8011966

เช่าไฟเขตสวนหลวง โทร 061-1535786

หมวดหมู่สินค้า: rtd51 เช่าเครื่องเสียง

21 มีนาคม 2566

ผู้ชม 120 ผู้ชม



สวัสดีคับหากท่านเป็นคนในพื้นที่เขตสวนหลวง ที่ต้องการใช้บริการ เช่าเวทีเครื่องเสียงในเขตสวนหลวง เรามีบริการเครื่องเสียง รับจัดงาน Event Grand opening บริการ เวที ฉาก แสง สี เสียง ออกบูธงาน
เช่าเครื่องเสียงเขตสวนหลวง ราคาถูก บริการให้เช่าเครื่องเสียงราคาถูก - งานออกบู๊ต ตามห้าง
เช่าเครื่องเสียงเขตสวนหลวง เช่าเวที รับจัดงานอีเว้นท์
เช่าไฟเขตสวนหลวง แสงสีเสียง เช่าระบบไฟ ให้เช่าไฟ เช่าไฟเวที ไฟให้เช่า
เต็นท์เช่าเขตสวนหลวง ให้เช่าเต็นท์ราคาถูก เต็นท์สีขาวทรงโค้ง เต็นท์ทรงโรมัน เต็นท์ทรงพีระมิด
ตัวอย่างผลงานของเรา

            ติดต่อจองคิวงาน

 



บริการให้เช่าเวทีเครื่องเสียงเขตสวนหลวง 

- เขตสวนหลวงซาวด์ บริการให้เช่าเครื่องเสียงเวที ไฟ แสง-สี และอุปกรณ์เทคนิคพิเศษทุกประเภท
ให้เช่าเครื่องเสียงเขตสวนหลวงสำหรับงานออกบูธ งานสัมมแค งานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่ง ด้วยงบประมาณประหยัด ตัวอย่างผลงานของเรา
- เช่าคาราโอเกะเขตสวนหลวง(karaoke)สำหรับงานเลี้ยง และจัดงานทั่วไป รับประความพอใจ


- บริการด้านรับจัดงานอีเว้นเขตสวนหลวงทุกรูปแบบ ทั้งงานปาร์ตี้ส่วนบุคคลและบริษัท  รับจัดงานปีใหม่  รับจัดงานประชุม-สัมมแค
- บริการให้เช่าเวที (stage) แบบต่างๆ มีทุกขแคดพร้อมให้บริการและคำปรึกษา  เช่น  เวทีคอนเสิร์ตขแคดใหญ่  มินิคอนเสิร์ต ในเขตสวนหลวง 
เครื่องเสียงงานแต่งงานเขตสวนหลวงงานวันเกิด (birthday) งานปีใหม่ งานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา เลี้ยงจบ งานกิจกรรมต่างๆ และงานทั่วไป ตัวอย่างผลงานของเรา
- ให้เช่าเครื่องเสียงเขตสวนหลวงคาราโอเกะ เวที นอกสถานที่


5 อุปกรณ์ พื้นฐานระบบเสียง สำหรับมือใหม่
 
ระบบเสียง ใครว่าการศึกษาเป็นเรื่องยาก อ่านบทความนี้แล้วคุณจะต้องร้องอ๋อในทันทีเลย ที่จริงระบบเสียงที่เราใช้กันอยู่ก็มีอุปกรณ์ที่สำคัญอยู่ไม่กี่อย่าง ที่เห็นว่ามันเยอะแยะหลายอย่างส่วนใหญ่เป็นแค่การเพิ่มจำนวนของอุปกรณ์ที่ทำงานเหมือนกันเพื่อรองรับอุปกรณ์ได้เยอะขึ้น ให้เสียงดังขึ้น รองรับเครื่องดนตรีได้เยอะขึ้น และ การทำงานที่ง่ายขึ้นนั่นเอง โดยระบบเสียงในยุคปัจจุบันตั้งแต่เล็ก ๆ ระดับร้องคาราโอเกะ ไปจนถึงคอนเสิร์ตใหญ่ ๆ ระดับประเทศล้วนมีอุปกรณ์พื้นฐานเหล่านี้
 
