รับขุดสระอำเภอปากพลี โทร 064-5687901
หมวดหมู่สินค้า: rtd43 ขุดสระถมที่
20 มีนาคม 2565
ผู้ชม 84 ผู้ชม
ถมที่ดิน เคลียร์ริ่งพื้นที่; รับเหมาขุดลอกสระ ขุดลอกคลอง บึง ทำบ่อเลี้ยงปลา; รับงานรื้อถอน ทุบตึก อาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ โรงงาน บ้านที่พักอาศัย ฯลฯ
ขุดสระโคกหนองนาอำเภอปากพลี
แบคโฮขุดบ่อน้ำอำเภอปากพลี
แบคโฮขุดสระเก็บน้ำอำเภอปากพลี
ถมดินสร้างบ้านอำเภอปากพลี
ขุดบ่อถมที่อำเภอปากพลี
รับถมที่อำเภอปากพลี
รับถมที่ถมลูกรัง
รับถมที่ดินดาน
รับถมที่หินคลุก
รับถมที่ถมลูกรัง
รับถมที่ดินดาน
รับถมที่หินคลุก
รับการเคลื่อนย้ายดินอำเภอปากพลี
เรามุ่งมั่นจะสร้างพื้นที่เก็บน้ำ แหล่งผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยให้บริการราคาถูกช่วยกัน รับงานขุดออกแบบ
โมเดลโคกหนองนา รับขุดบ่อถมที่ ขนย้ายเครื่องจักร ราคาถูก
รับขุดโคกหนองนาอำเภอปากพลี
ราคาขุดโคกหนองนาอำเภอปากพลี
ราคาขุดโคกหนองนา1ไร่อำเภอปากพลี
งบประมาณโคกหนองนาอำเภอปากพลี
โคกหนองนา2ไร่ราคาอำเภอปากพลี
อำเภอปากพลีแบคโฮขุดสระเก็บน้ำ สร้างฝันในจินตนาการสำหรับผืนนาของคุณ ในราคาที่จับต้องได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาและคำนวนราคา ยังไม่พร้อมจ้างไม่เป็นไรครับ เพราะเรารู้ดีว่า คุณต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดเพื่อปรึกษาครอบครัวในการตัดสินใจ
อำเภอปากพลีขุดสระน้ำแบบธรรมดารูปทรงสี่เหลี่ยม ราคาถูกที่สุดในอำเภอปากพลี
อำเภอปากพลีขุดสระขั้นบันไดมีตะพัก หรือ สระฟรีฟอร์มรูปทรงอิสระ ราคาสูงกว่าเล็กน้อย
ขุดบ่อน้ำแบบไหน สู้แล้งได้ดี
เข้าสู่ฤดูฝนได้พักใหญ่ แต่ปริมาณฝนปีนี้ไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจเกษตรกรเท่าที่ควร ติดตามได้จากรายงานสถานการณ์น้ำฝนทั้งประเทศและปริมาณน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำสำคัญหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำน้อยเกินคาดการณ์ ทั้งนี้แม้ยังมีสิทธิ์ลุ้นอีกหลายเดือนกว่าจะหมดฝน แต่หากเกษตรกรท่านใดมีการเตรียมการเรื่องน้ำมาเป็นอย่างดีจะมีข้อได้เปรียบแน่นอน โดยเฉพาะท่านที่สามารถขุดบ่อน้ำไว้ใช้เองได้
วันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอนำหลักการขุดบ่อน้ำไว้ใช้เอง ให้สู้แล้งอย่างได้ผล ของ รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยแนวคิดขุดบ่อน้ำโดยคำนึงถึงหลักความเป็นจริงของธรรมชาติ
การขุดบ่อน้ำให้ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ ดร.บัญชาแนะนำว่า พื้นที่สระน้ำต้องมีอย่างน้อย 1 ไร่ ถึงจะเพียงพอใช้ในหน้าแล้ง และยังใช้เลี้ยงปลาได้อีกด้วย
ส่วนพื้นที่จะขุด ให้เลือกบริเวณที่ลุ่มต่ำ สังเกตได้บริเวณนั้นจะมีกรวดถูกน้ำพัดไหลมารวมกัน บริเวณที่ลุ่มต่ำข้างล่างจะมีดินดานช่วยเก็บน้ำได้ดี ห้ามไปขุดบนเนินดิน นอกจากจะไม่มีน้ำไหลมาเข้าบ่อแล้ว ขุดลงไปข้างล่างยังเป็นดินร่วน เก็บน้ำไม่อยู่ น้ำซึมลงใต้ดิน เสียประโยชน์ทั้งหมด
สระที่จะขุดควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะจะเสียพื้นที่ขอบบ่อน้อยที่สุด และการขุดสระเพื่อป้องกันตลิ่งทรุดพัง ควรมีลาดเอียงในอัตรา 1 : 1 แต่ถ้าสระลึก 4 ม.ขึ้นไป จะต้องขุดแบบให้มีตะพัก เพื่อป้องกันตลิ่งชันทรุดในช่วงน้ำน้อยด้วย ความลึกของสระที่เหมาะคือ 4-5 เมตร เผื่อน้ำระเหยออกไปด้วย ในรูปแบบนี้ถึงน้ำจะระเหยแต่ก็มีน้ำเหลือใช้เพียงพอ
เมื่อขุดดินขึ้นมาแล้ว ให้วางกองรอบขอบสระ ให้ห่างจากขอบสระ 1-2 เมตร เพื่อกันดินไหลลงบ่อ ที่สำคัญ อย่ากองดินปิดขอบสระจนหมด ต้องเปิดทางให้น้ำไหลเข้าสระได้ด้วย ถ้าปิดขอบสระจนหมด รอให้ฝนตกลงสระอย่างเดียว น้ำจะไม่มีวันเต็มสระ ปีไหนฝนน้อย สุดท้ายก็จะกลายเป็นบ่อร้าง
ดังนั้นหากใครที่ยังขุดน้ำแบบเดิม ๆ ขุดบ่อโดยไม่วางแผน ขุดบ่อบนที่ดอน หรือขุดบ่อลึกแค่ 2-3 เมตร อาจจะเสียเงิน เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะนอกจากจะเก็บน้ำไว้ไม่ได้จนถึงแล้งแล้ว ยังไม่สามารถรับน้ำได้ สุดท้ายบ่อที่ขุดไว้อาจกลายเป็นบ่อร้างในที่สุด
เทคนิคและขั้นตอนการขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร
จากการสำรวจพื้นที่ และหาข้อมูลประกอบด้านต่าง ๆ จึงกำหนดขนาดสระที่จะดำเนินการขุด ด้วยรถขุดคูโบต้า รุ่น KX080-3 ขนาด 8 ตัน ให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำขนาด 40x20x2.5 เมตร ความสูงของคันดินขอบสระ 1.5 เมตร ความกว้าง 5 เมตร และความจุสระประมาณ 1,350 ลูกบาศก์เมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มสุดของพื้นที่โดยรอบ เหมาะแก่การเป็นศูนย์รวมน้ำเมื่อถึงฤดูฝน ลักษณะดินชั้นบนเป็นดินทรายมีความลึกชั้นดินทราย 1.5 เมตร และดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสามารถกักเก็บน้ำได้ดี มีการรั่วซึมน้อย โดยขั้นตอนในการดำเนินการ รายละเอียดดังนี้
การสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสม
โดยพิจารณาจากความลาดเอียงของพื้นที่ สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ลุ่มที่สามารถเป็นศูนย์รวมน้ำจากบริเวณโดยรอบได้ มีชั้นดินที่สามารถรองรับการกักเก็บน้ำ มีอัตราการรั่วซึมน้อย มีชั้นดินเหนียว หรือชั้นดินดานช่วยขวางการไหลซึมของน้ำ ดินมีการยึดเกาะตัวกันอย่างมั่นคง ซึ่งอาจต้องประเมินในวงกว้าง หรือมีการทำแผนที่ระดับความสูงต่ำของพื้นที่รายหมู่บ้าน เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมในการขุดสระที่ดีที่สุด
การวัดพื้นที่ขอบเขตการขุด
เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว ให้ดำเนินการวัดพื้นที่สำหรับเว้นไว้เป็นคันสันสระ และวัดขนาดความกว้างและความยาวของสระ เพื่อทำการปักแนวขอบเขตของสระ โดยปักหลักขอบเขตของปากสระที่มีขนาดตามแบบที่กำหนด
การกำจัดวัชพืช และปรับผิวดิน
กำจัดวัชพืช และสิ่งกีดขวางในพื้นที่ ปรับผิวดินให้เรียบเสมอกันทั้งพื้นที่ เพื่อให้รถขุดสามารถจอดได้ระดับทั่วทั้งพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับท้องสระเรียบเสมอได้ระดับ สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ
การสร้างแนวขอบสระ
ใช้ล้อตีนตะขาบวิ่งเป็นแนวรอบสระตามขอบเขตที่ได้วัด และปักหลักขอบเขตไว้ เพื่อเป็นจุดสังเกตในขั้นตอนการขุดดิน การวิ่งแนวขอบสระอาจต้องวิ่งไปกลับ จนเส้นแนวที่ได้เป็นเส้นตรงทั้งสี่ด้าน เพื่อให้ขอบปากสระมีความตรง ได้แนวระดับเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก
การขุดดิน และสร้างพื้นที่เก็บน้ำของสระ
1 ขุดเปิดงานสร้างระดับความลึกมาตรฐาน ทำการขุดดินบริเวณมุมของสระให้ห่างจากหลักขอบเขตประมาณ 1.5 เมตร เพื่อเว้นพื้นที่สำหรับปรับลาดขอบสระ โดยทำการขุดจนได้ระดับความลึกท้องสระตามที่กำหนด ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 2.5-3.0 เมตร และทำการวัดความลึกให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อใช้ความลึกนี้เป็นเกณฑ์ในการขุดระดับก้นสระทั้งหมด