9460142

ขายฝากที่ดินสาธุประดิษฐ์ โทร 095-8806760

หมวดหมู่สินค้า: rtd35 จำนองที่ดิน

28 มีนาคม 2565

ผู้ชม 80 ผู้ชม



รับขายฝากที่ดินสาธุประดิษฐ์ดอกเบี้ยถูก เชื่อถือได้  
ให้ราคาสูง ดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
ขายฝากบ้านสาธุประดิษฐ์ที่ดิน บ้าน ทีนา สวน ให้ราคาสูง ดอกเบี้ยถูก อนุมัติจ่ายสด
จํานองที่ดินสาธุประดิษฐ์
ขายฝากสาธุประดิษฐ์
ขายฝากที่ดินสาธุประดิษฐ์
ขายฝากบ้านสาธุประดิษฐ์
สินเชื่อโฉนดที่ดินสาธุประดิษฐ์
จํานําโฉนดที่ดินสาธุประดิษฐ์
 
รับจำนองที่ดินสาธุประดิษฐ์รับขายฝากให้ราคายุติธรรม เคยสอบถามมาหลายที่แล้ว ยังไม่ถูกใจ ลองติดต่อปรึกษาเราได้ ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจ หรือต้องรีบใช้เร่งด่วน ทางเรายินดีให้บริการ รับขายฝากที่ดินสาธุประดิษฐ์รับจำนองสาธุประดิษฐ์รับซื้อฝาก รีไฟแนนซ์ บ้านและที่ดิน จากนายทุนโดยตรง รับคอนโด ที่ดินเปล่า ทาว์เฮาส์ บ้านจัดสรร อพาร์เม้นท์ อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด
จํานําโฉนดที่ดินสาธุประดิษฐ์บไถ่ถอน บ้าน คอนโด ทาวเฮาส์ ตึกแถว และที่ดิน ลดต้น ลดดอก
 
 
ทำไมต้องทำจำนองขายฝากที่ดินสาธุประดิษฐ์กับเรา
1. นายทุนสาธุประดิษฐ์คุยง่าย พูดเพราะ สบายๆ ดูแลเหมือนเป็นคนในครอบครัว หากท่านเดือดร้อนมา อยากให้นึกถึงเรา
2. ทางเราไม่มีการเช็คประวัติทางการเงิน อนุมัติง่าย รวดเร็วทันใจ
3. ปลอดภัยหายห่วง เพราะเราทำสัญญาที่กรมที่ดินเท่านั้น เอกสารสัญญา ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ และมีเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดินเซ็นรับทราบการทำสัญญา
4. ไม่เอารัดเอาเปรียบ รายละเอียดทุกอย่าง ทุกขั้นตอน รวมถึงเงื่อนไขการจำนองขายฝาก จะมีการชี้แจงให้ทราบอย่างละเอียด ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง
5. ไม่มีการเรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มเติม นอกจากรายละเอียดที่ตกลงกัน
 

การจำนองคืออะไร 
ความหมายของการจำนอง
 
 จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้ รับจำนอง 
(ป.พ.พ. มาตรา 702)
 
     ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ
 
การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น 6 กรณีคือ
1. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเองตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท 2 แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง
2. การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่นตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโท เป็นจำนวนเงิน 2 แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท
 
ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภทกล่าวคือ
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
2. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
ก. เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
ข. แพ
ค. สัตว์พาหนะ
ง. สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นต้น
 
จำนองที่ดินคืออะไร 5 ข้อควรรู้ก่อนทำสัญญาจำนองที่ดิน
สัญญาจำนองที่ดิน สัญญาจำนองบ้าน หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อย่างไร ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่าสัญญาจำนองคืออะไร อะไรที่สามารถจำนองได้บ้าง และสิ่งที่ควรมีในสัญญาจำนองมีอะไรบ้าง
 
สัญญาจำนอง คืออะไร
หลายคนอาจได้ยินคำว่า ‘จำนองบ้าน’ หรือ ‘จำนองที่ดิน’ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการจำนองคืออะไร ที่จริงแล้วการจำนองคือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์ทื่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับจำนอง" เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง
 
ส่วนสัญญาจำนอง คือ สัญญาเงินกู้ในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนำเอาอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน โกดัง โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นต้น เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพ ไม่เคยเสื่อมค่าตามกาลเวลา และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นหลักประกันที่มั่นคงนั่นเอง
 