1.ไมโครโฟน
 
แน่นอนว่าระบบเสียงต้องมีไว้เพื่อขยายเสียงอะไรซักอย่าง นั่นก็คือเสียง “พูด” ยังไงละ แรกเริ่มเดิมทีเครื่องขยายเสียงมีไว้เพื่อเพิ่มความดังเสียงของผู้พูดให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยิน หรือ กระจาย ระบบเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้คนที่อยู่ไกลได้รับรู้ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป อุปกรณ์พวกนี้ถูกใช้เพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทั้งงานคอนเสริต เปิดเพลง ร้องคาราโอเกะ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่สิ่งหนึ่งที่แทบจะไม่เปลี่ยนไปเลยคือ ไมคโครโฟน
 
ไมโครโฟน ทำหน้าที่อะไร ?
ไมโครโฟนทำหน้าที่รับเสียงเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อขยายต่อไป ถ้าเปรียบเทียบไมค์โครโฟนกับอวัยวะของคนก็คือ “หู” นั่นเอง
 
ประเภทของไมโครโฟน
การแบ่งประเภทของ ไมโครโฟน มีหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณท์อะไรในการแบ่ง แต่ไมค์ 95% จะจัดอยู่ใน 2 ชนิดนี้เป็นหลัก ได้แก่
 
- ไดนามิก ไมโครโฟน
- คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน
 
ไดนามิกไมโครโฟน เป็นไมค์ที่ถูกใช้มาก มักพบเห็นได้บ่อย ๆ ในงาน ระบบเสียง ต่าง ๆ เป็น ไมค์เอนกประสงค์มากใช้ได้หลากหลายสถานการ ใช้สำหรับ เสียงพูด เสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ข้อดีของไมค์ชนิดนี้คือ ใช้ง่าย เสียบแล้วใช้งานได้เลย
 
2.มิกเซอร์
 
มิกเซอร์ ทำหน้าที่อะไร ?
มิกเซอร์ แปลว่า ผสม หน้าที่หลักของมิกเซอร์ในระบบเสียงคือผสมสัญญานเสียงจากหลาย ๆ ไมค์ออกจากมิกเซอร์ไปสู่ระบบขยายต่อไป และมิกเซอร์ก็ยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งโทนเสียง EQ หรือการยกเอาพวกเอาท์บอร์ดเกียร์ หรือ เครื่องปรุงเสียงที่มีติดมากับมิกเซอร์ดิจิตอลในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องมีผู้ควบคุม ปรับแต่ง อยู่ตลอดเวลา ที่เห็นได้ในคอนเสริตใหญ่ ๆ มีลำโพงนับร้อยใบ ถูกควบคุมผ่านคนเพียงคนเดียวคือ มือซาวด์ หรือ คนมิกซ์เสียงนั่นเอง
 
สรุปหน้าที่ของ มิกเซอร์ คือ
- รวมเสียงจากหลายไมโครโฟน
- ปรับความดังเสียงของแต่ละไมโครโฟน
- ปรับแต่งเสียงต่าง ๆ เช่น EQ คอมเพลสเซอร์ เอฟเฟค
- ควบคุมเสียงของลำโพงทั้งหมด
 
ประเภทของ มิกเซอร์
- มิกเซอร์ดิจิตอล เป็นที่นิยมในปัจจุบันมาก เพราะ มีขนาดเล็กกว่า ปรับแต่งเสียงได้มากกว่า ราคาถูกกว่า ถ้าเทียบกับอนาล็อกมิกเซอร์ที่มีแชนแนล และ ความสามารถในการมิกซ์เท่ากัน มิกเซอร์ดิจิตอลใช้หลักการจำลองอุปกรณ์อนาล็อคให้อยู่ในรูปแบบชิพประมวลผลแบบดิจิตอล ทำให้มีขนาดเล็ก ต้นทุนต่ำ มิกเซอร์ดิจิตอลก็จะมีแบ่งเป็น 2 แบบอีก คือ มิกเซอร์ดิจิตอลที่มีหน้าบอร์ด มิกเซอร์ดิจิตอลแบบแร็ค
- มิกเซอร์อนาล็อค ต้นฉบับดั้งเดิมของมิกเซอร์ โดยจะใช้วงจรไฟฟ้าในการปรับแต่งเสียงต่าง ๆ ข้อดีของมิกเซอร์อนาล็อคคือได้คาแรคเตอร์เสียงที่ดิจิตอลทำได้ยาก มีรายละเอียดเสียงที่ดีมาก ไม่ถูกลดทอนจากการแปลงสัญญานเหมือนพวกดิจิตอล แต่ก็มีขนาดใหญ่มาก ถ้าเทียบกับมิกเซอร์ดิจิตอล แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน
 
