กระจกอลูมิเนียม ประตูกระจกบานเลื่อนราคา หน้าต่างกระจกบานเลื่อนราคาถูก
ร้านกระจกอลูมิเนียม ราคาติดตั้งกระจกอลูมิเนียมต่อตารางเมตร
ติดตั้งกระจกอลูมิเนียมขอนแก่น
กระจกอลูมิเนียมราคาขอนแก่น
กั้นห้องกระจกอลูมิเนียมขอนแก่น
ร้านกระจกอลูมิเนียมขอนแก่น
ร้านกระจกอลูมิเนียมใกล้ฉันขอนแก่น
ร้านขายกระจกอลูมิเนียมใกล้ฉันขอนแก่น
ร้านติดตั้งกระจกอลูมิเนียมขอนแก่น
ร้านทําประตูกระจกขอนแก่น
ร้านทํากระจกอลูมิเนียมขอนแก่น
ผลงานช่างกระจกของเรา
ติดต่อสอบถาม
บริการของเรา กั้นห้องกระจกอะลูมิเนียมขอนแก่น
รับติดตั้งประตูกระจกขอนแก่น กั้นห้องกระจกอะลูมิเนียม ติดตั้งกระจกอลูมิเนียมทุกชนิด
รับติดตั้งกระจกอลูมิเนียมขอนแก่น ประตู หน้าต่าง บานเลื่อน บานสวิง บานกะทุ้ง บานตาย บานเปิด บานพับ บานเปิดหน้าต่าง
ติดตั้งกระจกบานสวิงขอนแก่น กระจกร้านค้า กระจกอาคาร กระจกคอนโด กั้นห้องติดแอร์
ขอนแก่นรับติดตั้งประตูอลูมิเนียม บานแขวน บานเฟี้ยม บานกระทุ้ง กั้นห้องกระจก งานกระจกอลูมิเนียมทุกชนิด ผลงานช่างกระจกของเรา
รับออกแบบและติดตั้งงานกระจกอลูมิเนียมทุกชนิด
งานกั้นห้องกั้นแอร์ในพื้นที่ขอนแก่น
ช่างติดตั้งกระจกขอนแก่น บานประตู หน้าต่าง
บานเลื่อน 2 บานสลับ,บานเลื่อน 4 บาน
บานเฟี้ยมกั้นห้อง กั้นครัว. กั้นแอร์ในคอนโด
ผลงานช่างกระจกของเรา
อลูมิเนียมคืออะไร?
- อลูมิเนียมเป็นวัสดุธรรมชาติที่ได้มาจากการสกัดแร่อลูมินา เป็นวัสดุที่ทนความร้อนสูง แผ่ความร้อนต่ำ เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานมาที่สุดในกลุ่มโลหะทั้งหมด เพราะอลูมิเนียมมีคุณสมบัติ ที่โดดเด่นหลายประการ
- อลูมินียมมีความเหนียมมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย
- อลูมิเนียมมีค่าการนำไฟฟ้า 64.94% ซึ่งไม่สูงมาก
- อลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา
- อลูมิเนียมมีจุดหลอมเหลวต่ำ หล่อหลอมได้ง่าย
- อลูมิเนียมทนทานต่อการเกิดสนิท และการผุกร่อน
- อลูมิเนียมเป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย ผลงานช่างกระจกของเรา
- อลูมิเนียมหาซื้องาย ในท้องตลาด และราคาไม่แพง
- ผิวหน้าของอลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดัชนีการสะท้อนแสงสูง จึงสามารถใช้ทำเป็นแผ่นสะท้อนแสงในแฟลชถ่ายรูป จานสะท้อนแสงในโคมไฟ หรือ ไฟ้หน้ารถยนต์
1. กระจกโฟลต (Float Glass)
เป็นกระจกมาตรฐาน ใช้ในการประกอบเป็นประตู หน้าต่างอลูมิเนียม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.1 กระจกโฟลตใส
เป็นกระจกที่เกิดจากการหลอมแร่ให้เป็นของเหลว แล้วไหลลอยไปบนผิวดีบุกหลอมเหลว
หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง ทำให้กระจกมีผิวเรียบทั้งสองด้าน สามารถมองผ่านได้ชัดเจน และให้ภาพสะท้อนสมบูรณ์
มีความแข็งแรงน้อย มีความใสสว่างมาก มองเห็นได้จากภายนอก กระจกประเภทนี้จึงเหมาะจะใช้เป็นกระจกภายในคอนโดมากกว่าภายนอก
1.2 กระจกโฟลตตัดแสง
เป็นกระจกโฟลตใสที่นำมาเติมโลหะเพิ่ม ทำให้กลายเป็นสี เช่น สีชา สีฟ้า สีเขียว เป็นต้น
เนื้อกระจกที่ทำการเติมโลหะเข้าไปจึงทำหน้าที่ดูดความร้อน เป็นตัวช่วยกรองแสงและกันความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
กระจกประเภทนี้จึงเหมาะจะใช้เป็นกระจกภายนอก เพื่อช่วยลดความร้อน แถมยังทำให้แสงสว่างดูนุ่มนวลสบายตามากยิ่งขึ้น
ส่วนข้อแนะนำในการติดตั้งไม่ควรให้กระจกโดนลมจากเครื่องปรับอากาศโดยตรงจะทำให้กระจกสูญเสียพลังงาน
นอกจากนี้ไม่ควรติดม่านทึบ หรือวางขอใกล้กระจกมากเกินไป เพราะกระจกจะไท่สามารถคายความร้อน จนเป็นสาเหตุทำให้กระจกแตกร้าวได้
กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)
กระจกอบความร้อนหรือกระจกสีที่นำไปผ่านกระบวนการปรับแต่งคุณภาพของเนื้อกระจก
