9372930

ขายส่งแผงโซล่าเซลล์เขตบางบอน โทร 094-5425245

หมวดหมู่สินค้า: rtd58 โซล่าเซลล์

07 เมษายน 2565

ผู้ชม 135 ผู้ชม


ร้านโซล่าเซลล์เขตบางบอนติดตั้งปั๊มน้ำ โซล่าเซลล์ซับเมิส ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
โซล่าเซลล์เขตบางบอน 

โซล่าเซลล์ราคาเขตบางบอน 
แผงโซล่าเซลล์ราคาถูกเขตบางบอน 
ขายส่งแผงโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ระบบโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ราคาโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
โซล่าเซลล์ซับเมิสเขตบางบอน 
ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์เขตบางบอน 

                                    ติดต่อสอบถาม

จำหน่ายโซล่าเซลล์เขตบางบอน โซลาร์เซลล์ Solarcell แผงโซล่าเซลล์ ขายโซล่าเซลล์ อุปกรณ์โซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำแบบแช่โซล่าเซลส์ ผลงานของเรา

จำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ราคาส่ง ให้เราได้เสนอราคาท่าน

ติดตั้งโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน 
จำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ ราคาโรงงานทั้งปลีกส่ง



ช่างติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เขตบางบอน  อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ราคาถูก คุณภาพมาตรฐาน  ผลงานติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร
ผลงานของเรา

พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นชาร์จเจอร์ อินเวอร์เตอร์
แผงโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
แผงโซล่าเซลล์ราคาเขตบางบอน 
ราคาแผงโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
โคมไฟโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
อินเวอร์เตอร์เขตบางบอน 
ไฟโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ติดตั้งโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ปั๊มน้ําโซล่าเซลล์เขตบางบอน 
ขายโซล่าเซลล์เขตบางบอน 


7 ข้อต้องรู้ในการติดตั้ง “Solar Rooftop”
 
ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง มากที่สุดก็คือการสวมหน้าอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน รองลงมาก็คงเป็นการใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนจนมีกระแสของ Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะที่จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น และหนึ่งในความ Smart Home นั้นก็คือบ้านที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หนึ่งในนั้นคือบ้านที่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเรือน หรือที่เราเรียกว่า โซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop)
 
แน่นอนว่าความต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเรือนนั้นมีมาก่อนหน้าที่เราจะต้องกักตัวอยู่กับบ้าน แต่เมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้เราต้องใช้ไฟอยู่กับบ้านมากขึ้น ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายมากขึ้น จากที่ไม่เคยใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันเลยก็ต้องใช้มากขึ้น การติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็ดูจะเป็นหนึ่งในวิถีใหม่ที่ดีกว่าเดิมเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว รวมทั้งยังได้ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมๆกันอีกด้วย
 
เราจึงรวบรวม 7 ขั้นตอนต้องรู้ในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อให้ทุกคนที่อยากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เข้าใจขั้นตอนก่อนการติดตั้งแผงให้มากขึ้น 
 
1.เช็คพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในบ้านด้วย บิลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 3 เดือน – 1 ปี
ก่อนจะหาสเปคแผงโซลาร์เซลล์ หรือคิดว่าบ้านเราจะต้องติดตั้งกี่แผงดี? หยุดความคิดนั้นก่อน เพราะสิ่งที่ต้องทำอันดับหนึ่งคือต้องคำนวนว่าบ้านเราใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน ด้วยการดูบิลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 3 เดือน – 1 ปี เพราะพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเราจะเป็นเหมือนแนวทางให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าเราจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังผลิตเท่าไร
 
2.สำรวจปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งกลางวันและกลางคืน
ลองดูว่าปริมาณที่เราใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันมากน้อยแค่ไหน เอามาเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน เราจะได้เห็นว่าถ้าเราจะสามารถลดค่าไฟฟ้าช่วงกลางวันไปได้เท่าไรหากติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป
 
3.เช็คค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขอเปรียบเทียบกับข้อมูล ดังนี้ หากเราต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังติดตั้ง 1,000 วัตต์ จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 25,000 บาท ถึง 35,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมทุกๆอย่างแล้วทั้ง ค่าบริการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตติดตั้ง ทั้งนี้ การติดตั้ง 1,000 วัตต์หรือ 1 กิโลวัตต์ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 500-800 บาทต่อเดือน
 
