9477100

ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

11 มีนาคม 2565

ผู้ชม 34 ผู้ชม

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
3 แนวข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 สรุปวิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น
7 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
8 แนวข้อสอบความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
9 ความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
10 แนวข้อสอบเรื่องข้อมูลสารสนเทศและระบบเลขฐาน
11 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
12 ถาม -ตอบ เรื่องการออกแบบระบบฐานข้อมูล
MP3-P067 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สตงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สตง
ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทยปฐมบท การตรวจเงินแผ่นดินของไทยเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช 1237" ขึ้นในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 อันถือเป็นต้นกำเนิดของการตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย ดังปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิซหลวงในพระบรมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "ออดิตออฟฟิซ" โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นเจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่หรือออดิเตอเยเนอราล (Auditor General) คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมทบออดิตออฟฟิศ เข้ากับกรมราชเลขานุการโดยยังคงเรียกว่า "ออฟฟิศหลวง" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2423 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกออดิตออฟฟิศ การตรวจเงินแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2433 เมื่อมีการตรา “พระราชบัญญัติธรรมนูญ น่าที่ราชการกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติ ร.ศ. 109” ซึ่งมีการบัญญัติให้ตั้งกรมตรวจขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชบัญญัติกรมตรวจ 16 มาตรา ร.ศ. 109 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพระคลังมหาสมบัติ หมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิศหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าออดิตออฟฟิศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิพิธโภไคยสวรรย์เป็นอธิบดีกรมตรวจคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการรวมกรมตรวจเข้ากับกรมสารบาญชี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มิศเตอร์ ซีริเวตตคาแนค รับราชการในตำแหน่งอธิบดีพิเศษ กรมตรวจแลสารบาญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกรวมเป็นอธิบดีกรมตรวจแลสารบาญชี การตรวจเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขึ้นในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกกรมหนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 เนื่องจากทรงเห็นว่าการเก็บเงินผลประโยชน์รายได้เงินแผ่นดิน และเงินที่เบิกจ่ายใช้ในราชการแผ่นดิน มีจำนวนเงินทั้งรายได้และรายจ่ายมากขึ้น สมควรจะเพิ่มการตรวจตราการรับจ่ายและรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอีมิลิโอ ฟลอริโอ (Mr. Emilio Florio) หรือนายอี. ฟลอริโอ เป็นอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดินคนแรก
          การตรวจเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การตรวจเงินแผ่นดินไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงโดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2469-2475) ซึ่งอยู่ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระยะที่ 2 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จนสิ้นรัชกาล
การตรวจเงินแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ. 2469-2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการควบคุมเงินแผ่นดินจากเดิมที่เป็นการรวมหน่วยงานในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 3 หน่วยงานไว้ในกรมบัญชีกลาง โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมทบกรมตรวจเงินแผ่นดินเข้ากับกรมบาญชีกลางเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระยาโกมารกุลมนตรี เป็นอธิบดีกรมบาญชีกลางและกำกับควบคุมกรมตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 แผนก และ 1 ส่วน ได้แก่ แผนกพลเรือน แผนกรัฐพาณิชย์ แผนกราชการทหาร และส่วนภูมิภาค
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะกรรมการราษฎ ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เห็นว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่สังกัดอยู่ในกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ การตรวจตราตลอดจนการแสดงความเห็นสำหรับผลการตรวจสอบย่อมไม่เป็นไปโดยอิสระ สมควรโอนกรมตรวจเงินแผ่นดินมาขึ้นตรงต่อคณะกรรมการราษฎร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศโอนกรมตรวจเงินแผ่นดินไปขึ้นต่อคณะกรรมการราษฎร ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีหลวงดำริอิศรานุวรรตเป็นผู้ทำการแทนอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2576 นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหลวงดำริอิศรานุวรรต เป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก พร้อมทั้งมีประกาศแจ้งความตั้งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 18 คน มีการปฏิบัติงานในรูปแบบองค์คณะ มีอำนาจหน้าที่จำกัดเพียงการวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ปรากฏไว้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้วางโครงสร้างการบริหารภายใน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 โดยเน้นไปที่การตรวจสอบบัญชีและใบสำคัญของหน่วยรับตรวจที่อยู่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีใน ปี พ.ศ. 2495
ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2500 สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้เริ่มมีบทบาทในงานตรวจสอบมากขึ้นโดยมีการพัฒนาไปสู่การตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดจ้างและจัดซื้อ การตรวจสอบการร้องเรียนกล่าวโทษ และมีการขยายสำนักงานในส่วนภูมิภาคจาก 5 ภาค เป็น 9 ภาค และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (International Organization of Supreme Audit Institutions) หรือ INTOSAI ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างสถาบันการตรวจเงินแผ่นดินในระดับนานาชาติ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 จัดระเบียบราชการแผ่นดิน ข้อ 33 โดยให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
และในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเสนอร่างกฎหมายการตรวจเงินแผ่นดินฉบับใหม่ภายใต้ชื่อร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภาพุทธศักราช ซึ่งภายหลังได้ตราออกเป็นพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522
          การตรวจเงินแผ่นดินภายใต้พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522การตรวจเงินแผ่นดินภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522 ได้มีการปรับปรุงระบบการตรวจเงินแผ่นดินจากรูปแบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นรูปแบบที่มีผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบงานของสำนักงานเพียงผู้เดียว โดยเพิ่มบทบาทการตรวจสอบให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) และ ความประหยัด (Economy) ของการใช้จ่ายเงินแผ่นดินรวมทั้งตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร นับเป็นการพัฒนาบทบาทองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน (Lima Declaration of Guidelines on Auditing Precepts 1977) ซึ่งเป็นข้อตกลงสากลขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินทั่วโลกที่เห็นพ้องต้องกันว่าการทำงานตรวจเงินแผ่นดิน ควรมีความเป็นอิสระ (Independence) เป็นพื้นฐาน โดยจำแนกการตรวจสอบเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Audit) การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Audit) และการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) โดยมีจุดเน้นที่แตกต่างไปในแต่ลักษณะงาน พร้อมทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานจาก “สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็น “สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน”
          การตรวจเงินแผ่นดินภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 การตรวจเงินแผ่นดินไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้ง ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งมีการบัญญัติเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินไว้ในมาตรา 312 และมาตรา 333 ให้การตรวจเงินแผ่นดินกระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง โดยให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาในเรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลัง การกำหนดโทษปรับทางปกครอง การพิจารณาวินิจฉัยความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุด และมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ เพื่อให้ระบบการควบคุมการตรวจสอบการเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีวินัย โดยให้มีคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ซึ่งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแต่งตั้งขึ้น ตามมาตรา 20 ให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยรับตรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ระบบการตรวจเงินแผ่นดินของไทยมีการบัญญัติเกี่ยวกับวินัยทางงบประมาณและการคลังไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็น “สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน”
          การตรวจเงินแผ่นดินภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา 240 และมาตรา 242 ตามลำดับ นอกจากนี้ มาตรา 62 ได้บัญญัติให้รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ กอปรกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 บัญญัติเรื่องวินัยการเงินการคลังอยู่ในหมวด 7 มาตรา 95 ถึงมาตรา 103 โดยบัญญัติให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกำหนดให้ลงโทษทางปกครองแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
องค์กรการตรวจเงินแผ่นดินในปัจจุบัน ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน  กำกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน และสั่งลงโทษทางปกครองกรณีมีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้งหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 หรือกฎหมายอื่นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยรับผิดชอบต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่และอำนาจในการตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายและหลักเกณฑ์มาตรฐานที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด และตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ  รวมถึงตรวจผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมอบหมาย
ติดต่อเราสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่อยู่: ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400โทรศัพท์: 0 2271 8000โทรสาร: 0 2618 5769อีเมล: saraban@oag.go.th
Engine by shopup.com