9463705

แผงโซล่าเซลล์ราคาถูกอำเภอท่าตะเกียบ โทร 094-5425245

หมวดหมู่สินค้า: rtd58 โซล่าเซลล์

07 เมษายน 2565

ผู้ชม 100 ผู้ชม



ร้านโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบติดตั้งปั๊มน้ำ โซล่าเซลล์ซับเมิส ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
โซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 

โซล่าเซลล์ราคาอำเภอท่าตะเกียบ 
แผงโซล่าเซลล์ราคาถูกอำเภอท่าตะเกียบ 
ขายส่งแผงโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ระบบโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ราคาโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
โซล่าเซลล์ซับเมิสอำเภอท่าตะเกียบ 
ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 

                                    ติดต่อสอบถาม

จำหน่ายโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ โซลาร์เซลล์ Solarcell แผงโซล่าเซลล์ ขายโซล่าเซลล์ อุปกรณ์โซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำแบบแช่โซล่าเซลส์ ผลงานของเรา

จำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ราคาส่ง ให้เราได้เสนอราคาท่าน

ติดตั้งโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน 
จำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ ราคาโรงงานทั้งปลีกส่ง



ช่างติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ  อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ราคาถูก คุณภาพมาตรฐาน  ผลงานติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร
ผลงานของเรา

พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นชาร์จเจอร์ อินเวอร์เตอร์
แผงโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
แผงโซล่าเซลล์ราคาอำเภอท่าตะเกียบ 
ราคาแผงโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
โคมไฟโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
อินเวอร์เตอร์อำเภอท่าตะเกียบ 
ไฟโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ติดตั้งโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ปั๊มน้ําโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 
ขายโซล่าเซลล์อำเภอท่าตะเกียบ 


ติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มทุน
 
ย้อนไปสักสิบปีก่อนอาจยังไม่ค่อยได้เห็นบ้านไหนในเมืองไทยติดตั้ง หลังคาโซล่าเซลล์ เท่าไรนัก อาจเนื่องด้วยต้นทุนที่สูง หรือการคืนทุนที่ไม่คุ้มเท่าไหร่กับเงินที่เสียไป แต่ปัจจุบันทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชากรหันมาสนใจมากขึ้นด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ บวกกับกระแสรักษ์โลกที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาด จนหลายๆ บ้านเริ่มมีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแพร่หลายมากกว่าเมื่อก่อน
 
แต่การติดตั้ง ‘ หลังคาโซล่าเซลล์ ’ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเรียกช่างมาแล้วจบเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ช่างเฉพาะทางและเราต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อความคุ้มค่าที่จะได้รับกลับคืนมา ครั้งนี้เราจึงมีข้อควรรู้ไว้ก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์มาให้ศึกษากันอย่างละเอียดก่อน
 
ทำความรู้จักโซลาร์เซลล์กันก่อน
หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่รับมาจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน  ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านและการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
 
ระบบออนกริด (On-Grid System)
ระบบที่ต่อเชื่อมสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ
 
ระบบไฮบริด (Hybrid)
ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานไดh
 
ระบบออฟกริด (Off-Grid System)
ระบบนี้การทำงานจะเหมือนกับ ‘ออนกริด’ และ ‘ไฮบริด’ คือจะรับพลังงานมาเข้าอินเวอร์เตอร์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟากระแสสลับมาใช้งานในบ้าน รวมถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าชาร์ตในแบตเตอรี่ด้วย แต่ข้อแตกต่างอยู่ตรงไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งจะไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ระบบนี้จึงเหมาะมากกับบ้านที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง
 
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง
แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic/PV) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยก่อนจะตัดสินใจเลือกขนาดของแผงต้องทราบก่อนว่าเราต้องการผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด และต้องใช้ขนาดกำลังวัตต์ไหนจึงจะเหมาะสม ซึ่งมีจำหน่ายตั้งแต่ขนาด 10-285 วัตต์ แต่ควรเลือกแผงโวลาร์เซลล์ให้มีกำลังไฟมากกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซนต์ รวมถึงอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จะอยู่ที่ 25 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานถึง 10 ปี ประสิทธิภาพการผลิตไฟก็จะลดลงไปตาม ดังนั้นก่อนจะเลือกต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ตรงนี้ก่อน
 
