8014839

รับเหมาทำรั้วสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์  โทร 062-8794497

หมวดหมู่สินค้า: rtd54 งานรั้ว

06 เมษายน 2565

ผู้ชม 120 ผู้ชม


 
รับทำรั้วบ้าน รั้วสำเร็จรูป รั้วคอนกรีต รั้วปูน รั้วสแตนเลส ทำรั้วบ้าน ล้อมสวน รั้วคาวบอย รั้วไฟฟ้า รั้วกึ่งสปริง รั้วทนสนิม เสารั้ว ประตูรั้ว เครื่องมือติดตั้งรั้ว แบบรั้ว คุณภาพสูง
ประตูรั้วบ้านล้อมสวนซอยนวลจันทร์  
รับเหมาทำรั้วสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์  
ติดตั้งออแบบรั้วบ้านซอยนวลจันทร์  
ออกแบบรับเหมารั้วคอนกรีตซอยนวลจันทร์  
แบบประตูรั้วซอยนวลจันทร์  
ออกแบบรั้วฟาร์มซอยนวลจันทร์  
ช่างติดตั้งรั้วคาวบอยซอยนวลจันทร์  
รับทำกำแพงรั้วกั้นดินซอยนวลจันทร์  

                        ติดต่อสอบถาม 



บริการรับสร้างรั้วของเรามีดังต่อไปนี้
- รับทำรั้วบ้านซอยนวลจันทร์   สร้างรั้วบ้านซอยนวลจันทร์ คอนกรีตซอยนวลจันทร์   รั้วบ้านไม้ซอยนวลจันทร์  
- รับทำรั้วคาวบอยซอยนวลจันทร์   รับสร้างรั้วคาวบอยซอยนวลจันทร์   รับผลิตรั้วคาวบอยซอยนวลจันทร์  
- รั้วคาวบอย2ชั้นซอยนวลจันทร์ รั้วคาวบอย3ชั้นซอยนวลจันทร์   รั้วคาวบอย4ชั้นซอยนวลจันทร์   รั้วคาวบอประยุกต์ซอยนวลจันทร์  

- รับทำรั้วคอนกรีตสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์ รับสร้างรั้วคอนกรีตสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์  ผลงานของเรา

- รับทำรั้วสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์ รับสร้างรั้วสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์ รับผลิตรั้วสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์  
- รับทำรั้วกึ่งสำเร็จรูปซอยนวลจันทร์ รั้วกึ่งก่อสร้างซอยนวลจันทร์ รับทำรั้วลวดหนามซอยนวลจันทร์  
- รับทำกำแพงรั้วกั้นดินซอยนวลจันทร์ รับทำกำแพงรั้วกั้นน้ำ ผลงานของเรา
- รับทำรั้วฟาร์มซอยนวลจันทร์ รับทำรั้วสวนผลไม้ซอยนวลจันทร์ รับทำรั้วโรงงานซอยนวลจันทร์  
- รับทำกำแพงรั้วกั้นดินซอยนวลจันทร์ รับทำกำแพงรั้วกั้นน้ำ รับทำรั้วฟาร์มซอยนวลจันทร์  


โดยทั่วไปแล้วรูปทรงของรั้วบ้านมีลักษณะไม่ค่อยสมดุล จะเห็นได้ว่าขนาดความหนาของรั้วเมื่อเทียบกับความยาวมีความแตกต่างกันมาก ถ้ารั้วมีความสูงมาก โอกาสที่จะล้มเอียงก็ยิ่งมีมากตามไปด้วย และด้วยรูปทรงที่ไม่ค่อยสมดุลเช่นนี้ หากกำแพงรั้วมีความยาวมากและเป็นเส้นตรงแนวเดียวตลอดจะเกิดการล้มเอียงได้ง่าย
 
เปรียบเสมือนกับนำกระดาษหรือแบงก์ร้อย แบงก์พันใหม่ๆ มาจับตั้งจะเห็นว่าทำได้ยาก ต้องจับงอโค้งหรือพับให้มีมุมก่อน เมื่อตั้งใหม่จึงจะตั้งได้ ทำนองเดียวกันนี้กำแพงรั้วที่เป็นแนวตรงตลอดแนวและมีความยาวมากควรทำตัวยึดรั้งเป็นช่วงๆ เพื่อดึงหรือค้ำยันไม่ให้ล้มเอียง
 
เนื่องจากรั้วมีน้ำหนักไม่มากเมื่อเทียบกับตัวบ้าน โดยทั่วไปจึงมักจะเลือกใช้เสาเข็มสั้นรองรับฐานรากของรั้ว ความยาวเสาเข็มที่ใช้อยู่ในช่วงประมาณ 26 เมตร สำหรับพื้นที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
 