3.เครื่องปรุงแต่งเสียง
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิธิภาพให้ระบบเสียงได้ดีมาก เปลี่ยนลำโพงเสียงแย่ให้เสียงดีได้เหมือนเปลี่ยนผีให้เป็นคนอะไรประมาณนั้นเลย โดยคนไทยให้ฉายาอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า “เครื่องปรุงแต่งเสียง” นั่นเอง จะมีลักษณะเป็นแท่นบาง ๆ มีปุ่มปรับเยอะ ๆ มักอยู่ในแรคซ้อนกันเป็นตั้ง ๆ หลายคนหลงไหลในระบบเสียงเพราะสิ่งนี้แหละ
 
เครื่องปรุงแต่งเสียง ทำหน้าที่อะไร ?
ก็ตามชื่อเลยครับ เอาไว้ปรับแต่งเสียง ไม่ว่าจะเป็น EQ คอมเพลสเซอร์ ครอสโอเวอร์ Gate ล้วนเป็นเครื่องปรุงแต่งเสียงทั้งสิ้น โดยหน้าที่ของแต่ละส่วนก็แตกต่างกันไป ในอดีตอุปกรณ์พวกนี้จะอยู่แยกกัน แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้รวมสิ่งเหล่านี้เข้ามาอยู่ในรูปแบบดิจิตอลหมดแล้ว โดยจำลองจากเครื่องปรุงแต่งเสียงแบบอนาล็อคตามนี้เลย
 
EQ หรือ Equalizer
EQ ย่อมาจาก equalizer โดยรากศัพท์แล้วแปลว่า “ผู้ที่ทำให้เท่ากัน” ทำหน้าที่ปรับแต่งความถี่ให้ลำโพงให้มีความเท่ากันกับเสียงที่เราต้องการ ที่เรียกกันติดปากว่าที่ปรับเสียง เบส กลาง แหลม นั่นแหละ แต่ EQ ในเครื่องปรุงแต่งเสียงจะมีความละเอียดกว่ามาก โดยปรับได้เป็นหลักทศนิยม และ ยังเลือกความกว้างแคบ รูปแบบต่าง ๆ ได้ละเอียดมาก
 
คอมเพลสเซอร์ (Compressor)
คอมเพลสเซอร์ แปลว่าผู้บีบอัด ทำหน้าที่บีบอัดความดังของสัญญานให้ไม่แกว่งจนเกินไป อุปกรณ์ตัวนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะ ช่วยสร้างคาแร็คเตอร์ของเสียงให้มีความหนา กลม กระชับ มากขึ้น จนปัจจุบันแม้อุปกรณ์เครื่องปรุงแต่งเสียงจะค่อย ๆ เลือนหายไปแต่คอมเพลสเซอร์ก็ยังมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ
 
ลิมิตเตอร์ (Limitter)
ลิมิตเตอร์ แปลว่า จำกัด ทำหน้าที่จำกัดสัญญานเสียงไม่ให้ดังเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในการป้องกันความเสียหายของดอกลำโพงจากการเปิดเสียงดังจนเกินไป ถ้าตั้งลิมิตเตอร์ได้ดีบอกเลยไม่ว่าจะอัดดังแค่ไหนดอกก็ไม่ขาด ใช้ได้ยาว ๆ หมดห่วงเรื่องดอกพัง ในอดีตจะอยู่ในรูปแบบอนาล็อคแต่ปัจจุบันไปอยู่ในดิจิตอลเกือบทั้งหมดแล้ว
 