แผงโซลาร์เซลล์มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด
 
โมโน โซลาร์เซลล์ (Mono Solar Cell) ทำมาจาก Silicon ที่มีความบริสุทธิสูง มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าแผงชนิดอื่นๆ แม้อยู่ในภาวะแสงแดดน้อย มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดถึง 25 ปี
โพลีโซลาร์เซลล์ (Poly Solar Cell) ทำมาจากผลึก Silicon เหมือนกัน แต่ขั้นตอนการผลิตแตกต่างกัน มีคุณสมบัติในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีน้อยกว่าแผงแบบโมโน มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี
อะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ (Amorphous Solar Cell) เป็นการนำเอาสารที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาฉาบเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ เป็นแผงที่มีราคาถูกที่สุด แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าและอายุการใช้งานนะน้อยกว่าชนิดอื่นๆ
 
เครื่องแปลงไฟ (Inverter) อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนกระไฟฟ้า ควรเลือกกำลังวัตต์ให้มากกว่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมดในบ้านประมาณ 30-40 % ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ Off grid inverter และ On grid inverter
 
แบตเตอรี่ (Battery) อุปกรณ์สำหรับเก็บไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดคือ แบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) มีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง โดยที่ไม่เกิดความเสียหายกับแบตเตอรี่
 
เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ (Solar control charger) ทำหน้าที่คุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องควบคุมชาร์จที่ดีจะสามารถรีดพลังงานจากแสงแดดไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้มากที่สุด โดยราคามีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น
 
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Over Current Protection & Accessaries)
 
หลักในคำนึงพื้นที่การติดตั้ง
ในข้อนี้เราต้องศึกษาพื้นที่ในบ้านให้ดีเสียก่อน ว่าควรติดตั้งทิศทางและตำแหน่งไหน ซึ่งมีหลักง่ายๆ ไม่กี่ข้อให้เข้าใจกันเสียก่อน
 
ทิศทางแสงแดด – ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ที่มีอยู่ก็เหมือนไร้ค่าในทันที ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าทิศทางเหมาะสมที่สุดเป็นทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ที่ได้ปริมาณแสงแรงสุด แต่ทิศทางตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุใดๆ มาบดบังแสงด้วย รวมถึงองศาความลาดชันควรประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด
 
ตำแหน่งการติดตั้งแผง – ปกติแล้วหลายๆ บ้านก็นิยมติดอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีสุดในการกระทบกับแสงอาทิตย์ แต่ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงหลังคาเสียก่อน ว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการไฟฟ้าให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีควรเผื่อพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 % ของพื้นที่ที่จะติดตั้ง
 
ติดตั้งเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน
ใครๆ ก็บอกติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มอยู่แล้วในระยะยาว แต่เราต้องมาคำนึงถึงการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อนว่าควรติดตั้งเท่าไหร่ดีจึงจะพอดีกับการใช้งานในครัวเรือน ซึ่งเรามาเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อน ตามขั้นตอนตามนี้
 
การคำนวณค่าไฟเราจะคำนวณจากหน่วยไฟฟ้าเป็น ‘กิโลวัตต์’ ซึ่งขนาดแผงโซลาร์เซลล์ สมมติว่า ‘1 แผง มีขนาดเท่ากับ 120*60 เซนติเมตร มีพื้นที่เท่ากับ 0.72 ตร.ม. มีกำลังผลิตแผงละ 102 วัตต์’ ดังนั้นหากต้องการผลิตให้ได้ 1 กิโลวัตต์ ต้องใช้ 10 แผงในการติดตั้ง กินพื้นที่บนหลังคาเท่ากับ 7.2 ตร.ม.
จากนั้นมาดูปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนของเราว่าใช้เดือนละกี่หน่วย(KW-h) สมมติ ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย (เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือน 10,000 บาท)
ให้จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน ในช่วงเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. และเย็น 17.00 น. ทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันก็จะได้ค่าจำนวนหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 ยกตัวอย่างเช่น 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันประมาณ 47.5 หน่วย
ใน 1 วันมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชม. เราก็ต้องนำ 47.5 หน่วย หาร 5 ได้เท่ากับ 9.5 กิโลวัตต์ ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมและคุ้มทุนที่สุด โดยจำนวนแผงที่จะติดตั้งต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง
คำนวณจุดคุ้มทุนอย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.solarhub.co.th/solar-solutions/residential-solar/331-2016-04-16-15-50-18
 
ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมกับค่าใช้จ่ายอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องนำมาใช้ในการติดตั้งทั้ง สายไฟฟ้า / ท่อร้อยสาย / กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ / AC Breaker / Combiner Box และอื่นๆ  อีกมากมาย ซึ่งรวมแล้วจะประมาณ 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพที่ใช้งาน แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม?  ต้องลองคำนวณในแบบข้างกับผลระยะยาว เพราะบ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนานครับ
 
Engine by shopup.com