เสาเข็มที่มีความยาวเท่านี้ยังอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน ดินเหนียวอ่อนยุบตัวได้ง่ายกว่าดินเหนียวแข็งที่อยู่ล่างลึกลงไป และการยุบตัวจะเกิดจากน้ำหนักบรรทุกที่กดทับและเกิดจากน้ำในมวลดินที่ไหลหนีออกจนเกิดโพรงภายใน เมื่อดินเหนียวอ่อนยุบตัวเสาเข็มก็จะถูกดึงตามลงไปด้วย จึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับรั้วที่วางบนเสาเข็มสั้นจะเกิดการทรุดตัว
 
เมื่อตัดสินใจจะใช้เสาเข็มสั้นต้องทำใจไว้แต่แรกว่าต้องเกิดการทรุดตัว แต่จะทำอย่างไรให้เกิดการทรุดตัวไม่มาก ไม่แตกร้าวและไม่ล้มเอียง แนวทางง่ายๆสำหรับเรื่องนี้คือ
 
 - น้ำหนักของรั้วไม่ควรมากเกินไป เช่น ไม่ควรทำรั้วสูงเกินกว่า 2 เมตร วัสดุทำรั้วควรมีน้ำหนักเบาหรือเลือกทำรั้วแบบโปร่งแทน หากต้องการทำรั้วแบบทึบสูงและมีน้ำหนักมาก ควรเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มยาวที่มีกำลังรับน้ำหนักเพียงพอ และควรปรึกษาวิศวกรเกี่ยวกับขนาดและความยาวเสาเข็มที่จะใช้
 
 - ไม่ควรเกาะเกี่ยวส่วนของรั้วเข้ากับตัวบ้าน แม้แต่จะเป็นผนังหรือส่วนยื่นของผนังบ้านก็ไม่ควร เพราะการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันระหว่างฐานรากของบ้านกับฐานรากของรั้วจะทำให้เกิดการแตกร้าว รอยแตกร้าวจะเกิดได้ทั้งที่ผนังของบ้านและรั้ว
 
 - กรณีต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านข้างหรือด้านหลังไม่ควรใช้รั้วเป็นตัวรองรับส่วนที่ต่อเติม เพราะแรงดึงรั้งที่เกิดจากการทรุดตัวจะเป็นสาเหตุให้รั้วแตกร้าวและล้มเอียงได
 
 - รั้วที่มีแนวตรงและยาวมากควรทำตัวยึดรั้งเป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันการล้มเอียง ระยะห่างระหว่างตัวยึดรั้งไม่ควรเกินช่วงละ 3.00 เมตร เว้นแต่จะได้มีการคำนวณจากวิศวกรเป็นกรณีๆ ไป ตัวยึดรั้งประกอบด้วยเสาเข็มและคานหรือเหล็กใช้สำหรับดึงและยึดไม่ให้กำแพงล้มไปทางด้านนอก หรือด้านในที่รั้วนั้นกั้นแนวเขตพื้นที่อยู่
 
 - รั้วที่อยู่ริมบ่อ คลอง หรือขอบของพื้นดินที่ต่างระดับกันมากเกินกว่า 1 เมตร ควรทำตัวยึดรั้งเป็นอย่างยิ่ง และตำแหน่งเสาเข็มที่ใช้เป็นตัวยึดรั้งควรอยู่ห่างจากแนวเสาเข็มรั้วไม่น้อยกว่าระดับความลึกของท้องคลองหรือความต่างระดับของพื้นดิน ทั้งนี้เพื่อให้ตัวยึดรั้งอยู่พ้นแนวไหลเคลื่อนตัวของดิน ทำให้การดึงรั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
ท่านที่เคยมีประสบการณ์เรื่องรั้วบ้านล้มมาแล้วคงทราบดี ว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วการแก้ไขรั้วให้กลับตั้งตรงใหม่เป็นเรื่องยาก และเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก บางครั้งอาจแพงกว่ารื้อทิ้งสร้างใหม่ ปัญหาอีกอย่างคือถ้ารื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดิมอีก ลองใช้แนวทางที่แนะนำข้างต้นดูครับ...จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดเกี่ยวกับรั้วได้
 
บ้านหรือรั้ว สร้างอะไรก่อนดี? :
บ้านหรือรั้ว สร้างอะไรก่อนดี?
 
