7754199

โซล่าเซลล์ราคาอำเภอเขาชะเมา โทร 094-5425245

หมวดหมู่สินค้า: rtd58 โซล่าเซลล์

07 เมษายน 2565

ผู้ชม 129 ผู้ชม




ร้านโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมาติดตั้งปั๊มน้ำ โซล่าเซลล์ซับเมิส ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
โซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 

โซล่าเซลล์ราคาอำเภอเขาชะเมา 
แผงโซล่าเซลล์ราคาถูกอำเภอเขาชะเมา 
ขายส่งแผงโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ระบบโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ราคาโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
โซล่าเซลล์ซับเมิสอำเภอเขาชะเมา 
ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 

                                    ติดต่อสอบถาม

จำหน่ายโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา โซลาร์เซลล์ Solarcell แผงโซล่าเซลล์ ขายโซล่าเซลล์ อุปกรณ์โซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำแบบแช่โซล่าเซลส์ ผลงานของเรา

จำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ราคาส่ง ให้เราได้เสนอราคาท่าน

ติดตั้งโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน 
จำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ ราคาโรงงานทั้งปลีกส่ง



ช่างติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา  อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ราคาถูก คุณภาพมาตรฐาน  ผลงานติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร
ผลงานของเรา

พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นชาร์จเจอร์ อินเวอร์เตอร์
แผงโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
แผงโซล่าเซลล์ราคาอำเภอเขาชะเมา 
ราคาแผงโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
โคมไฟโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
อินเวอร์เตอร์อำเภอเขาชะเมา 
ไฟโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ติดตั้งโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ปั๊มน้ําโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 
ขายโซล่าเซลล์อำเภอเขาชะเมา 


จะตรวจสอบยังไงว่า บ้านเราติดโซล่าเซลล์ แล้วคุ้มค่า แล้วควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ?
 
 ที่ผ่านมาทีมงานโซล่าฮับ ได้รับคำถามจากท่านลูกค้าจำนวนมากว่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆอย่างเช่น ที่บ้านใช้แอร์ 3 เครื่อง ใช้พัดลม 3 ตัว ตู้เย็น 2เครื่อง เครื่องซักผ้า1เครื่อง TV 3 เครื่อง.... และอื่นๆอีกมากมาย จะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ไหม ต้องติดขนาดเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่ ? เป็นต้น จากคำถามข้างต้น ทางทีมงานโซล่าฮับขออธิบายแบบง่ายๆดังนี้
 
           ปัจจุบันมีเทคโนโลยี ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ที่ส่งไฟมาที่บ้านเรา (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายเรียกว่า กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ) ดังนั้นเมื่อเราผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้ อุปกรณ์ กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ก็จะทำการเลือกใช้ไฟที่มาจากโซล่าเซลล์ก่อน ถ้ายังไม่พอจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรา จึงไปดึงไฟจากการไฟฟ้าฯมาใช้งาน ดังนั้นเราจึงเสียค่าไฟฟ้าเฉพาะในส่วนที่เราดึงไฟจากการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งก็ทำให้เราประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ แต่ทั้งนี้เมื่อเราผลิตไฟได้แล้วต้องนำมาใช้งานเลย ( จริงๆก็เก็บได้แหละครับ แต่อุปกรณ์ที่เก็บได้คือแบตเตอรี่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ราคายังสูงอยู่ และอายุการใช้งานสั้น ) ดังนั้นเราจึงต้องเน้นว่าผู้ที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องใช้ไฟตอนกลางวันมากๆเท่านั้น จึงจะเหมาะสมและถึงจุดคุ้มทุนเร็ว
 
          ทั้งนี้หากสนใจติดตั้งโซล่าเซลล์ ท่านจึงไม่ต้องไปสนใจว่าที่บ้านใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไร อย่างไร เท่าไหร่ ให้สนใจแค่ว่าที่บ้านท่านใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน เท่าไหร่ หรือกี่หน่วยก็เพียงพอแล้ว เพราะถ้าโซล่าเซลล์ผลิตไฟไม่พอใช้ ตัวกริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ก็จะไปดึงไฟจากการไฟฟ้ามาเองโดยอัตโนมัติครับ
 
          ทีมงานโซล่าฮับ จึงขอแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าเราควรติดโซล่าเซลล์ และควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ดังนี้
 
1. อันดับแรกให้ดูที่บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนว่าใช้ไฟฟ้า เดือนละกี่หน่วย (KW-h) เช่น ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย ( เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือนละ 10,000 บาท ) ก็เฉลี่ยแล้วใช้ไฟวันละ 67 หน่วย ( 2,000 หาร 30
 