เพื่อให้มีความเข็งแกร่งมากขึ้น หรือรับ แรงกระทำจากแรงภายนอกได้มากขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
1) กระจกนิรภัยเทมเปอร์(Tempered Glass)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
โดยใช้หลักการเดียว กับการทำคอนกรีตอัดแรง คือสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อตต้านแรงจากภายนอก
วิธีการนี้ทำได้โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัวของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700องศาเซลเซียส
และทำให้ผิวกระจกเกิดความเย็นตัวอย่างรวดเร็ว โดยใช้ลมเย็นเป่า ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอก
กับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวของกระจกทั้ง 2 ด้าน
โดยจะประกบชั้นส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนวิช และชั้นที่ผิวนี้ จะต้านแรงจากภาย
นอกทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรงขึ้นประมาน 4 เท่า
คุณสมบัติ
1)ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strenth) เมื่อเปรียบเทียบกระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ที่
มีความหนา 5 มิลลิเมตร กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500-650กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
ในกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง1,500 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
2)การต้านทานน้ำหนัก (Loading Resistance) คือความต้านทานต่อแรงดันและแรงกระแทกโดยแบ่งออกเป็น
-การด้านทานน้ำหนักหรือสถิติ (Static Load Resistance) คือแรงที่มากระทบกระจก กระจกนิภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อแรง
กระทบ ได้มากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันประมาณ 3-5 เท่า
-การต้านทานน้ำหนักกระแทก (Impact Load Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อแรงกระแทกโดยทั่วไป
กระจกนิภัยเทมเปอร์ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีได้ดีกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 4 เท่า
3)ความปลอดภัยคือ การลดอันตรายที่จะเกิดจากการโดนกระจกบาด เพราะการแตกของกระจกนิภัย จะแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆและมีความคมน้อย
4)การต้านทานความร้อน (Heat Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิแบบทันทีทันใด
จากการทดสอบความสามารถในการต้านทานความร้อนของกระจกนิภัยเทมเปอร์เปรียบเทียบกับกระจกธรรมดาที่มีความหนา 5 มิลเมตรเท่ากัน
มีผลการทดสสอบดังต่อไปนี้
-กระจกนิภัยเทมเปอร์ สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 170 องศาเซลเซียส
และจะเริ่มแตกทั้งหมดเมื่ออุณหภูมิสูงถึงประมาณ 220 องศาเซลเซืยส
-กระจกธรรมดาสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงประมาณ 60 องศาเซลเซียส
และจะแตกทั้งหมดเมื่อค่าความแตกเมื่อค่าของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 100 องศาเซลเซียส
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)จุดอ่อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์คือ แรงที่กระทำเป็นจุด หากมีการกระแทกโดยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้า
ไปภายในผิวกระจก ทำให้ชั้นแรงอัดถูกทำลาย ความสมดุลภายในเนื้อกระจกก็จะถูกทำลาย
2)กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถคงรูปร่างได้ด้วยความสมดุลของแรงอัดและแรงดึง ดังนั้นเมื่อนำกระจกชนิดนี้มาใช้งานจะต้อง
ไม่มีการเจาะรู บากหรือตัดแต่งในภายหลังโดยเด็ดขาด
3)ส่วนของกระจกนิภัยเทมเปอร์ที่มีการเจาะรู พ่นทราย หรือทำเครื่องหมายใดๆจะมีความเปราะบางมากกว่าส่วนอื่นๆ
