ขายฝากที่ดินเขตวังทองหลาง โทร 095-8806760
หมวดหมู่สินค้า: rtd35 จำนองที่ดิน
28 มีนาคม 2565
ผู้ชม 122 ผู้ชม
รับขายฝากที่ดินเขตวังทองหลางดอกเบี้ยถูก เชื่อถือได้
ให้ราคาสูง ดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
ขายฝากบ้านเขตวังทองหลางที่ดิน บ้าน ทีนา สวน ให้ราคาสูง ดอกเบี้ยถูก อนุมัติจ่ายสด
จํานองที่ดินเขตวังทองหลาง
ขายฝากเขตวังทองหลาง
ขายฝากที่ดินเขตวังทองหลาง
ขายฝากบ้านเขตวังทองหลาง
สินเชื่อโฉนดที่ดินเขตวังทองหลาง
จํานําโฉนดที่ดินเขตวังทองหลาง
รับจำนองที่ดินเขตวังทองหลางรับขายฝากให้ราคายุติธรรม เคยสอบถามมาหลายที่แล้ว ยังไม่ถูกใจ ลองติดต่อปรึกษาเราได้ ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจ หรือต้องรีบใช้เร่งด่วน ทางเรายินดีให้บริการ รับขายฝากที่ดินเขตวังทองหลางรับจำนองเขตวังทองหลางรับซื้อฝาก รีไฟแนนซ์ บ้านและที่ดิน จากนายทุนโดยตรง รับคอนโด ที่ดินเปล่า ทาว์เฮาส์ บ้านจัดสรร อพาร์เม้นท์ อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด
จํานําโฉนดที่ดินเขตวังทองหลางบไถ่ถอน บ้าน คอนโด ทาวเฮาส์ ตึกแถว และที่ดิน ลดต้น ลดดอก
ทำไมต้องทำจำนองขายฝากที่ดินเขตวังทองหลางกับเรา
1. นายทุนเขตวังทองหลางคุยง่าย พูดเพราะ สบายๆ ดูแลเหมือนเป็นคนในครอบครัว หากท่านเดือดร้อนมา อยากให้นึกถึงเรา
2. ทางเราไม่มีการเช็คประวัติทางการเงิน อนุมัติง่าย รวดเร็วทันใจ
3. ปลอดภัยหายห่วง เพราะเราทำสัญญาที่กรมที่ดินเท่านั้น เอกสารสัญญา ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ และมีเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดินเซ็นรับทราบการทำสัญญา
4. ไม่เอารัดเอาเปรียบ รายละเอียดทุกอย่าง ทุกขั้นตอน รวมถึงเงื่อนไขการจำนองขายฝาก จะมีการชี้แจงให้ทราบอย่างละเอียด ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง
5. ไม่มีการเรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มเติม นอกจากรายละเอียดที่ตกลงกัน
ค่าจดจำนองคืออะไร ทำไมต้องจ่ายเวลาซื้อคอนโด
ช่วงนี้คอนโดต่างออกมาลดราคา อัดดีลเด็ด ๆ รวมถึงโปรโมชั่นคอนโดที่แสนจะล่อตาล่อใจกันเสียเหลือเกิน ราคาตึกเสร็จเท่าพรีเซลส์บ้างล่ะ ลดราคา 50% บ้างล่ะ ใครที่เตรียมตัวเรื่องเงินมาประมาณหนึ่งและกำลังมองหาคอนโดหลังแรกเป็นของตัวเองก็เรียกได้ว่าเป็นนาทีทองกันเลยทีเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนหลงลืมไป พอเห็นราคาคอนโดที่ถูกแสนถูกแล้วก็รีบพุ่งไปซื้อไปจอง นั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนโดอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าจดจำนองที่ดิน โดยค่าจดจำนองที่ดิน ไม่ว่าจะซื้อบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโด ก็ต้องจ่ายเหมือนกันหมด มันเคยมีกรณีหนึ่งที่ผมเคยเจอ เป็นการกู้ซื้อคอนโดที่ยอดพอดีกับราคาคอนโดนั้นเป๊ะ ๆ แบบทุกบาททุกสตางค์ พอถึงเวลาจริง ๆ รายจ่ายมันไม่ได้มีแค่นั้น ทีนี้ก็ชักหน้าไม่ถึงหลังสิคุณ วุ่นต้องหาเงินมาจ่ายส่วนต่างเหล่านั้นหลายหมื่นเลย ซึ่งเดี๋ยววันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าตัว ค่าจดจำนองคอนโด หรือ ค่าจดจำนองห้องชุดใหม่ กันดีกว่า ว่าเขาคิดราคากันอย่างไร และมีรายละเอียดอะไรที่เราต้องรู้บ้าง
ค่าจดจำนองคืออะไร
อันดับแรกเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าค่าจดจำนองคืออะไร เริ่มตั้งแต่ความหมายเลย คำว่า “จำนอง” คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่นที่ดิน หรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า“ผู้รับจำนอง”เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ.มาตรา 702)