Gate
Gate เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้พบบ่อย และ ไม่ค่อยได้ใช้ในการปรับแต่งเสียงลำโพง ตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยเปิดปิดสัญญานเสียงอัตโนมัติ โดยถ้าไม่มีสัญญานเสียงป้อนเข้ามา หรือ มีสัญญานเสียงอ่อน ๆ ตัว Gate จะปิดไม่ยอมให้สัญญานเสียงผ่านออกไปได้ แต่ถ้ามีสัญญานดังจนถึงจุดที่เรากำหนดไว้ ตัว Gate จะเปิดให้เสียงผ่านไปได้ ส่วนมากเอาไว้ลด Noise หรือเสียง ซ่า อ่อน ๆ ที่ออกจากลำโพง ถ้าใช้ Gate จะช่วยให้เสียง Noise ลดลง หรือ หายไปได้
 
ครอสโอเวอร์
ครอสโอเวอร์ อุปกรณ์ตัวสำคัญที่สุด ขาดไม่ได้ในระบบเสียงที่มีลำโพงเยอะ ๆ ทำหน้าที่เรียบง่ายแต่ทำให้ประสิธิภาพของระบบเสียงโดยรวมสูงขึ้นแบบเยอะมาก ๆ หน้าที่แบ่งความถี่ให้ลำโพงแต่ละตัวทำงานที่ตัวเองถนัด ยกตัวอย่างเช่น ให้ลำโพงเสียงแหลมทำงานแค่ความถี่สูง ๆ เท่านั้น ให้ลำโพงดอกใหญ่ ๆ ทำงานที่ความถี่ต่ำเท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น การแบ่งความถี่แบบนี้เรียกตามภาษาบ้าน ๆ ว่าการตัดครอสนั่นเอง
 
ครอสดิจิตอล หรือ ดิจิตอลโปรเซสเซอร์
ในยุคสมัยใหม่ได้มีการรวมเอาอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่าง ๆ มารวมไว้ในรูปแบบดิจิตอลทั้งหมดแล้ว โดยที่คนไทยมักเรียกติดปากกันว่า ไดเวอร์แรค ครอสดิจิตอล นั่นเอง จะมีลักษณะเป็นแท่นขนาด 1U ด้านในใช้ชิพประมวลผลเพื่อเลียนแบบวงจรแบบอนาล็อก จึงมีฟังก์ชันครบครันในตัวเดียว สามารถบันทึกการตั้งค่าได้ในตัว ตู้ลำโพงส่วนมากจะแถมการตั้งค่าประจำตู้สำหรับใช้กับโปรเซสเซอร์ที่เรียกกันว่า “พรีเซ็ต” เพื่อให้เสียงของตู้ดีขึ้นยิ่งไปอีก
 
4.เพาเวอร์แอมป์
หนึ่งในหัวใจหลักของระบบเสียง เป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนขุมพลังของระบบเสียงเลยก็ว่าได้ กินไฟมากที่สุดในระบบเสียง ทำงานหนักที่สุด เป็นเครื่องยนต์ของระบบเสียงเลยก็ว่าได้ ในระบบเสียงแต่ละชุดจะใช้ปริมาณเพาเวอร์แอมป์ต่างกัน ทั้งจำนวน และ ขนาดในการใช้พาวเวอร์แอมป์ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้ลำโพงมากน้อยเท่าไร ถ้าลำโพงเยอะ พาวเวอร์แอมป์ก็จะยิ่งเยอะตามไปด้วย
 