4)ไม่ควรยึดกระจกกับโลหะโดยตรง ควรมียางหรือวัตถุอื่นมารองรับ
5)ผิวกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะเป็นคลื่นมากกว่ากระจกธรรมดา
กระจกฮีตสเตรงเทน (Heat Strengthen Glass)
กระจกฮีตสเตรงเทน เป็นกระจกที่ได้จากกระบวนการผลิตที่คล้ายกับกระจกนิภัยเทมเปอร์ แต่ต่างกันที่กระจกฮีตสเตรงเทน
จะปล่อยให้กระจกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ จึงมีความแข็งแรงกว่ากระจกนิภัยเทมเปอร์
คุณสมบัติ
1)เป็นกระจกกึ่งนิรภัย มีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 2 เท่า
2)เหมาะสำหรับการป้องกันการแตกของกระจกจากความร้อน
3)ลักษณะการแตกของกระจกชนิดนี้ จะแตกเป็นแผ่นเหมือนกระจกธรรมดา
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูงสามารถใช้แทนกระจกธรรมดาโดยลดความหนาของกระจกลง
2)ใช้กับสถานที่ที่ต้องเผชิญกับภาวะที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ
3)ใช้กับผนังอาคารและหน้าต่างที่มีแรงอัดลมสูง
4)ใช้กับสถานที่ที่ต้องการใช้กระจกที่มีความแข็งแรงและปลอดภัยสูงกว่าการใช้กระจกธรรมดา
5)ใช้กับห้องโชว์ หรือตู้โชว์สินค้าที่ต้องทนต่อแรงกระแทกในการใช้งาน
กระจกเคลือบผิว (Surface Coated Glass)
ตารางแสดงคุณสมบัติเปรียบเทียบระหว่างกระจกเคลือบผิวที่ใช้กรรมวิธีในการเคลือบโลหะออกไซด์
กระบวนการเคลือบแบบสูญญากาศ
-เป็นกระบวนการเคลือบกระจกแบบออฟไลน์(off-line)แยกจากกระบวนการผลิตกระจกแผ่น
-ในกรณีที่ต้องการทำเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์หรือ กระจกฮีตสเตรงเทนต้องทำก่อนที่จะนำกระจกไปเคลือบ
-สีของกระจกเคลือบมีให้เลือกมากมาย เนื่องจากโลหะออกไซด์ที่ใช้เคลือบมีมากชนิด
-การติดตั้งควรนำด้านที่เคลือบไว้ในตัวอาคาร-ทนต่อรอยขีดข่วนได้น้อยกว่า
-อายุการจัดเก็บกระจกสั้นกว่า
กระบวนการเคลือบแบบไพโรลิทิค
-เป็นการเคลือบกระจกแบบออนไลน์(on-line)ทำการเคลือบกระจกอยู่ภายในกระบวนการผลิตกระจกแผ่น
-สามารถนำกระจกที่เคลือบแล้วไปผ่านกระบวนการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์หรือกระจกฮีตสเตรงเทนได้
-สีของกระจกมีให้เลือกน้อยเนื่องจากโลหะออกไซด์มีจำกัด
-การติดตั้งสามารถนำด้านที่เคลือบออกภายนอก หรือหันหน้าเข้าด้านไหนก็ได้
-ความทนต่อรอยขีดข่วนมากกว่า
คุณสมบัติของกระจกเคลือบผิวกับการประหยัดผลังงาน
1)กระจกที่เลือกใช้ ควรให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน และความร้อนที่ได้รับจากการสะท้อนแสง
รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดที่น้อยที่สุดที่สามารถยอมรับได้
2)กระจกเคลือบผิวที่มีปริมาณการสะท้อนแสงสูงกว่า จะสามารถประหยัดพลังงานได้ดีกว่ากระจกที่มีปริมาณการสะท้อนแสงน้อยกว่า
วิธีการตรวจสอบคุณภาพของกระจกเคลือบผิว
1)ตรวจสอบรูบนผิวกระจกเคลือบ การตรวจสอบต้องให้กระจกที่จะตรวจสอบอยู่ห่างจากจุดสังเกต 1.80 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์
กลางของรูบนผิวเคลือบจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 1.50 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็นกลุ่มของรูบนผิวเคลือบที่มีขนาดเล็กกว่าที่กำหนด
อาจยอมให้มีได้ แต่ต้องไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากระยะสังเกตที่กำหนดไว้
2)การตรวจสอบการสะท้อนแสงและการส่งผ่านของแสง
-ความสม่ำเสมอของผิวเคลือบ การตรวจสอบจะต้องให้กระจกที่ทำการตรวจสอบอยู่ห่างจากผู้สังเกต 3 เมตร ตามมาตรฐานยอม
ให้มีความไม่สม่ำเสมอของผิวเคลือบได้บ้าง
-การเป็นคลื่นบนผิวสะท้อนสืบเนื่องจากปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะกระจกเคลือบผิวที่เป็นกระจกฉนวนกันความร้อน กระจก
