9402246

บริการกำจัดแมลงขอนแก่น  โทร 098-4693941

หมวดหมู่สินค้า: rtd24 กำจัดปลวก

21 มีนาคม 2565

ผู้ชม 76 ผู้ชม


รับกำจัดปลวก บริษัทฉีดปลวก กำจัดแมลง กำจัดมด กำจัดแมลงสาบ กำจัดหนู ฆ่าปลวก ฉีดปลวก
รับกำจัดปลวกสลายรังปลวกด้วยช่างมีประสบการณ์
บริการกำจัดปลวกขอนแก่น
บริการกำจัดแมลงขอนแก่น
บริการกำจัดมดขอนแก่น
บริการกำจัดแมลงสาบขอนแก่น
บริการกำจัดหนูขอนแก่น
บริการฆ่าปลวกขอนแก่น
บริการฉีดปลวกขอนแก่น

                        ติดต่อสอบถาม




บริการของเรา

แนะนำบริษัทกำจัดปลวกขอนแก่น
เข้าสำรวจพื้นที่ในขอนแก่น และสภาพปัญหาโดยละเอียด เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา กำจัดปลวก และประเมินราคา ค่าบริการให้กับลูกค้า ฟรี!! โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
รับแก้ปัญหาแมลงเกี่ยวกับปลวกพื้นที่ขอนแก่น และแมลงรำคาญ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ยังสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถาพแวดล้อมรอบๆบ้าน
แนะนำบริษัทกำจัดปลวก ฉีดปลวก ที่อยู่ในขอนแก่น การเข้าบริการลูกค้าเพื่อทำการ กำจัดปลวก จะมีการนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วัน
บริษัทกำจัดปลวกขอนแก่น บริการกำจัดปลวก แมลง ระบบยกรัง สำรวจ ฟรี




วิธีป้องกันปลวกปัญหาหนักใจ ที่ควรกันไว้ก่อน

1. กำจัดกระดาษเหลือใช้ ไม่ให้ปลวกสร้างทางเดินเข้าบ้าน: เริ่มต้นด้วยวิธีง่ายๆอย่างการกำจัด “เซลลูโลส” อาหารหลักของปลวก ออกไปจากบ้านของท่านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. หมั่นตรวจสอบบ้าน รับบริการจากผู้เชี่ยวชาญ: หากท่านยังไม่พร้อมติดตั้งระบบป้องกันปลวก ก็ควรตรวจสอบบ้านอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยที่สุด
3. สารเคมีอันตราย ไม่อาจทำลายปลวกให้ตายทั้งรัง: เจ้าของบ้านบางท่านอาจเคยลองใช้สารเคมีป้องกันปลวกที่ซื้อตามท้องตลาด
4. แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ สร้างอณาเขตป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ: อันที่จริงแล้วการกำจัดปลวกก็สามารถเปรียบเปรยได้กับการรักษาโรคอย่างหนึ่งค่ะ การป้องกัน


แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด
 
ปลวกเป็นแมลงศัตรูในดินของข้าวไร่ที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบระบาดทำลายข้าวไร่ในแหล่งปลูกทั่วไป พบทำลายข้าวไร่มี 2 ชนิด คือ O. takensis Ahmad   และ P. latignathus  Holmgren  ปลวกทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นพวกที่อาศัยและสร้างรังอยู่ใต้ผิวดิน มีวงจรชีวิตและอุปนิสัยคล้ายคลึงกัน
         วงจรชีวิตของปลวกมี 3 ระยะ คือ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไข่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแต่โค้งเล็กน้อยตรงส่วนปลาย  ปลวกจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ภายในรัง  ในระยะสร้างรังใหม่ ปลวกรุ่นแรกที่ออกมาจะเป็นปลวกงาน และจะมีปริมาณมากตามต้องการ ทั้งนี้เพราะต้องการปลวกที่ออกไปหาอาหารและดูแล ตัวอ่อนในรุ่นต่อไป  ปลวกรุ่นต่อมาจะเป็นปลวกทหาร ซึ่งจะออกมาเพียง 1-2 ตัว และจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น ตัวอ่อนมีการลอกคราบหลายครั้ง หลังลอกคราบครั้งที่ 1 และ 2  ยังไม่สามารถแยกวรรณะได้ แต่จะแยกได้หลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3-4 แล้วปลวกราชินีจะให้กำเนิดปลวกเพศผู้และเพศเมีย เพื่อช่วยทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ เมื่อปลวกราชินีตาย ปลวกเพศเมียจะทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์ และวางไข่แทนปลวกราชินี  ปลวกเหล่านี้จะมีปุ่มปีก ซึ่งจะพัฒนาเป็นปีก เมื่อถึงฤดูแพร่พันธุ์จะบินออกไปจากรังเพื่อผสมพันธุ์ และสร้างรังใหม่
 
