9457528

สติ๊กเกอร์ติดกระจกอำนาจเจริญ โทร 098-9741465

หมวดหมู่สินค้า: rtd63 วอเปเปอร์/ผ้าม่าน

19 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 75 ผู้ชม


จำหน่ายติดตั้งวอลเปเปอร์ วอลเปเปอร์ติดผนังราคาถูก สติ๊กเกอร์ติดผนัง สติ๊กเกอร์ติดกระจก แต่งบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น
วอลเปเปอร์ติดผนังอำนาจเจริญ 
สติ๊กเกอร์ติดผนังอำนาจเจริญ 
วอลเปเปอร์สติ๊กเกอร์อำนาจเจริญ 
wallpaperติดผนังอำนาจเจริญ 
ราคาวอลเปเปอร์อำนาจเจริญ 
สติ๊กเกอร์ติดกระจกอำนาจเจริญ 



   โทร 098-9741465 ติดต่อเสี่ยบุญ 



 
บริการจำหน่ายติดตั้งวอลเปเปอร์ติดผนังอำนาจเจริญ 
WALLPAPER ช่างติดวอลเปเปอร์ติดผนังอำนาจเจริญ วอลเปเปอร์ติดผนังราคาถูก ลายวอลเปเปอร์ติดผนัง ติดตั้งวอลเปเปอร์ ขายวอลเปเปอร์ติดผนัง วอลเปเปอร์ติดผนัง ราคาถูก wallpaper ลายอิฐ ลายหิน ลายไม้ ลายปูนเปลือย ผลงานการติดวอลเปเปอร์ สไตล์โมเดิร์น คลาสสิก วินเทจ ลายการ์ตูน ลายไทย เลือกลายวอลเปเปอร์ที่นี่


 
ติดตั้งผ้าม่านอำนาจเจริญ มู่ลี่ ม่านปรับแสง วอลเปเปอร์ ฉากกั้นห้อง กั้นแอร์ พรม รับตกแต่งภายใน ตกแต่งบ้าน สํานักงาน และ ออฟฟิศ
ผ้าม่านสำเร็จรูป พร้อมสั่งตัดได้ตามขนาดที่ต้องการ พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
ผ้าม่านอำนาจเจริญ 
มู่ลี่อำนาจเจริญ 
ผ้าม่านหน้าต่างอำนาจเจริญ 
ม่านกั้นห้องอำนาจเจริญ 
ฉากกั้นแอร์อำนาจเจริญ 
ม่านกั้นแอร์อำนาจเจริญ 


 

วอลเปเปอร์ (Wallpaper) กับคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนจะนำไปใช้งาน
 
วอลเปเปอร์ (Wallpaper) คืออะไร และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร...?
 
ช่วงปลายศตวรรษที่ 15 หรือช่วงเวลาตั้งแต่ยุคกลาง ในทวีปยุโรป บ้าน หรือปราสาทของเหล่าชนชั้นสูงมักจะนิยมตกแต่งภายในประดับประดาด้วยการขึงผ้าไว้ที่ผนังหิน เพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงามหรูหราให้แก่ห้อง แต่ผ้านั้นเป็นวัสดุที่มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีกำลังซื้อเพียงแค่คนบางกลุ่มที่มีฐานะร่ำรวยเท่านั้น แต่รสนิยมนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คนชนชั้นทั่วไปก็ต้องการความสวยงามแบบนี้เช่นกันแต่อยู่ในขอบเขตที่ราคาถูกลงตามความเหมาะสม จึงคิดวิธีที่จะนำกระดาษมาใช้ในการตกแต่งผนังแทน ซึ่งมีหลักฐานการนำกระดาษไปใช้ตกแต่งผนังตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยในช่วงแรกนั้น เป็นการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษขนาดเล็ก ประมาณ 30×36 เซนติเมตร ซึ่งมักเป็นกระดาษที่เหลือใช้จากการพิมพ์วรรณกรรมที่ผิดพลาด โดยเป็นการพิมพ์แบบขาวดำ โดยใช้แม่แบบไม้กับหมึกคาร์บอน และ มีลวดลายที่นิยม เช่น ลายตาราง หรือโดมิโน โดยนิยมใช้ตกแต่ง หีบ ตู้ หรือกล่อง และเมื่อนำมาใช้กับผนังก็จะนำกระดาษดังกล่าวไปติดกับผ้าใบข้างหลัง แล้วตอกตะปูติดกับผนัง อีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกันกับที่ใช้ติดตั้งผ้าประดับผนังตั้งแต่ในอดีต
 