1. ห้ามสร้างกำแพงก่อนสร้างบ้าน
เหตผล  ที่คนโบราณท่านห้ามสร้างกำแพงบ้านก่อนสร้างตัวบ้าน ก็เพราะในระหว่างการก่อสร้างบ้าน จะต้องมีการขนส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือชิ้นใหญ่ๆ ที่ใช้สร้างบ้านเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างอยู่ตลอด ถ้าเราสร้างกำแพง สร้างรั้วบ้านขึ้นมาก่อน จะทำให้การขนส่งของพวกนี้เข้าพื้นที่จะไม่สะดวก ดีไม่ดี รถอาจจะขับไปชนกำแพง ชนรั้วเสียหายเอาได้ 
 
แต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยให้พื้นที่ก่อสร้างเปิดโล่งซะทีเดียว ควรจะมีรั้วหรือกำแพงชั่วคราวที่สามารถเปิดปิดได้ เช่นอาจจะทำเป็นรั้วสังกะสี หรือผ้าพลาสติกขึง ป้องกันฝุ่นละออง เศษวัสดุหรือเสียงจากการก่อสร้าง ไม่ให้ไปรบกวนอาคารข้างเคียงหรือคนที่สัญจรไปมาในบริเวณนั้น
 
2. ห้ามสร้างบ้านที่มีน้ำล้อมรอบ
เหตผล อย่างแรกคือ ถ้าออกแบบตัวบ้านให้สูงพ้นน้ำไม่มากพอ หน้าฝน ปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ น้ำจะไหลเข้าบ้านได้ กับเหตผลที่สอง ถ้าตัวบ้านไม่ทำเสาเข็มที่ยาวลงไปลึกถึงชั้นดินแข็ง  เสาอยู่แค่ชั้นดินเหลว มีโอกาสที่บ้านจะทรุดตัว เสียหายได้ ซึ่งการใช้เสาเข็มที่ยาวขึ้น และเป็นการปักลงไปในน้ำ เครื่องจักรที่ใช้อาจจะต้องมีความพิเศษมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างก็จะเพิ่มตามไปด้วย
 
3. ห้ามสร้างบ้านคร่อมบ่อน้ำหรือคร่อมตอไม้
เหตผล เนื่องจากบริเวณบ่อน้ำ หรือตอไม้เก่าส่วนมากแล้วจะเย็น เงียบอับ ทึบ สัตว์เลื้อยคลาน มดแมลง แมลงสาบ ปลวก ไปอาศัยอยู่ มีความชื้นสูง ทำให้พวกเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้ดี  ถ้าเราไปสร้างบ้านทับ สัตว์เลื้อยคลาน มดแมลง แมลงสาบ ปลวก หรือความชื้นที่อยู่ข้างล่างก็จะขึ้นมาถึงตัวบ้าน  ทำให้คนในบ้านไม่สบาย เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อย หรือถูกมดแมลงรบกวนตลอดเวลา  ดังนั้นแล้ว ถ้าจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องสร้างบ้านทับบ่อน้ำหรือตอไม้ ให้ถมบ่อน้ำให้เต็ม ขุดตอไม้ขึ้นก่อน
 
4. ห้ามสร้างบ้านที่มีร่องน้ำไหลผ่าน
เหตผล ถ้าปริมาณน้ำเพิ่มขี้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงหน้าน้ำ หรือฝนตกบ่อยๆ ร่องน้ำอาจจะแคบระบายน้ำไม่ทัน น้ำก็จเอ่อล้นขึ้นมาถึงตัวบ้าน สร้างความเสียหายให้กับบ้านได้
 
5. ห้ามปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางบ้าน
เหตผล  เพราะต้นไม้ใหญ่ รากของมันมักจะแผ่ออกไปไกลเพื่อยึดประคองลำต้นของมันไว้ไม่ให้ล้มโค่น รากจะชอนไช ทะลุทลวงเข้าไปทำลายฐานรากอาคาร ทำให้บ้านเกิดทรุดตัว และในช่วงหน้าฝนที่ฝนตกลมแรง พัดกิ่งก้านหักลงมาทับส่วนต่างๆ ของบ้านได้ แถมยังทิ้งใบร่วงให้ต้องเก็บกวาดกันทุกวัน
 
เคยถามสถาปนิกออกแบบบ้านท่านหนึ่งเคยอธิบายให้ฟังว่า ทำไมงานออกแบบบ้าน อาคารของเมืองนอกถึงกล้าปลูกต้นไม้ไว้กลางบ้าน ท่านให้คำตอบว่า ต้องเลือกต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มาก รากแทงลึกลงไปในดิน ไม่ใช่รากแผ่ กับสองจะต้องมีการจำกัดขอบเขตที่จะให้รากต้นไม่แผ่ออกมาได้ เช่น การหล่อคอนกรีตไว้ในดินเป็นกะบะปลูกต้นไม้
 
