9270522

ขายฝากบ้านหนองคาย โทร 095-8806760

หมวดหมู่สินค้า: rtd35 จำนองที่ดิน

28 มีนาคม 2565

ผู้ชม 77 ผู้ชม



รับขายฝากที่ดินหนองคายดอกเบี้ยถูก เชื่อถือได้  
ให้ราคาสูง ดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
ขายฝากบ้านหนองคายที่ดิน บ้าน ทีนา สวน ให้ราคาสูง ดอกเบี้ยถูก อนุมัติจ่ายสด
จํานองที่ดินหนองคาย
ขายฝากหนองคาย
ขายฝากที่ดินหนองคาย
ขายฝากบ้านหนองคาย
สินเชื่อโฉนดที่ดินหนองคาย
จํานําโฉนดที่ดินหนองคาย
 
รับจำนองที่ดินหนองคายรับขายฝากให้ราคายุติธรรม เคยสอบถามมาหลายที่แล้ว ยังไม่ถูกใจ ลองติดต่อปรึกษาเราได้ ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจ หรือต้องรีบใช้เร่งด่วน ทางเรายินดีให้บริการ รับขายฝากที่ดินหนองคายรับจำนองหนองคายรับซื้อฝาก รีไฟแนนซ์ บ้านและที่ดิน จากนายทุนโดยตรง รับคอนโด ที่ดินเปล่า ทาว์เฮาส์ บ้านจัดสรร อพาร์เม้นท์ อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด
จํานําโฉนดที่ดินหนองคายบไถ่ถอน บ้าน คอนโด ทาวเฮาส์ ตึกแถว และที่ดิน ลดต้น ลดดอก
 
 
ทำไมต้องทำจำนองขายฝากที่ดินหนองคายกับเรา
1. นายทุนหนองคายคุยง่าย พูดเพราะ สบายๆ ดูแลเหมือนเป็นคนในครอบครัว หากท่านเดือดร้อนมา อยากให้นึกถึงเรา
2. ทางเราไม่มีการเช็คประวัติทางการเงิน อนุมัติง่าย รวดเร็วทันใจ
3. ปลอดภัยหายห่วง เพราะเราทำสัญญาที่กรมที่ดินเท่านั้น เอกสารสัญญา ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ และมีเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดินเซ็นรับทราบการทำสัญญา
4. ไม่เอารัดเอาเปรียบ รายละเอียดทุกอย่าง ทุกขั้นตอน รวมถึงเงื่อนไขการจำนองขายฝาก จะมีการชี้แจงให้ทราบอย่างละเอียด ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง
5. ไม่มีการเรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มเติม นอกจากรายละเอียดที่ตกลงกัน
 

มาทำความรู้จักกับ “ การจำนอง ” ที่รู้แล้วจะไม่ทำให้คุณนั้นเป็น “ แกะดำ ”
 
การจำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” ได้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงินสด 1 แสนบาท โดยนาย A ได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 1 แสนบาท ที่นาย A ได้กู้ไปจากนาย B โดยนาย A ไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นาย B และนาย A ยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ
 
การจำนอง เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายกรณีนั้นก็คือ
 
1.การจำนอง ทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้กู้เงินจากนาย B 1 แสนบาท โดยนาย A นำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนาย A เอง
 
2.การจำนอง เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาท โดยนาย C ได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นาย A ได้กู้ไปจากนาย B
 
ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ
 
1.อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
 
2.สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
 
2.1)เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
2.2)แพ
2.3)สัตว์พาหนะ
2.4)สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นต้น
 
หลักเกณฑ์ใน การจำนอง
1.ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่จะจำนอง
 
2.สัญญาจำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นสัญญาจำนองจะเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ ที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉยๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาไม่ได้มีสิทธิใดๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด ได้แค่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
 
3.ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย กล่าวคือ
 
3.1)ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา) หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ซึ่งที่ดินนั้นต้องอยู่ในเขตอำนาจ
3.2)ที่ดินที่ไม่มีโฉนด ได้แก่ที่ดิน น.ส. 3 ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ
3.3)การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างไม่รวมที่ดินต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ
3.4)การจำนองสัตว์พาหนะ หรือแพ ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ
3.5)การจำนองเรือต้องไปจดทะเบียนจำนองที่กรมเจ้าท่า
3.6)การจดทะเบียนเครื่องจักรต้องไปจดทะเบียนที่กระทรวงอุตสาหกรรม
 
ผลของสัญญาจำนอง
1.ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิในทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ก็ตาม
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นเงิน 1 แสนบาท โดยที่นาย A นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองไว้กับนาย B และต่อมานาย A ได้กู้เงินจากนาย C อีก 1 แสนบาท โดยไม่ได้มีการนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองแต่อย่างใด ดังนี้ นาย B มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินดังกล่าวได้ก่อน นาย C และแม้ว่านาย A จะได้โอนกรรมสิทธิที่ดินแปลงนั้นไปให้บุคคลภายนอกแล้วก็ตามนาย A คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนจำนองในที่ดินแปลงดังกล่าว
 
2.นอกจากนี้ผู้รับจำนองยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนได้หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
 
2.1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
2.2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
2.3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้ทำการกู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาทโดยที่นาย A ได้นำที่ดินราคา 1 แสนบาทซึ่งมีราคาเท่ากับเงินกู้ไปจดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้ของตน โดยตกลงค่าดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ต่อมาอีก 10 ปี นาย A ผิดนัดไม่เคยชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้แก่นาย B เลย ดังนั้นเมื่อรวมยอดหนี้คือเงินต้น 1 แสนบาท กับดอกเบี้ยอีก 3 หมื่นบาทแล้วจะเป็นเงิน 1 แสน 3 หมื่นบาท นาย B มีสิทธิฟ้องนาย A ต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้นาย A โอนกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้มาเป็นของนาย B ได้เลย โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด
 