เพาเวอร์แอมป์ มีหน้าที่อะไร ?
หน้าที่ของเพาเวอร์แอมป์คือ ขยายสัญญานให้มีกำลังมากพอที่จะทำให้ลำโพงมีเสียงได้ แน่นอนว่าสัญญานพูดที่เข้ามาที่ไมโครโฟนนั้นอ่อนมาก ถึงจะถูกขยายด้วยปรีไมค์ในมิกเซอร์แล้วก็ยังมีกำลังไม่พอที่จะขยับดอกลำโพงใหญ่ ๆ ได้ ดังนั้นเพาเวอร์แอมป์จึงมารับช่วงต่อ กำลังของเพาเวอร์แอมป์นั้นบอกเป็น วัตต์ ยิ่งวัตต์สูงก็ยิ่งขับลำโพงได้ดังขึ้น หลายใบมากขึ้น แต่ก็มีขนาด และ น้ำหนักมากขึ้นเช่นเดียวกัน
 
ใช้ เพาเวอร์แอมป์ กี่วัตต์ดี ?
แนะนำให้วัตต์ RMS ของเพาเวอร์แอมป์ เท่ากับ วัตต์โปรแกรมของลำโพง อย่างน้อยควรเลือกให้วัตต์ RMS ของลำโพง และ เพาวเวอร์แอมป์เท่ากันพอดี แต่ให้เลือกเผื่อไว้ก่อนได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าถ้าวัตต์ของเพาเวอร์แอมป์มากเกินไปจะทำให้ดอกลำโพงขาด เราสามารถกำหนดกำลังขยายของเพาเวอร์แอมป์ได้ในภายหลัง
 
5.ลำโพง
ลำโพง อุปกรณ์ปลายสุดท้ายของระบบเสียง ลำโพงมีส่วนสำคัญมากที่จะบอกว่าระบบเสียงนั้นเสียง ดี และ ดัง มากแค่ไหน ในงานคอนเสิร์ตใหญ่ ๆ มีการใช้ลำโพงหลายร้อยใบเพื่อให้เสียงมีความดังครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ ลำโพงมักเป็นตัวกำหนดว่าเราควรจำใช้เพาเวอร์แอมป์กี่แท่น ใช้โปรเซสเซอร์ตัวไหนถึงจะเหมาะ ดังนั้นแนะนำให้เลือกลำโพงก่อนเป็นอันดับแรกในการจัดชุดเครื่องเสียง
 
ลำโพง มีหน้าที่อะไร ?
ลำโพงมีหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง โดยอุดมคติแล้วลำโพงควรผลิตเสียงให้มีความเหมือน หรือ ใกล้เคียงกับสัญญานที่ป้อนเข้ามาให้มากที่สุด แต่ยิ่งลำโพงมีคุณภาพดีเท่าไร ก็ยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น แต่ในเทคโนโลยีปัจจุบันมีการใช้ครอสดิจิตอลเข้ามาช่วยเพื่อปรับแต่งคุณภาพเสียงให้ลำโพงเสียงดีขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลือกลำโพงที่เสียงดีตั้งแต่แรกก็เป็นผลดีกว่าการแก้โดยใช้โปรเซสเซอร์
 
ประเภทของลำโพง PA
ลำโพง PA ที่เราเห็นทั่วไปจะมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
 
1.ตู้ลำโพงพอยซอร์ส (Point Souce Speaker)
เป็นลำโพงรูปแบบดั้งเดิมที่สุด เกิดขึ้นในยุคแรก ๆ และ ยังเป็นที่นิยมมากอยู่ในปัจจุบัน ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากจุกจิก แค่เสียบสายก็ใช้งานได้ทันที ติดตั้งตรงระดับหูพอดี หรือ สูงกว่าระดับหูแล้วก้มตู้ลงเล็กน้อย แต่ลำโพงชนิดนี้จะเน้นใช้จำนวนน้อย ๆ เพราะ มีการกวนกันของตู้แต่ละใบมากถ้าใช้จำนวนมากกว่า 2 ใบต่อข้าง ทำให้โทนในแต่ละพื้นที่ในงานมีความแกว่ง
 
2.ตู้ลําโพง ไลน์อาเรย์ (Line Array Speaker)
หรือที่คนไทยชอบเรียกว่า ตู้ลำโพงแขวน นั่นเอง เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เจ๋งมาก จุดเด่นของลำโพงชนิดนี้คือ ความดัง และ โทนเสียง ในแต่ละพื้นที่ในงานใกล้เคียงกันมาก แถมยังสามารถใช้ลำโพงหลาย ๆ ใบมาต่อกันได้โดยที่เสียงไม่เละเหมือนการใช้ตู้ลำโพงพอยซอร์ส และ ได้ความดังที่สูงมาก ๆ ด้วย แต่ลำโพงชนิดนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจพอสมควรในการคำนวนองศาแขวน การเพิ่มจำนวนใบก็มีผลต่อโทนเสียงด้วย
 