ซึ่งในขั้นตอนการจดจำนองคอนโด ก็จะเป็นการนำคอนโดที่เราซื้อ ไปจดทะเบียนไว้กับธนาคาร ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง กรณีการซื้อคอนโดที่ต้องจดจำนองนั้น จะเป็นกรณีที่ต้องกู้ซื้อกับธนาคารเท่านั้น และตลอดระยะเวลาการผ่อน ในโฉนดจะระบุว่าเราเป็นเจ้าของห้อง แต่จะเเนบท้ายชื่อธนาคารที่รับจำนองไว้ด้วยนั่นเอง เเละเมื่อเราผ่อนหมด โฉนดจึงจะถูกแก้ไขให้เราเป็นเจ้าของห้องแต่เพียงผู้เดียวครับ
ประเภทของการจำนอง
โดยหลัก ๆ แล้วการจำนองนั้นมีอยู่แค่เพียง 2 วิธีเท่านั้นซึ่งแก่นของการจำนองเหมือนกัน คือ เป็นการประกันการชำระหนี้แก้ผู้รับจำนองนั้น คิดง่าย ๆ ถ้าเรากู้เงินจากธนาคารมาซื้อคอนโด ทางธนาคารก็แค่ต้องการหลักประกันว่าเราจะชำระหนี้ตรงตามงวดที่กำหนดครบทุกบาททุกสตางค์ ซึ่งหลักในการค้ำประกันนั้นก็ต้องเป็นห้องที่เราจะซื้อนั่นเอง โดยประเภทแยกของการประกันการชำหนี้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ครับ
1. การจำนอง “ทรัพย์ของตนเอง” เพื่อเป็นการประกัน “การชำหนี้ของตนเอง”
การจำนองประเภทนี้เนี่ยแหละครับที่เราจะเจอกันในขั้นตอนการโอนบ้าน / คอนโด ตัวอย่างเช่น นาย ก. กู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อคอนโด เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท นาย ก. ก็จะต้องนำคอนโดนั้นซึ่งถือว่าเป็น “ทรัพย์ของตนเอง” ไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการ “ประกันการชำหนี้” ของนาย ก. ที่ได้กู้ไปจากธนาคารนั่นเองครับ
2. การจำนอง เพื่อเป็นการประกัน “การชำระหนี้ของบุคคลอื่น”
กรณีนี้อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับค่าจดจำนองในการซื้อบ้าน / คอนโดใหม่แบบที่เรากำลังพูดถึงกันในบทความนี้มากนัก แต่ก็ขอเอามาเป็นข้อมูลประกอบเนื่องจากจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันครับ การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้กู้เงินจากธนาคาร เป็นจำนวนเงิน 5 แสนลาท แต่เนื่องด้วยนาย ก. ไม่มีทรัพย์สินที่สามารถใช้ประกันได้เลย นาย ข. จึงได้นำอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง ไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักประกันการชำหนี้ที่ได้ ก. ได้กู้มาจากธนาคารครับ
วิธีคิดค่าจดจำนอง (แบบเก่า)
วิธีคิดค่าจดจำนองคอนโด บ้าน ทาวน์โฮม ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อะไรก็แล้วแต่จะเหมือนกันครับ คือจะคิดค่าจดจำนองเป็น 1% จากมูลค่าทรัพย์สินที่จำนอง หรือ 1% จาดยอดเงินที่กู้ทั้งหมด สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ตรงนี้หลายคนสับสนว่าจริง ๆ แล้วค่าจดจำนองต้องคิดจากยอดไหน ขอย้ำให้ชัด ๆ กันอีกครั้งนะครับว่า “คิดจาก มูลค่าทรัพย์สินที่จำนอง หรือ จาดยอดเงินที่กู้ทั้งหมด ไม่เกิน 200,000 บาท”
ตัวอย่าง ผมซื้อคอนโดโครงการหนึ่ง โดยเป็นการกู้ซื้อกับธนาคาร โดยผมแจ้งยอดที่ต้องการกู้กับธนาคารไปว่า คอนโดที่ผมต้องการซื้อราคา 3,700,000 บาท แต่หลังจากธนาคารประเมินราคาคอนโดโครงการนั้นเเล้ว ปล่อยยอดกู้ออกมาที่ 3,500,000 บาท ค่าจดจำนองที่ผมจะต้องจ่ายจะคิดเป็น 1% จากยอดที่ธนาคารปล่อยกู้ที่ 3,500,000 บาท = ต้องจ่าย 35,000 บาทนั้นเองครับ
แต่ถ้าเกิดทรัพย์สินที่กู้กับธนาคารมีมูลค่าสูงกว่านั้น เช่น ผมซื้อคอนโดที่เป็นยูนิต Penthouse ราคา 90,000,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารก็ปล่อยกู้นะเพราะผมรวยมาก โดยปล่อยกู้มาที่ 85,000,000 บาท ถ้าคิดว่าต้องจ่ายค่าจดจำนอง 1% จากยอดกู้นั้น ผมต้องจ่าย 850,000 ใช่ไหมครับ แต่ตามกฎหมายระบุว่าค่าจดจำนอง จ่ายสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทเท่านั้น นั่นแปลว่าหากกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ก็ตามที่ราคาเกินกว่า 20,000,000 บาท ก็จ่ายค่าจดจำนองแค่ 200,000 บาท ทุกกรณีครับ