นอกจากนั้นผู้ที่จะสามารถนำทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองได้ จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น และหากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็จะต้องได้รับมอบอำนาจมาจากเจ้าของทรัพย์สินโดยตรง หากไม่ใช่ทั้งสองอย่างนี้ สัญญาจำนองก็จะไม่มีผลทันที อีกทั้งการทำสัญญาจำนอง จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ดังนั้นขอให้มั่นใจได้เลยว่าการปลอมแปลงเอกสารเพื่อทำสัญญาจำนองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย
 
ทรัพย์สินที่ทำสัญญาจำนองได้มีอะไรบ้าง?
นอกจากทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้แล้ว ยังมีทรัพย์อีกประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการทำสัญญาจำนองได้ นั่นก็คือ เรือกำปั่น เรือกลไฟ เรือแพที่อยู่อาศัย หรือสัตว์ที่เป็นพาหนะ แต่จะต้องเป็นทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนขึ้นถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
 
ก่อนทำสัญญาจำนองที่ดิน จำนองบ้าน มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้บ้าง?
- การทำสัญญาจำนอง เป็นการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันการชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า จะเป็นแค่การนำโฉนดที่ดินที่จะใช้ในการจำนอง ไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เพื่อให้ไว้เป็นหลักประกัน จะไม่มีการโอนทรัพย์สินอะไรเด็ดขาด
 
- รายละเอียดในใบสัญญาจำนอง จะต้องระบุชัดเจนว่า ผู้จำนอง (ผู้ขอกู้เงิน) จะทำการกู้เงินจาก ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) เป็นจำนวนเงินเท่าไร รวมถึงรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่นำมาจำนองว่าคืออะไร ถ้าหากไม่ระบุตามนี้ สัญญาการจำนองจะไม่สมบูรณ์เลยทันที
 
- ในกรณีที่ ผู้จำนอง (ผู้ที่ขอกู้) ไม่สามารถชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ได้หรือมีการผิดสัญญาชำระหนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) จะเข้าไปยึดทรัพย์ที่ใช้ในกรค้ำประกันได้เลยทันที แต่จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ตั้งแต่การฟ้องร้องยื่นเรื่องกับศาล เพื่อให้ศาลออกคำสังบังคบให้ลูกหนี้นำหลักทรัพย์ไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี และจากนั้นค่อยนำเงินมาชำระหนี้อีกที
 
หนังสือสัญญาจำนองที่ดิน จำนองบ้าน ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง
1. รายละเอียดทรัพย์ 
ต้องมีการระบุรายละเอียดทรัพย์ที่นำมาจำนองอย่างชัดเจน เช่น หากเป็นหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน จะต้องมี เลขที่โฉนด เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
 
2. รายละเอียดวันที่ทำสัญญา 
ต้องมีการระบุว่า หนังสือสัญญานี้ได้ทำเมื่อวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีอะไร และทำสัญญาที่ไหน โดยส่วนใหญ่สถานที่มักเป็นสำนักงานที่ดินจังหวัด
 
3. ระบุชื่อผู้ทำสัญญาในส่วนของผู้จำนองและผู้รับจำนอง 
ต้องมีการระบุชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อายุ สัญชาติ ชื่อของบิดามารดา บ้านเลขที่ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน
 
4. รายละเอียดข้อตกลงในสัญญา 
สำหรับในเรื่องข้อตกลง จะต้องระบุว่าจำนวนเงินที่ทำการกู้ครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินเท่าไร มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าไร กำหนดเวลาจ่ายหนี้เมื่อไร และระบุจำนวนครั้งที่จะจ่ายดอกเบี้ยหากมีการผิดชำระหนี้ให้ชัดเจน
 
5. ชื่อผู้ถือโฉนดที่ดินระหว่างการจำนอง 
เป็นเหมือนพยานผู้รับฝากทรัพย์ที่เป็นหลักประกันเอาไว้ โดยในสัญญาจะถูกทำ 3 ฉบับ เพื่อให้ ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง และพยานผู้ถือหลักทรัพย์ เก็บเอาไว้คนละหนึ่งฉบับ โดยในแต่ละฉบับจะต้องเขียนกำชับไว้ด้วยว่า ฉบับนี้ให้ใครเป็นผู้ถือ
 
6. การเซ็นสัญญา 
ในท้ายสุดของสัญญาจำนองจะเป็นการเซ็นสัญญา โดยผู้ที่เซ็นสัญญาจำนองจะต้องประกอบด้วย ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง, พยาน 2 คน (ฝ่ายละคน), เจ้าพนักงานที่ดิน, ผู้เขียนสัญญา และผู้ตรวจสัญญา เป็นอันสำเร็จ
 
Engine by shopup.com