ฮีตสเตรงเทนและกระจกนิภัยเทมเปอร์ การเป็นคลื่นอันเกิดจากการมองเห็นจะไม่ถือว่าเป็นตำหนิของกระจก
วิธีตรวจสอบด้านเคลือบของกระจกเคลือบผิว
สำหรับวิธีการตรวจสอบว่าด้านใดของกระจกเคลือบผิวเป็นด้านที่เคลือบฟิล์มสามารถทำได้ดังนี้
1)ใช้วัสดุทึบแสงวางทำมุมเฉียงประมาณ 45 องศา บนผิวกระจก
2)สังเกตเงาที่เกิดขึ้นบนกระจกเคลือบผิว ถ้าวัตถุทึบแสงปรากฎเงาที่เห็นเป็นเงาเดียวจะเป็นด้านที่เคลือบสารสะท้อนรังสีอาทิตย์
ถ้าเงาที่เห็นเป็นสองเงาจะเป็นด้านที่ไม่ได้เคลือบ
กระจกเคลือบผิว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ และกระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ
กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ (Solar Reflective Glass)
กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์เป็นกระจกธรรมดาที่เคลือบด้วยโลหะออกไซด์ มีค่าการสะท้อนแสงค่อนข้างสูง ความโปร่งแสงค่อน
ข้างน้อย มีสีสันสวยงามหลายสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเคลือบ และสีของกระจกที่เป็นวัตถุดิบที่นำมาเคลือบ
คุณสมบัติ
1) ทำให้แสงอาทิตย์และรังสีความร้อนผ่านเข้ามาในอาคารได้น้อย
2)ช่วยลดแสงที่แรงจ้าให้นุ่มนวลลง ทำให้เกิดความสบายตา
3)สร้างความเป็นส่วนตัวแก่คนภายในอาคาร เนื่องจากมองทะลุเข้ามาในตัวอาคารได้ลำบาก
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ในการตัดกระจกควรมีการป้องกันผิวด้านที่เคลือบไว้เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน
2)เมื่อมีการบิ่นหรือแตกบริเวณขอบกระจกให้ลบคมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการแตกทั้งแผ่น
3)ป้องกันอย่าให้ซีเมนต์หรือปลาสเตอร์ติดบนกระจก เพราะจะทำอันตรายวัสดุเคลือบของกระจก
4)ด้านที่เคลือบวัสดุเคลือบควรอยู่ด้านในของอาคารเสมอ เพื่อไม่ให้วัสดุเคลือบสัมผัสมลภาวะภายนอก
5)อย่าเป่าความเย็นลงบนกระจกวางตู้ใกล้กระจกติดกระดาษหรือทาสีลงบนกระจกเพราะจะทำให้เกืดการแตกหักเนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้
6)ควรจะอบฮีตสเตรงเทนหรือเทมเปอร์ เพื่อป้องกันปัญหาการแตกหักเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้
กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ
กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ เป็นกระจกเคลือบสารโลหะโดยมีโลหะเงินบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ
คุณสมบัติ
1)ป้องกันการถ่ายเทความร้อนผ่านกระจกได้ดี
2)ยอมให้แสงผ่านได้มากกว่ากระจกสะท้อนแสง
3)ช่วยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลต(UV)ได้บางส่วน ปริมาณการสะท้อนขึ้นอยู่กับผู่ผลิต ทำให้ลดความเสียหาย
ซึ่งอาจเกิดกับพรมและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้ระดับหนึ่ง
4)ช่วยลดความจ้าของแสง
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)สารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นสารที่ไวต่อการเสียหาย ดังนั้นจึงไม่ควรหันผิวกระจกด้านที่ฉาบนี้ไว้ด้านนอก
2)การบรรจุกาซเฉื่อยในช่องว่างระหว่างกระจกของกระจกรุ่นใหม่ๆแทนการใช้อากาศแห้ง จะช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนให้กับกระจกได้ดี
กระจกดัดแปลง (Processed Glass)
กระจกดัดแปลงเป็นกระจกที่นำมาดัดแปลงด้วยกระบวนการต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
1.กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass)
กระจกฉนวนกันความร้อนผลิตโดยการนำกระจกอย่างน้อย 2 แผ่น ตัดให้ได้ขนาดตามต้องการมาประกบกันโดยมีอลูมิเนียมซึ่ง
บรรจุสารดูดซึมความชื้นคั่นกลาง หลังจากนั้นจะปิดรอยที่ขอบกระจก ผลก็คือ อากาศภายในช่องระหว่างกระจกจะกลายเป็นอากาศที่แห้งไม่มีความชื้นเหลืออยู่