วิธีคิดค่าจดจำนอง 2563 (แบบใหม่ สำหรับอสังหาฯ มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท)
เนื่องด้วยตอนนี้หลาย ๆ คนคงเห็นว่าเศรษฐกิจนั้นไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ และแน่นอนว่าในภาคอสังหาริมทรัพย์เองก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ฉะนั้นรัฐจึงมีการออกมาตรการมาเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์กันมากขึ้น ซึ่งวิธีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก็คือ การลดอัตราค่าทำเนียมการโอนและลดค่าจดจำนองนั่นเอง ซึ่งในส่วนของค่าจดจำนองนั้น จากเดิมที่คิดเป็น 1% เปลี่ยนเป็นค่าจดจำนอง 0.01% ของมูลค่าทรัพย์สินที่จำนอง หรือ ยอดเงินที่กู้ทั้งหมด โดยมีข้อแม้ว่า มูลค่าของทรัพย์สินนั้นจะต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท และการจดจำนองจะต้องทำพร้อมกับการโอนด้วย โดยจะมีผลบังคับใช้ถึงเดือนธันวาคมปี 2563 นี้
ตัวอย่าง ถ้าผมซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท ทำเรื่องขอกู้กับธนาคาร และหลังจากธนาคารทำการประเมินราคาคอนโดที่ผมต้องการซื้อ อนุมัติยอดเงินที่กู้ได้คือ 2,900,000 บาท ค่าจดจำนองที่ผมจะต้องจ่าย คิดเป็น 0.01% จาก 2,900,000 บาท = จะต้องจ่าย 290 บาท จากเดิม 29,000 บาท ซึ่งถือว่าลดไปเยอะมากครับ
ใครต้องเป็นจ่ายค่าจดจำนอง
แว่ว ๆ ว่าปัญหานี้ก็เป็นปัญหายอดฮิตของคนที่จะซื้อบ้าน / คอนโดหลังแรกเหมือนกัน คือไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนที่ตนเองต้องรับผิดชอบบ้าง เพราะในขั้นตอนการซื้อ โอนและจดจำนอง มีค่าใช้จ่ายหลากหลายอย่างที่ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นจะไม่ได้เป็นของเราเองทั้งหมด โดย CondoNewb รวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายนอกเหนือจากราคาห้อง พร้อมระบุผู้รับผิดชอบมาให้เรียยบร้อยแล้วครับ
ค่าใช้จ่ายของผู้ขาย
ในการซื้อบ้าน หรือคอนโด ไม่ใช่ว่าตัวผู้ซื้อเองจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอยู่ฝ่ายเดียวนะ เพราะค่าใช้จ่ายบางส่วน ผู้ขาย หรือ ทางโครงการ ก็จะเป็นคนรับผิดชอบในส่วนนั้นให้ด้วย โดยค่าใช้จ่ายที่ผู้ขาย หรือ โครงการ จะรับผิดชอบให้ในขั้นตอนการซื้อ มีดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอน (จ่ายคนละครึ่งกับผู้ซื้อ)
คิดเป็น 2% ของมูลค่าทรัพย์สิน (หากมูลค่าทรัพย์สินเกิน 3 ล้านบาท) หรือ คิดเป็น 0.01% ของมูลค่าทรัพย์สิน (หากมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่า 3 ล้านบาท ตามมาตรการรัฐปี 2563)
*การจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน อาจขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย บางกรณีผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าธรรมเนียมการโอนทั้งหมด
ค่าอากรแสตมป์
คิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน แต่ในกรณีที่ราคาค่าอากรสแตมป์ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน ให้จ่าย 0.5% ของราคาประเมินแทน
ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยคิดตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร โดยสามารถดูข้อมูลรวมถึงวิธีการคำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องกับการขายอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรรพากร คลิกที่นี่