4.สำรวจพื้นที่สำหรับติดตั้งและการยื่นเรื่องขออนุญาตติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
เมื่อเราสำรวจการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเลือกปริมาณในการผลิตแล้ว ให้เราแจ้งขออนุญาตติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เขตโยธาท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่ ทางเขตโยธาจะส่งวิศวกรมาสำรวจหลังคาบ้านของเราว่ามีความพร้อมติดตั้งหรือไม่ หรือจะต้องซ่อมแซมหลังคา หรือต้องเพิ่มเติมอะไรเพื่อให้ติดตั้งแผงได้โดยปลอดภัย หลังจากเช็คความพร้อมของหลังคาบ้านแล้ว เราจะต้องทำเรื่องขออนุญาตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ในเขตพื้นที่ที่บ้านเราตั้งอยู่โดยส่งแบบแปลน 2 แบบไปให้การไฟฟ้าฯพิจารณา แบบที่1 เรียกว่า “ส่งแบบ Single Line Diagram” เป็นแปลนระบบไฟฟ้า และ 2 เป็นแปลนอินเวอร์เตอร์
 
5.ยื่นเรื่องกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
เมื่อเราได้รับการพิจารณาจากเขตโยธาท้องถิ่น และการไฟฟ้าฯเรียบร้อยแล้ว ให้เรานำเอกสารที่ได้รับมายื่นเรื่องต่อไปที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับเรื่องและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตการประกอบกิจการ พลังงานตามประเภท ขนาดและลักษณะของกิจการพลังงาน ตลอดจน ตรวจสอบการและสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการออกใบอนุญาตทั้งก่อนและหลังในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ กกพ.จะพิจารณาว่าเราสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่
 
6.เริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์ 
ขั้นตอนที่ 6 นี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเราจะต้องเริ่มขึ้นหลังคาแล้ว โดยเราจะต้องเตรียมตัวดังนี้
 
เลือกทีมช่างที่มีความชำนาญการ เลือกใช้บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีประวัติการติดตั้งและเคยรับงานมากน้อยแค่ไหนเล็กใหญ่แค่ไหน
เลือกใช้อินเวอร์เตอร์ที่มีคุณภาพ
เลือกแผงโซลาร์เซลล์และรุ่นของแผงที่เหมาะสม
เมื่อช่างมาติดตั้ง เราจะต้องเช็คว่าสิ่งที่ช่างแนะนำก่อนหน้านี้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดจริงตรงกันหรือไม่ อย่างไรก็ดียังไม่ต้องกังวลไป เพราะจะมีวิศวกรจากโยธาเขตท้องถิ่นมาตรวจเช็คอีกครั้งว่าอุปกรณ์ได้มาตรฐานหรือไม่
 
7.การใช้งาน การดูแลรักษา และการรีไซเคิล
เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ ก็เป็นหน้าที่ของเราเจ้าของบ้านที่จะเป็นคนดูแลรักษา เบื้องต้นคือการล้างแผงโซลาร์เซลล์ไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกมาเกาะเพราะจะลดประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์เพียงแค่ใช้น้ำสะอาดฉีดล้างและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง แผงโซลาร์เซลล์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับบ้านเรานานประมาณ 25 ปีโดยมาตรฐาน  (หากดูแลรักษาดีสามารถใช้งานนานถึง 30 ปี) เมื่อแผงโซลาร์หมดอายุการใช้งานแล้วก็จะต้องนำแผงเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแผงโซลาร์ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีนำร่องที่สามารถรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ได้แล้ว
 
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราต้องรู้ก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อย่างไรก็ดีแม้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันนั้นเราสามารถเข้าถึงง่ายขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกลง แต่ประชาชนเองยังต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่าย หรือผู้มีรายได้น้อยก็ยังไม่สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ด้วยการลงทุนของตนเอง รวมทั้งยังต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพราะคงยังพึ่งพากระแสไฟฟ้าทั้งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิลขนาดใหญ่อีกด้วย 
 
กรีนพีซประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองทุนแสงอาทิตย์และมูลนิธินโยบายสุขภาวะจเสนอข้อเสนอการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยด้วยการ “ปฏิวัติพลังงาน 1 ล้านหลังคาเรือน ภายใน 3 ปี” นั่นคือการเอางบประมาณตามกรอบการใช้เงินเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19ของประเทศมาพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์เข้ามาติดตั้งบนหลังคาครัวเรือน โรงเรียน และโรงพยาบาล โดยตั้งเป้าว่าพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยไปพร้อม ๆ กับการชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อเรา 
 
กรีนพีซจึงรณรงค์ร่วมผลักดันรัฐบาลนำงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหลังสถานการณ์โควิด-19ให้เป็นธรรมและยั่งยืน โดยลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ครัวเรือน 1 ล้านหลัง โรงพยาบาล 8,170 แห่ง และโรงเรียน 31,021 แห่งทั่วประเทศภายในเวลา 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) ทั้งนี้ยังผลักดันมาตรการ Net Metering สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่และยั่งยืน
 
Engine by shopup.com