ซึ่งมีคุณสมบัติในการกันความร้อน
คุณสมบัติ
1)ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร ทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ
2)ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่ากระจกธรรมดา
3)สามารถปรับแรงดันลมได้เพิ่มขึ้น
4)ให้ความปลอดภัยในอาคารในกรณีที่ใช้กระจกนิภัยเทมเปอร์ หรือกระจกนิรภัยหลายชั้นมาผลิตเป็นกระจกฉนวนกันความร้อน
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ควรใช้ซิริโคนสำหรับกระจกที่เป็นโครงสร้างเท่านั้น ส่วนกระจกที่เป็นช่องหน้าต่างแบบดั้งเดิม สามารถใช้โพลีซัลไฟด์ซิลิโคนได้
2)การหักงอของอลูมิเนียมสเปเซอร์ หรือสารเคมีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกระจก มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกระจกทั้งสิ้น
2.กระจกฮีตมิเรอร์ (Heat Mirror)
ลักษณะของกระจกฮีตมิเรอร์เป็นระบบของกระจกสองชั้นที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่าาง
ช่องอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี
คุณสมบัติ
1)สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากถึงประมาณ 80% หรือยอมให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาเพียง 10%
ที่เหลืออยู่ 10% จะถูกดูดกลืนเข้าไปในกระจก
2)ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้องค์ประกอบของกระจกและฟิล์ม
3)ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตประมาณ 98%
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้
2)ในการติดตั้งระมัดระวังผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต เนื่องจากจะทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพได้
3)ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้ ดังนั้นจะต้องวัดและตัดให้ได้ขนาดตรงกับการนำไปใช้เท่านั้น
4)การติดตั้งควรระมัดระวังไม่หันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง
กระจกฮีตสต็อป(Heat Stop)
กระจกฮีตสต็อปมีลักษณะเป็นกระจกสองชั้นประกอบขึ้นด้วยกระจกสะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ
เป็นกระจกด้านนอก และด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้น สามารถป้องกันความร้อนอินฟาเรดให้ผ่านเข้ามาได้เพียง 5%
ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน
คุณสมบัติ
1)สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มาก
2)ยอมให้แสงสว่างผ่านกระจกเข้ามามากถึงประมาณ 60%
3)ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตร้าไวโอเลตได้ประมาณ 95 %
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้
2)ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้
3)การติดตั้งไม่ควรหันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง
4.กระจกนิรภัยหลายชั้นเป็นการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลนิวทิเรต
ที่เหนียวและแข็งแรงซ้อนอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกัน เมื่อกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก
แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจาย จะมีเพียงรอยแตกหรือรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น
คุณสมบัติ
1)การใช้กระจกนิรภัยหลายชั้น สามารถช่วยลดการบาดเจ็บจากกระจกได้
2)ป้องกันการทะลุทะลวง เนื่องจากการแตกและการบุกรุกได้
3)ช่วยลดเสียงรบกวน และลดการก้องของเสียงได้ดี
4)ช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
5)แผ่นฟิล์มในกระจกนิรภัยหลายชั้นช่วยในการลดรังสีอัลตราไวโอเลต
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเลต มีคุณสมบัตในการอมความร้อน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาการแตกร้าว