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะจะคิดเป็น 3.3% ของราคาประเมิน ผู้ขายจะต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีที่การขายอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นการค้าเพื่อหากำไรซึ่งผู้ขายกระทำเป็นปกติ ซึ่งตรงนี้จะเป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก แต่ไม่ต้องกังวล เพราะทางโครงซึ่งเป็นผู้ขาย จะจัดการให้เราทั้งหมด แต่ข้อเสริมนิดนึงเพราะไหน ๆ ก็พูดถึงประเด็นนี้เเล้ว ในกรณีที่เราเป็นผู้ขายเอง เราจะต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย เว้นแต่ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นทางการค้าที่ทำเป็นปกติ อันนี้จะไม่เสียธุรกิจเฉพาะครับ
“โดยอสังหาริมทรัพย์ที่จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ผู้ขายจะต้องครอบครองอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี ถ้าหากเกินเเล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะทุกกรณีครับ”
ค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อ
ต่อไปเรามาดูในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อกันบ้างครับ นอกเหนือจากค่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว ในขั้นตอนการโอนต่าง ๆ ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก คือ
ค่าธรรมเนียมการโอน (จ่ายคนละครึ่งกับผู้ซื้อ)
คิดเป็น 2% ของมูลค่าทรัพย์สิน (หากมูลค่าทรัพย์สินเกิน 3 ล้านบาท)หรือ คิดเป็น 0.01% ของมูลค่าทรัพย์สิน (หากมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่า 3 ล้านบาท ตามมาตรการรัฐปี 2563)
*การจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน อาจขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย บางกรณีผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าธรรมเนียมการโอนทั้งหมด
ค่าจดจำนอง
ถูกต้องแล้วครับ ค่าจดจำนอง ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปนั่นเอง โดยวิธีคิดก็ตามที่ระบุไว้ในหัวข้อด้านบนเลยครับ ตรงนี้ต้องระวังให้ดี อย่าลืมเตรียมเงินเผื่อไว้สำหรับค่ายต่าจดจำนองด้วย ย้อนกลับไปดูว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ต้องการจะซื้อนั้นมีมูลค่าเท่าใด แล้วต้องเสียค่าจดจำนองเท่าไหร่ เวลากู้จะได้เตรียมเงินสำรองเอาไว้เผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายตรงนี้ครับ
ผลของการจดจำนอง
แน่นอนว่าการจดจำนองซึ่งเป็นการจดทะเบียนลงลายลักษณ์อักษรต่อหน้าเจ้าพนักงานนั้น ย่อมมีผลของการจดจำนองตามมาในกรณีที่มี “ผู้ผิดสัญญา” รวมถึง สิทธิที่ “ผู้รับจำนอง” พึงกระทำได้หาก “ผู้จำนอง” ผิดสัญญาการชำระหนี้ ซึ่งมันก็คือกรณีที่ บ้าน คอนโด โดนยึดโดยธนาคารนั่นแหละครับ ซึ่งผลของการจำนอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ผู้รับจำนอง มีสิทธิเรียกทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นของตนได้
ข้อแรก เป็นข้อที่ผู้จำนองทุกคนต้องทราบเเละปฏิบัติตามให้ดี เพราะไม่อยากนั้นทรัพย์ที่ตนนำไปจำนองกับผู้รับจำนองไว้อาจหลุดไปได้ หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครับ
1.1 ลูกหนี้ (ผู้จำนอง) ขาดส่งดอกเบี้ยมาเเล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
1.2 ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ (หรือมีความหมายคือ มูลค่าของทรัพย์สินนั้นเพียงพอต่อจำนวนหนี้นั้นเอง)
1.3 ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
ตัวอย่างเช่น