ในศตวรรษที่ 17 ผู้คนนิยมใช้วอลเปเปอร์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษแผ่นเล็ก โดยคาดไม่ถึงว่ามันจะทำให้ผนังสวยงามได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่การนำไปใช้งานนั้น ยังค่อนข้างลำบาก และให้ความทนทานน้อยมีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนัก ผู้คนจึงคิดค้นวิธีการผลิต และพัฒนาวอลเปเปอร์ให้ใช้งานได้ง่าย และทนทานมากขึ้นจนสามารถทำเป็นม้วนกระดาษขนาดยาวต่อเนื่องกันได้ 10.5 เมตร เป็นครั้งแรก (เป็นความยาวของขนาดม้วนมาตรฐานมาจนถึงปัจจุบัน) จึงทำให้ วอลเปเปอร์กลายเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และสามารถเรียกได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากขึ้นว่า เป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ของผู้คน แทนการประดับตกแต่งผนังด้วยพื้นผ้าที่มีราคาสูงมาก โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือ กลุ่มชนชั้นกลางที่เป็นพ่อค้า ผู้ต้องการเสพสุนทรียะแบบชนชั้นสูงในราคาที่สามารถจ่ายได้
 
ในศตวรรษที่ 18 ได้เกิดจุดแปลงครั้งสำคัญขึ้น เมื่อเทคโนโลยีการผลิตทำให้เราสามารถพิมพ์ลวดลายที่มี ขนาดใหญ่ได้เกิน 30×36 เซนติเมตร จึงเกิดความยืดหยุ่นและความหลากหลายทางสุนทรียะเป็นอย่างมากและนั้นก็ทำให้ผู้คนหันกลับมาเลือกใช้วอลเปเปอร์ในฐานะที่มันเป็น “วอลเปเปอร์” ไม่ใช่วัสดุทำเลียนแบบลายผ้า?ลายไม้หรือลายหินอ่อนอีกต่อไป แล้วได้กลายเป็นสิ่งที่ชนชั้นสูงเริ่มให้ความสนใจและต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ ซึ่งแต่เดิมนั้นคนชั้นสูง มองว่าวอลเปเปอร์มีไว้สำหรับห้องคนรับใช้เท่านั้น โดยเฉพาะในเกาะอังกฤษที่เป็นผู้ครองตลาดหลักในช่วง ค.ศ.1770 สมเด็จพระราชินีแอนน์ (Queen Anne) ประกาศให้วอลเปเปอร์จัดเป็นผลิตภัณฑ์ ประเภทหรูหรา ฟุ่มเฟือยใน ค.ศ. 1772 และทำการจัดการเก็บภาษีกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาษีนำเข้า แต่มีการละเว้นภาษีในการส่งออก จึงไม่น่าแปลกใจที่วอลเปเปอร์ของชาวอังกฤษเป็นที่นิยมในระดับสากลได้อย่างรวดเร็ว หากแต่กระบวนการผลิตนั้นยังต้องการช่างฝีมือสูงในการทำซึ่งต้องใช้เวลาและความพิธีพิถันจากงานฝีมือสูง
 
ในปี ค.ศ.1839 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตไปอีกขั้น โดยมีการคิดค้นเครื่องพิมพ์ลายวอลเปเปอร์ขึ้นในประเทศอังกฤษ จึงทำให้สามารถ ผลิตวอลเปเปอร์ในปริมาณที่มากขึ้นได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และทำให้วอลเปเปอร์กลายเป็นข้าวของที่ผู้คนทั่วไปสามารถครอบครองได้อย่างแท้จริง และได้รับความนิยมไปทั่วโลกในเวลาต่อมา
 
วอลเปเปอร์ ทำมาจากอะไร...?
 