เนื่องจากการสะสมความร้อน จึงไม่ควรเลือกกระจกต่อไปนี้เข้ามาผนึกเข้าด้วยกัน
-กระจกสีตัดแสงผนึกกับกระจกสีตัดแสง
-กระจกสีตัดแสงเสริมลวดผนึกกับกระจกแผ่นเรียบ
-กระจกสะท้อนแสงผนึกกับกระจกเสริมลวด
2)มีความแข็งแรงต่อแรงอัดของลมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่ความหนาเท่ากัน
3)เมื่อนำกระจกนิภัยเทมเปอร์มาผนึกเข้าด้วยกันควรใช้แผ่นฟิล์มที่ความหนาไม่ต่ำกว่า 0.7 มิลิเมตรเป็นตัวยึดกระจก เพื่อป้อง
กันการเกิดฟองอากาศเนื่องจากผิวกระจกไม่เรียบ
4)ไม่ควรใช้วัสดุยาแนวชนิดซิลิคอน ออกไซด์ หรือวัสดุยาแนวที่มี่สวนผสมของสารละลายอืนทรีย์เนื่องจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อฟิล์ม
5) ควรมีการเคลือสารกันน้ำ บริเวรขอบกระจก เพื่อป้องกันความเสียหายของแผ่นฟิล์ม
6)เมื่ออุณหภูมิของกระจกนิภัยหลายชั้นเพิ่มสูงขึ้นไปถึงระดับหนึ่งคือ 170 องศาฟาเรนไฮต์ การสะสมความร้อนภายในจะสูงขึ้น
ความสามารถของฟิล์มในการยึดเกาะกระจกจะลดลง
1.กระจกเงา(Mirror)
กระจกเงาที่ดีควรผลิตจากกระจกใส และมีคุณภาพสูง จึงจะให้ภาพที่แจ่มชัดเหมือนจริงไม่บิดเบี้ยวหลอกตา
ผ่านกรรมวิธีเคลือบ เงาด้วยเครื่องจักร 4 ขั้นตอนคือ
1)เครือบวัสดุเงิน(Silvery Coating)
2)เคลือวัสดุทองแดงบริสุทธิ์(Pure Copper Coating)
3)เคลือบวัสดุอย่างดีชั้นแรก(1 st Layer High Quality Colour Coating)
4)เคลือบวัสดุอย่างดีชั้นที่ 2(2 st Layer High Quality Colour Coating)
คุณสมบัติ
1)เหมาะสำหรับการตกแต่งภายใน โดยเฉพาะกระจกเงาใสซึ่งจะให้บรรยากาศภายในห้องที่สดใส
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน ทำให้มีบรรยากาศที่น่าสนใจ
2)หากจัดวางอย่างมีแบบแผน จะสามารถสะท้อนภาพของพื้นที่ได้หลายรูปแบบช่วยเพิ่มพื้นที่สายตาและลดความคับแคบของห้องได้
3.กระจกลวดลาย(Pattern Glass)
กระจกลวดลาย ผลิตโดยกระจกที่ยังไม่แข็งตัวเข้าไปสู่แถวของลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาที่ต้องการ และพิมลวดลายซึ่งติดกับ
ลูกกลิ้งลงบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของกระจก หรือทั้ง 2 ด้าน
คุณสมบัติ
กระจกลวดลายมีคุณสมบัติโปร่งแสงแต่ไม่โปร่งใส จึงทำให้เกิดภาพที่นุ่มนวล แต่อาจไม่ชัดเจนนัก
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากกระจกลวดลายมีความลึกของเนื้อกระจกไม่สม่ำสมเอกัน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นกระจกนิภัยเทมเปอร์
2)ความแข็งแรงและความคงทนของกระจกมีน้อยกว่า 1 ใน 3 ของกระจกใสที่มีความหนาเดียวกัน เนื่องจากความไม่เรียบของกระจก
3.กระจกเสริมลวด (Wired Glass)
กระจกเสริมลวดผลิตโดยการใส่แผงตาข่ายลวดลงในกระจกขณะที่กระจกหลอมเหลว เพื่อเป็นการเพิ่มการแข็งแรงให้กับกระจก
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลวดลายของแบบตาข่ายดังนี้
1)ลายข้าวหลามตัด(Diamond-Shaped Pattern or Misco)
2)ลายสี่เหลี่ยม(Baroque Pattern)
3)ลายหกเหลี่ยม(Hexagonal Pattern)
4)ลายแนวตั้ง(Pinstipe Pattern)
คุณสมบัติ
1)มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ จึงมักใช้เป็นกระจกป้องกันการโจรกรรม
2)แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ มีความคม
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากกระจกเสริมลวดจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีความคม เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคาร
หรือในต่ำแหน่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและคนทั่วไปได้
2)กระจกเสริมลวดเป็นกระจกที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการโจรกรรม ดังนั้นจึงไม่เน้นการออกแบบเพื่อความสวยงาม