3.ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ หรือ ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นของผู้รับจำนองและราคาทรัพย์นั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ ทั้งสองกรณีนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนในเงินที่ยังขาดอยู่นั้น
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้นำที่ดินไปจำนองนาย B เป็นเงิน 1 แสนบาท ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้บังคับจำนองเอาที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินเพียง 5 หมื่นบาท ดังนี้นาย B จะไปบังคับให้นาย A ชดใช้เงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก 5 หมื่นบาทไม่ได้
 
ยกเว้นเสียแต่ว่าถ้าในสัญญาจำนองได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่มีการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระยอดหนี้ เงินที่ยังขาดจำนวนนี้ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนข้อตกลงเช่นนี้มีผลบังคับได้ไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดจำนวนอยู่ดังกล่าวได้อีกจนครบถ้วน
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้นำที่ดินไปจำนองนาย B เป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาท โดยตกลงกันว่าหากนาย B บังคับจำนองแล้วได้เงินไม่ครบ 1 แสนบาท นาย A ยินยอมชดใช้เงินที่ยังขาดจำนวนอยู่นั้นคืนให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ต่อมานาย B บังคับจำนองนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินเพียง 5 หมื่นบาท เงินที่ยังขาดอีก 5 หมื่นบาทนั้น นาย B มีสิทธิบังคับให้นาย A ชำระคืนให้แก่ตนจนครบถ้วนได้
 
4.ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง เมื่อนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดแล้วก็ให้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง หากมีเงินเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ส่งมอบคืนให้แก่ผู้จำนองผู้รับจำนองจะเก็บไว้เสียเองไม่ได้
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้จำนองที่ดินไว้กับนาย B เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ต่อมาเมื่อนาย B บังคับจำนองได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวเป็นเงิน 2 แสนบาท นาย B ก็หักเงินที่เป็นหนี้ตนอยู่ 1 แสนบาท ส่วนเงินที่ยังเหลืออยู่อีก 1 แสนบาท นาย B ต้องนำไปคืนนาย A
 
ขอบเขตของสิทธิจำนอง
ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้ เช่น จำนองเฉพาะที่ดินย่อมไม่ครอบถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนองเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย
 
– จำนองเฉพาะบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น
– จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เช่น จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผลไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิของผู้จำนองอยู่
 
ทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่นี้ ย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
 
เงินต้น
ดอกเบี้ย
ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้ เช่น ค่าทนายความ
ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง
วิธีบังคับจำนอง
ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองจะใช้สิทธิบังคับจำนอง หากถึงกำหนดนัดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล เพื่อให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ของตน หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนหากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้
 
จะเห็นได้ว่ากฎหมายบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าการบังคับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเสมอจะนำเอาที่ดินออกขายทอดตลาดเองไม่ได้ และต้องมีการออกจดหมายทวงหนี้ไปถึงลูกหนี้ก่อนเสมอจะฟ้องคดีโดยไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนไม่ได้
 
การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น ทรัพย์สินที่จำเลยอยู่ในความครอบครองของใคร หรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สินที่จำนองไปด้วยเสมอ แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตามสิทธิจำนองก็ติดตามไปด้วย
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้กับนาย B เป็นเงิน 5 แสนบาท ต่อมานาย A ได้เสียชีวิตลงโดยยกมรดกที่ดินดังกล่าวไปให้นาย D ลูกชายของตน การตายของนาย A ไม่ได้ทำให้สิทธิของการเป็นเจ้าหนี้ของนาย B หมดไป นาย B มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวได้แม้ว่าจะเป็นชื่อของนาย D แล้วก็ตาม
 
หนี้ที่ขาดอายุความไปแล้วจะมีผลกระทบถึงการจำนองหรือไม่
แม้ว่าหนี้ที่เป็นประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่จำนองแต่อย่างใด แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้นำที่ดินไปจำนองไว้กับนาย B เป็นเงิน 5 แสนบาทกำหนดชำระคืนในวันที่ 1 มิถุนายน 2520 เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว นาย B ก็ไม่ได้ติดตามทวงหนี้จากนาย A เลยจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จึงได้บังคับจำนองซึ่งหนี้เงินกู้นั้นต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ถึงกำหนดซึ่งกรณีหนี้เงินกู้ขาดอายุความไปเป็นเวลานานแล้วนาย A จะต่อสู้ว่าหนี้เงินกู้ได้ขาดอายุความไปแล้วดังนั้นตัวเองจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง เรื่องนั้นมันเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะแม้ว่าหนี้เงินกู้จะขาดอายุความก็ตามแต่สิทธิจำนองยังอยู่ไม่ได้หมดไปตามอายุความนะครับ เพราะฉะนั้นนาย B จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวได้ แต่นาย B จะบังคับในส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีไม่ได้
 
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้อย่างแท้จริง ดังนั้นหากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้คืนแล้ว เจ้าหนี้จึงควรให้ลูกหนี้นำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ด้วย
 
การชำระหนี้จำนอง
การชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแค่บางส่วน การระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใดๆ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนองก กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้
 
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้จำนองที่ดินของตนไว้กับนาย B ต่อมานาย B ยอมปลดจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเอกแต่ทั้งสองฝ่ายมิได้ไปจดทะเบียนการปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อมานาย B โอนการจำนองให้นาย E โดยจดทะเบียนถูกต้อง แล้วนาย E ได้บังคับจำนองที่ดินแปลงนี้ นาย A จะยกข้อต่อสู้ว่านาย B ปลดจำนองให้แก่ตนเองแล้วขึ้นต่อสู้กับนาย E ไม่ได้
 
Engine by shopup.com