3.ตู้ลำโพง ซับวูฟเฟอร์
ระบบเสียงจะดังสะใจได้ต้องใช้ลำโพงซับวูฟเฟอร์เป็นตัวสำคัญเลย ซับวูฟเฟอร์ช่วยในเรื่องของเสียงเบสที่ แน่น ตึบ ทำให้รู้สึกสนุก และ กระหึ่มมากขึ้นนั่นเอง คนไทยชอบเสียงซับมาก จะสังเกตุได้จากสัดส่วนของตู้เสียงเบสจะมากกว่ากลางแหลมเสมอ
 
พาสซีพ (Passive) หรือ แอคทีพ (Active)
ตู้ลำโพงก็จะแบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ อีกเช่นกันคือ พาสซีพ (Passive) และ แอคทีพ (Active)
 
ตู้ลำโพงแอคทีพ (Active)
ตู้ลำโพงแอคทีพ (Active) คือ ตู้ลำโพงที่เสียบปลั๊กแล้วพร้อมดังเลย จะมีเพาเวอร์แอมป์ในตัว ใช้งานง่าย ส่วนมากจะมีโปรเซสเซอร์ในตัวด้วยทำให้เสียงดีตั้งแต่แกะกล่องเลย และ มี Limiter ป้องกันดอกขาดมาให้ในตัว ทำให้ไม่ต้องซือเครื่องปรุงแต่งเสียงเพิ่มเลย
ตู้แอคทีพสังเกตุได้จากด้านหลังของตัวเครื่องจะมีปุ่มปรับเยอะกว่าตู้ปกติ และ ไม่ใช่แค่ตู้พอยซอร์สแบบเดียวที่มีแอมป์ในตัว ตู้ซับวูฟเฟอร์ ตู้ลำโพงไลน์อาเรย์ ก็มีแบบแอคทีพด้วยเช่นกัน
 
ข้อดี
– อุปกรณ์น้อยชิ้น
– เสียงดีเลย
– ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องอุปกรณ์แยก
 
ข้อเสีย
– ต้องมีปลั๊กไฟไปเลี้ยงลำโพง
– โดนน้ำไม่ได้
 
ตู้ลำโพงพาสซีพ (Passive)
ตู้ลำโพงพาสซีพ (Passive) เป็นลำโพงที่นิยมที่สุดเลยก็ว่าได้ ด้วยความใช้งานง่าย เสียบสายลำโพงก็สามารถใช้งานได้ทันที ในระบบเสียงปัจจุบันก็มีการใช้กันเยอะ ลำโพงชนิดนี้ต้องใช้เพาเวอร์แอมป์แยกด้วย ถ้าต้องการใช้ร่วมกับซับก็ต้องใช้ครอสโอเวอร์ หรือ พวกเครื่องปรุงแต่งเสียงเพิ่มด้วย
 
ข้อดี
– ดูแลรักษาง่าย
– พ่วงตู้ลำโพงง่าย
– สามารถรวมเพาเวอร์แอมป์เป็นจุดเดียวได้
 
ข้อเสีย
– เดินสายลำโพงยาวมากไม่ดี
– ต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้นกว่า
 
สายสัญญาน และ สายลำโพง
สายก็เป็นส่วนที่สำคัญมากในระบบเสียง เปรียบเหมือนเส้นประสาทที่คอยส่งสัญญานเสียงจากอุปกรณ์หนึ่งไปอุปกรณ์หนึ่ง หลายคนคงมีข้อสงสัยว่า ต่อยังไง ใช้สายแบบไหน ที่สำคัญคือหัวเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่มีให้เลือกหลายแบบมาก แต่ที่ใช้หลัก ๆ มีอยู่ไม่กี่อย่างโดยสายจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
 