ลักษณะการทำลาย 
         ปลวกที่อยู่ใต้ผิวดิน กัดกินทำลายส่วนรากของข้าวไร่ทุกระยะการเจริญเติบโต ส่วนมากจะพบการทำลายของปลวกในระยะแตกกอสูงสุด ต้นข้าวที่ถูกทำลาย จะแสดงอาการเริ่มเหลืองหรือเหลืองซีดทั้งกอและแห้งตายในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ปลวกยังกัดกินทำลายส่วนลำต้น โดยเริ่มทำลายจากส่วนลำต้นใต้ดินขึ้นไปตามภาย ในปล้อง กัดกินเนื้อเยื่อภายในปล้อง และนำดินเข้าไปบรรจุเป็นรังแทนที่  ทำให้ต้นข้าวหักล้มที่ส่วนที่ถูกกัดกิน   การทำลายของปลวกจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อฝนทิ้งช่วงเกิดความแห้งแล้งติดต่อกันนาน  มีผลทำให้ผลผลิตข้าวไร่ลดลง
 
การป้องกันกำจัด
- หากพบรังปลวกขณะเตรียมดิน ให้ขุดทำลาย หรือไถพรวนดินหลายครั้งเพื่อทำลายรัง
- ในพื้นที่ที่พบรังปลวกประจำให้คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารคาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 25% เอสที) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม โดยคลุกให้ทั่วและนำไปปลูกทันที
 
ปลวก คืออะไร
ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง ปลวกมีนิสัยชอบที่มืดและอับชื้น ภายใน 1 รัง ปลวกจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการทำงานกันอย่างชัดเจน จึงแบ่งปลวกออกได้เป็น 3 ประเภท (วรรณะ) โดยปลวกทุกวรรณะไม่ได้มีความสามารถในการกัดกินเนื้อไม้ จะมีเพียงวรรณะกรรมกรหรือปลวกงานที่ทำหน้าที่หาอาหารเพียงวรรณะเดียวเท่านั้นที่สามารถกัดกินเนื้อไม้และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ไม้ได้
 
ประเภทของปลวก
1. วรรณะกรรมกร (Worker)
เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่
 
2. วรรณะทหาร (Soldier)
เป็นปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ
 
3. วรรณะสืบพันธุ์ (Reproductive)
เป็นวรรณะที่ปลวกมีรูปร่างต่างกันไป ตามช่วงเวลาในการดำเนินชีวิต ได้แก่
- แมลงเม่า (Alate or winged reproductive male or female) เป็นวรรณะสืบพันธุ์ที่มีปีก ซึ่งมีปีก 2 คู่ ปีกมีขนาดยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ เมื่อมีสภาพอากาศที่เหมาะสมโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนแมลงเม่าจะบินออกจากรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแมลงเม่าจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดินเพื่อวางไข่และสร้างรังใหม่ต่อไป
- ปลวกราชินี (Queen) และปลวกราชา (King) เป็นแมลงเม่าที่ผสมพันธุ์กันแล้วสลัดปีก และสร้างรังอยู่ในดิน หรือในไม้ เมื่อผสมพันธุ์ครั้งแรกแล้ว ส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ เพื่อให้รังไข่สามารถผลิตไข่ได้มากขึ้น จึงทำให้ปลวกราชินีมีขนาดใหญ่มากที่สุดในรังและมีอายุยืนยาว 25 – 50 ปี และทำให้ปลวกราชินีเคลื่อนไหวได้ลดลง จึงต้องมีปลวกงานคอยดูแล ส่วนใหญ่ใน 1 รัง จะมีปลวกราชินี 1 ตัวหรือมีปลวกราชินีได้มากกว่า 1 ตัว แล้วแต่ชนิดของปลวก แต่มีปลวกราชาตัวเดียว ในขณะที่ปลวกราชาหลังจากผสมพันธุ์แล้วมีขนาดลำตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ปลวกราชา 1 ตัวสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง      
- วรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and King) เป็นปลวกที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และออกไข่ เพิ่มจำนวน ประชากร ในกรณีที่ปลวกราชาหรือปลวกราชินีของรังถูกทำลายไป แต่มีประสิทธิภาพในการผลิตไข่ต่ำและมีอายุขัยสั้นกว่าเมื่อเทียบกับปลวกราชินีหรือปลวกราชา
 
เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่
 
วงจรชีวิตของปลวก
ปลวกมีการเจริญเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ หรือ incomplete metamorphosis คือ ประกอบด้วยระยะไข่ (egg) ระยะตัวอ่อน (larva) และระยะตัวเต็มวัย (adult) โดยเริ่มจากช่วงหลังฝนตก แมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจำนวนมากบินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำ เพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจึงสลัดปีกทิ้ง แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดิน ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2 – 3 วัน ปลวกราชินีจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง สำหรับปลวกราชินีเมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้น เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้นและใช้เป็นอวัยวะเก็บไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และเป็นหมัน ปลวกราชินีจะผลิตฟีโรโมน ออกมาจากทวารหนักของปลวกราชินี เพื่อควบคุมให้ปลวกเพศเมียเป็นหมัน และกระตุ้นให้ตัวอ่อนของปลวกพัฒนาไปเป็นวรรณะต่างๆ โดยฟีโรโมนดังกล่าวที่ปลวกราชินีปล่อยออกมา ยังมีหน้าที่ควบคุมการสร้าง juvenile hormone ในตัวอ่อน โดยในระยะ 3 – 4 ปีแรกของการสร้างรัง จำนวนปลวกงานและปลวกทหารจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ระยะเวลาการเจริญจากไข่ถึงปลวกทหารปลวกงาน ใช้เวลา 4 – 6 เดือน โดยจะมีบางส่วนเท่านั้นที่เจริญไปเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9 – 10 เดือน
 