วอลเปเปอร์เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของกระดาษที่ผ่านกรรมวิธี และผสมผสานกับส่วนประกอบชนิดอื่นๆ เช่น ผ้า ยิปซั่ม โฟม กระดาษ ไวนิล พีวีซี จนไปถึงเส้นใยธรรมชาติ จนทำให้มีความเหนียวแน่น โดยมีการออกแบบสี หรือ ลวดลายใส่ลงบนแผ่นวอลเปเปอร์หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสไตล์ วอลเปเปอร์จึงกลายเป็นกระดาษคุณภาพสูงชนิดพิเศษที่เหมาะกับการนำไปใช้ในการตกแต่งได้ 
 
ซึ่งจัดเป็นวัสดุตกแต่งปิดผิวผนัง ที่สามารถติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว เสร็จได้ภายในวันเดียว เมื่อเทียบกับการตกแต่งผนังแบบอื่นๆที่ต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังมีความเหนียวทนทาน ใช้งานได้นานหลายปี และมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ด้วยรูปแบบของโทนสี และลวดลายที่มีอย่างมากมายในปัจจุบัน ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างความงดงาม และสร้างแรงบันดาลใจ จากการตกแต่งได้ในสไตล์ที่หลากหลายตามความต้องการอย่างไม่จำกัด 
 
Raw Material ส่วนประกอบของวัสดุที่ใช้ในการผลิตวอลเปเปอร์ (Wallpaper)​ ในปัจจุบันมีอยู่ 9 ประเภท และมีข้อดี - ข้อเสียของแต่ละประเภท ดังนี้
 
1. Duplex Wallpaper 
 
วอลเปเปอร์ชนิดกระดาษ เป็นวัสดุบุผนังที่ผลิตจากกระดาษพิมพ์ลายอย่างเดียว โดยไม่ได้เคลือบผิวหน้า หรือเพียงเคลือบมันบางๆ ที่ผิวหน้าเท่านั้น
 
ข้อดี - หาได้ง่าย ราคาไม่สูงมากนัก
 
ข้อเสีย - ลวดลายอาจจะดูไม่ค่อยมีมิติ ไม่เหมาะติดในห้องที่มีความชื้นหรือเปียก เพราะมีขีดจำกัดในด้านความทนทาน
 
2. Vinyl Wallpaper
 
วอลเปเปอร์ที่ใช้วัสดุบุผนังที่ผลิตจากกระดาษเคลือบผิวหน้า (Surface) ด้วยสารประเภทไวนิลพิมพ์สี และใช้การกดลาย (Emboss) เพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ในบางชนิดมีการทำรีจิสเตอร์ (Register) เพื่อเพิ่มมิติเส้นของลวดลายต่างๆ ให้กับวอลเปเปอร์ โดยมีลักษณะผิวหน้ามันและผิวแบบด้าน 
 
ข้อดี - ไวนิลจัดเป็นประเภทวอลเปเปอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ด้วยน้ำ ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นที่เกาะของฝุ่นละออง เหมาะกับการแต่งผนังห้องทั่วไป
 
ข้อเสีย - แต่เมื่อเวลาผ่านไป สี และลวดลายอาจจางเร็ว ถ้าหากเจอแสงแดดบ่อยๆ
 
3. Foam Wallcovering
 
เป็นวัสดุบุผนังชนิดหลังกระดาษ (Paper Back) เคลือบผิวหน้าด้วยสารพีวีซี (PVC) หรือโฟมพิมพ์สีแล้วทำการอบนูนเพื่อให้เป็นลวดลาย  เหมาะสำหรับติดตั้งในที่ ที่ไม่มีฝุ่นมาก เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน หรือ ห้องปรับอากาศ ฯลฯ  
 
ข้อดี - มีลวดลายที่ลึกเด่นชัด มีความหนานุ่ม และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย สามารถบดบัง ซ่อนเร้นความไม่เรียบร้อยของผนังได้ดี นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่าวอลเปเปอร์ประเภทอื่นจึงสามารถติดบนเพนดานได้อีกด้วย
 
ข้อเสีย - การนำไปติดเพดานนั้นมีข้อควรระวังเป็นพิเศษในเรื่องของความชื้นจากฝ้าเพดานด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากหยดน้ำจากความเย็นของช่องแอร์แบบฝังเพดาน หรือ หลังคารั่วแล้วน้ำหยดซึมลงเพดาน เป็นต้น แต่ถ้าหากฝ้าเพดานไม่มีปัญหาที่กล่าวมาก็จะสามารถติดตั้ง และใช้งานได้ยาวนาน
 
4. Textile Wallcovering
 
วัสดุบุผนังชนิดหลังกระดาษ (Paper Black) แล้วใช้เส้นใยธรรมชาติ หรือ ใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ไหม โพลีเอสเตอร์ ทอเป็นลวดลายบนกระดาษ
 