นาย ก. ได้ทำการกู้เงินเพื่อซื้อคอนโดจากธนาคาร เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท โดยที่นาย ก. ได้นำคอนโดราคา 3 ล้านบาทที่จะซื้อไปจดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันการชำหนี้ของตน โดยมีการตกลงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 3% ต่อปี จากนั้นหลังจากผ่านไปแล้ว 5 ปี นาย ก. ผิดนัด ไม่เคยชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเลย ดังนั้นเมื่อรวบยอดเงินต้น 3 ล้านบาท และดอกเบี้ย 45,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,045,000 บาท ธนาคารมีสิทธิ์ฟ้องนาย ก. ต่อศาล ให้ศาลสั่งให้นาย ก. โอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดดังกล่าวมาให้เป็นของธนาคารได้เลย โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาด
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองเป็นอันดับแรก
ข้อนี้ ผู้รับจำนองสามารถเคลมเอาจำนวนเงินจากทรัพย์สินที่รับจำนองได้ทันที ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะถูกโอนไปยังบุคคลอื่นแล้วก็ตาม
ตัวอย่างเช่น
นาย ก. ได้กู้เงินจากธนาคารเป็นเงิน 500,000 บาท โดยนาย ก. ได้นำคอนโดไปจดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคาร และต่อมา นาย ก. ได้ไปกู้เงินมาจากนาย ข. อีก 100,000 บาท โดยไม่ได้มีการนำคอนโดหลังดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แต่อย่างได้ ดังนั้น ธนาคารจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากคอนโดหลังนั้นได้ก่อนนาย ข. ในกรณีที่นาย ก. ขายคอนโดหลังนั้นเพื่อชำระหนี้ และถึงแม้ว่านาย ก. จะโอนกรรมสิทธิ์คอนโดหลังนั้นไปให้บุคคลอื่นเเล้วก็ตาม ธนาคารก็ยังมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากคอนโดห้องดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองอีกด้วย
ถ้าขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองเพื่อใช้พนี้ แต่ได้น้อยกว่าจำนวนหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบส่วนต่างนั้น
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้รับจำนองต้องรู้ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากเป็นธนาคาร เขาย่อมรู้ความเสี่ยงตรงนี้ และจะประเมินมันตั้งแต่ขั้นตอนการปล่อยกู้แล้ว แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่งที่เราเกิดเป็นคนรับจำนองเสียเอง เราจำเป็นต้องรู้ว่า ถ้าหากลูกหนี้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดและกลายเป็นของผู้รับจำนองไปขาย แต่ราคาทรัพย์นั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่ยังค้างชำระกันอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่นั้น
ตัวอย่างเช่น
นาย ก. ได้น้ำคอนโดไปจำนองกับนาย ข. เป็นเงิน 1,000,000 บาท ต่อมาเมื่อนาย ข. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ยังคับจำนองเอาที่ดอนออกขายทอดตลาด แต่กลับได้เงินมาเพียง 800,000 บาท นาย ข. จะไม่สามารถไปบังคับให้นาย ก. ชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีก 200,000 บาทไม่ได้
เว้นแต่ว่า จะระบุไว้ตั้งแต่แรกในสัญญาว่าถ้าหากเกิดกรณีแบบนี้แล้วลูกหนี้จะต้องชำระส่วนต่างที่เกิดจากการขายทรัพย์สินแก่ผู้รับจำนองด้วย ซึ่งหากระบุไว้ในสัญญาก็สามารถมีผลบังคับใช้โดยไม่ผิดกฎหมาย
หากขายทอดตลาดแล้วทรัพย์มีราคาสูงกว่านี้ เงินส่วนนั้น เป็นของผู้จำนอง
ข้อสุดท้ายนี้ผู้จำนองทุกคนต้องทราบเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ให้กับตนเองนะครับ ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง และผู้จำนองได้นำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้นำเงินนั้นคืนแก่ผู้รับจำนอง แต่ถ้าหากมีเงินเหลือ ผู้รับจำนองต้องคืนเงินเหล่านั้นให้แก่ผู้จำนองทุกรณีครับ