6. ห้ามสร้างกำแพงสูงกว่าตัวบ้าน
เหตผล ถ้ากำแพงหรือรั้วสูงกว่าตัวบ้าน และเป็นกำแพงรั้วแบบทึบ จะขวางทางลม ไม่ให้ลมเข้าบ้าน อากาศในบ้านก็จะไม่ถ่ายเท อบอ้าวตลอดเวลา  และการที่มีรั้วสูงมากๆ จะทำให้คนในบ้านมองไม่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ นอกรั้วบ้าน ว่ามีใครมาแอบทำอะไรกับรั้วบ้านของเราหรือเปล่า หรือมีใครมาด้อมๆ มองๆ เข้ามาในบ้านเรา ในทางกลับกัน ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรในตัวบ้าน คนในบ้านต้องการความช่วยเหลือ ก็จะไม่มีใครเห็น
 
ดังนั้น ถ้าอยากสร้างกำแพงหรือรั้วสูงๆ หน่อยก็อาจจะทำเป็ฯแบบกึ่งทึบกึ่งโปร่ง มีส่วนที่สามารถให้ลมผ่านเข้า-ออกได้ หรือจะเลือกใช้การติดกล้องวงจรปิดก็ช่วยให้เรามองเห็นเหตุการณ์นอกรั้วบ้านแทนได้
 
7. ห้ามมีประตูหน้าต่างมากเกินไป
เหตผล  การมีช่องเปิดในบ้านมากเกินไปอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาในบ้านได้ง่ายขึ้น ยิ่งสมัยนี้ประตู หน้าต่างใช้วงกบยูพีวีซีหรืออลูมิเนียมที่ถอดได้ไม่ยาก (ถ้าเข้าใจถอด) รวมถึงแสงแดด ความร้อน ที่เข้ามาในตัวบ้านมากเกินความจำเป็น แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น หรือต้องติดฟิล์ม ติดผ้าม่านเพื่อป้องกันความร้อนที่เข้ามา  อย่างไรเสียบ้านก็ขาดประตูหน้าต่างไม่ได้ แต่ก็ควรมีให้พอดี เลือกตำแหน่งให้ถูกทิศถูกทาง ได้ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างที่เข้ามา
 
8. ห้ามขุดบ่อน้ำไว้หลังบ้าน
เหตผล เป็นเหตผลเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะเวลากลางคืนถ้าบริเวณบ่อน้ำมีแสงสว่างไม่เพียงพอ อาจจะได้รับอันตรายพลัดตกบ่อน้ำได้โดยเฉพาะเด็กๆ  หรือมีบ่อน้ำอยู่แล้วและไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ถ้ามีงบก็ควรจะถมบ่อซะหรือถ้าหาฝามาบิดให้มิดชิดป้องกันเด็กๆ ตกลงไป และไม่ควรปล่อยให้รก เพราะอาจจะเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ มด ปลวกได้
 
9.ห้ามสร้างบ้านโดยไม่มีประตูหลัง
เหตผล ประตูหลังบ้านมีไว้เป็นทางออกฉุกเฉินในกรณีที่ไม่สามารถออกจากบ้านทางประตูหน้าบ้านได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องความแข็งแรง เข้า-ออกสะดวก หากมีเหตุฉุกเฉินให้ต้องใช้ประตูหลังบ้านเป็นทางออก
 
10. ห้ามเจาะกำแพงเป็นช่องหน้าต่าง
เหตผล การเจาะกำแพงให้เป็นช่องหน้าต่างโดยไม่มีการเสริมโครงสร้างไว้ก่อน อาจจะมีผลให้โครงสร้างกำแพงเสียหาย มีโอกาสทรุดตัวหรือพังลงมาได้ และอาจมีปัญหาน้ำรั่วซึมเข้ามาตามรอยเจาะอีกด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องเจาะกำแพงจริงๆ ก็ควรจะมีตรวจเช็คโครงสร้างกำแพงจากผู้เชี่ยวชาญก่อนว่า โครงสร้างกำแพงแข็งแรงพอมั้ย จำเป็นต้องเสริมโครงสร้างให้แข็งแรงอีกมั้ย มีการยาแนวป้องกันน้ำรั่วซึมเข้ามาตามรอยเจาะ ป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน
 
Engine by shopup.com