2. ต่อมาให้ไปจดเลขมิเตอร์ 2ครั้งใน1วัน คือในช่วงเช้าเวลาสัก 6.00 น. และ เย็น เวลา 18.00 น. แล้วนำค่าที่ได้มาลบกัน ก็จะได้ ค่าจำนวนหน่วย ที่ใช้ในเวลากลางวัน ทั้งนี้ขอแนะนำว่า ให้ลองสุ่มวัดค่าดังกล่าว สัก 3-5 วัน แล้วนำมาหาเป็นค่าเฉลี่ย ที่ใช้ไฟในแต่ละวัน
 
3. สมมุติว่าเราได้ทำการ จดมิเตอร์มา 4วัน ได้ค่าดังนี้ 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้ากลางวันประมาณ 47.5 หน่วย โดยในประเทศไทยเฉลี่ยแล้วใน 1วัน มีแสงอาทิตย์ ที่ผลิตได้ประมาณ 5 ช.ม./วัน จากนั้นนำ 47.5 / 4 = 11.87 ซึ่งก็จะได้ขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ในกรณีนี้คือ ติดตั้งขนาดประมาณ 10 KW ( เนื่องจากเราต้องดูขนาดของแผงโซล่าเซลล์ และขนาดอินเวอร์เตอร์ ที่มีขาย ประกอบการพิจารณาด้วย ) ก็จะถึงจุดคุ้มทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดระยะเวลาจุดคุ้มทุนได้ที่นี่ แต่ถ้าหากเราติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาดที่มากกว่ากำลังงานที่ใช้ในเวลากลางวัน พลังงานไฟฟ้าที่เกินก็จะใหลคืนไปยังระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯโดยทีเราไม่ได้ประโยชน์ในส่วนนี้ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วผลิตออกมา เราใช้ไม่หมดหรือไม่ได้ใช้ จะเป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร?
 
4. แต่หากกรณีที่ จดเลขมิเตอร์และทำการหาค่าเฉลี่ยใช้ไฟในเวลากลางวันแล้วต่ำกว่า 15 หน่วย/วัน อาจต้องใช้เวลาเกิน 10 ปีจึงจะคืนทุนค่าติดตั้ง แต่ก็สามารถจะติดตั้งโซล่าเซลล์ได้เนื่องจากอายุการใช้งานของระบบประมาณ 25 ปี ทั้งนี้ถ้าใช้ไฟวันละ 15 หน่วย ก็ติดตั้งขนาด 3 KW ใช้ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 8-9 ปี
 
อุปกรณ์โซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน นานเท่าใด?
ขอกล่าวถึงอายุการใช้งานและการรับประกันของ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้
 
1.แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผง PV ย่อมาจาก PhotoVoltaic หรือ solar panel (ในวงการฯเค้าเรียกชื่อกันหลายอย่างครับ เลยขอเอ่ยไว้หน่อย เผื่อท่านไปได้ยินมาจะได้ไม่งง ว่ามันคือไรหว่า) ส่วนใหญ่แผง PV ประสิทธิภาพในปีแรกเมื่อติดตั้ง จะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากมีผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์ ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม และหลังจากนั้น ปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละประมาณ 0.7 % ดด้านล่างนี้เป็นตารางแสดงรายละเอียด การลดลงของประสิทธิภาพแบบคร่าวๆ
 
ซึ่งหลังจาก 25 แล้วระบบก็ยังใช้งานได้ต่อไป เพียงแต่ประสิทธิภาพลดลงเท่านั้น
 
 การรับประกันของแผงก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ บางยี่ห้อ 10 ปี บางยี่ห้อ 25 ปี
 
2.อินเวอร์เตอร์ การรับประกันส่วนใหญ่จะ รับประกันที่ 5 ปี และบางยี่ห้อมีอ็อปชั่นเสริมที่ซื้อประกันเพิ่มเป็น 10 ปี
 
3.การรับประกันการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับผุูรับเหมาติดตั้ง มีตั้งแต่ 6 เดือน , 1 ปี  หรือ 2 ปี หรือมากกว่านี้ ซึ่งบางรายก็อาจจะการให้บริการหลังการติดตั้งโดยเข้าทำความสะอาดแผง และเช็คระบบฯ 3 เดือนครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง เป็นต้น
 