อะไรคืออาหารของปลวก?
อาหารของปลวกคือเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อไม้ ปลวกส่วนใหญ่ทำความเสียหายแก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่ ไม้แปรรูป วงกบประตู วงกบหน้าต่าง ขอบบัวของพื้นอาคาร ฝ้าเพดาน พื้นไม้ปาร์เก้ วอลเปเปอร์ พลาสติก วัสดุที่ทำจากกระดาษและใยผ้าต่างๆ ผลของการทำลายและกัดกินของปลวกจะสูญเสียโครงสร้างอันสวยงามของไม้ พื้น พรม รูปภาพ หนังสือ เสื้อผ้า เครื่องเรือน และกระดาษที่มีค่า
 
ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเข้าทำลายปลวก
ปลวกเป็นแมลงศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญและสร้างความเสียหายมากที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายจากการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ทำจากไม้ ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ กล้าไม้และไม้ยืนต้น นอกจากนั้นยังทำลายผลิตภัณฑ์ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบอีกด้วย โดยทั่วโลกมีปลวกแพร่กระจายอยู่ประมาณ 2,500 ชนิด
ในประเทศไทย พบปลวกประมาณ 200 ชนิด ปลวกชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ มี 9 สกุล 10 ชนิด และจากการสำรวจชนิดปลวกที่เข้าทำลายบ้านเรือนในประเทศไทย พบว่าปลวกที่เข้าทำลายบ้านเรือนมากที่สุด และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด คือ ปลวกชนิด Coptotermes gestroi (Wasmann) พบในเขตเมือง 90% ของพื้นที่สำรวจ และพบในพื้นที่ชนบท 22% ของพื้นที่สำรวจ รองลงมา คือ ปลวกชนิด Microcerotermes crassus Synder พบเข้าทำลายบ้านเรือนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น ซึ่งพบ 42% ของพื้นที่ชนบทที่สำรวจ
 
จะรู้ได้อย่างไรว่าปลวกขึ้นบ้านแล้ว?
ปลวกจะไม่ขึ้นมาเดินบนพื้นผิวอาคารเพื่อหาอาหาร ส่วนใหญ่คุณจะพบตัวปลวกก็ต่อเมื่อมันได้เข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตามคุณสามารถดูได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีปลวก
- พบทางเดินปลวกจากพื้นดินเข้าสู่ตัวบ้าน หรือขี้ดินเป็นทางบนพื้นกำแพง
- พบปีกแมลงเม่าที่สลัดออกอยู่ใกล้ประตูและกรอบหน้าต่าง
- สีที่ทาบนผิวไม้โปร่งร่อน เมื่อเคาะมีเสียงกลวง
- มีเสียงการเคลื่อนไหวอย่างวุ่นวายเมื่อเคาะบนพื้นผิวไม้
 
ปลวกทำลายไม้ที่มีความสำคัญบางชนิด
1. ปลวกไม้แห้ง
ชนิดที่สำคัญ คือ Cryptotermes thailandis ส่วนใหญ่พบเข้าทำความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ที่เป็นเกาะ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย
 
2. ปลวกใต้ดิน
ชนิดที่สำคัญ คือ Coptotermes gestroi จัดเป็นปลวกชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศ ร้อยละ 90 ของอาคารที่ถูกทำลาย เกิดจากการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้ และเกือบร้อยละ 100 พบเข้าทำความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตเมือง
 
3.ปลวกสร้างรังขนาดเล็ก
ชนิดที่สำคัญ คือ Microcerotermes crassus โดยทั่วไปพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ ภายนอกอาคารหรือในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท โดยเฉพาะตามทุ่งนา แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีการขยายพื้นที่โครงการบ้านจัดสรรออกไปตามเขตชานเมืองที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อน จึงพัฒนาตัวเองกลายเป็นศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญของอาคารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะในระยะหลังจากปลูกสร้าง 1-2 ปี จากนั้น จึงจะพบปลวก Coptotermes gestroi เข้าทำลายตามมา
 
4.ปลวกสร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ชนิดที่สำคัญ คือ Globitermes sulphureus, Macrotermes gilvus และ Odontotermes longignathus มักพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอก และไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขต ชนบท
 
ปลวกเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนได้อย่างไร
ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง เช่น ตามรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร บริเวณรากฐาน เช่น เสา คาน ผนัง วงกบประตู หน้าต่าง บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ บริเวณพื้นใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเป็นเวลานานๆ ตามแนวคานในฝ้าเพดาน หรือตามท่อระบายน้ำ และตามปล่องท่อสายไฟ
 
Engine by shopup.com