันสมควรก่อนจึงจะตัดได้ และเมื่อตัดแล้วกิ่งไม้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นไม้ ไม่เหมือนกับกรณีของรากไม้
ถ้าเราตัดกิ่งไม้ไปก่อนโดยไม่บอกจะถือเป็นการทำให้เสียทรัพย์หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2500 วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้ว่า การที่ไม่บอกกล่าวก่อนตัดนั้นเป็นเพียงการละเว้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายแพ่งวางไว้ แต่จะเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ต้องพิจารณาเจตนาเป็นเรื่อง ๆ ไป เฉพาะเรื่องนี้พฤติการณ์ไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอาญา
ถ้าต้นไม้ข้างบ้านล้ำเข้ามาในบ้าน ผลเป็นอย่างไร
กรณีสิ่งที่ล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของเราไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นต้นไม้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1346 บัญญัติไว้ ดังนี้
“มาตรา 1346 ถ้ามีต้นไม้อยู่บนแนวเขตที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของต้นไม้ร่วมกัน ดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนเสมอกัน และถ้าตัดต้นลงไซร้ ไม้นั้นเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนดุจกัน
เจ้าของแต่ละฝ่ายจะต้องการให้ขุดหรือตัดต้นไม้ก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการนั้นต้องเสียเท่ากันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งสละสิทธิในต้นไม้ไซร้ ฝ่ายที่ต้องการขุดหรือตัดต้องเสียค่าใช้จ่ายฝ่ายเดียว ถ้าต้นไม้นั้นเป็นหลักเขตและจะหาหลักเขตอื่นไม่เหมาะเหมือน ท่านว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องการให้ขุดหรือตัดไม่ได้”
หมายความว่าถ้าต้นไม้ (ซึ่งหมายถึงส่วนลำต้น) อยู่ตรงแนวเขต (โดยที่ไม่ต้องพิจารณาว่าอยู่ตรงกลางหรืออยู่ล้ำไปด้านไหนมากกว่าด้วยนะครับ) ให้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่งร่วมกัน ดอกผลเป็นของทั้งสองฝั่งเท่ากัน ถ้าตัดลงมา เนื้อไม้ก็เป็นของสองฝั่งเท่ากันด้วย
ปัญหาว่าถ้าจะตัด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะตัดได้ไหม โดยปกติแล้ว เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะใช้สิทธิในทางที่ขัดกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นไม่ได้ ถ้าว่ากันตามหลักนี้แล้ว จะตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนไม่ได้ แต่ถ้าดูข้อความในมาตรา 1346 วรรคสองแล้วพบว่า
กฎหมายห้ามตัดต้นไม้ในกรณีที่ต้นไม้เป็นแนวเขต ซึ่งก็น่าจะตีความได้ว่า ถ้าต้นไม้นั้นไม่ใช่แนวเขตก็น่าจะตัดได้โดยฝ่ายเดียว ต่างไปจากเรื่องกรรมสิทธิ์รวมทั่วไป ไม่อย่างนั้นก็ไม่น่าจะเขียนกฎหมายไว้เช่นนี้ เพราะจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากไปใช้เรื่องกรรมสิทธิ์รวมได้อยู่แล้ว
ดอกหรือผลของต้นไม้ข้างบ้านที่ล้ำเข้ามาในที่เป็นของใคร
ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1348 กำหนดไว้อย่างนี้ครับ
“มาตรา 1348 ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”
ตามปกติแล้ว ดอกผลของต้นไม้ต้นใด ก็ต้องตกเป็นของเจ้าของต้นไม้นั้น แต่เฉพาะกรณีที่ดอกผลตกลงในที่บุคคลอื่นเช่นนี้ กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าของที่ดิน คำว่า "สันนิษฐาน" นี้ หมายความว่าไม่ใช่เรื่องเด็ดขาด แต่คู่ความอาจนำสืบต่อศาลได้ว่าเป็นอย่างอื่น เช่น
เจ้าของต้นไม้อาจนำหลักฐานมาแสดงว่าดอกผลที่หล่นลงในที่ดินข้างเคียงเป็นของตนก็ได้ ที่กฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานไว้อย่างนี้ก็เพราะเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันระหว่างเจ้าของที่ดินข้างเคียงกันหากปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกัน
ความเสียหายที่เกิดจากต้นไม้ข้างบ้าน ใครรับผิดชอบ
เรื่องนี้ก็ว่ากันตามหลักทั่วไปครับ ทรัพย์สินของใครทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เจ้าของต้องรับผิดชอบ
ถ้าข้างบ้านอ้างว่าเป็นต้นไม้ที่ตนไม่ได้ปลูก ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องรับผิดชอบ ผลเป็นอย่างไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 กำหนดว่าไม้ยืนต้นถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน และมาตรา 144 กำหนดว่าเจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์ ซึ่งหมายความว่า เจ้าของที่ดินถือเป็นเจ้าของต้นไม้ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจปลูกก็ตาม ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย