ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า โทร.0955266242
หมวดหมู่สินค้า: rtd19 ดูแลผู้สูงวัย
18 มีนาคม 2565
ผู้ชม 80 ผู้ชม
ดูแลผู้สูงอายุ&ผู้ป่วยพักฟื้น อบอุ่น ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า สังคมในปัจจุบันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในบ้าน จึงมีผู้พัฒแคเว็บไซต์ สำหรับค้นหาผู้ดูแลที่เชื่อใจได้ สถานดูแลผู้ป่วยตามบ้านปิ่นเกล้า ผู้สูงอายุ โดยพยาบาลวิชาชีพ รับดูแลผู้สูงอายุ ติดเตียง ผู้ป่วยหลังผ่าตัดระยะพักฟื้น กายภาพบำบัด กิจกรรมพัฒแคสมอง
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
ศูนย์ส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุตามบ้านปิ่นเกล้า ดําเนินการโดยผู้บริหารมืออาชีพ ที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ และมีประสบการณ์บริหารงานด้านการดูแล ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโดยตรง
บริการดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า ผู้ป่วย ผู้ป่วยระยะพักฟื้นและเด็กเล็ก ดูแลผู้ป่วย ดูแลคนชรา ดูแลคนแก่ แม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
รับดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า เรามีความรู้ด้านพื้นฐาน และภาคปฏิบัติการ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจผู้สูงวัย และผู้ป่วย งานด้านดูแลผู้สูงอายุต้องมีความรู้ความใส่ใจและมีเมตตา เราดูแลเสมือนหนึ่งเป็นญาติมิตร
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
ดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
สถานดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
รับดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ไหนดีปิ่นเกล้า
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านปิ่นเกล้า
หาคนดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
บริการดูแลผู้สูงอายุปิ่นเกล้า
ปัญหาน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ส่วนมาก ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์มักตรวจพบว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร เป็นต้น ซึ่งมักเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง
นอกจากการมีอาการอื่นๆ ร่วมนั้น ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งเป็นเรื่องปกติในผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการมีโรค และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีได้
น้ำหนักลดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามธรรมชาติ
น้ำหนักที่ลดลงตามธรรมชาตินั้น จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. โดยปกติผู้ชายทุกคนจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงอายุ 40-50 ปี ขณะที่ผู้หญิงจะมีน้ำหนักตัวขึ้นสูงสุดระหว่างอายุ 50-60 ปี หลังจากนั้นผู้ชายจะสูญเสียเนื้อเยื่อของร่างกายส่วนที่ไม่ใช่ไขมันไปรวดเร็วกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นชายมีน้ำหนักลดได้เร็วกว่าผู้สูงอายุที่เป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากกล้ามเนื้อของแขนขาจะลดปริมาณลง ขณะที่ไขมันในบริเวณลำตัวจะเพิ่มมากขึ้น
2. ไขมันที่บริเวณใบหน้าจะลดจำนวนลง ทำให้ใบหน้าของผู้สูงอายุจะแลดูแก้มตอบ และด้านข้างของศีรษะบริเวณขมับลีบเล็กลง
น้ำหนักลดจากความผิดปกติ
ถ้าน้ำหนักลดลงจากเดิม 5% ภายในเวลา 6-12 เดือน ถือว่าอาจมีสาเหตุทางการแพทย์อย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่จากความชราแล้ว
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำหนักลด
1. ฟันและเหงือกผิดปกติ ทำให้เจ็บปวดขณะกิน หรือรับรสได้ไม่ดี ทำให้เบื่ออาหาร
2. การกลืนลำบาก มักไอ จาม สำลักอาหาร หรือเมื่อกลืนแล้วรู้สึกว่าอาหารติดอยู่ในหน้าอก สาเหตุอาจมาจากความผิดปกติที่หลอดอาหารเองเช่น มีเนื้องอกของหลอดอาหารหรือหลอดอาหารตีบตัน หรือมีอะไรมากดทับหลอดอาหารจากทางด้านนอก เป็นต้น ซึ่งควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
3. มีอาการท้องร่วงเรื้อรังโดยเฉพาะหลังอาหาร แต่สุขภาพโดยทั่วไปค่อนข้างดี ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารชนิดที่มีกากอาหารมากเกิดไป โดยกากอาหารที่มีอยู่ในลำไส้จะไม่ถูกย่อย กลับจะดูดน้ำเข้ามาไว้ กระตุ้นให้อาการถ่ายเหลวหลังอาหารได้
4. เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งภาวะจิตซึมเศร้า เป็นต้น โดยพบว่ามะเร็งเป็นสาเหตุของน้ำหนักลดในผู้สูงอายุได้ราว 20%
สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุน้ำหนักลดลงได้มากยังเกิดขึ้นได้จากภาวะสมองเสื่อม และผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้อีกด้วย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด หากผู้สูงอายุมีน้ำหนักลดลง ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไปผลของน้ำหนักลดที่มากเกินไป
น้ำหนักลดที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งใจลดน้ำหนัก และลดเกินกว่าร้อยละ 5-10 ในช่วง 1-12 เดือน ถือว่ามีความสำคัญ น้ำหนักลดทำให้เกิดการขาดสารอาหาร ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น ซีด กระดูกพรุน กล้ามเนื้อไม่มีแรง ช่วยเหลือตังเองได้น้อยลง เดินไม่มั่นคง หกล้ม แผลห้ายช้า แผลกดทับและภูมิคุ้มกันลดลง ติดเชื้อง่าย นอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุ ไม่ใช่กินยาเจริญอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น บางคนมึนศีรษะ ซึม สับสน ท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก บวม และยังไม่ได้เป็นการแก้ไขสาเหตุที่อาจซ่อนอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่หาสาเหตุที่แน่ชัดไม่พบ
สาเหตุของอาการน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ
โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลดได้
อารมณ์ซึมเศร้า ทำให้เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เศร้า ไม่สนใจจะทำกิจกรรมใดๆ เหมือนเคย
สมองเสื่อม และมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น เดินวุ่นวายในบ้าน เดินเร่ร่อนออกจากบ้าน หวาดระแวงไม่ยอมกินอาหาร หรือสมองเสื่อมจนไม่สามารถกินเอง เคี้ยวและกลืนอาหารได้
ความอยากอาหารลดลง จากความจำเป็นที่จะใช้พลังงานออกไปลดลง
ฟันหรือฟันปลอมไม่ดี เหงือกอักเสบ แผลในปาก
โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร การย่อยอาหาร และการขับถ่ายไม่ดี
โรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค หรือการติดเชื้ออื่นๆ ก็มักทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหารได้นาน
ยาหลายชนิดทำให้เบื่ออาหาร หรือรบกวนการดูดซึมของอาหาร เช่น ยาโรคหัวใจ ยาโรคเบาหวานบางชนิด ยารักษาภาวะสมองเสื่อม ยาปฏิชีวนะ ยารักษาอารมณ์ซึมเศร้า นอกจากนั้น ยาบางชนิดเพิ่มเมแทบอลิซึมของร่างกาย ทำให้น้ำหนักลดลงได้
โรคตามระบบอื่นๆ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานน้อยเกินไป ซึ่งในผู้สูงอายุอาจมีอาการเบื่ออาหารได้ โรคเบาหวานอาจทำให้น้ำหนักลดได้เช่นกัน โรคหัวใจวาย หอบหืด ไตวาย ตับวาย ทำให้เบื่ออาหาร
การควบคุมอาหารเฉพาะโรคอย่างเคร่งครัดเนื่องจากผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับโรคมาก เช่น มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง จึงควบคุมอาหารจำนวนมากอย่างเคร่งครัด บางครั้งอาจทำให้ได้กินแต่อาหารที่ไม่ถูกปาก ไม่คุ้นเคย และกินได้ลดลง
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและครอบครัว เช่น ฐานะยากจน อยู่บ้าน คนเดียวสำหรับทุกครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้าน เรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพราะมักจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดและอาจมีผลเสียตามมาก็คือ อาการผอม หรือน้ำหนักลดของผู้สูงอายุ เพราะบ่อยครั้งที่เรามักจะคิดว่าเป็นไปตามวัย หรืออาจเกิดจากโรคประจำตัวที่ท่านเป็น แต่อาการแบบไหนที่เราจะทราบสาเหตุของปัญหาน้ำหนักลดได้
โดยปกติ การน้ำหนักลดเองตามธรรมชาติของผู้สูงอายุนั้น เพศชายจะลดไวกว่าเพศหญิง โดยจะลดที่ปริมาณกล้ามเนื้อจะเหลืออยู่เป็นปริมาณไขมัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ แต่จะมีสาเหตุอื่นที่เป็นตัวเร่งอัตราการผอมลงจากหลายสาเหตุ ทำให้ต่อมรับรสอาหารทำงานได้น้อยลง เกิดอาการไม่อยากอาหาร หรือภาวะการกลืนอาหารลำบาก ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากการอาการผิดปกติในระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อหลอดอาหาร รวมถึงการมีอาหารติดอยู่ที่หน้าอก มีอาการกลืนน้ำและของเหลวยาก เนื่องจากเพราะอาจมีเนื้องอกหรือหลอดอาหารตีบตัน เป็นต้น
อาการผอมลงผู้สูงอายุ
เคี้ยวอาหารแล้วเจ็บฟัน หรือทานอะไรก็ไม่อร่อย
สำลักอาหารบ่อยๆ กลืนลำบาก ไอ จาม
ท้องเสียบ่อยมากๆ หรือท้องร่วงง่ายหลังทานอาหาร
มีโรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดอุดกั้นเรื้อรัง
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
นอกจากนี้ ยังมีอาการท้องร่วงเรื้อรัง โรคประจำตัวของผู้สูงอายุเอง ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม ผลข้างเคียงของยาที่ได้รับจากแพทย์ ซึ่งเหล่านี้ผู้สูงอายุ และลูกหลาน คนใกล้ชิด ต้องหมั่นสังเกต และสอบถามอาการ พร้อมทั้งการชั่งน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุ หากมีความผิดปกติจะได้สามารถพาไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนปัญหาด้านจิตใจก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุน้ำหนักลดได้ หมั่นพบปะพูดคุย หากิจกรรมทำร่วมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คนในครอบครัวสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้หากมีความเข้าใจกันผู้สูงอายุเบื่ออาหาร เป็นปัญหาที่ในบางครอบครัวมองข้าม และคิดว่าไม่เป็นอะไร ไม่นานเดี๋ยวก็กลับมากินได้เหมือนเดิม แต่รู้ไหมคะว่า หากปล่อยไว้ นานเข้าอาจเกิดผลกระทบร้ายแรงต่อตัวผู้สูงอายุได้ การเบื่ออาหารของผู้สูงอายุ สังเกตได้ไม่ยากจากพฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป ไม่ค่อยทานอาหาร หรือทานได้น้อยลง แม้กระทั่งของโปรดที่เมื่อก่อนเคยชอบ กลับบ่นว่าไม่อร่อย ไม่อยากทาน น้ำหนักลดลง และร่างกายซูบผอม
ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร สาเหตุเกิดจากอะไร
อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้1.ปัญหาทางด้านร่างกาย
การรับรสและกลิ่นเปลี่ยน เพราะรสชาติและกลิ่นของอาหารจะช่วยทำให้เรารู้สึกว่าอาหารนั้นอร่อย แต่ในผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป ความสามารถในการรับรสและกลิ่นนั้นเปลี่ยนไป เนื่องมาจาก ต่อมรับรสและกลิ่นทำงานแย่ลง ทำให้รู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย ไม่มีรสชาติ จึงทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเบื่ออาหาร
สุขภาพฟันและเหงือกไม่แข็งแรง ฟันและเหงือกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร เนื่องจากการเจ็บปวดที่ฟันและเหงือก ฟันหลุดร่วง เหงือกร่น ปัญหาฟันปลอมที่หลวม ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก ทานอาหารได้น้อยลง
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันและเหงือก ครอบครัวควรพาไปพบแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพช่องปาก
ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ในผู้สูงอายุมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารน้อยลง การบีบและคลายตัวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ทำงานไม่ปกติ ย่อยอาหารได้ไม่ดี ย่อยยาก ทำให้มีอาหารตกค้างในกระเพาะและลำไส้ ทำให้ท้องผูก
เกิดจากการเป็นโรคต่างๆ โรคอัมพฤษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้มักทานอาหารได้ยาก เคี้ยวยาก กลืนยาก ทำให้การทานอาหารเป็นเรื่องที่ยาก และลำบาก จนทำให้ไม่อยากอาหาร เมื่ออายุยิ่งเพิ่ม น้ำหนักที่มากขึ้นยิ่งตามมา ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี เพราะจะนำมาซึ่งโรคของผู้สูงอายุที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป อาทิ โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง หรือโรคกระดูกไขข้อต่างๆ ดังนั้น การดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจ ดูแลเป็นพิเศษ แต่จะให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนักเหมือนเด็กและวัยรุ่นคงลำบาก ด้วยร่างกายและสภาวะที่เปลี่ยนไป การลดน้ำหนักในผู้สูงอายุจึงควรทำอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ยังได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนควบคู่กันไปด้วย
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การลดน้ำหนักให้ได้ผลสำหรับคนมีอายุนั้นควรค่อยเป็นค่อยไป เพราะการลดอาหารกะทันหันทันทีจะทำให้เกิดอาหารหิวมาก ทำให้ท้อและลดไม่สำเร็จ ซึ่งการลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหาร ทำได้โดยดื่มน้ำก่อนกินอาหาร 1-2 แก้ว และดื่มก่อนอิ่มอีก 1-2 แก้ว จะช่วยให้กินอาหารได้น้อยและอิ่มเร็วขึ้นอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
ผู้สูงอายุสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คุณคิด
เมื่อสูงอายุขึ้น การรับกลิ่นและรสจะเปลี่ยนไป จนเกิดอาการเบื่ออาหาร กินน้อย หรือบางคนเลือกกิน ทำให้กินไม่หลากหลาย พอนานวันเข้า สารอาหารที่ได้รับจะไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ขาดสารอาหารบางอย่าง ไม่ร่าเริง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ในระยะยาวจะสะสมจนทำให้ สมองทำงานไม่เต็มที่ ผิวพรรณไม่ดี แผลหายช้าลง เคลื่อนไหวลำบากไม่เหมือนที่เคย และคุณภาพชีวิตโดยรวมย่ำแย่
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า อาการดังกล่าวเป็นอาการทั่วไปของคนชราและปล่อยปละละเลย จนเกิดภาวะขาดสารอาหารสะสมทีละนิด โดยไม่รู้ตัว และมักจะส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อค่อย ๆ ลีบลง ซึ่งหากได้รับโภชนาการที่ดีแล้ว บางรายอาจฟื้นตัวและกลับมามีกำลังวังชาได้อีกครั้ง การดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่จึงสำคัญ
มวลกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวไม่ใช่แค่กระดูกไขข้อ แต่กล้ามเนื้อที่บังคับให้เคลื่อนไหวก็สำคัญไม่แพ้กัน การสูญเสียกล้ามเนื้อเมื่ออายุมากขึ้นอาจทำให้คนเราเคลื่อนไหวได้น้อยลง
งานวิจัยยังพบว่า หากกล้ามเนื้อมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ร่างกายจะให้ความสำคัญกับการสร้างกล้ามเนื้อก่อนการซ่อมแซมบาดแผล ดังตารางด้านล่าง จะเห็นว่า หากมวลกล้ามเนื้อลดลงมากกว่า 20% ร่างกายจะเริ่มไม่ซ่อมแซมบาดแผล แต่จะไปสร้างกล้ามเนื้อแทน ทำให้เวลาบาดเจ็บก็หายช้า จากนั้นพอมวลกล้ามเนื้อลดลงมากกว่า 30% จะเริ่มลุกขึ้นนั่งไม่ได้ เป็นแผลกดทับ ร่างกายไม่รักษาบาดแผล แผลเรื้อรังไม่หาย อาหารที่กินเข้าไปไม่ช่วยซ่อมแซมร่างกาย
5 ข้อควรรู้ ในการดูแลอาหารให้ผู้สูงอายุ
1. สารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล สำคัญต่อการดูแลภาวะขาดสารอาหาร
หลายคนเข้าใจผิด เสริมแต่วิตามินเป็นเม็ดๆ หรืออาหารเสริมทั่วไป ที่มักเน้น “สารอาหารรอง” ทั้งที่ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่มักละเลยคือ “สารอาหารหลัก” เช่น โปรตีน ไขมันชนิดดี คาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้พลังงานที่เพียงพอ เราจึงแนะนำให้รับประทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ที่ให้โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และ เกลือแร่ในปริมาณที่พอเหมาะและครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2. เวย์โปรตีน เหมาะกับผู้สูงอายุ
หลายคนเข้าใจผิดว่า เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่เหมาะกับคนหนุ่มสาวที่เล่นกล้ามเท่านั้น จริงๆแล้วผู้สูงอายุนี่แหละที่ต้องการอย่างมาก เพราะเวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดี ดังตารางด้านล่างที่งานวิจัยพบว่า ร่างกายคนเราสามารถดูดซึม เวย์โปรตีน ไปสร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ ดังนั้นยิ่งผู้สูงอายุที่ทานข้าวได้น้อย ก็ยิ่งควรเลือกกินเวย์โปรตีน เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ได้รับโปรตีนน้อย กล้ามเนื้อจะยิ่งลีบลงเร็ว ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหว
3. การดูแลด้วย โพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์สุขภาพ) และ ใยอาหาร
โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์สุขภาพที่ดี ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้ของคนเรา สามารถช่วยให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้นและปรับสมดุลการขับถ่าย 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาระบบขับถ่าย นอกจากนี้ การได้รับอาหารเสริมที่มีเส้นใยอาหารยังอาจช่วยลดอาการท้องผูก ใยอาหารบางชนิดยังสามารถดูดซับของเสียแล้วถ่ายออกมาได้อีกด้วย เช่นดูดซับไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกิน ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกาย แล้วขับออกมา ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
4. วิตามินอี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ผลงานวิจัยทางการแพทย์บ่งชี้ว่า การได้รับวิตามิน อี ที่พอเหมาะในปริมาณที่สูง สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หากทานติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งสำคัญในผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการติดเชื้อง่าย การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินอี จึงเป็นเกราะป้องกันที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข
5. ไขมันชนิดดี MUFA
ไขมันไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป การกินไขมันที่ดี จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น
รู้หรือไม่ว่า การกินไขมันชนิดดีที่เรียกว่า MUFA มีผลวิจัยระบุว่ามีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันรวม และลดไขมันตัวร้าย คือ LDL และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ โดยไม่ทำให้ระดับไขมันชนิดดี HDL ลดลง การรับประทานไขมัน MUFA ที่พบได้มากในไขมันจากพืชเช่น ดอกคาโนล่า ดอกทานตะวัน เรปซีด จึงมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
ถ้ากินน้อย ต้องเสริมอาหารเสริม แล้วจะเลือกอย่างไร
ไม่ง่ายเลยที่จะกินอาหารให้ครบถ้วนทุกวัน ทุกมื้อ ทางผู้เชี่ยวชาญจึงได้มีการคิดค้นอาหารเสริม ที่พัฒนาสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ เป็นอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ อยู่ในรูปแบบผง ชงดื่มง่าย มีการคำนวณปริมาณสารอาหารให้สมดุลตามหลักทางการแพทย์ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อร่างกาย ผสมเข้ามาไว้ด้วยกัน
และอาหารสูตรครบถ้วน สูตรเฉพาะ จาก เนสท์เล่ ยังดูแลด้วย 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับความนิยมในยุโรปและอเมริกา เพราะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัยให้แข็งแรงสมวัย สามารถชงดื่มเสริมมื้ออาหารปกติ วันละ 1-2 แก้ว เสริมให้ได้รับสารอาหารที่กินไม่เพียงพอ ถือเป็นอีกตัวเลือกที่ดี เพราะต่างจากอาหารเสริมที่มีโปรตีนน้อยกลุ่ม เช่น รังนก หรือ ซุปไก่
ดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ สารอาหารโภชนาการแนวใหม่
1. ดูแลให้ได้รับพลังงานและโปรตีนเพียงพอต่อวันเพื่อซ่อมแซมร่างกาย
2. ดูแลให้ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อดูแลกระดูกและการเคลื่อนไหว
3. ดูแลให้ได้รับใยอาหาร และจุลินทรีย์ชนิดดี เพื่อสร้างสมดุลระบบขับถ่าย
4. ดูแลให้ได้รับวิตามินอีสูง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
5. ดูแลให้ได้รับไขมันชนิดดี ที่เรียกว่า MUFA เพื่อดูแลไขมันในเลือด
6. ดูแลระบบประสาทสมอง ด้วยโคลีน และวิตามินบี 12