เงินลงทุน และระยะเวลาการคืนทุนนานเท่าใด?
ปัจจุบัน (เม.ย.59) ราคาของอุปกรณ์โซล่าเซลล์ลดลงมาพอสมควร จนถึงจุดที่เมื่อลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า แล้วระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 5-9 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ประเภท และขนาดที่จะติดตั้ง กล่าวคือถ้ายิ่งติดตั้งขนาดกำลังวัตต์ ที่มากขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนติดตั้งต่อวัตต์ ต่ำลง โดยประมาณการแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย
 
ที่ติดตั้งไม่เกิน 10 KW รวมทั้งค่าอุปกรณ์และค่าแรงติดตั้งแล้วอยู่ที่ 50-90 บาท/W ดังนั้นถ้าติดตั้ง 10 KW ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000 – 900,000 บาท ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์คุณภาพระดับใด สามารถดูรายละเอียดตามประมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด บนหลังคา เชื่อมกับระบบจำหน่ายฯ สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Solar RoofTop OnGrid)
 
บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมราคาค่าติดตั้งจึงมีความแตกต่างกันมากระหว่าง 50-90 บาท/W ขออธิบายดังนี้คือในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ นั้นไม่ได้มีแค่แผงโซล่าเซลล์อย่างเดียวที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ต้องมีอุปกรณ์ประกอบอย่างอื่นอีกที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า และก็มีคำถามอีกมากมายสำหรับอุปกรณ์ประกอบที่จะนำมาใช้งานว่าจะใช้อุปกรณ์เกรดไหนดี อาทิ เช่น
 
1.แผงโซล่าเซลล์ (Photovoltaics : PV )  >> ใช้เกรดไหน , คุณภาพและผลงานที่ผ่านมา , อยู่ tierไหน, ได้ มอก.หรือไม่ , ผลิตจากประเทศไหน , ได้กำลังวัตต์เต็มตามสเป็คหรือไม่ ...?
 
2.กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) >>  ใช้เกรดไหน , คุณภาพและผลงานที่ผ่านมา , ผ่านการรับรองจาก กฟน. กฟภ.หรือยัง , ผลิตจากประเทศไหน , ทนร้อนทนฝนได้ไหม , มีระบบมอนิเตอร์ไหม ...?
 
3.สายไฟฟ้า >> ใช้สาย PV cable ,XLPE cable,THW ถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ ,  ขนาดสายถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ ...?
 
4.ท่อร้อยสาย หรือ WireWay หรือ Ladder หรือ >> ในอาคารใช้ท่อร้อยสายประเภทไหนเป็นPVC หรือเหล็ก , นอกอาคารใช้ท่อร้อยสายประเภทไหนเป็นPVC หรือเหล็ก , ใช้ wireway หรือ Ladder , ชุบกัลวาไนซ์ หรือไม่ ...?
 
5.Combiner Box (DC Box)  ...?
 
6.AC Breaker  ...?
 
 7.ระบบ Earth Protection  ...?
 
8.ระบบ Ground  ...?
 
9.อุปกรณ์จับยึดแผง Solar Panels และ หัวคอนเน็คเตอร์ MC4  ...?
 
10.บันไดปีนขึ้นหลังคาสำหรับล้างแผง* ...?
 
11.ราวกันตก หรือ Life Line*  ...?
 
12.ปั๊มน้ำสำหรับล้างแผง*  ...?
 
13.ระบบมอนิเตอร์ระบบ*  ...?
 
14.Fireman Safety Switch (FSW)*
 
ซึ่งจากรายการอุปกรณ์แต่ละรายการข้างต้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาหรือช่างติดตั้งหรือผู้ใช้งานแต่ละรายจะเลือกใช้ เพราะอุปกรณ์แต่ละอย่างก็มีมากมายหลากหลายประเภท และหลากหลายคุณภาพที่จะเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับราคาหรืองบประมาณ และสำหรับอุปกรณ์ในรายการที่ 10 – 15 อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้เป็นอ็อปชั่นเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานและบำรุงรักษาระบบฯ
 
ทั้งนี้หากท่านคิดจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ก็ขอให้คำนึงถึงสิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือเรื่องความปลอดภัย จะคำนึงถึงว่าให้ราคาต่ำอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ท่านคงต้องพินิจพิจารณาในรายละเอียดของอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่าและปลอดภัยหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อเราติดตั้งแล้วอุปกรณ์ฯ ต้องอยู่กับบ้านเราเป็นอย่างน้อย 20 ปี ทางทีมงานโซล่าฮับจึงขอแนะนำให้อ่านบทความเรื่องความปลอดภัย ที่ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ และในโอกาสต่อไปก็จะแนะนำวิธีการเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละอย่าง ให้เหมาะสมและปลอดภัยอย่างละเอียด
 
 
Engine by shopup.com