- สายสัญญาน
โดยทั่วไปจะใช้สายแบบ Balance มีตัวนำสัญญาน 2 เส้น คือสี น้ำเงิน แดง และมีอีกเส้น เป็นทองแดงที่ถักอยู่รอบ ๆ แกนสายเรียกว่า ชิล รวมทั้งหมดเป็น 3 เส้น จะมีการเข้าหัวอยู่หลายแบบ ส่วนใหญ่จะเข้าหัวแบบ XLR ด้านนึงเป็นตัวผู้ อีกด้านเป็นตัวเมีย
- สายลำโพง
มีอย่างน้อย 2 แกน เป็นขั้ว + และ – ของลำโพง มีหลายขนาด ตั้งแต่ 0.5, 1, 2.5 มิลิเมตร ยิ่งสายลำโพงยาวเท่าไรต้องใช้สายเบอร์ใหญ่เท่านั้น สายลำโพงจะมีการเข้าหัวสำหรับเสียบลำโพง และ เพาเวอร์แอมป์ที่เรียกว่า SpeakON เหมือนกันทั้ง 2 ด้าน
- หัวการเชื่อมต่อ
เป็นอีกจุดที่ควรให้ความสำคัญ เพราะ มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา การที่ใช้หัวคุณภาพต่ำ ทำให้หลวม มีคราบสกปรกเข้าไปก็ทำให้สัญญานเดินได้ไม่ดีนัก เราสามารถดูหัวแจ็คก็รู้ได้เลยว่าอุปกรณ์ไหนสามารถใช้งานร่วมกันได้บ้าง ในระบบเสียงมาตรฐานจะมีอยู่ไม่กี่แบบตามนี้เลย
- XLR ตัวผู้
หลายคนสับสนระหว่างตัวผู้-ตัวเมียของหัวชนิดนี้ ตัวผู้นั้นจะมีเดือย 3 อัน ยื่นออกมา ในระบบเสียงตัวผู้จะถูกต่ออยู่กับ Input ของอุปกรณ์ที่นำไปเชื่อมต่อ พูดง่าย ๆ คือ สัญญานเสียงจะวิ่งจากตัวเมียไปตัวผู้ของสายสัญญานอยู่เสมอ
- XLR ตัวเมีย
มีลักษณะเป็นรู 3 รู และ มีเดือยสำหรับล็อคด้วย ในระบบเสียง XLR ตัวเมียมักถูกเสียบอยู่กับขา Output ของุปกรณ์ที่นำไปเชื่อมต่ออยู่เสมอ สายที่ถูกใช้เยอะที่สุดคือสายที่มีหัว XLR นี่แหละ โดยด้านหนึ่งของสายจะเป็นตัวผู้อีกด้านจะเป็นตัวเมีย
- สเปคคอน (SpeakON)
หัวเชื่อมต่อสำหรับลำโพงโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย ป้องกันการต่อสายกลับเฟสได้ดีมาก เพราะ ถ้าเข้าหัวถูกต้องแล้ว ผู้ใช้มีหน้าที่แค่เสียบก็สามารถใช้งานได้ทันที ความพิเศษอีกอย่างของหัวชนิดนี้คือจะสามารถใช้กับสายลำโพง 4-8 คอร์ได้ในหัวเดียว นั่นหมายความว่าเราสามารถต่อลำโพง 2 ทาง ที่ใช้แอมป์ 2 แชนแนลในการขับในสายลำโพงเส้นเดียวได้เลย
 
หัวเชื่อมต่อที่ใช้ในงานเสียงมีหลายชนิดมาก การเรียกชื่อสายสัญญานให้เข้าใจตรงกัน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น และง่ายในการบอกชื่อสายที่เฉพาะเจาะจง โดยการเรียกชื่อนั้นก็ไม่ยาก ให้เอาชื่อ [ชื่อหัวด้านที่ 1]+to+[ชื่อหัวด้านที่ 2] เช่น TRS to XLR ตัวผู้ หรือ 3.5 to TS
 
 
Engine by shopup.com