9476006

ตำแหน่งนักวิชาการสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

11 มีนาคม 2565

ผู้ชม 32 ผู้ชม

นักวิชาการสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
1ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
3 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพ.ศ. 2542
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2542
5 ความรู้เรื่องสิทธิมนุษย์ชน ถาม-ตอบ
6 สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ
7 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พศ.2540
8 สรุปสาระสำคัญระเบียบงานสารบรรณ (สูตรและเทคนิคการจำ)
9 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
10 สรุปข่าวเด่น-ความรู้ทั่วไป-เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง-การกีฬา
11 แนวข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบัน
12 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3-P050 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ความเป็นมาของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ               สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 17 - มาตรา 21 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116  ตอนที่ 118 ก ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่ง รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไป จัดระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดงบประมาณสนับสนุน การจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ และกำหนดให้ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา บรรดาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้ประธานกรรมการเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารราชการและบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา              สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้              (1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ              (2) รับคำร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและดำเนินการสืบสวน หรือตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องที่มีการยื่นคำร้องตามที่คณะกรรมการมอบหมาย              (3) ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน              (4) ประสานงานกับหน่วยราชการองค์การเอกชนหรือองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน              (5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายในระยะแรกของการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ              นายพินิต อารยะศิริ เลขาธิการวุฒิสภาได้มอบหมายรองเลขาธิการวุฒิสภาเป็นหัวหน้าคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รองรับภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ดำเนินการประสานงานและจัดการเพื่อการสรรหาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติไว้ โดยได้ดำเนินการเตรียมการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามกฎหมาย ทั้งการจัดทำโครงสร้างการบริหารงานและอัตรากำลัง การจัดทำคำของบประมาณและการบริหารงบประมาณในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 - 2545 การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการจัดหาพัสดุเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็น จัดเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานด้านธุรการ และจัดหาสถานที่ทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ              สถานที่ตั้งแห่งแรกของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ใช้สถานที่ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 5 ของอาคารสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เลขที่ 422 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เป็นที่ทำงาน ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ จนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9 คน ที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภาแต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สามารถเริ่มเข้าเตรียมการทำงานบางส่วนได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9 ท่านได้ประชุมหารือการเตรียมการล่วงหน้าสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง โดยยังไม่ได้รับค่าตอบแทน จนได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดแรก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544              สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งมีการสรรหาและแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544 รวมทั้งได้มีการรับโอนข้าราชการจากส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งชุดแรกโอนมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2544 และได้รับโอนงานจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2545              ในช่วงแรกสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2544 แบ่งออกเป็น 4 สำนัก คือ 1) สำนักบริหารกลาง 2) สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย 3) สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 4) สำนักวิจัยและนิติธรรม              ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ย้ายที่ทำการจากอาคารสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาที่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 และชั้น 7 และเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป               ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสถานะเป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 247 และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 123 ก ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2560 โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และในหมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 47 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ              สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้              (1) รับผิดชอบงานธุรการและดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติบรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น              (2) อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ              (3) ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือองค์กรอื่นใดในด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนภารกิจและหน้าที่ของคณะกรรมการ              (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือที่คณะกรรมการมอบหมาย              การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำหนด              ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ได้มีประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 100 ก ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 หน้า 11-37 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 9 สำนัก และ 1 หน่วย โดยให้ขึ้นตรงต่อเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ               ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (
ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 
1. ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้     ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561”     ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป     ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2556     ข้อ 4 ให้แบ่งส่วนราชการภายในสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้     โดยให้ขึ้นตรงต่อเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ     (1) สำนักบริหารกลาง     (2) สำนักกิจการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ     (3) สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน     (4) สำนักส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน     (5) สำนักเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน     (6) สำนักมาตรฐานและติดตามการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน     (7) สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ     (8) สำนักกฎหมาย     (9) สำนักดิจิทัลสิทธิมนุษยชน    (10) หน่วยตรวจสอบภายใน     สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่   2. ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอานาจของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
    โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยกำหนดให้มีสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ขึ้นตรงต่อเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้    ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564”    ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป    ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ของข้อ 4 ของประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561    “(11) สานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้”    ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 และข้อ 23/2 ของประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและขอบเขตหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561    “ข้อ 23/1 สานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคใต้ จานวน 14 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรื่อง ค่านิยมองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ          สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรด้วยการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร เพื่อนำมาเป็นแนวทางและหลักการร่วมกันในการปฏิบัติงานให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายองค์กร ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งจากฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงานในการดำเนินงานและให้ความสำคัญกับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ภารกิจ พันธกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน เป็นต้น จนสามารถกำหนดค่านิยมองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ RIGHTS โอกาสนี้ จึงขอประกาศค่านิยมองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้          R : Respect การเคารพและให้เกียรติกัน ยอมรับและเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
         I : Impartiality การปฏิบัติงานโดยยึดหลักการสิทธิมนุษยชน มีความยุติธรรม ปราศจากอคติ และมีเหตุผล                  G : Great Professional มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์และศิลป์ของการปฏิบัติงาน รอบรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสหวิทยาการ ปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและเข้าถึงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหาความเดือดร้อนและความรู้สึกของประชาชนผู้ถูกละเมิดหรือผู้ได้รับผลกระทบ มีทักษะในการทำงาน มีจิตบริการ กระตือรือร้น ตลอดจนสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานได้ พึงตระหนักในหน้าที่และการปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยา มีความรับผิดชอบ มีความกล้าหาญในการคิด แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ ยึดมั่นและยืนหยัดในความถูกต้อง โดยไม่หวั่นเกรงต่อกระแสสังคม และพร้อมรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น          H : High Performance เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง สร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานเพื่อให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ประชาชน และประเทศชาติ
         T : Trust เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ด้วยการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และตรวจสอบได้ 
         S : Synergy มีความสามัคคี ผสานความร่วมมือในการทำงาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ภายใต้บรรยากาศแห่งความเข้าใจ ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน สร้างพลังความร่วมมือกับเครือข่ายทุกภาคส่วนในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญกับการประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งภายในองค์กรและภายนอก ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชน
ผู้บริหารนายบุญเกื้อ สมนึก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินางสาวรตญา กอบศิริกาญจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินางสาวอัจฉรา ฉายากุล รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินายคมสรรค์ เมธีกุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่อยู่ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ฝั่งทิศใต้ ชั้น 6-7 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210โทรศัพท์ : 0-2141-3800, 0-2141-3900สายด่วนร้องเรียน 1377 (ในเวลาราชการ)
Engine by shopup.com