รับขายฝากที่ดินเสรีไทย ดอกเบี้ยถูก เชื่อถือได้
ให้ราคาสูง ดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
ขายฝากบ้านเสรีไทย ที่ดิน บ้าน ทีนา สวน ให้ราคาสูง ดอกเบี้ยถูก อนุมัติจ่ายสด
จํานองที่ดินเสรีไทย
ขายฝากเสรีไทย
ขายฝากที่ดินเสรีไทย
ขายฝากบ้านเสรีไทย
สินเชื่อโฉนดที่ดินเสรีไทย
จํานําโฉนดที่ดินเสรีไทย
รับจำนองที่ดินเสรีไทย รับขายฝากให้ราคายุติธรรม เคยสอบถามมาหลายที่แล้ว ยังไม่ถูกใจ ลองติดต่อปรึกษาเราได้ ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจ หรือต้องรีบใช้เร่งด่วน ทางเรายินดีให้บริการ รับขายฝากที่ดินเสรีไทย รับจำนองเสรีไทย รับซื้อฝาก รีไฟแนนซ์ บ้านและที่ดิน จากนายทุนโดยตรง รับคอนโด ที่ดินเปล่า ทาว์เฮาส์ บ้านจัดสรร อพาร์เม้นท์ อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด
จํานําโฉนดที่ดินเสรีไทย บไถ่ถอน บ้าน คอนโด ทาวเฮาส์ ตึกแถว และที่ดิน ลดต้น ลดดอก
ทำไมต้องทำจำนองขายฝากที่ดินเสรีไทย กับเรา
1. นายทุนเสรีไทย คุยง่าย พูดเพราะ สบายๆ ดูแลเหมือนเป็นคนในครอบครัว หากท่านเดือดร้อนมา อยากให้นึกถึงเรา
2. ทางเราไม่มีการเช็คประวัติทางการเงิน อนุมัติง่าย รวดเร็วทันใจ
3. ปลอดภัยหายห่วง เพราะเราทำสัญญาที่กรมที่ดินเท่านั้น เอกสารสัญญา ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ และมีเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดินเซ็นรับทราบการทำสัญญา
4. ไม่เอารัดเอาเปรียบ รายละเอียดทุกอย่าง ทุกขั้นตอน รวมถึงเงื่อนไขการจำนองขายฝาก จะมีการชี้แจงให้ทราบอย่างละเอียด ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง
5. ไม่มีการเรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มเติม นอกจากรายละเอียดที่ตกลงกัน
จำนองที่ดินกับธนาคารอย่างไรให้ถูกต้องและไม่เสียเครดิต
การจำนองที่ดิน คืออะไร
การจำนองที่ดิน คือ กรณีที่เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนจำนวนมาก จึงนำทรัพย์สินหรือที่ดินของตนไปจำนองกับผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการเรียกเก็บหนี้ โดยที่ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)
หลักการจำนองที่ดิน
หลักการจำนองที่ดิน “ผู้จำนอง” โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้ “ผู้รับจำนอง” และผู้จำนอง จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเมื่อชำระหนี้ แต่หากถ้าไม่ชำระหนี้ 5 ปี “ผู้รับจำนอง” สามารถยึดทรัพย์ได้ทันที
รูปแบบจำนองที่ดิน
1. จำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง ระหว่าง ผู้จำนอง กับ ผู้รับจำนอง
ตัวอย่าง นาย A ได้กู้เงินจากนาย B 1 แสนบาท นาย A จึงนำที่ดินซึ่งเป็นของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของตนเอง
2. จำนองที่ดินเพื่อค้ำประกันให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น ระหว่าง ผู้จำนอง, เจ้าของที่ดิน และผู้รับจำนอง
ตัวอย่าง นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาท โดยนาย C ได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นาย A ได้กู้ไปจากนาย B
ขอบเขตของสิทธิจำนอง
1. ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้
ตัวอย่าง หากจำนองเฉพาะที่ดิน จะไม่ครอบคลุมถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย
2. จำนองเฉพาะบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น
3. จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เช่น จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผลไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่
การจำนองที่ดินกับธนาคาร ถูกต้องและไม่เสียเครดิต
รูปแบบการจำนองที่ดินกับธนาคาร จะมีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ง่าย และไม่เสียเครดิต แต่อย่าลืมอ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการจำนองที่ดินกับธนาคารของธนาคารก่อนตัดสินใจนำทรัพย์เข้าจำนอง
คุณสมบัติผู้จำนองที่ดินกับธนาคาร
1. มีสัญชาติไทย
2. อายุอย่างน้อย 20 ปี
3. รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป
4. มีอายุงานปัจจุบันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5. กรณีผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องประกอบธุรกิจปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ขั้นตอนการจำนองที่ดินกับธนาคาร
1. เตรียมเอกสาร/แบบฟอร์มขอสินเชื่อจากธนาคาร
2. ธนาคารประเมินราคา
3. รอธนาคารอนุมัติวงเงิน อัตราดอกเบี้ย
4. ทำสัญญากู้เงิน, สัญญาจดจำนองที่ดิน ณ กรมที่ดินกับเจ้าพนักงานเท่านั้น
5. นำเอกสารจากกรมที่ดินไปให้ธนาคาร
6. รอรับเงินจากธนาคารภายใน 1-2 วัน
เอกสารที่ใช้ในการจำนองที่ดินกับธนาคาร
1. แบบฟอร์มการขอสินเชื่อ
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สลิปเงินเดือน สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน และเอกสารแสดงรายรับทางการเงินอื่น ๆ (ถ้ามี)
5. สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3 / นส.3ก หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า
6. สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน (ทด.13)
การตรวจสอบสัญญาจำนองที่ดิน
หลังจากขอทุนได้เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่นิติกรรม จากสำนักงานกรมที่ดิน จะติดต่อมาหาผู้จำนอง เพื่อให้เตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการทำสัญญาจำนองที่ดิน พร้อมนัดวันเวลาการทำเรื่อง โดยผู้จำนองต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
1. หนังสือสัญญาจำนองที่ดิน (ท.ด.15)
2. หนังสือสัญญาจำนอง 3 ฉบับ (สำหรับผู้กู้ ธนาคาร และสำนักงานที่ดิน)
3. สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทางเจ้าหน้าที่จะคอยช่วยเหลือผู้กู้ในการทำสัญญาจำนองจนแล้วเสร็จทุกขั้นตอน กระทั่งได้โฉนดที่จดทะเบียน
4. สัญญาจำนอง 2 ชุด (ให้ธนาคาร 1 ชุด และเก็บไว้เอง 1 ชุด)
ปล. ควรทำสำเนาโฉนดที่ดินไว้เพื่อไถ่ถอนในอนาคต และต้องยื่นธนาคารพร้อมสัญญาจำนองด้วย
ข้อควรรู้ทางกฎหมายกำหนดแบบไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น หากไม่ทำตาม แบบการจำนองจะเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาการจำนอง ควรจะระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับมูลค่า เช่น กู้เงิน 1,000,000 บาท โดยนำที่ดิน มูลค่า 2,000,000 บาท มาจำนอง สามารถระบุให้ชัดเจนว่า การจำนองนี้เป็นหลักประกันหนี้ เพียง 1,000,000 บาท เท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการจำนองที่ดิน
เตรียมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในวันที่ไปทำสัญญาจำนองที่ดินกับเจ้าพนักงาน ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมจดคำขอแปลงละ 5 บาท
2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ยืม แต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือในอัตรา 0.5% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3. ค่าภาษีอากรแสตมป์ ตามวงเงินจำนอง (วงเงินจำนอง 2,000 บาท / อากรแสตมป์ 1 บาท หากมีเศษจะคิดเป็น 1 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)
4. กรณีไถ่ถอน กรมที่ดินคิดค่าธรรมเนียมโฉนดละ 75 บาท
การไถ่ถอนที่ดินคืน
เมื่อชำระหนี้ครบแล้ว และผู้จำนองต้องการกรรมสิทธิ์ที่ดินคืน ต้องแจ้งเรื่องขอโฉนดและหนังสือมอบอำนาจจากผู้รับจำนอง แล้วจึงไปไถ่ถอนกับกรมที่ดิน โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้
1. สำเนาโฉนดที่ดิน
2. หนังสือสัญญาจำนอง
3. หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากผู้รับจำนอง
4. เอกสารอื่น ๆ
5. อาจมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อยในการให้บริการจากกรมที่ดิน
การบังคับจำนองที่ดิน (ยึดทรัพย์)
หากผู้จำนองเลยกำหนดเวลาชำระหนี้โดยประมาณ 30 วัน ผู้รับจำนองสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อให้นำที่ดินผืนนั้นขายทอดตลาด หรือหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ เพียงแต่ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือทวงหนี้ไปหาผู้จำนอง เพื่อใช้สิทธิบังคับจำนอง หากถึงกำหนดแล้วผู้จำนองหรือลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาลให้ผู้จำนองชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ สามารถขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของตน หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนหากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้
ทรัพย์สินที่จำนองนั้น จะหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ต้องเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
1. ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
2. ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
3. ไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง หมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้จำนองได้ หากไม่ชำระดอกเบี้ยภายใน 5 ปี ศาลเห็นว่ามีดอกเบี้ยเกือบเท่าเงินต้น และไม่มีผู้รับจำนองอื่นในการจำนองครั้งนี้
การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น ทรัพย์สินที่จำเลยอยู่ในความครอบครองของใคร หรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สินที่จำนองไปด้วยเสมอ แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตาม สิทธิจำนองก็จะติดตามไปด้วย
ตัวอย่าง นาย A จำนองที่ดินไว้กับนาย B เป็นเงิน 1 ล้านบาท ต่อมานาย A ตาย จึงยกมรดกที่ดินดังกล่าวให้นาย C ลูกชายของตน แต่การตายของนาย A ไม่ได้ทำให้สิทธิ์ของการเป็นเจ้าของที่ดินของนาย B หมดไป นาย B จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวได้แม้ว่าจะเป็นชื่อของนาย C แล้วก็ตาม
หนี้ที่ขาดอายุความไปแล้วจะมีผลกระทบถึงการจำนองหรือไม่
แม้ว่าหนี้ที่เป็นประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่จำนองแต่อย่างใด แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 745)
การชำระหนี้จำนอง
การชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใด ๆ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนอง กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้