ข้อดี - มีลักษณะเด่นคือ จะมีเส้นสายที่ชัดเจน โดดเด่น สร้างความหรูหราให้กับผนังเป็นอย่างดี ส่วนมากวอลเปเปอร์ประเภทนี้จะเป็นแบบหน้ากว้าง
 
ข้อเสีย - การดูแลรักษาจะต้องระมัดระวังไม่ให้โดนฝุ่น และความชื้นเด็ดขาด เพราะทำมาจากเส้นใยธรรมชาติซึ่งมีความเปราะบางอยู่บ้างพอสมควร
 
5. Non-Woven Wallpaper
 
เป็นวอลเปเปอร์นวัตกรรมใหม่ที่ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลส โดยไม่ต้องใช้เยื่อไม้จากป่าสนในการทำวัตถุดิบ แต่เป็นเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม จึงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดยุโรป อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก
 
ข้อดี - มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายกว่ากระดาษทนทานมากกว่าในด้านความเหนียว ฉีกขาดยากสามารถระบายความชื้นได้ดีกว่ากระดาษ ลอกออกง่ายสำหรับการเปลี่ยนวอลเปเปอร์ (Repealable) ใหม่ และลดปริมาณการทำลายสิ่งแวดล้อม 
 
ข้อเสีย - อาจมีการลอก-หลุดในบริเวณรอยต่อ หรือ ขอบ ช่างผู้ติดตั้งต้องมีความประณีตในการเก็บรายละเอียด
 
6. Photo Wall
 
วอลเปเปอร์ชนิดภาพวิว คือกระดาษติดผนังที่พิมพ์เอาลวดลายหรือรูปภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติหรือภาพเขียน ภาพถ่าย โดยมีลักษณะเป็นภาพเดียวทั้งผนัง เช่น ภาพบรรยากาศเมือง ภาพวิวธรรมชาติ ภาพบุคคล เป็นต้น
 
ข้อดี - เรื่องราวของภาพมีความสวยงามต่อเนื่อง 
 
ข้อเสีย - ต้องมีการเตรียมพื้นที่ และวัดขนาดที่แน่นอน เพราะถ้าหากไม่เตรียมพื้นที่อาจทำให้เมื่อติดตั้งไปแล้ว ภาพจะขาดๆเกินๆไม่สวยงาม
 
7. Fiber Wall 
 
ไฟเบอร์ เป็นวัสดุบุผนังที่แตกต่างจากวอลเปเปอร์ทั่วไปคือ ผลิตจากวัสดุแผ่น ที่เป็นแผ่นยิปซัมรีดบาง แล้วเคลือบผิวหน้าด้วยการใช้เส้นใยไฟเบอร์มาถักเป็นโครงสร้างเส้นใย (NET) แล้วทำการพิมพ์สีลวดลายให้สวยงาม 
 
ข้อดี -  Backing ที่เป็นยิปซัม สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ดี อีกทั้งโครงข่าย (NET) ของไฟเบอร์ที่มีความเหนียว ยึดผนังไว้เป็นอย่างดี ช่วยผนังให้ไม่เกิดรอยร้าว และป้องกันรอยแยกได้ในระดับหนึ่ง
 
ข้อเสีย - อาจเกิดรอยลอก ล่อน ที่สี หรือพื้นผิวผนังเดิมเมื่อทำการลอกออก
 
8. Wood Backing Wallpaper
 
ผิวหน้าเป็นไม้จริง โดยการใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ เช่น ไม้คอร์ก ไม้ไผ่ มาทำลามิเนตกับกระดาษหนังไก่ ไม่มีการเคลือบผิวหน้าเหมือนประเภทอื่นๆ
 
ข้อดี - ให้ความสวยงาม และผิวสัมผัสแบบธรรมชาติ 
 
ข้อเสีย - ต้องระวังเรื่องความชื้น 
 
9. Fabric Backing Wallpaper
 
ใช้วัสดุสิ่งทอเป็นด้านหลังแทนกระดาษ และเคลือบผิวหน้าด้วยสารพีวีซี (PVC)
 
ข้อดี - มีความทนทาน ป้องกันการกระแทกได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่มีการใช้งานมาก
 
ข้อเสีย - ต้องระวังเรื่องความชื้น 
 


   โทร 098-9741465 ติดต่อเสี่ยบุญ 



Engine by shopup.com